450 likes | 549 Views
ความเป็นมา และ ผลจากการมีระบบทะเบียนกรรมการ. ชาลี จันทนยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงาน ก.ล.ต. 16 กุมภาพันธ์ 2548. หัวข้อบรรยาย. ปัญหาด้านโครงสร้างของบริษัทจดทะเบียนไทย มาตรการแก้ไข กรณีตัวอย่าง. ปัญหาด้านโครงสร้างของบริษัทจดทะเบียนไทย. ประเด็นปัญหา.
E N D
ความเป็นมา และ ผลจากการมีระบบทะเบียนกรรมการ ชาลี จันทนยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงาน ก.ล.ต. 16 กุมภาพันธ์ 2548
หัวข้อบรรยาย • ปัญหาด้านโครงสร้างของบริษัทจดทะเบียนไทย • มาตรการแก้ไข • กรณีตัวอย่าง
ปัญหาด้านโครงสร้างของบริษัทจดทะเบียนไทยปัญหาด้านโครงสร้างของบริษัทจดทะเบียนไทย
ประเด็นปัญหา • บริษัทจำนวนมากยังบริหารงานแบบครอบครัว • กรรมการหลายท่านไม่ทราบบทบาทหน้าที่ • หลายท่านมีความตั้งใจดี แต่ไม่มีแนวปฏิบัติให้ยึดถือ • ไม่มีความเข้าใจเรื่อง fiduciary duties • ผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นในกรรมการอิสระ • เครื่องมือในการลงโทษมีจำกัด • การฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง : ผู้ถือหุ้นไม่มีแรงจูงใจ • การดำเนินคดีอาญา : ยุ่งยาก ใช้เวลานาน
มาตรการ • การให้ความรู้ • การกำหนดคุณสมบัติกรรมการอิสระ และโครงสร้างคณะกรรมการบริษัท • การแก้ไขกฎหมายเพื่อกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนขึ้น • การมีระบบทะเบียนกรรมการ • การมีคณะทำงานวินัยกรรมการ
1. การให้ความรู้ • Director’s Handbook = Guideline สำหรับการทำหน้าที่มี 3 ส่วน คือ • บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของ “กรรมการ” และ “คณะกรรมการ”: อธิบายหลักการ fiduciary duties • แนวทางปฏิบัติของ “กรรมการ”: เสนอแนะแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องต่าง ๆ ของกรรมการ เช่น การเปิดเผยข้อมูล การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน เป็นต้น • การรักษาสิทธิและการจัดประชุมผู้ถือหุ้น : อธิบายและเสนอแนะแนวทางการจัดประชุมผู้ถือหุ้น
1. การให้ความรู้ • Course หลัก ๆ ของ IOD • DCP (Director Certification Program) • DAP (Director Accreditation Program) • ACP (Audit Committee Program) • Chairman 2000 • Finance for Non-Finance Directors Program
2. คุณสมบัติของกรรมการอิสระและโครงสร้างคณะกรรมการ • ข้อกำหนดปัจจุบัน • กลต. และ ตลท.กำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำของกรรมการอิสระ • กลต. มีหนังสือเวียน กระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียน กำหนดคุณสมบัติให้เข้มข้นขึ้น
2. คุณสมบัติของกรรมการอิสระและโครงสร้างคณะกรรมการ
2. คุณสมบัติของกรรมการอิสระและโครงสร้างคณะกรรมการ(ต่อ)
