190 likes | 556 Views
สัมมนาชีววิทยา สมุนไพรไพล. เสนอ อาจารย์ดอเลาะ ดาลี. ไพล Zingiber cassumunar Roxb. มหัศจรรย์ของสมุนไพรไพล. ความสำคัญและที่มา.
E N D
สัมมนาชีววิทยาสมุนไพรไพลสัมมนาชีววิทยาสมุนไพรไพล เสนอ อาจารย์ดอเลาะ ดาลี
ไพล Zingiber cassumunar Roxb มหัศจรรย์ของสมุนไพรไพล
ความสำคัญและที่มา • ไพลเป็นไม้ล้มลุก ส่วนที่ใช้ คือ เหง้าใช้ทั้งเหง้าสดและเหง้าแห้ง และสกัดเอาน้ำมันไพลผสมกับน้ำมันสมุนไพรอื่นหรือผสมน้ำผึ้ง น้ำมะนาว นม ทำเป็นเครื่องสำอาจ โลชั่นบำรุงผิว และครีมแก้อาการเคล็ดขัดยอก แก้เหมื่อย แก้อาการปวดบวม ต่างๆ • ไพล เป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาสกัดเอาน้ำมันไพลแล้วผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นมาทำเป็นเครื่องสำอาจ ครีมบำรุง ผสมน้ำผึ้งและดอกอันชั้นกลายเป็นแชมพู ทำเป็นครีมแก้เคล็ดขัดยอก แก้เหมื่อย แก้อาการปวดบวมของข้อเท้า พืชสมุนไพรไพลมีประโยชน์มากหมาย สรรพคุณหลากหลาย
ความหมายของสมุนไพร • สมุนไพร หมายถึง “พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา” ส่วน ยาสมุนไพร หมายถึง “ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุง หรือ แปรสภาพ” ส่วนการนำมาใช้ อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น นำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือ นำมาบดเป็นผง • สมุนไพรนอกจากจะนำมาใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆอีก เช่นนำมาบริโภคเป็นอาหาร อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องดื่ม สีผสมอาหาร และสีย้อม ตลอดจนใช้ทำเครื่องสำอางอีกด้วย
คุณสมบั ติของสมุนไพร 1. ทำลายหรือยับยั้งเชื้อโรค 2. ส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันโรค 3. บรรเทาอาการเจ็บป่วย และปรับสภาพร่างกายให้เป็นปกติ 4. มีผลข้างเคียงหรือตกค้างน้อยมาก เนื่องจากเป็นสารธรรมชาติ
สมุนไพรแบ่งตามหลักวิชาออกเป็น 2 สาขา • สมุนไพรแผนโบราณ • สมุนไพรแผนปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. สมุนไพรไทยแผนโบราณ 2.สมุนไพรจีนแผนโบราณ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไพลความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไพล • ชื่อวิทยาศาตร์ :Zinggiber cassummunar Roxb. Zingiber montanum (Koenig) Link ex • ชื่อท้องถิ่นปูลอย, ปูเลย, มิ้นสะล่าง, ว่านไฟ • ชื่อสามัญ : ปูลอย ปูเลย ไพล มิ้นสะล่าง ว่านไฟ • ชื่ออื่นๆ : ปูเลย (ภาคเหนือ), ว่านไฟ (ภาคอีสาน) พันเลย (Phan-loei)เขมร ปันเลย (Phan-loei) • ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ • ไม้ล้มลุก สูง 0.7-1.5 ม. มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองแกมเขียวมีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกันใบเดียวเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 ซม. ยาว 18-35 ซม. ดอกช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผลเป็นผลแห้ง รูปกลม
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ • เหง้าไพลที่ใช้เป็นยาควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 3 ปี จะมีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 0.8 % ซึ่งมีองค์ประกอบ หลักเป็นสารกลุ่ม terpenoid และ phenylbutanoid เช่น a-pinene , sabinene, a-terpinene, terpinen-4-o1 เป็นต้น และมีสารสีเหลือง ชื่อ curcumin ไพลเป็นยาลดการอักเสบ แก้เคล็ด ขัดยอก แก้ปวด โดยทำการศึกษาทางด้านเภสัชวิทยาของ น้ำมันไพล พบว่า มีผลลดการอักเสบได้ • ครีมไพลสามารถรักษาอาการ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และอาการเคล็ดขัดยอกได้ และนอกจากนี้ ยังพบว่าน้ำคั้นจากเหง้าไพลมีฤทธิ์ ทำให้ปลายประสาทชา จึงทำให้ลดอาการปวดเมื่อยได้
