50 likes | 146 Views
ความปลอดภัยทางชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อมของพืช GM. ความกังวลของสังคม ต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้จากพืช GM ต่อสิ่งแวดล้อม 1 ) พืช GM เอง กลายเป็น วัชพืช ( weed ) บุกรุกพืชอื่นตามธรรมชาติได้ 2 ) เกิด การถ่ายเทของยีน ( gene flow ) ข้ามระหว่างพืช GM และพืชธรรมชาติ
E N D
ความปลอดภัยทางชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อมของพืช GM • ความกังวลของสังคมต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้จากพืช GM ต่อสิ่งแวดล้อม 1) พืช GM เอง กลายเป็นวัชพืช (weed) บุกรุกพืชอื่นตามธรรมชาติได้ 2) เกิดการถ่ายเทของยีน (gene flow) ข้ามระหว่างพืช GM และพืชธรรมชาติ 3) ผลกระทบทางอ้อมต่อสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่เป้าหมาย (non-target organism) 4) เกิดการถ่ายทอดยีนในแนวราบหรือ HGT • การประเมินผลกระทบของพืช GMต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องอยู่บนหลักการความเทียบเท่า (substantial equavalence)โดยเปรียบเทียบกับพืช non-GM ตั้งต้นเสมอ
1. การประเมินผลกระทบที่เกิดจากความได้เปรียบของพืช GM ที่มีเหนือกว่าพืชปกติ (non-GM plant) • ข้อสงสัย - พืช GM อาจอยู่รอดได้ดีกว่าพืชปกติ / ยีนจากพืช GM อาจหลุดออกไปผสมข้ามกับพืชท้องถิ่น (native plant) ที่ใกล้เคียงกัน เกิดพืชลูกผสม (hybrid plant) เข้ามาแทนที่พืชท้องถิ่นหายาก จนอาจสูญพันธุ์ได้ • แนวทางการประเมิน – หาระยะทางและความสามารถในการถ่ายละอองเรณู (pollenation) ข้ามพันธุ์ / หาความเข้ากันได้ทางพันธุกรรมระหว่างพืชทั้งสอง / ประเมินระบบนิเวศของประชากรพืชที่เป็นผู้รับ • ข้อมูลปัจจุบัน – ยังไม่พบว่าผลกระทบดังกล่าวมีค่าสูงกว่าผลจากพืชไร่ปกติที่ปลูกกันอยู่ในขณะนี้ / สามารถจัดการเพื่อป้องกันการผสมข้ามได้โดยปลูกพืชอื่นแทรกระหว่างพืช GM และพืชปกติ
2. ผลกระทบของพืช GM ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตอื่น (non-target organism) • ข้อสงสัย - พืช GM มีพิษจำเพาะสูงต่อแมลงศัตรูพืชที่เป็นเป้าหมาย / แต่อาจส่งผลกระทบที่คาดไม่ถึงต่อระบบนิเวศ จากการลดลงของแมลงผู้ล่าหรือสัตว์อื่นที่กินแมลงเป้าหมายเป็นอาหาร • แนวทางการประเมิน – ดูผลกระทบต่อพัฒนาการ/การวางไข่/น้ำหนักและขนาดของสิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ใช่เป้าหมาย / ติดตามดูผลกระทบที่มีในภาคสนามตามธรรมชาติจริง บนพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นเวลานานเพียงพอ • ข้อมูลปัจจุบัน – การลดลงของผู้ล่า ไม่ได้เกิดจากพิษของพืช GMแต่เป็นผลทางอ้อมจากการลดลงของปริมาณแมลงที่เป็นเหยื่อ / ผลกระทบจากการลองทำใน lab ถูกโต้แย้งว่าไม่เกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติ (เช่น สาร BT จากละอองเกสรข้าวโพด GMไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผีเสื้อโมนาร์กเลย โดยไม่พบความแตกต่างของจำนวนตัวอ่อนผีเสื้อระหว่างแปลงข้าวโพด BT และข้าวโพดปรกติ)
ความปลอดภัยทางชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อมของพืช GM • ผลในแง่บวก ได้แก่ • กำจัดแมลงที่เป็นเป้าหมาย ได้โดยลดปริมาณการใช้ยาฆ่าแมลงลง • จำนวนสัตว์ที่มีประโยชน์ตามธรรมชาติมีเพิ่มขึ้น ในไร่พืช GM เพราะใช้ยาฆ่าแมลงน้อยลง • สามารถเพิ่มผลผลิต โดยลดความเสี่ยงที่ผู้บริโภคและเกษตรกรจะรับสารพิษเข้าร่างกาย • พืช GM สามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งแง่บวกและแง่ลบ
การลดปริมาณการใช้สารเคมี การปลูกพืช GM ต้านทานสารปราบวัชพืชและต้านทานแมลง ระหว่างปี พ.ศ. 2539–2550 ทำให้ลดปริมาณการใช้สารเคมีทั้งโลกลงถึง 8.8% (359 ล้านกิโลกรัม) และทำให้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลงได้ถึง 17.2%