2. คุณสมบัติของกรรมการอิสระและโครงสร้างคณะกรรมการ(ต่อ) แนวทางในต่างประเทศ • กำหนดระยะเวลาห้ามมีส่วนได้เสียไว้ 3 - 5 ปี หรือดูตามความเหมาะสม เพื่อให้ความสัมพันธ์บางกรณีที่มีมานานกว่าระยะเวลาห้าม แต่ดูแล้วไม่เหมาะสม ก็สามารถพิจารณาได้ว่ามีส่วนได้เสียจนไม่สามารถเป็นกรรมการอิสระได้ • เน้นการมีกลไกให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยมีส่วนร่วมในการเลือกกรรมการอิสระได้
2. คุณสมบัติของกรรมการอิสระและโครงสร้างคณะกรรมการ(ต่อ) โครงสร้างคณะกรรมการ • ข้อกำหนดขั้นต่ำของ กลต. กรรมการอิสระอย่างน้อย 3 คน • ข้อเสนอ ตลท. ตามหลัก CG 15 ข้อ กรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 • แนวปฏิบัติในต่างประเทศ กรรมการอิสระเกินครึ่ง ประธานกรรมการเป็นกรรมการอิสระที่ไม่ใช่ผู้บริหาร (independent non-executive director)
3. การแก้ไขกฎหมายเพื่อกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนขึ้น วัตถุประสงค์ 1. เพิ่มการคุ้มครองกรรมการที่ทำหน้าที่ดีแล้ว = safe harbor 2. เพิ่มความรับผิดของกรรมการที่ไม่รักษาหน้าที่ 3. เพิ่มข้อกำหนดให้ต้องมีเลขานุการบริษัท และกำหนดบทบาทหน้าที่
3. การแก้ไขกฎหมายเพื่อกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนขึ้น (ต่อ) 1. เพิ่ม safe harbor จะถือว่าทำหน้าที่แล้ว ถ้า ... • ตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล • บนพื้นฐานข้อมูลที่เชื่อว่าเพียงพอ ถูกต้อง • ไม่มีส่วนได้เสีย ทั้งทางตรงทางอ้อม • ทำโดยสุจริตเพื่อประโยชน์ของบริษัท • มีจุดมุ่งหมายโดยชอบและเหมาะสม ROADM AP
3. การแก้ไขกฎหมายเพื่อกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนขึ้น (ต่อ) 2. เพิ่มความรับผิดของกรรมการที่ไม่รักษาหน้าที่ • เปรียบเทียบปรับได้ และเพิ่มโทษอาญา ถ้าฝ่าฝืนโดยทุจริต • เรียกประโยชน์ที่กรรมการได้โดยไม่ชอบ คืนให้บริษัทได้ • ถ้าทุจริต หรือเลินเล่อร้ายแรง จะใช้มติผู้ถือหุ้นฟอกตัวไม่ได้ • กรณีต่อไปนี้ก็ฟอกตัวไม่ได้ - ให้ข้อมูลเท็จ ไม่ครบ - เบียดบังทรัพย์สิน / ประโยชน์ของบริษัท- ทำให้บริษัท insolvent โดยรู้อยู่ก่อนแล้ว
3. การแก้ไขกฎหมายเพื่อกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนขึ้น (ต่อ) 3. เพิ่มเติมให้บริษัทต้องแต่งตั้งเลขานุการบริษัท เพื่อรับผิดชอบจัดทำและจัดเก็บเอกสารสำคัญๆ ของบริษัท เช่น ข้อมูลกรรมการ หนังสือนัดประชุม รายงานการประชุมทั้งระดับกรรมการและผู้ถือหุ้น เป็นต้น
4. การมีระบบทะเบียนกรรมการ • ทำไมต้องมีระบบทะเบียนกรรมการ เพิ่มมาตรการเชิงบริหาร เพราะ • กรรมการที่ถูก blacklist จะไม่สามารถเป็นกรรมการบริษัทจดทะเบียนใด ๆ = ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียนอื่น • บริษัทจดทะเบียนที่เสียหาย อาจได้รับการแก้ไขรายการ = เยียวยาผู้ถือหุ้น
