790 likes | 1.16k Views
หลักเกณฑ์และขั้นตอนการสืบสวนสอบสวนวินัย. และการรวบรวมพยานหลักฐาน. ในการดำเนินการทางวินัย. 22 กรกฎาคม 2553. ที่มาของเรื่องร้องเรียน/กล่าวหา. 1.จากบุคคลที่ร้องเรียน/กล่าวหา 1.1 บัตรสนเท่ห์ 1.2 หนังสือร้องเรียน 1.3 สื่อสารมวลชน เช่น นสพ./วิทยุ/โทรทัศน์
E N D
หลักเกณฑ์และขั้นตอนการสืบสวนสอบสวนวินัยหลักเกณฑ์และขั้นตอนการสืบสวนสอบสวนวินัย และการรวบรวมพยานหลักฐาน ในการดำเนินการทางวินัย 22 กรกฎาคม 2553
ที่มาของเรื่องร้องเรียน/กล่าวหาที่มาของเรื่องร้องเรียน/กล่าวหา 1.จากบุคคลที่ร้องเรียน/กล่าวหา 1.1 บัตรสนเท่ห์ 1.2 หนังสือร้องเรียน 1.3 สื่อสารมวลชน เช่น นสพ./วิทยุ/โทรทัศน์ 2. จากหน่วยงานอื่น เช่น 1.1 สตง./ปปช./ปปท./รัฐสภา/สำนักงาน ก.พ. 1.2 สำนักนายกรัฐมนตรี/ 1.3 ผู้ตรวจการแผ่นดิน 1.4 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน/หน่วยงานต้นสังกัด 1.5 ตู้รับเรื่องร้องเรียน/โทรศัพท์สายตรง
สืบสวนข้อเท็จจริงสืบหาข้อเท็จจริงสืบสวนสืบสวนข้อเท็จจริงสืบหาข้อเท็จจริงสืบสวน สอบข้อเท็จจริงสอบหาข้อเท็จจริง สอบสวนข้อเท็จจริงตรวจสอบข้อเท็จจริง สอบสวน
การตรวจสอบข้อเท็จจริงการตรวจสอบข้อเท็จจริง (Check the fack) คือ การตรวจสอบหาความจริงเพื่อจะทราบ รายละเอียดในเบื้องต้น การสอบสวนข้อเท็จจริง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ม.11(1) นายกรัฐมนตรี...มีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
การสืบสวนทางวินัย คือ การสืบหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในเบื้องต้น - ผบ.ดำเนินการสืบสวนเอง - มอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสืบสวน - แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวน การสอบสวนทางวินัย คือ การรวบรวมพยานหลักฐาน/การดำเนินการ เพื่อ... - จะทราบข้อเท็จจริง/พฤติการณ์ - พิสูจน์ความผิดว่า กระทำผิด หรือไม่
มาตรา 90 (กรณีสงสัย/กล่าวหา ว่ากระทำผิดวินัย) 1. เมื่อมีการกล่าวหา/มีกรณีเป็นที่สงสัย ว่าข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้ใด กระทำผิดวินัย ให้ ผบ. รายงาน ผบ.ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตาม ม.57 ทราบโดยเร็ว 2. ให้ ผบ.ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตาม ม.57 ดำเนินการ ตาม พรบ.นี้ โดยเร็ว ด้วยความยุติธรรมและ โดยปราศจากอคติ 3. อำนาจการดำเนินการทางวินัยของ ผบ.ซึ่งมีอำนาจ สั่งบรรจุตาม ม.57 จะมอบหมายให้ ผบ.ระดับต่ำ ลงไปปฏิบัติแทนได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.กำหนด
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุ ตามมาตรา 57 วิชาการ ทั่วไป อำนวยการ บริหาร
ม.99 ว5 พรบ.2535 ...เมื่อมีการกล่าวหา...ให้ผู้บังคับบัญชา รีบดำเนินการสืบสวน หรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่า ผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ม.91 พรบ.2551 ...เมื่อได้รับรายงาน...ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57รีบดำเนินการหรือสั่งให้ดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้น ว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหา ว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่
มาตรา 91-93,96-97 (การสอบสวนพิจารณา) 1. เมื่อ ผบ.ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตาม ม.57 ได้รับรายงาน ให้รีบดำเนินการ สืบสวน/พิจารณาในเบื้องต้น ว่ากรณีมีมูลที่ควร กล่าวหาว่ากระทำผิด หรือไม่ - กรณีไม่มีมูล ให้ยุติเรื่องได้ - กรณีมีมูล โดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ดำเนินการ ตาม 2 และ 3 2. กรณีมีมูลความผิดวินัยไม่ร้ายแรง และได้มีการ - แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ทราบ - รับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา ผบ.ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตาม ม.57 เห็นว่า - ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งลงโทษตามควรแก่กรณี โดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ - ไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง
ม.91 พรบ.2551 ... เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา 90 หรือความดังกล่าวปรากฏต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 รีบดำเนินการหรือสั่งให้ดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่
3. กรณีมีมูลความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ ผบ.ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุ ตาม ม.57 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อสอบสวนเสร็จ ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็น ต่อผู้สั่งแต่งตั้งฯและ เมื่อได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหา 3.1 ไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง 3.2 กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งลงโทษ (1) ผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้สั่งลงโทษภาคทัณฑ์/ ตัดเงินเดือน/ลดเงินเดือน หรืองดโทษ (2) ผิดวินัยร้ายแรง ให้สั่งลงโทษปลดออก/ไล่ออก ทั้งนี้ ก่อนการสั่งลงโทษ ถ้าคณะกรรมการสอบสวน หรือผู้สั่งแต่งตั้งฯ เห็นว่าผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ./จังหวัด/ กรม/กระทรวง พิจารณา แล้วสั่งตามมติ ของ อ.ก.พ. (ลงโทษ ร้ายแรง/ไม่ร้ายแรง)ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.กำหนด
มีการกล่าวหา/สงสัย ว่าข้าราชการกระทำผิดวินัย ตรวจสอบ ข้อเท็จจริง ผบ.ผู้สั่งบรรจุ ม.57 ผบ. -สืบเอง -มอบหมาย ให้จนท.สืบ -ตั้ง คกก. สืบสวน ดำเนินการ/สั่ง สืบสวน ม.91ว.1 พิจารณาในเบื้องต้น ม.91ว.1 ผบ.ผู้สั่งบรรจุ ม.57 พิจารณาเห็นว่า กรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหา ว่ากระทำผิดวินัย ม.91ว.1 กรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย + มีพยานหลักฐานเบื้องต้น ม.91ว.2 ยุติ เรื่อง มูลไม่ร้ายแรง มูลร้ายแรง ผบ.ม.57 ดำเนินการ/สั่งให้ แจ้งข้อกล่าวหา/สรุปพยานฯ ให้ทราบ-รับฟังคำชี้แจง ม.92 (แจ้งเอง/มอบ จนท./มอบ คกก.สืบฯ) ตั้งสอบไม่ร้ายแรง ม.92 (สอบสวนตาม ว.19/2547) ตั้งสอบร้ายแรง ม.93 (สอบสวนตาม กฎ 18) พิจารณา/ลงโทษ
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง(กรณีข้าราชการ)คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง(กรณีข้าราชการ) คำสั่ง........................... ที่ .........../2553 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ................... ด้วยนาย………ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง……....สังกัด….... ถูกร้องเรียนกล่าวหาว่า..... .........ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา …............. - มาตรา 63 และมาตรา 66 (2) (กรณี สสอ.ออกคำสั่ง) - มาตรา 62 (กรณี นอ. ออกคำสั่ง) - มาตรา 55 และมาตรา 60(2) (กรณี นพ.สสจ.ออก คำสั่ง) - มาตรา 33 วรรคสอง (กรณี ผอ.กอง/สำนัก/หน.ส่วน ราชการของ สป./กรม ออกคำสั่ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534
อาศัยอำนาจตาม คำสั่ง...สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข ที่ 4406/2547 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2537 (คำสั่งมอบให้เป็น ผบ.-กรณี ผอ.วิทยาลัย/ผอ.รพ.ของ สป.) จึงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงประกอบด้วย 1. .......................ตำแหน่ง.......... ประธานกรรมการ 2. .......................ตำแหน่ง...........กรรมการ 3. .......................ตำแหน่ง........กรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ให้คณะกรรมการฯ รีบดำเนินการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงและรายงานมาให้ทราบโดยเร็ว สั่ง ณ วันที่ ……………………..