สรรพคุณและวิธีใช้ 1.ใช้เหง้าสด 4 - 5 แว่น ตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนชา ใช้รับ ประทานหรือฝนกับน้ำปูน ใสรับประทาน 2.ใช้เหง้าแห้งบดเป็นผง 1/2 ถึง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนดื่ม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ 3.ใช้เหง้าไพลแก่สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อย และเคล็ดขัดยอกได้ เพราะมีน้ำมันหอมระเหยที่สามารถลดอาการอักเสบ และลดอาการปวดได้เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะแห่ง 4.ใช้น้ำมันสกัดจากเหง้าไพล ทานวดแก้ปวดบวม
5.ใช้เหง้าไพลสด ตำคั้นน้ำทาบริเวณที่ปวดเมื่อย ขัดยอก เหง้าไพลสด ตำละเอียดผสมเกลือเล็กน้อย คลุกเคล้าให้ทั่ว แล้วนำมาห่อผ้าทำเป็นลูกประคบ อังไอน้ำให้ความร้อน ประคบบริเวณที่ปวดเมื่อย เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย 6. ใช้เหง้าสดหรือแห้งบดเป็นผงให้กิน แก้อาการท้องร่วง บิด ขับลม สมานแผลในลำไส้ ขยายหลอดลม รักษาโรคหอบหืดอ่อนๆ ลดการเกร็งของลำไส้
การขยายพันธุ์ • ต้องเตรียมเหง้าพันธุ์ที่หัวพันธุ์มีอายุมากกว่า 1 ปี มีตาสมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงเข้าทำลาย ปล่อยให้หัวพันธุ์พักตัวในระยะเวลาหนึ่ง แล้วทำการแช่ใน Indole acetic acid (IAA) ที่ระดับความเข้มข้น 250 ppm เป็นเวลา 24 ชม. จะช่วยกระตุ้นให้หัวไพลงอกได้เร็วขึ้น จะทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น โดยแบ่งหัวพันธุ์ให้มีน้ำหนัก 100 กรัม/หัว มีตา 3-5 ตา และชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อราก่อนปลูก อัตราการใช้พันธุ์/ไร่ ปริมาณหัวพันธุ์ที่ใช้ 960 กิโลกรัมต่อไร่
การปลูก • สามารถทำได้ 2 วิธี คือ 1. ปลูกโดยใช้เหง้า ตัดเป็นท่อน ๆ ชุบด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรา ทิ้งไว้สักครู่ แล้วทำการปลูกลงในแปลงที่เตรียมไว้ ระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว 25x27 เซนติเมตร และกลบดินให้มิด หนาประมาณ2-3 ซม. คลุมด้วยฟางหรือใบหญ้าคาตากแห้ง หนาประมาณ 2 นิ้ว รดน้ำทันที 2. ปลูกโดยใช้เหง้าเพาะให้งอกก่อน โดยทำการเพาะเหง้าที่ตัดเป็นท่อน ๆ ในกระบะทราย ให้แทงยอด แตกใบประมาณ 2-3 ใบ จึงย้ายลงปลูกในแปลงปลูก
การเก็บเกี่ยว • ระยะเวลาเก็บเกี่ยว ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงวันที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไพลจะใช้ระยะเวลานาน 2-3 ปี เป็นระยะเวลาที่เหมาะสม ในการนำไพลไปสกัดน้ำมัน จะได้ปริมาณน้ำมันมาก และมีคุณภาพ เก็บหัวไพลช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม จะสังเกตเห็นต้นไพลแห้งและฟุบลงกับพื้น ห้ามเก็บหัวไพลขณะที่เริ่มแตกหน่อใหม่ เพราะจะทำให้ได้น้ำมันไพลทีมีปริมาณและคุณภาพต่ำ
วิธีการเก็บเกี่ยว • ใช้จอบ เสียมขุด หรือนิยมใช้อีเทอร์ (อีจิก) ขุดเหง้าไพลขึ้นมาจากดิน (ต้องระวังไม่ให้เกิดแผลหรือรอยช้ำกับเหง้า) เขย่าดินออก ตัดรากแล้วนำไปผึ่งลมให้แห้ง เก็บผลผลิตบรรจุกระสอบพร้อมที่จะนำไปสกัดน้ำมันไพล
จัดทำโดย นางสาวยูวารี แลสารี รหัส 404652005 โปรแกรมชีววิทยาประยุกติ์ กลุ่มที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ขอบคุณค่ะ