4. การมีระบบทะเบียนกรรมการ (ต่อ) • ใครบ้างที่ต้องเข้าระบบทะเบียนกรรมการ กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง บจ. + บริษัทที่จะออกหลักทรัพย์ (บริษัท IPO) • รายชื่อในระบบทะเบียนกรรมการอยู่ในรูปแบบใด • whitelist • เริ่มเมื่อไหร่ • ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2548 : บริษัท IPO /บจ. ต้องมีกรรมการ + ผู้บริหาร ที่มีชื่อในระบบทะเบียนกรรมการ • 1 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2548 = ช่วง test run ระบบ : บจ. ทั้งหมดต้อง key รายชื่อ / ประวัติของกรรมการ + ผู้บริหารเข้าระบบ
4. การมีระบบทะเบียนกรรมการ(ต่อ) • ข้อมูลที่บริษัทต้อง key เข้าระบบมีอะไรบ้าง • ข้อมูลทั่วไป • ชื่อ/นามสกุล (ไทยและอังกฤษ) • หมายเลขบัตรประจำตัว (บัตรประชาชนหรือ passport) • ที่อยู่ที่ติดต่อได้ • วุฒิการศึกษา • ประวัติการอบรมกับ IOD • ลักษณะต้องห้าม : checklist ลักษณะต้องห้ามตามประกาศ กลต. • คำรับรองความถูกต้องของข้อมูล
ต่อ 4. การมีระบบทะเบียนกรรมการ(ต่อ) • การนำชื่อเข้าระบบทะเบียนกรรมการ กรรมการ+ผู้บริหารกรอกแบบฟอร์ม พร้อมรับรองความถูกต้องให้บริษัท บริษัทรวบรวมข้อมูลจากกรรมการ+ผู้บริหารทุกราย ส่ง hard copy เพื่อ กลต. ใช้ตรวจทานความถูกต้องก่อนจัดเก็บข้อมูลเข้าระบบและเผยแพร่ on-line ผ่าน website กลต. โดยเจ้าหน้าที่บริษัท
เช็คว่ามีชื่อใน blacklist หรือไม่ 4. การมีระบบทะเบียนกรรมการ(ต่อ) • การนำชื่อเข้าระบบทะเบียนกรรมการ (ต่อ) กลต. ได้รับข้อมูลที่ส่งมาทาง website มี ไม่มี ไม่รับลงทะเบียน + แจ้งบริษัทว่ากรรมการ/ผู้บริหารรายใดขาดคุณสมบัติ + แจ้งกรรมการ/ผู้บริหารรายนั้น ๆ รับลงทะเบียน +แสดงชื่อในwhite list
4. การมีระบบทะเบียนกรรมการ(ต่อ) • การปฏิเสธและเพิกถอนรายชื่อออกจากระบบ • การปฏิเสธ • มีชื่ออยู่ใน blacklist • การถอนชื่อ • เสียชีวิต พ้นตำแหน่ง • ถูกเพิ่มชื่อใน blacklist
5. การมีคณะทำงานวินัยกรรมการ • ทำไมต้องมีคณะทำงานวินัยกรรมการ ให้คำปรึกษา / ข้อเสนอแนะกับ สนง.เกี่ยวกับมาตรการดำเนินการ เช่น ให้อธิบาย แก้ไข/ยกเลิกการกระทำ ภาคทัณฑ์ หรือ blacklist ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ซึ่งสามารถให้ความเห็น ได้อย่างอิสระ เพื่อให้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบโดยฟังเหตุผลในเชิงธุรกิจด้วย เพื่อให้มี check&balance โปร่งใสและเป็นธรรม
5. การมีคณะทำงานวินัยกรรมการ(ต่อ)5.1 การจัดทำ blacklist • ประเภทความผิดที่เข้าข่าย blacklist : มี4ลักษณะ 1. ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ล้มละลาย 2. ถูกดำเนินคดีโดยหน่วยงานทางการ ทั้งในและต่างประเทศ ในเรื่องร้ายแรง 3. กระทำความผิดตามกฎหมายหลักทรัพย์ในเรื่องร้ายแรง: ไม่สุจริต ฉ้อฉล ไม่เป็นธรรมหรือเอาเปรียบผู้ลงทุน อำพรางฐานะการเงิน/ผลการดำเนินงาน ให้ข้อมูลเท็จ หรือปกปิดข้อมูล 4. มีพฤติกรรมขาด fiduciary duties อย่างร้ายแรง
ต่อ 5. การมีคณะทำงานวินัยกรรมการ(ต่อ)5.2 กระบวนการ blacklist ถูกทางการดำเนินคดี หรือมีคำตัดสินแล้ว มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมแต่ไม่ถึงขั้นผิดอาญา กลต. ขอให้ชี้แจง/ให้แก้ไขรายการ รับฟังไม่ได้ / ไม่แก้ไข รับฟังได้/ยอมแก้ไข blacklist เสนอคณะทำงานวินัยกรรมการ ยุติเรื่อง