ต.ย.คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวน (ม.91) คำสั่ง............ ที่ ........./2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวน ................... ด้วย……...........ตำแหน่ง…......…..ประเภท.......... สังกัด.............. มีกรณีถูกกล่าวหาในเรื่อง…………. อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 91 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 จึงแต่งตั้ง คณะกรรมกา สืบสวน ประกอบ ด้วย...
ต.ย.คำสั่งแต่งตั้ง คกก.สอบสวนวินัยไม่ร้ายแรง (ม.92) คำสั่ง............ ที่ ........./2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรง ................... ด้วย……..ตำแหน่ง….ประเภท….. สังกัด....... มีกรณีถูก กล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงในเรื่อง………......... อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 92 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรง ประกอบด้วย...
บทเฉพาะกาล พรบ.2551 ม. 132 ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาหรือออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกำหนดกรณีใด เพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.นี้ ในกรณีที่ไม่อาจนำพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบ หรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วมาใช้บังคับได้ตามวรรคหนึ่ง การจะดำเนินการประการ ใดให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด
การดำเนินการทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1011/ว19 ลว 14 ก.ค.2547 หลักประกันความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกกล่าวหา 1. แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุน ข้อกล่าวหาที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ (เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ) 2. ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา (เพื่อให้โอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน
สอบสวนโดยอนุโลมขั้นตอนตามกฎ ก.พ.ฉบับที่ 18 1. เรียกผู้ถูกกล่าวหามาแจ้ง/อธิบายข้อกล่าวหา (สว.2) 2. ถามว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหา หรือไม่/อย่างไร 3. ถ้ารับสารภาพ 3.1 ให้แจ้งให้ทราบว่าเป็นความผิดวินัย กรณีใด/อย่างไร 3.2 หากยังยืนยันคำสารภาพ ให้บันทึก (สว.4 ) - ถ้อยคำรับสารภาพ - เหตุผลที่รับสารภาพ - สาเหตุแห่งการกระทำผิด
4. ถ้าไม่รับสารภาพ 4.1 ให้สอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน -พยานบุคคล (สว.5) -พยานเอกสาร/พยานวัตถุ 4.2 พิจารณาพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา -ข้อกล่าวหา(ทำอะไร/ที่ไหน/อย่างไร/วันและเวลาใด) -พยานหลักฐานที่สนับสนุน/ผิดวินัย มาตราใด 4.3 แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุน ข้อกล่าวหา ให้ทราบ (สว.3) 5. ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหา - ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา (เป็นหนังสือ/ให้ถ้อยคำ) - นำสืบแก้ข้อกล่าวหา (นำมาเอง/อ้างให้สอบ)
6. พิจารณาเปรียบเทียบพยานหลักฐาน ที่สนับสนุน ข้อกล่าวหา/ที่หักล้างข้อกล่าวหา และวินิจฉัย ว่า....ไม่ผิด/ผิดกรณีใด มาตราใด ควรได้รับโทษ สถานใด 7. พิจารณารายงานผลการสอบสวน/เสนอความเห็น - ไม่ผิดวินัย ให้สั่งยุติเรื่อง - ผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้สั่งลงโทษ - ผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ ให้งดโทษ โดยทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือ หรือว่ากล่าวตักเตือน
อำนาจดำเนินการทางวินัยและการสั่งลงโทษไม่ร้ายแรงอำนาจดำเนินการทางวินัยและการสั่งลงโทษไม่ร้ายแรง กรณีข้าราชการ อำนาจลงโทษ : พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ม.92 (ไม่ร้ายแรง) สถานโทษ/อัตราโทษ : กฎ ก.พ.ฉบับที่ 8 ผู้บังคับบัญชา : ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ ตาม ม.57
กรณีลูกจ้างประจำ อำนาจลงโทษ : ระเบียบ กค. ว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ.2537 ข้อ 51 (ไม่ร้ายแรง) อัตรา/สถานโทษ : หนังสือ กค 0527.6/ว 5 ลว. 26 มค.39 ผู้บังคับบัญชา : ระเบียบ กค.ว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 ผู้มีอำนาจบรรจุแต่งตั้ง ข้อ 13 (ปลัดฯ/อธิบดี) : คำสั่งมอบอำนาจให้ ผวจ. ปฏิบัติราชการแทน (สป.ที่ 684/2553 ลว.14 กพ.2553)
การสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง 1. กรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน 2. ผู้แต่งตั้งและสั่งลงโทษ คือ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ ตาม ม.57 พรบ.ฯ2551 3. ดำเนินการสอบสวนตามขั้นตอนและวิธีการ ตามที่กำหนดใน กฎ ก.พ.ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2540) ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา
ต.ย.คำสั่งแต่งตั้ง คกก.สอบสวนวินัยร้ายแรง (ม.93) คำสั่ง............ ที่ ........./2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ................... ด้วย……..ตำแหน่ง…..…ประเภท........ สังกัด....... มีกรณีถูก กล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ในเรื่อง………................................................... อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 93 แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 จึงแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวน เพื่อสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา ในเรื่องดังกล่าวประกอบด้วย...
กฎ ก.พ.ฉบับที่ 13 กรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ผบ.จะดำเนินการฯ โดยไม่สอบสวน/งดการสอบสวนก็ได้ 1. กรณีกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง (1) กระทำผิดอาญาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดผู้นั้นกระทำผิด และ ผบ.เห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาประจักษ์ชัด (2)ทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และ - รับสารภาพเป็นหนังสือต่อ ผบ. - ให้ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวน/คกก.สอบสวน และมีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ
2. กรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง (1) กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก/หนักกว่า โดย คำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่ประมาท/ลหุโทษ (2)ละทิ้งฯ ติดต่อกันเกิน 15 วัน และ ผบ.สืบสวนแล้ว เห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควร/จงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ (3) ทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และ - รับสารภาพเป็นหนังสือต่อ ผบ. - ให้ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวน/คกก.สอบสวน และมีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ - ให้ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวน/คกก.สอบสวน และมีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ
มาตรา 94 (การแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวน กรณีตำแหน่งต่างกัน/ต่างกรมหรือกระทรวง ถูกกล่าวหาร่วมกัน ผู้ถูกกล่าวหาร่วมกัน ผู้สั่งแต่งตั้งฯ 1. กรมเดียวกันที่อธิบดีร่วมกับผู้ใต้ ผบ. ปลัดฯ กรมเดียวกันที่ปลัดฯร่วมกับผู้ใต้ ผบ. รมว. 2. ต่างกรมในกระทรวงเดียวกัน ปลัดฯ 3. ต่างกระทรวงกันผู้กล่าวหาร่วมกัน ผู้สั่งบรรจุร่วมกันตั้ง ต่างกระทรวงกันและ ตป.บริหารระดับสูง ร่วมด้วย นายกฯ 4. กรณีอื่นๆ ตามที่กำหนดใน กฎ ก.พ.
เทคนิคการสืบสวนสอบสวนเทคนิคการสืบสวนสอบสวน และการรับฟังพยานหลักฐาน
เทคนิคและวิธีการการสืบ/สอบสวน/ตรวจสอบเทคนิคและวิธีการการสืบ/สอบสวน/ตรวจสอบ 1. กำหนดประเด็น 2. จัดระบบหรือวางแผน 3. พิเคราะห์พยานหลักฐาน ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย
ข้อเท็จจริงที่จะนำมาสู่สำนวนข้อเท็จจริงที่จะนำมาสู่สำนวน การสืบ/สอบสวน/ตรวจสอบ 1.โดยพยานหลักฐาน 2.โดยข้อสันนิษฐาน 3.โดยผู้สืบ/สอบสวน/ตรวจสอบ หรือผู้พิจารณา รับรู้เอง/เห็น 5. โดยผู้ถูกกล่าวหารับข้อเท็จจริง
พยานหลักฐานคือ สิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างมีเหตุผลถึงความถูกต้องหรือไม่ถูกต้องของเหตุการณ์ 1. พยานเอกสาร 2. พยานวัตถุ 3. พยานบุคคล
พยานเอกสารพยานหลักฐานที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยรูปรอยใดๆ อันเป็นการสื่อความหมายในภาษาใดภาษาหนึ่งพยานวัตถุ วัตถุสิ่งของที่คู่ความอ้างเป็นพยานหลักฐาน
พยานบุคคลประเภทต่างๆพยานโดยตรงพยานแวดล้อมกรณีประจักษ์พยานพยานบอกเล่าพยานผู้เชี่ยวชาญพยานบุคคลประเภทต่างๆพยานโดยตรงพยานแวดล้อมกรณีประจักษ์พยานพยานบอกเล่าพยานผู้เชี่ยวชาญ
หลักการชั่งน้ำหนักพยานบุคคลความน่าเชื่อถือของคำให้การของพยานบุคคล 1. การทดสอบความมั่นคง ไม่ให้กลับไปกลับมา 2. การชั่งน้ำหนักความน่าเชื่อถือ ปัญหาในการชั่งน้ำหนักพยานบุคคล 1.พยานโดยตรงกับพยานแวดล้อม 2.ประจักษ์พยานกับพยานบอกเล่า พยานบุคคลที่มีน้ำหนักน้อย 1. พยานบอกเล่า 2. คำซัดทอด 3. พยานที่โจทก์กันไว้
การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเป็นขั้นตอนของการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โต้แย้งกันด้วยพยานหลักฐาน ดังนั้น เมื่อใดที่เป็นดุลพินิจในการวินิจฉัยพยานหลักฐานย่อมถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง จึงสรุปได้ว่า ปัญหาข้อเท็จจริงเป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐาน
การซักถามพยาน ลักษณะที่ดีของผู้ซักถาม1.มีความรู้รอบตัวกว้างขวาง 2.ตื่นตัว เตรียมพร้อมอยู่เสมอ 3.มีความเพียร 4.ซื่อตรงต่อหน้าที่ 5.มีเหตุผล มีตรรกวิทยาในการฟัง 6.มีความสังเกตได้ดี 7.สามารถบังคับตนเองได้ทั้งกาย วาจา ใจ 8.สามารถแสดงตัวอย่างไรก็ได้
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตนของผู้สอบสวน1.สามารถควบคุมการซักถามได้ตลอดเวลา 2. ต้องไม่แสดงกิริยาที่จะเบนเรื่องไปทางอื่น 3.ใช้ภาษาที่ฟังรู้เรื่อง 4.แต่งกายสุภาพ 5.แสดงออกควรเป็นไปว่าต้องการทราบความจริง 6.จำนวนคนในห้องสอบสวน
การเตรียมตัว • ก.แนะนำตัวเอง • ข.เริ่มต้นสนทนา • ค.การตั้งคำถาม1. ต้องเป็นผู้นำสนทนา • 2.ทบทวนข่าวสาร • . 3.ตั้งคำถาม • 3.1 ถามทีละข้อ • 3.2 คำถามง่ายๆ • 3.3 ช่วยกู้หน้าผู้ถูกถาม • 3.4 ให้อธิบายคำตอบ • 3.5 ไม่ถามชนิดมีคำตอบในตัวเอง • 3.6 รู้สึกตอนเริ่มต้นว่าเราต้องทำได้
ท่าทีบุคคลที่ถูกสัมภาษณ์ท่าทีบุคคลที่ถูกสัมภาษณ์ 1.ประเภทไม่เรื่องอะไรทั้งสิ้น 2.ประเภทไม่สนใจ ไม่ยอมให้ความร่วมมือ 3.ประเภทขี้เมา 4.ประเภทขี้สงสัย ขี้ระแวง 5.ประเภทช่างพูด ขี้คุย 6.ประเภทที่พูดตามความจริง 7.พยานเท็จ 8.ประเภทขี้อาย 9.ประเภทขี้โม้ 10.ประเภทปฏิเสธ
หลักการถามปากคำผู้กล่าวหาหลักการถามปากคำผู้กล่าวหา 1. ให้โอกาสและเวลาแก่ผู้ให้ถ้อยคำให้คิดนึกทบทวนความจำ อย่าคาดคั้นหรือใช้คำถามหรือถ้อยคำเชิญชวนให้ความจำ คลาดเคลื่อนอาจทำให้คดีเสียได้ ถ้าผู้ให้ถ้อยคำนึกไม่ได้ ก็บันทึกเท่าที่จำได้หรือเหตุที่จำไม่ได้ 2. ระบุวัน เดือน ปี เวลา สถานที่เกิดเหตุ ตำบล อำเภอ และจังหวัดให้ชัดแจ้ง 3. พฤติการณ์อันเกี่ยวเนื่องแก่เหตุการณ์นั้น ๆ รวมทั้งสังเกตอาการและกิริยาผู้ให้ปากคำด้วย 4. มีใครรู้เห็นในเมื่อมีเหตุนั้นบ้างและมีใครอยู่ใกล้เคียง ที่เกิดเหตุบ้าง หรืออ้างวัตถุ เอกสาร พยาน อย่างไรบ้าง
เทคนิคการจดคำพยาน 1. ต้องให้พยานเล่าทุกสิ่งทุกอย่างที่รู้เห็นมาเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริงนั้นด้วยวาจาตั้งแต่ต้นจนจบ และซักถามจนเข้าใจเรื่องราวจากปากคำจนกระจ่างที่สุดจึงเริ่มบันทึก 2. การจดบันทึก ต้องจดให้ตรงกับที่ให้การและตรงประเด็น 3. จะซักถามอย่างไรต้องรู้ว่าข้อกล่าวหามีประเด็นอย่างไร 4. ต้องพิจารณาด้วยว่าเป็นพยานประเภทใด เช่น ประจักษ์พยาน พยานบอกเล่า หรือพยานพฤติเหตุแวดล้อม 5. ต้องบันทึกปากคำพยานทุกปาก แม้จะมีข้อเท็จจริงเหมือนกัน 6. การให้การว่าไม่รู้ไม่เห็นของพยานจะต้องบันทึกไว้ อย่าปล่อยทิ้งไป
การจัดทำรายงานการสืบสวนสอบสวนการจัดทำรายงานการสืบสวนสอบสวน และการทำคำสั่งลงโทษ
รายงานการสืบสวน/สอบสวนทางวินัยไม่ร้ายแรงรายงานการสืบสวน/สอบสวนทางวินัยไม่ร้ายแรง ส่วนที่ 1. กล่าวถึงความเป็นมาในการสืบสวน/สอบสวน - คำสั่งแต่งตั้ง/มอบหมาย ส่วนที่ 2. กล่าวถึงการรวบรวมพยานหลักฐาน (1) ผู้ถูกกล่าวหา (2) พยานบุคคล (3) พยานเอกสาร (4) พยานวัตถุ ส่วนที่ 3. กล่าวถึงข้อเท็จจริงจากการสืบสวน/สอบสวน ข้อเท็จจริงจากการสอบสวนและพยานหลักฐาน รับฟังได้ว่า...................................................... ส่วนที่ 4. กล่าวถึงความเห็นและข้อเสนอ
กรณีสืบสวนเห็นว่ากรณีมีมูลไม่ร้ายแรง ให้ระบุว่า.. คณะกรรมการสืบสวนพิจารณาแล้ว เห็นว่ากรณี มีมูลที่ควรกล่าวหาว่านาย......กระทำผิดวินัยอย่างไม่ ร้ายแรง ดังนั้น เห็นควร 1. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ ร้ายแรงแก่นาย........ ต่อไป หรือ 2. ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐาน ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบและให้โอกาสชี้แจงพร้อมทั้ง รับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา โดยมอบให้นิติกร/ คณะกรรมการสืบสวน ดำเนินการดังกล่าวและ เสนอความเห็นเกี่ยวกับความผิดทางวินัยต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาและให้ความชอบ ตามข้อเสนอดังกล่าวต่อไป
กรณีสืบสวนเห็นว่ากรณีมีมูลผิดร้ายแรง ให้ระบุว่า.. คณะกรรมการสืบสวนพิจารณาแล้ว เห็นว่ากรณี มีมูลที่ควรกล่าวหาว่านาย......กระทำผิดวินัยอย่าง ร้ายแรง ดังนั้น เห็นควรแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน วินัยอย่างร้ายแรงแก่นาย........ ต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา.... กรณีสืบสวนเห็นว่ากรณีไม่มีมูลว่าผิดวินัย ให้ระบุว่า.. คณะกรรมการสืบสวนพิจารณาแล้ว เห็นว่ากรณี ไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่านาย......กระทำผิดวินัย ดังนั้น เห็นควรให้ยุติเรื่อง จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา หากเห็นชอบโปรดสั่ง ให้ยุติเรื่อง ต่อไป............
กรณีสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงกรณีสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ระบุ.... - ฐานความผิด และข้อกฎหมายหรือระเบียบทางวินัย ระดับโทษ/ เหตุลดหย่อนโทษหรืองดโทษ - การสั่งยุติเรื่อง (กรณีไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา)
มาตรา 96 ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด ในกรณีมีเหตุอันควรลดหย่อน จะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษจะ งดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
ม.103 พรบ.2535 ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อน จะนำมาประกอบ การพิจารณา ลดโทษก็ได้ แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุอันควรลดหย่อน ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน ...