1 / 32

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องของอาเซียน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องของอาเซียน. วราภา ทองพาศน์. A ssociation of S outh E ast A sian N ations. ASEAN. สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. ประชาคมอาเซียน. ASEAN Community.

roy
Download Presentation

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องของอาเซียน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องของอาเซียน วราภา ทองพาศน์

  2. Association of South East Asian Nations ASEAN สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  3. ประชาคมอาเซียน ASEAN Community ได้ประกาศปฏิญญาว่าด้วยการร่วมมือที่จะ จัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี พ.ศ. 2558 เพื่อผนึกกำลังเป็นหนึ่งเดียว คือ “สิบชาติ หนึ่งอาเซียน” ในฐานะที่เราเป็นประเทศสมาชิกของอาเซียน จึงต้องศึกษาเรื่องของอาเซียนให้เข้าใจ เพื่อจะได้ปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง

  4. จุดกำเนิดอาเซียน บ้านพักที่แหลมแท่น บางแสน พลังจิตวิญญาณแห่งบางแสน เดิมใช้ชื่อสมาคมความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัตถุประสงค์เน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจมากกว่าการเมือง วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ลงนาม ณ วังสราญรมย์ ชื่อว่า ASEAN อ่านว่า อาเซียน สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสริมรากฐานการเป็นประชาคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  5. จุดเริ่มต้นอาเซียน สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม ค.ศ.1967 (พ.ศ. 2510)

  6. ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการก่อตั้ง “อาเซียน” ปัจจัยภายนอก • แนวคิดร่วมกันในการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยม และมุ่งเน้นนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระ • ความแพร่หลายของแนวคิดภูมิภาคนิยม • ปัญหาของการรวมตัวที่มีอยู่เดิมและการพยายามแก้ปัญหาความขัดแย้งในปัจจุบัน

  7. ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการก่อตั้ง “อาเซียน” ปัจจัยภายใน (ศักยภาพผลักดันภายในของสมาชิกแต่ละประเทศ) • อินโดนีเซีย - การเปลี่ยนแปลงผู้นำอินโดนีเซีย - ต้องการมีนโยบายต่างประเทศที่เป็นผู้นำของภูมิภาค - สภาวะทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ

  8. ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการก่อตั้ง “อาเซียน” • ไทย - เสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ โดยไม่ต้องพึ่งพิงมหาอำนาจตะวันตก - ตระหนักถึงประโยชน์ของความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคว่าจะมีประโยชน์ในอนาคต • ฟิลิปปินส์ - ต้องการแสดงว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาค - ผลประโยชน์ด้านการเมืองและเศรษฐกิจในระยะยาว

  9. ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการก่อตั้ง “อาเซียน” สิงคโปร์ - ผลประโยชน์ด้านการเมืองและความมั่นคง - ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ มาเลเซีย - ต้องการแก้ไขความขัดแย้งกับประเทศสมาชิก - ผลประโยชน์ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

  10. เร่งรัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และวัฒนธรรม ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร อำนวยความสะดวกในด้านการฝึกอบรมและวิจัย ด้านการศึกษาวิชาชีพ วิชาการ และการบริหาร ร่วมมือด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ส่งเสริมการศึกษา ร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศส่วนภูมิภาค วัตถุประสงค์การก่อตั้งอาเซียน (ปฏิญญากรุงเทพฯ)

  11. เป้าหมายสร้างความร่วมมือ 3 ส่วน 1. เสริมสร้างสันติสุข ด้วยการแก้ไขข้อพิพาทภายในภูมิภาค และการรับมือภัยคุกคามรูปแบบใหม่

  12. เป้าหมายสร้างความร่วมมือ 3 ส่วน 2. เสริมสร้างความมั่งคั่งในภูมิภาค การส่งเสริมให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน

  13. เป้าหมายสร้างความร่วมมือ 3 ส่วน 3. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนและเสริมสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของอาเซียน โดยกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาพลเมืองอาเซียนให้มีคุณลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีศักยภาพในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถเข้าถึงการฝึกอบรมและนวัตกรรมต่าง ๆ และได้รับโอกาสที่ทัดเทียมกัน ในการเข้าถึงการพัฒนามนุษย์ สวัสดิการสังคม และความยุติธรรม

  14. ประเทศสมาชิกอาเซียน อาเซียนเริ่มต้นด้วยสมาชิกห้าประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมามีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอีกห้าประเทศ ได้แก่ ลำดับที่ 6 บรูไนดารุสซาลาม วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2527 ลำดับที่ 7 เวียดนาม วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ลำดับที่ 8 , 9 สปป. ลาว และเมียนมา วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ลำดับที่ 10 กัมพูชา วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542

  15. ผู้แทนที่ร่วมลงนามในปฏิญญาอาเซียน นายอาดัม มาลิก จากอินโดนีเซีย รัฐมนตรีฝ่ายการเมือง / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายตุนอับดุลราซัคบิน ฮุสเซน จากมาเลเซีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ นายนาซิสโซรามอส จากฟิลิปปินส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายเอส. ราชารัตนัม จากสิงคโปร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ จากไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

  16. หลักการพื้นฐานของอาเซียนหลักการพื้นฐานของอาเซียน การตัดสินใจโดยหลักฉันทามติ การไม่แทรกแซงกิจการภายใน ของกันและกัน ความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความร่วมมือ เพื่อพัฒนาอาเซียน

  17. ความหมายของตราสัญลักษณ์อาเซียนความหมายของตราสัญลักษณ์อาเซียน รวงข้าว แสดงถึง ความฝันของกลุ่มผู้ก่อตั้งอาเซียน รวงข้าวสีเหลือง 10 รวงมัดรวมกัน หมายถึง ประเทศที่รวมตัวกัน 10 ประเทศ เพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน พื้นที่วงกลมสีขาว สีแดง และสีน้ำเงิน หมายถึง ความเป็นเอกภาพของอาเซียน ตัวอักษรคำว่า asean สีน้ำเงินอยู่ใต้รวงข้าว หมายถึง ความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกัน

  18. ธงอาเซียน เป็นสิ่งที่แสดงถึงความมั่นคง สันติภาพ ความเป็นเอกภาพ และพลวัตของอาเซียน สีน้ำเงิน สันติภาพและความมั่นคง สีแดง ความกล้าหาญและก้าวหน้า สีเหลือง ความเจริญรุ่งเรือง ขาว ความบริสุทธิ์

  19. คำขวัญ "One Vision , One Identity , One Community(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)

  20. เพลงประจำชาติอาเซียน • The ASEAN Way คำแปล

  21. เพลงประจำชาติอาเซียน (ต่อ) • วิถีแห่งอาเซียน

  22. ปฏิญญาบาหลี ฉบับที่ 2 (Bali Concord II) มีเป้าหมายไปสู่การรวมตัวของอาเซียนในลักษณะการเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี 2563 ต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 เมื่อเดือนมกราคม 2550 ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในปี 2558

  23. “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” ปี 2540 ผู้นำอาเซียนให้การรับรอง “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) เป็น ประชาคมอาเซียนภายในปี 2020ที่มีสำนึกในความเชื่อมโยงในประวัติศาสตร์ของตน รับรู้อยู่ตลอดเวลาในมรดกทางวัฒนธรรมของตน และผูกพันด้วยอัตลักษณ์ร่วมกันในภูมิภาค (Common Regional Identity) เป็นสังคมอาเซียนที่เปิดกว้างแต่คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ประจำตัว (national identity) ผู้คนทุกหมู่เหล่ามีความเท่าเทียมกันมีโอกาสในการพัฒนา ความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน (human development) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ เผ่าพันธุ์ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรม เป็นสังคมที่ผนึกแน่น สามัคคีและเอื้ออาทรต่อกัน ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม เพื่อทรัพยากรที่ยั่งยืน

  24. เป้าหมาย ASEAN Vision 2020 วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ A Concert of Southeast Asian Nations หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต A Partnership in Dynamic Development ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน A Community of Caring and Sharing Societies มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก An Outward-Looking ASEAN

  25. กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) จัดทำขึ้นที่สิงคโปร์ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกของอาเซียน บทบัญญัติ 13 หมวด รวม 55 ข้อย่อย เปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียน กรอบกฎหมาย โครงสร้างองค์กร เป้าหมาย หลักการ และกลไกสำคัญต่าง ๆ

  26. กฎบัตรอาเซียน • หมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการ • หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฎหมาย • หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ • หมวดที่ 4 องค์กร • หมวดที่ 5 องคภาวะที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน • หมวดที่ 6 ความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ • หมวดที่ 7 การตัดสินใจ

  27. กฎบัตรอาเซียน (ต่อ) • หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท • หมวดที่ 9 งบประมาณและการเงิน • หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงาน • หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ • หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์ภายนอก • หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย

  28. ผู้ลงนามในกฎบัตรอาเซียนผู้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน • กฎบัตรอาเซียนซึ่งผู้นำสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ลงนามกันที่โรงแรมแชงกรีลาในสิงคโปร์ซิตี เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2550 ตัวแทนจากประเทศไทย คือ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์

  29. สำนักงานเลขาธิการอาเซียนสำนักงานเลขาธิการอาเซียน • ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย • มีเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ดูแลการทำงานและเป็นหัวหน้าใหญ่ของสำนักงาน • เลขาธิการอาเซียน จะอยู่ในตำแหน่ง 5 ปี วาระเดียว • คนไทยคนแรกที่เป็นเลขาธิการอาเซียน คือ นายแผน วรรณเมธี (2527 – 2529) • คนไทยคนที่สองที่เป็นเลขาธิการอาเซียน คือ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ (2550 – 2555) • เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน ชื่อ นายเล เลือง มินห์ (เล ลุง มินห์)ประเทศเวียดนาม (คนที่ 13)

  30. การดำเนินงานความร่วมมือในอาเซียนการดำเนินงานความร่วมมือในอาเซียน 2510 - 2520 ปรับเปลี่ยนทัศนคติลดปัญหาความขัดแย้งเป็น การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมและสารสนเทศ 2520 - 2530 ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอาเซียน ก่อตั้ง เขตเสรีการค้าอาเซียน 2530 - 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ กำหนดวิสัยทัศน์อาเซียน 2540 - ปัจจุบัน ปรับปรุงองค์กรให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงไป เน้นการรวมตัวของอาเซียน เพื่อเร่งรัดพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสังคม

  31. ทำไมจึงต้องเรียนรู้เรื่องอาเซียน • เราต้องรู้จักตนเองและเรียนรู้เพื่อนบ้าน โดยเฉพาะภูมิหลังและวัฒนธรรมของ แต่ละประเทศ • เพิ่มทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ เพราะอาเซียนกำหนดให้เป็นภาษากลาง ของประชาคม • ต้องเข้าใจภาษา รู้กฎหมายทั่วไปและวัฒนธรรม ของประเทศอาเซียนที่เราจะ ไปทำงานและถ้าจะไปทำธุรกิจ ต้องรู้กฎหมายเฉพาะ รวมทั้งระเบียบท้องถิ่นด้วย • ในฐานะเจ้าบ้าน เราต้องปฏิบัติต่อนักธุรกิจอาเซียนและแรงงานอาเซียนที่มา ทำงานบ้านเรา เหมือนปฏิบัติต่อคนไทยด้วยกัน • แรงงานไทยต้องพัฒนาไปเป็นแรงงานฝีมือ ให้เหนือกว่าแรงงานต่างด้าวที่เข้า มาเพื่อหนีภาวะการว่างงาน

  32. อย่าลืมอ่านหนังสือและอย่าลืมอ่านหนังสือและ ทำใบงานส่งครูด้วยนะครับ

More Related