5. การมีคณะทำงานวินัยกรรมการ(ต่อ)5.2 กระบวนการ blacklist (ต่อ) คณะทำงานฯ พิจารณาข้อเท็จจริงและฟังคำชี้แจง อุทธรณ์ต่อ board กลต. / ศาลปกครอง รับฟังได้ รับฟังไม่ได้ ยุติเรื่อง กลต. แจ้งระยะเวลา blacklist ผู้กระทำผิด blacklist
สรุป ความรับผิดของกรรมการมีทั้ง ... • แพ่ง: ถูกผู้ถือหุ้นฟ้องเรียกค่าเสียหาย • อาญา: กระทำโดยทุจริต จำคุก • บริหาร: ถอนชื่อจากระบบ เป็นกรรมการไม่ได้
ตัวอย่าง 1. กรณีฉ้อโกง ทุจริต 2. กรณีสร้างราคาหุ้น 3. กรณีแพร่ข่าว ข้อความเท็จ 4. กรณีใช้ข้อมูลภายใน
1.กรณีฉ้อโกง ทุจริต ตัวอย่างที่ 1 : บมจ. A • ข้อเท็จจริง • ตั้งแต่ปี 2538 บมจ. A มีบัญชีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นทุกปี • งบการเงินสิ้นปี 2540 ของ บมจ. A ปรากฏค่าเผื่อการด้อยค่าเงินลงทุนจำนวน 500 ล้านบาท
1.กรณีฉ้อโกง ทุจริต(ต่อ) ตัวอย่างที่ 1 : บมจ. A (ต่อ) • ผลการตรวจสอบของ กลต. • นาย ก ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของ บมจ. A นำเงินไปลงทุนในกิจการส่วนตัวหลายแห่ง โดยไม่ขออนุมัติ board ทำให้บมจ. A เสียหาย • กิจการส่วนตัวที่นาย ก ไปลงทุน บางแห่งก็ไม่ได้มีการประกอบธุรกิจ บางแห่งก็มีผลขาดทุนจำนวนมาก • นาย ก สั่งการให้ นาย ข ซึ่งเป็นเลขานุการบริษัท ทำรายงานการประชุม board ปลอมว่า board อนุมัติให้บมจ. A ไปลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้อง Blacklist : นาย ก. ผู้กระทำการ นาย ข. ผู้ร่วมสนับสนุน
1.กรณีฉ้อโกง ทุจริต (ต่อ) ตัวอย่างที่ 2 : บมจ. B • ข้อเท็จจริง • งบการเงินของ บมจ. B ตั้งแต่ปี 2541 ถึง 2543 ปรากฏผลกำไรทุกปี • ปี 2544 ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่าวิธีการบันทึกบัญชีรายได้ไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีรับรองทั่วไปซึ่งถ้าปรับปรุงให้ถูกต้อง บมจ. B จะขาดทุนเป็นจำนวนมาก
1.กรณีฉ้อโกง ทุจริต (ต่อ) ตัวอย่างที่ 2 : บมจ. B (ต่อ) • ผลการตรวจสอบของ กลต. • MD จงใจแต่งบัญชี เพื่อลวงผู้ถือหุ้นว่า บมจ. B มีกำไร • ขายหุ้นของตนออกไปเป็นจำนวนมาก ก่อนจะแก้ไขงบให้ถูกต้อง • ไม่รายงานการซื้อขายให้ผู้ลงทุนทราบ Blacklist : MD ผู้กระทำการ
1.กรณีฉ้อโกง ทุจริต (ต่อ) ตัวอย่างที่ 3 : บมจ. C • ข้อเท็จจริง • กรรมการ 3 ราย ร่วมกันนำรายงานการประชุม board ไปเปิดบัญชี O/D • รายงานการประชุม board ระบุว่า ให้กรรมการทั้ง 3 รายดังกล่าวเป็นผู้มีอำนาจเบิกจ่ายเงินจากบัญชี
1.กรณีฉ้อโกง ทุจริต (ต่อ) ตัวอย่างที่ 3 : บมจ. C (ต่อ) • ผลการตรวจสอบของ กลต. • กรรมการทั้ง 3 ราย ร่วมกันปลอมรายงานการประชุม board ที่ใช้เป็นเอกสารประกอบการเปิดบัญชี • กรรมการทั้ง 3 ราย เบิกเงินจากธนาคาร 8 แห่ง รวม 400 ล้านบาทนำไปเข้าบัญชีส่วนตัว ทำให้ บมจ. C มีหนี้สินค้างชำระกับธนาคารเป็นจำนวนมาก • กรรมการอิสระแจ้งภายหลังว่า ไม่เคยมีการประชุม board ครั้งดังกล่าว • บมจ. C ไม่สามารถจัดทำบัญชีได้ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง Blacklist : กรรมการทั้ง 3 ราย ที่ร่วมกันกระทำการ
