750 likes | 1.05k Views
ส่วนการทะเบียนทั่วไป สำนักบริหารการทะเบียน. งานทะเบียนครอบครัว โดย อัมพร จงรักดี หัวหน้างานทะเบียนครอบครัว โทร. 0-2791-7017-19. งานทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบ. 1.ทะเบียนครอบครัว 2.ทะเบียนพินัยกรรม 3.ทะเบียนชื่อบุคคล 4.ทะเบียนศาลเจ้า 5.ทะเบียนสัตว์พาหนะ 6.ทะเบียนนิติกรรม
E N D
ส่วนการทะเบียนทั่วไป สำนักบริหารการทะเบียน งานทะเบียนครอบครัว โดย อัมพร จงรักดี หัวหน้างานทะเบียนครอบครัว โทร. 0-2791-7017-19
งานทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบงานทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบ 1.ทะเบียนครอบครัว 2.ทะเบียนพินัยกรรม 3.ทะเบียนชื่อบุคคล 4.ทะเบียนศาลเจ้า 5.ทะเบียนสัตว์พาหนะ 6.ทะเบียนนิติกรรม 7.ทะเบียนเกาะ 8.ทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน
ทะเบียนครอบครัว หมายถึง การจด หรือบันทึกรายการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องถึงความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว ไม่ว่าจะในฐานะสามีกับภริยา หรือบิดามารดากับบุตร
ทะเบียนครอบครัว แบ่งเป็น 7 ประเภท ได้แก่ ทะเบียนการสมรส ทะเบียนการหย่า ทะเบียนการรับรองบุตร ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม ทะเบียนเลิกการรับบุตรบูญธรรม ทะเบียนฐานะของภริยา ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว
กม.ที่เกี่ยวข้อง ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว 2478 พ.ร.บ.รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม 2522 พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย 2481 พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม 2489 กฎกระทรวงมหาดไทย 2478 กฎกระทรวงการต่างประเทศ ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว 2541
วัตถุประสงค์ของทะเบียนครอบครัววัตถุประสงค์ของทะเบียนครอบครัว เพื่อเป็นเอกสารทางกฎหมาย เพื่อเป็นข้อมูลทางสถิติ ด้านการเมือง ด้านการศึกษา ด้านการปกครอง ด้านความมั่นคงปลอดภัยของชาติ ด้านสาธารณสุข ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้านสิทธิของประชาชน
1. ทะเบียนการสมรส การสมรสที่สมบูรณ์ตามกฎหมายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1. เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายว่าด้วยการสมรส ตาม ป.พ.พ. (ม.1448-1453) 2. ต้องได้รับความยินยอม (ม.1455-1456) 3. ต้องมีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย (ม.1457) อนึ่ง การสมรสจะทำได้เมื่อชายหญิงยินยอมเป็นสามีภรรยากัน หรือมีคำสั่งศาลให้จดทะเบียนสมรส
1. ทะเบียนการสมรส 1. เงื่อนไขการสมรส ตาม ป.พ.พ. 1.1 สมรสได้เมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ หรือให้ศาลอนุญาตถ้ามีเหตุสมควร(ม.1448) 1.2 สมรสมิได้เมื่อชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริต/ศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ (ม.1449) 1.3 สมรสมิได้เมื่อชายหญิงเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา/ พี่น้องร่วมบิดามารดา/ร่วมแต่บิดาหรือมารดา (ม.1450)
1. ทะเบียนการสมรส 1.4 ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ (ม.1451) 1.5 ชายหรือหญิงสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้ (ม.1452)
1. ทะเบียนการสมรส 1.6 หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ได้เมื่อการสิ้นสุดการสมรสได้ผ่านไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน ยกเว้น (ม.1453) 1.6.1 คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น 1.6.2 สมรสกับคู่สมรสเดิม 1.6.3 มีใบรับรองแพทย์สาขา เวชกรรมว่ามิได้ตั้งครรภ์ 1.6.4 ศาลให้สมรสได้
1. ทะเบียนการสมรส 1.7 ชายหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากัน และให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย (ม.1458)
1. ทะเบียนการสมรส 2. ต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ดังนี้ (ม.1436) 2.1 บิดาและมารดา 2.2 บิดาหรือมารดา 2.3 ผู้รับบุตรบุญธรรม 2.4 ผู้ปกครอง
1. ทะเบียนการสมรส การให้ยินยอมให้ทำการสมรสทำได้ 3 วิธี (ม.1455) 1. ลงลายมือชื่อในขณะจดทะเบียนสมรส 2. ทำเป็นหนังสือ(ระบุชื่อผู้ที่จะสมรส&ลายมือชื่อผู้ให้ความยินยอม) 3. ทำด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน
1. ทะเบียนการสมรส หากชายหรือหญิงมีอายุ 17 ปีบริบุณ์แต่ไม่ถึง 20 ปี ประสงค์จดทะเบียนสมรสแต่ไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอม/มีแต่ไม่อาจให้ความยินยอมได้/ไม่อยู่ในสภาพทีอาจให้ความยินยอม/โดยพฤติการณ์ไม่อาจขอความยินยอมได้ต้องร้องขอให้ศาลอนุญาตให้ทำการสมรสได้(ม.1456)
1. ทะเบียนการสมรส ถาม : ผู้เยาว์อายุ 19 ปี 10 เดือน บิดามารดาเสียชีวิตแล้ว ร้องขอจดทะเบียนสมรส นายทะเบียนจะแนะนำอย่างไร
1. ทะเบียนการสมรส ตอบ : มี 3 แนวทาง 1. ร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาล อนุญาต (ม.1456) 2. ให้ศาลตั้งผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอม(บิดาและมารดา,บิดาหรือมารดา,ผู้รับบุตรบุญธรรม) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง (ม.1436(4)) 3. รอให้มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ (ม.19)
1. ทะเบียนการสมรส ผลของการจดทะเบียนตามกฎหมาย มีประการ คือ 1. โมฆะ 2. โมฆียะ 3. สมบูรณ์
1. ทะเบียนการสมรส เหตุที่การสมรสเป็นโมฆะ ได้แก่ 1. สมรสกับคนวิกลจริต(ม.1449) 2. สมรสให้กับญาติสืบสายโลหิต(ม.1450) 3. สมรสให้กับผู้ที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว(ม.1452) 4. ชายหญิงมิได้ยินยอมเป็นสามีภรรยากัน (ม.1458) - ผลการสมรสที่เป็นโมฆะจะสิ้นสุดลงเมื่อศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะ และชายหญิงเหมือนกับไม่เคยสมรสกันมาก่อน(ม.1496)
1. ทะเบียนการสมรส บุคคลวิกลจริต ม.1449(ฎ.490/2509) มิไดหมายเฉพาะถึงบุคคลผู้มีจิตผิดปกติหรือตามที่เข้าใจทั่ว ๆ ไปว่าเป็นบ้า ยังหมายถึงบุคคลที่ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรู้สึกผิดชอบ ไม่สามารถประกอบกิจการงานของตน รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคเนื้องอกในสมอง พูดไม่ได้ หูไม่ได้ยิน ตาทั้งสองข้างมองไม่เห็น มีอาการอย่างคนไม่มีสติสัมปชัญญะ ไร้ความสามารถที่จะดำเนินกิจการทุกอย่าง
1. ทะเบียนการสมรส ทวด ปู่,ย่า/ตา,ยาย ลุง,ป้า,น้า,อา บิดา,มารดา นาย ก. ลูก หลาน เหลน
1. ทะเบียนการสมรส สมรสซ้อน หมายถึง คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปจดทะเบียนสมรสกับบุคลอื่นอีก หากนายทะเบียนจดทะเบียนสมรสให้ ผลการจดทะเบียนสมรสซ้อนนั้นจะเป็นโมฆะ (ม.1452) หากนายทะเบียนตรวจพบหรือมีผู้กล่าวอ้างก็ให้แนะนำผู้มีส่วนได้เสียไปยื่นคำร้องให้ศาลสั่งให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะ (ม.1497, หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0310.2/ว 245 ลงวันที่ 25 มกราคม 2537)
1. ทะเบียนการสมรส สมรสซ้ำ หมายถึง สมรสคู่เดิมทั้งสองฝ่ายได้จดทะเบียนสมรสกันหลายครั้งแต่เมื่อคู่สมรสนำใบสำคัญการสมรสครั้งที่สองมาร้องขอจดทะเบียนหย่าตาม ม.1515 การสมรสของทั้งสองคนย่อมสิ้นสุดลงตาม ม.1501 เพราะถือว่าเป็นการแสดงเจตนาที่จะหย่ากันแล้ว เอกสารที่นำมาแสดงเป็นเพียงหลักฐานการจดทะเบียนสมรสตามวิธีปฏิบัติของกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น (ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา : หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0310.2/ว 2700 ลงวันที่ 23 กันยายน 2542)
1. ทะเบียนการสมรส เหตุที่การสมรสเป็นโมฆียะ ได้แก่ 1. ชายหรือหญิงอายุไม่ครบ 17 ปี(ม.1448) 2. สำคัญผิดตัวคู่สมรส(ม.1505) 3. สมรสโดยถูกกลฉ้อฉล(ม.1506) 4. สมรสโดยถูกข่มขู่(ม.1507) 5. ผู้เยาว์สมรสโดยไม่ได้รับความยินยอม(ม.1454) - ผลการสมรสที่เป็นโมฆียะ มี 2 กรณี สมบูรณ์โดยผลของกฎหมาย(ม.1504,1505,1506,1507,1509) ผลของการสมรสสิ้นสุดลงเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอน(ม.1502)
1. ทะเบียนการสมรส การสมรสมีผลสมบูรณ์ เมื่อ -ทำการสมรสฝ่าฝืน ม.1453 กรณีหญิงหม้ายทำการสมรสใหม่ แต่ไม่ครบ 310 วัน มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย -นายทะเบียนจดทะเบียนสมรสให้โดยที่คู่สมรสมีอายุไม่ครบตามเงื่อนไขของกฎหมายและมิได้รับความยินยอมของผู้มีอำนาจให้ความยินยอม นายทะเบียนไม่มีอำนาจยกเลิกเพิกถอนทะเบียนสมรสนั้น เนื่องจากการสมรสนั้นจะสมบูรณ์ตามผลของกฎหมาย ม.1510 ว.2
1. ทะเบียนการสมรส ถ้านายทะเบียนตรวจพบการจดทะเบียนสมรสที่เป็นโมฆะหรือโมฆียะ ให้นายทะเบียนดำเนินการ ดังนี้ 1.ไม่ต้องดำเนินการอะไร เพราะไม่มีอำนาจ 2.แนะนำผู้มีส่วนได้เสียร้องศาล 3.ระมัดระวังกำชับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบให้ดี 4.บันทึกความเป็นโมฆะในทะเบียนสมรส(ม.1497/1)
1. ทะเบียนการสมรส การสวมตัวการสมรส -มีผลสมบูรณ์ -ให้บันทึกไว้ในทะเบียน -แนะนำผู้มีส่วนได้เสียร้องศาล (นส. มท 0310.2/ว 1528-1529 ลว. 13 ก.ค. 43)
1. ทะเบียนการสมรส วิธีการจดทะเบียนสมรส 1.ในสำนักทะเบียน 2.นอกสำนักทะเบียน 3.ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย 4.ต่อกำนัน(ผวจ.ประกาศโดยอนุมัติ รมต.มท.) 5.ในทท้องที่ห่างไกล(ขออนุมัติ ผวจ.) 6.สถานที่ซึ่งนายทะเบียนเห็นสมควร 7.สถานทูต/สถานกงสุล
1. ทะเบียนการสมรส กฎกระทรวงการต่างประเทศออกตามความใน พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว 2478 ข้อ 1 เพื่อประโยชน์แก่การจดทะเบียนในเมืองต่างประเทศ ให้ที่ทำการสถานทูตหรือสถานกงสุลสยามเป็นสำนักทะเบียนตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 ข้อ 2ให้เจ้าพนักงานทูต หรือกงสุลสยามเป็นนายทะเบียน ประจำสำนักทะเบียน ณ ที่ทำการสถานทูตหรือสถานกงสุลสยามนั้น
1. ทะเบียนการสมรส ข้อควรรู้ 1.ไม่ต้องบันทึกฐานะแห่งครอบครัว(คร.22) แล้ว สมบูรณ์ตาม กม.ไทยแล้ว 2.ส่งเอกสารทะเบียนสมรส/หย่า/ รับรองบุตร/รับบุตรบุญธรรม/เลิกรับบุตรบุญธรรม ให้สำนักทะเบียนกลางเพื่อบันทึกลงในฐานข้อมูล
2. ทะเบียนการหย่า การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วย(ม.1501) 1. ความตาย 2. การหย่า 3. ศาลพิพากษาให้เพิกถอน
2. ทะเบียนการหย่า การหย่าทำได้ 2 วิธี(ม.1514) 1. หย่าโดยความยินยอม (ม.1514-1515) 2. หย่าโดยคำพิพากษาของศาล(ม.1516)
2. ทะเบียนการหย่า การหย่าโดยความยินยอม - ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน (ม.1514) - ระบุการใช้อำนาจปกครองบุตร ทรัพย์สิน หนี้สิน(ถ้ามี) ในหนังสือสัญญาหย่า(ม.1520) - จะสมบูรณ์เมื่อได้จดทะเบียนการหย่าแล้ว (ม.1515)
2. ทะเบียนการหย่า การหย่าโดยความยินยอม - การหย่าในสำนักทะเบียน (ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 20) - การหย่าต่างสำนักทะเบียน(ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 21)
2. ทะเบียนการหย่า ข้อควรระวังการหย่าต่างสำนักทะเบียน 1.สำนักทะเบียนแห่งแรก -ตรวจสอบหนังสือสัญญาหย่า*** -พิมพ์ คร.6 จากระบบฐานข้อมูล และระบุมุมบนขวามือว่า “หย่าต่างสำนักทะเบียน” -ผู้ร้อง นายทะเบียน พยาน 2 คน ลงลายมือชื่อทั้งด้านหน้าและด้านหลังของทะเบียนการหย่า คร.6
2. ทะเบียนการหย่า ข้อควรระวังการหย่าต่างสำนักทะเบียน -ลงวัน เดือน ปี เวลา ใน คร.6 -ต้องระบุว่าอีกฝ่ายหนึ่งประสงค์ลงลายมือชื่อ ณ สำนักทะเบียนอำเภอ/เขต/สถานทูต/สถานกงสุลใด -ส่งสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ สนท. แห่งที่ 2 -ส่งผ่านสำนักทะเบียนกลาง หาก สนท. แห่งที่ 2 เป็น สนท.ในต่างประเทศ
2. ทะเบียนการหย่า ข้อควรระวังการหย่าต่างสำนักทะเบียน 2.สำนักทะเบียนแห่งที่สอง -พิมพ์ คร.6 จากระบบฐานข้อมูล -ออกเลขทะเบียน -ลงลายมือชื่อผู้ร้อง พยาน 2 คน นายทะเบียน ทั้งด้านหน้าด้านหลังทะเบียนการหย่า คร.6 -ส่งใบสำคัญการหย่า คร.7 อีกฉบับและสำเนาทะเบียนการหย่า คร.6 ให้สำนักทะเบียนแห่งแรก -ส่งผ่านสำนักทะเบียนกลาง หาก สนท. แห่งที่ 1 เป็น สนท.ในต่างประเทศ
2. ทะเบียนการหย่า การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล - ต้องนำสำเนาคำพิพากษาถึงที่สุด และมีคำรับรองคดีถึงที่สุดมาแสดงด้วย (ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 22 , นส.มท.0309.3/6213 ลว.19 พ.ค. 47)
2. ทะเบียนการหย่า การบันทึกเพิ่มเติมหรือแก้ไขรายการต่าง ๆ ในทะเบียนการหย่าที่อาจกระทบกระเทือนสิทธิของคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ห้ามมิให้นายทะเบียนบันทึก เว้นแต่มีคำพิพากษาของศาล(ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 38 , นส.มท. 0310.2/ว 773 ลว. 9 เม.ย. 44)
3. ทะเบียนการรับรองบุตร กฎหมายบัญญัติไว้ว่า เด็กที่เกิดจากบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกันให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น(ม.1546) การที่เด็กจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา ได้ต่อเมื่อ(ม.1547) 1. บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง 2. บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร 3. ศาลพิพากษาให้เป็นบุตร
3. ทะเบียนการรับรองบุตร ถาม : เมื่อบิดายื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร แต่ว่ามารดาเด็กเสียชีวิตแล้ว นายทะเบียนจดทะเบียนให้โดยใช้มรณบัตรของมารดาเป็นหลักฐานและให้เด็กลงลายมือชื่อให้ความยินยอมได้หรือไม่ หรือมีวีธีการอื่นใดที่จะจดทะเบียนรับรองบุตรได้
3. ทะเบียนการรับรองบุตร ตอบ : จากคำถามเป็นกรณีที่มารดาเสียชีวิตแล้วซึ่งตรงกับหลักกฎหมายที่ว่า ไม่อาจให้ความยินยอมได้ดังกล่าว ดังนั้น บิดาจึงต้องไปร้องขอต่อศาล แล้วนำคำพิพากษาศาลมาแสดง นายทะเบียนจึงจดทะเบียนให้ได้
3. ทะเบียนการรับรองบุตร ถาม : เมื่อบิดายื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร แต่ปรากฏว่าเด็กอายุเพียง 2 เดือน นายทะเบียนจดทะเบียนให้โดยพิมพ์ลายนิ้วมือเด็กและให้มารดาลงลายมือชื่อให้ความยินยอมได้หรือไม่ หรือมีวิธีการอื่นใดที่จะจดทะเบียนรับรองบุตรได้
3. ทะเบียนการรับรองบุตร ตอบ : จากคำถามเป็นกรณีเด็กอายุเพียง 2 เดือน จึงตรงกับหลักกฎหมายที่ว่าไม่อาจให้ความยินยอมได้เช่นกัน ซึ่งบิดาต้องไปร้องศาล และนำคำพิพากษามาเพื่อให้นายทะเบียนจดทะเบียนรับรองบุตรให้ได้ หมายเหตุ ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา ตาม นส.นร. 0601/838 ลว.30 มิ.ย. 35 (นส.มท. 0302/ว 1674 ลว. 22 ก.ค. 35)
3. ทะเบียนการรับรองบุตร นายทะเบียนจะจดทะเบียนรับรองบุตรได้ต่อเมื่อ(ม.1548) 1. ได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก 2. ต้องมีคำพิพากษาของศาล กรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้าน หรือไม่ให้ความยินยอมหรือไม่อาจให้ความยินยอม
3. ทะเบียนการรับรองบุตร การจดทะเบียนรับรองบุตรต้องมีการให้ความยินยอม ซึ่งกระทำได้ 2 วิธี(ม.1548) 1.ให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน 2. ทำเป็นหนังสือให้ความยินยอม
3. ทะเบียนการรับรองบุตร การจดทะเบียนรับรองบุตร ป.พ.พ. ม.1548 การให้ความยินยอมของเด็ก(ผู้เยาว์ไร้เดียงสา)จะต้องพิจารณาถึงความสามารถของเด็กในการสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกันระหว่างนายทะเบียนกับเด็ก และเด็กนั้นควรรู้ผิดรู้ชอบตามปกติสามัญ ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของเด็กแต่ละราย โดยไม่ต้องคำนึ่งว่าเด็กจะมีอายุเท่าใด (นส. มท. 0302/4227 ลว. 10 มี.ค. 36)
3. ทะเบียนการรับรองบุตร ถ้าเด็กผู้เยาว์ไร้เดียงสาหรือมารดาเด็กถึงแก่ความตายหรือไร้ความสามารถ ทำให้ไม่อาจให้ความยินยอมได้ด้วยตนเอง การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรจึงต้องมี คำพิพากษาของศาลเสียก่อนตาม ป.พ.พ. ม.1548 ว.3 (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา : นส.มท. 0302/ว 1674 ลว. 22 ก.ค. 35