220 likes | 506 Views
ความขัดแย้งระหว่างไทย - กัมพูชา. : กรณีพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนทางทะเล. จุดกำเนิดพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา.
E N D
ความขัดแย้งระหว่างไทย - กัมพูชา :กรณีพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนทางทะเล
จุดกำเนิดพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชาจุดกำเนิดพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา • ที่ประชุมว่าด้วยกฎหมายทะเล ครั้งที่1 ที่จัดขึ้น ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ถึง 28 เมษายน 2501 มีมติเห็นชอบและลงนามเพื่อรับหลักการของอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายทะเล 4 ฉบับได้แก่ กฎหมายว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง อนุสัญญาว่าด้วยการประมงและการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตในทะเลหลวงและ อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งทั้งหมดนี้จะเรียกว่า อนุสัญญาเจนีวา ค.ศ.1958 ในการประชุมครั้งนี้มีตัวแทนเข้าร่วมการประชุม คือพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมกมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
ทั้งอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ได้บัญญัติเขตอำนาจของรัฐชายฝั่งเหนือไหล่ทวีป โดยกำหนดให้รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยเหนือทรัยากรธรรมชาติบนและใต้ไหล่ทวีป ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต • กัมพูชาได้กำหนดไหล่ทวีปแต่ฝ่ายเดียว ครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2516 แต่เส้นเขตไหล่ทวีปที่กัมพูชาประกาศไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ประเทศไทยจึงไม่ยอมรับ ต่อมารัฐบาลกัมพูชาประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาในอ่าวไทย ลงนามโดย ลอนนอล ประธานาธิบดีของกัมพูชา โดยประกาศเขตไหล่ทวีปในครั้งนี้มีพื้นที่ประมาณ 16200 ตารางไมล์ • ประเทศไทยได้มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 โดยยึดหลักเขตแดนที่73 เป็นจุดเริ่มต้นในการลากเส้นออกไปยังอ่าวไทย
เกาะกูด • ประเด็นที่น่าพิจารณาเกี่ยวกับแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปทับซ้อนของกัมพูชาในอ่าวไทย เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ลากเส้นผ่านกึ่งกลางเกาะกูด
แผนที่เขตไหล่ทวีปทับซ้อนทางทะเลแผนที่เขตไหล่ทวีปทับซ้อนทางทะเล
วิธีการจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นวิธีการจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น • การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา รัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาได้เปิดการเจรจาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันกว่า 26000 ตารางกิโลเมตรขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ 2-5 ธันวาคม 2513 ที่กรุงพนมเปญ แต่ยังไม่มีสาระมากนักนอกจากนี้ท่าทีของแต่ละฝ่ายก็ไม่สามารถหาข้อสรุปใดๆได้ จนกระทั่งในปี2533 รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี สามารถบรรลุผลการเจรจาเพื่อผลักดันให้องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ซึ่งในกรณีไทย- กัมพูชาเช่นกันให้มีการจัดตั้งองค์กรพัฒนาร่วมปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ ในเขตพื้นที่ทับซ้อน แต่ก็ไม่มีอะไรคืบหน้ามากนักเพราะในขณะนั้นกัมพูชายังมีปัญหาเขมร 4 ฝ่ายอยู่ที่เป็นปัญหาลำดับต้น และต่อมาก็ได้มีการเปิดการประชุมหารือเรื่องดังกล่าวอย่างเนื่องๆ
เช่นในปี 2537 ที่กรุงเทพมหานคร 2543ที่ ชะอำ จ.เพชรบุรี ก็ยังไม่มี อะไรคืบหน้า จนกะทั่ง ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศในปี2544 (สมัยรัฐบาลทักษิณ)ได้ทำการเจรจาอีกครั้งจนสามารถกำหนดแนวทางการเจรจาและการดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนในการประชุมเจ้าที่อาวุโสทั้งสองประเทศที่เสียมราฐและนำไปสู่การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยพื้นทับซ้อนกันซึ่งนับเป็นการปิดฉากการเจรจาเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาตามกรอบดำเนินการมีฐานทางกฎหมายระหว่างประเทศรับรอง
สาระสำคัญของการบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน • บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ซึ่งลงวันที่ 18 มิถุนายน 2544 เป็นการตกลงที่สร้างกลไกในการเจรจาปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลโดยจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการเจรจาและมีสาระความเข้าใจดังนี้ 1. เพื่อเป็นข้อตกลงชั่วคราวซึ่งมีลักษณะสามารถปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวได้ ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติ 1982 2 . จะเร่งรัดการเจรจา 2 เรื่อง การเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงสำหรับการพัฒนาแหล่งทรัพยากรปิโตรเลียมและเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงแบ่งเขตแดนสำหรับทะเลอาณาเขตไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจจำเพาะ
3.รัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาได้กำหนดเขตพื้นที่ของการอ้างสิทธิทับซ้อนจะต้องเจรจาเพื่อการแบ่งเขตแดนสำหรับทะเลเขตอาณาเขต ไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจจำเพาะพื้นที่เหนือเส้นละติจูดที่ 11 องศา เหนือขึ้นไป และเขตพัฒนาร่วมพื้นที่ใต้เส้นละติจูดที่11องศาเหนือ ลงมา
5. รัฐบาลไทยและกัมพูชาตกลงที่จะจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชาขึ้น ประกอบด้วนเจ้าหน้าที่ของไทยและกัมพูชา ซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากแต่ละประเทศ ทั้งนี้ คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชามีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดดังนี้ • เงื่อนไขที่ตกลงร่วมกันของความตกลงในการพัฒนาร่วม รวมทั้งพื้นฐานซึ่งยอมรับร่วมกันในการแบ่งปันค่าใช่จ่ายและผลประโยชน์ของการแสวงหาประโยชน์จากปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วม • เขตอาณาเขต ไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจจำเพาะของแต่ละฝ่านตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
สรุป:กรณีความขัดแย้งเขตไหล่ทวีปทับซ้อนไทย-กัมพูชาสรุป:กรณีความขัดแย้งเขตไหล่ทวีปทับซ้อนไทย-กัมพูชา • ความขัดแย้งในเรื่องดังกล่าวนี้ ที่มาก็เกิดจากโลกประกาศใช้กฎหมายทะเลทำให้นานาประเทศน้อยใหญ่ต่างก็หาขอบเขตอธิปไตยทางทะเลของตนเองให้เป็นไปตามอนุสัญญาเจนีวา 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล 1982 เกือบทุกประเทศทั่วโลกเกิดพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนเพราะภูมิศาสตร์ของประเทศต่างๆนั้นอยู่ใกล้ชิดกันทำให้เกิดปัญหาในทางการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความมั่นคงสำหรับพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อน ระหว่างไทยกับกัมพูชาก็เช่นเดียวเพราะหากเรามองแผนที่อ่าวไทยจะมีประเทศต่างเชื่อมกันอยู่ทั้ง ไทย กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ซึ่ง สี่ประเทศนี้เป็นประเทศที่มีปัญหาดังกล่าวกันทั้งสิ้น แต่บางส่วนก็มีการแก้ไขแล้วเสร็จแล้วเช่นไทย เวียดนาม กรณีนี้เป็นการแบ่งเขตพื้นที่โดยการแบ่งพื้นที่ทับซ้อนครึ่งต่อครึ่ง ส่วน ไทยกับ มาเลเซีย ก็เป็นพัฒนาร่วมของเขตพื้นที่ทับซ้อนเพราะมีปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติที่สำคัญก็คือพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนไทย-มาเลเซียนั้นหาข้อตกลงที่ดีไปกว่านี้ไม่ได้นั้นเอง
แต่สำหรับไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างไทยกัมพูชาไม่สามารถหาวิธีแก้ไขปัญหาได้เป็นแค่กลไกในการดำเนินทางในการแก้ไขปัญหายังไม่มีผลใดๆในการบังคับใช้แม้ทั้งไทยและกัมพูชาจะหาวิธีการต่างๆในการคลี่คลายปัญหาเช่น การจัดประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องดั่งกล่าวหรือพบปะหารือของตัวแทนทั้งสองประเทศอย่างไม่เป็นทางการหรือการจัดตั้งกรรมการในเรื่องดังกล่าวร่วมไปถึงการจัดตั้งอนุกรรมการทางเทคนิคของเรื่องดังกล่าวในการหาวิธีแก้ไขแต่ก็ไม่มีอะไรเป็นรูปธรรม แต่สำหรับประเด็นที่การลากเส้นไหล่ทวีปผ่านกึ่งกลางเกาะกูดนั้นทางไม่เห็น ชอบด้วยเพราะเกาะกูดเป็นของไทยตามสนธิสัญญาไทย กับฝรั่งเศส 1907 ข้อสองซึ่งระบุว่ารับบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราดกับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงห์ลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม ซึ่งหมายความว่าไทยมีอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าฝ่ายกัมพูชาได้ประกาศไหล่ทวีปก่อนไทยทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบในเรื่องดังกล่าว
นั้นถือเป็นข้อบกพร่องของไทยเองที่มีการประกาศไหล่ทวีปช้ากว่าแต่เรื่องนี้ก็เป็นไปตามหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคในการไกล่เกลี่ยและเรื่องนี้ก็ได้ดำเนินตามหลักเกณฑ์ที่ว่างไว้และเรื่องก็ดำเนินไปอย่างสันติจนกระทั่งหลังการรัฐประหารรัฐบาลทักษิณ เรื่องนี้กลับตึงเครียดมากขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี กษัตริย์แห่งกัมพูชาทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาโปรดเกล้า แต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชาและประกอบกับกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาต่อองค์การยูเนสโก้ ผนวกรวมกับความไม่ไว้วางใจของผู้นำกัมพูชาต่อผู้นำไทย ที่เคยวิภาควิจารณ์ กัมพูชาในกรณีปราสาทเขาพระวิหารในอดีต เมื่อคุณทักษิณได้เป็นที่ปรึกษาของฮุนเซนทำให้ทางรัฐบาลไทยประกาศที่จะยกเลิก MOU ที่ทำกับประเทศกัมพูชาลงทั้งหมดเพราะกระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า
เป็นที่ไม่ควรเพราะในสมัยรัฐบาลทักษิณก็ทำMOUกับกัมพูชามาแล้วและเป็นเหตุให้การไกล่เกลี่ยเป็นการลำบากมากขึ้นเพราะคุณทักษิณจะรู้เชิงของการเจรจาของไทยและทำให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงอย่างกว้างขวางจากนั้นนายกษิต ภิรมย์รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศได้นำเรื่องการบอกเลิกMOUระหว่างไทย กัมพูชาเสนอให้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 10 พฤษจิกายน 2552 เห็นชอบที่จะยกเลิกMOUแต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการบอกเลิกMOUดังกล่าวนั้นถือเป็นหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาดังกล่าว จึงอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 190 ซึ่งต้องเห็นชอบต่อรัฐสภาก่อนดำเนินการยกเลิกแต่การบอกเลิกครั้งนี้ก็จ่างไปเพราะเหตุการณ์ตึงเครียดทางบกของประสาทเขาพระวิหารเลยทำให้เรื่องดังกล่าวนี้ถูกเก็บไว้จนถึงปัจจุบัน
สำหรับเรื่องสัมปทานปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติทั้งไทยและกัมพูชาก็ดำเนินให้บริษัทเอกชนสำรวจบ่อก๊าซ ปิโตรเลี่ยม และค้นพบก๊าซและ ปิโตรเลี่ยมเชิงพาณิชย์จำนวนมากในบริเวณพื้นที่ทับซ้อน แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีประเทศใดได้เริ่มขุดเจาะเพราะยังไม่มีการตกลงอย่างแน่นอนของทั้งสองฝ่าย แม้จะมีบริษัทต่างๆร่วมสัมปทานแล้วก็ตาม สาเหตุที่เจรจากันไม่เป็นผลเพราะฝ่ายไทยจะให้แบ่งอาณาเขตให้เรียบร้อยก่อนการขุดเจาะแต่ฝ่ายกัมพูชาต้องการที่จะให้เป็นเขตพัฒนาร่วมเพื่อให้ไทยเป็นผู้สัมปทานเพื่อนำรายได้ไปพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในประเทศของตนที่ดำเนิดการ แต่อย่างไรก็ตามทุกอย่างเป็นแค่สิ่งที่วางเอาไว้แต่ยังไม่ปฏิบัติเป็นรูปธรรมเพราะทุกอย่างยังไม่มีการไกล่เกลี่ยแก้ไขอย่างเสร็จสมบูรณ์อาจเป็นเพราะความขัดแย้งเขาพระวิหารที่รุนแรงขึ้นทุกวัน
สัมปทานของไทย -กัมพูชา
จัดทำโดย • นายซูไฮมิง แมเราะ รหัส 5120710042 คณะรัฐศาสตร์ เอกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