2.กรณีสร้างราคาหุ้น • ข้อเท็จจริง • ในช่วงเดือน ก.ย. – พ.ย. 2544มีข่าวลือในห้องค้าเกี่ยวกับราคาหุ้นของ บมจ. D • ปริมาณการซื้อขายหุ้นของ บมจ. D ในช่วงนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก
2.กรณีสร้างราคาหุ้น (ต่อ) • ผลการตรวจสอบของ กลต. • ประธานกรรมการ และ MD ของ บมจ. D ร่วมกันซื้อขายหุ้น ผ่านบัญชีตนเองและผู้เกี่ยวข้อง • ราคา และปริมาณซื้อขายหุ้นผิดปกติ ไม่สอดคล้องกับสภาพตลาด โดยมีลักษณะการทำรายการ ดังนี้ • จับคู่ซื้อขายกันเอง • ส่งคำสั่งซื้อขายหลายระดับในช่วงก่อนเวลาเปิด และทำราคาปิด • ซื้อหุ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ราคาสูงขึ้น • แตกคำสั่งเป็นคำสั่งย่อย ๆ ให้ดูเสมือนว่ามีผู้ต้องการหุ้นอย่างต่อเนื่อง Blacklist : ประธานกรรมการ และ MD ที่ร่วมกันกระทำการ
3.กรณีแพร่ข่าว ข้อความเท็จ • ข้อเท็จจริง • บมจ. E อยู่ระหว่างยื่นขอเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน • บมจ. E สั่งให้บริษัท F ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษา เผยแพร่รายงานการประเมินมูลค่าบริษัท และราคาหุ้นของ บมจ. E ผ่านสื่อต่าง ๆ โดยไม่ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ และไม่เปิดเผยในร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อ กลต.
3.กรณีแพร่ข่าว ข้อความเท็จ(ต่อ) • ผลการตรวจสอบของ กลต. • ข้อมูลที่เผยแพร่ : บมจ. E มีมูลค่า 10,000 ล้านบาท และมูลค่าที่เหมาะสมคือ 100 บาท/หุ้น (ขณะนั้นหุ้น บมจ. E ราคาประมาณ 50 บาท/หุ้น ) • ข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษาทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดว่า หุ้นของ บมจ. E จะมีราคาสูงขึ้น Blacklist : MD บมจ. E และบริษัท F ที่ปรึกษา
4.กรณีใช้ข้อมูลภายใน • ข้อเท็จจริง • บมจ. G ได้รับรายงานผลการตรวจสอบจากหน่วยงานกำกับดูแล • บมจ. G เสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพิจารณารายงานดังกล่าว โดยที่ประชุมมีนาย ค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนาย ง ผู้อำนวยการฝ่ายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ร่วมประชุมด้วย
4.กรณีใช้ข้อมูลภายใน(ต่อ)4.กรณีใช้ข้อมูลภายใน(ต่อ) • ผลการตรวจสอบของ กลต. • ก่อนที่งบการเงินจะเผยแพร่ นาย ค และนาย ง ได้ทยอยขายหุ้นของ บมจ. G ที่ตนถืออยู่ออกเป็นจำนวนมาก • นาย ค และนาย ง ได้ใช้ข้อมูลในรายงานผลการตรวจสอบของหน่วยงานกำกับดูแล โดยรายงานผลการตรวจสอบระบุว่าบมจ. G ต้องตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มอีกประมาณ 10,000 ล้านบาท Blacklist : นาย ค และนาย ง ผู้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายใน