1 / 25

นโยบายและความสำคัญ ของการจัดบริการอาชีวอนามัย สำหรับแรงงานนอกระบบหรือแรงงานชุมชน

นโยบายและความสำคัญ ของการจัดบริการอาชีวอนามัย สำหรับแรงงานนอกระบบหรือแรงงานชุมชน. นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. แรงงานนอกระบบหรือแรงงานชุมชน.

sabin
Download Presentation

นโยบายและความสำคัญ ของการจัดบริการอาชีวอนามัย สำหรับแรงงานนอกระบบหรือแรงงานชุมชน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นโยบายและความสำคัญของการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับแรงงานนอกระบบหรือแรงงานชุมชนนโยบายและความสำคัญของการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับแรงงานนอกระบบหรือแรงงานชุมชน นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค

  2. แรงงานนอกระบบหรือแรงงานชุมชนแรงงานนอกระบบหรือแรงงานชุมชน คือผู้มีงานทำ มีค่าตอบแทนหรือรายได้จากการทำงาน แต่ไม่ได้รับการคุ้มครองหรือหลักประกันสังคม เนื่องจากไม่มีสภาพการจ้างงานตามกฎหมายแรงงาน แรงงานกลุ่มนี้ได้แก่ เกษตรกร ผู้ทำงานการผลิตที่บ้าน หรือกลุ่มรับจ้างบริการต่างๆ

  3. แรงงานนอกระบบกับปัญหาอาชีวอนามัยแรงงานนอกระบบกับปัญหาอาชีวอนามัย • ปัจจุบันไม่ทราบจำนวน(คาดการณ์ว่าน่าจะมีจำนวนประมาณ 24 ล้านคน) และสถานการณ์ปัญหาทางด้านสุขภาพโดยเฉพาะทางด้านอาชีวอนามัยที่แน่นอน • ถือเป็นกลุ่มด้อยโอกาสในการเข้าถึงสิทธิและการบริการต่างๆ • สิ่งคุกคามที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเหมือนกับในภาคอุตสาหกรรมแต่มีความเสี่ยงในการรับสัมผัสสูงกว่า • ถ้าทำงานที่บ้าน สมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะเด็ก จะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญ ถือเป็นปัญหาโรคจากสิ่งแวดล้อม

  4. ลักษณะหรือปัจจัยที่ทำให้แรงงานกลุ่มนี้มีโอกาสประสบอันตรายหรือเกิดโรคจากการทำงานสูงลักษณะหรือปัจจัยที่ทำให้แรงงานกลุ่มนี้มีโอกาสประสบอันตรายหรือเกิดโรคจากการทำงานสูง • ปัจจัยทางกรรมพันธุ์หรือสุขภาพส่วนตัวทำให้มีโอกาสเกิดโรคสูง • ลักษณะงานที่ทำมีความเสี่ยงต่อสุขภาพสูงกว่า • สภาพการทำงานขาดการออกแบบหรือมาตรการเพื่อการป้องกันการเกิดอันตรายที่เหมาะสมหรืออาจไม่มีมาตรการใดๆเลย • ขาดความรู้หรือไม่สามารถเข้าถึงความรู้ในการป้องกันตนเอง • เนื่องจากงานที่คนกลุ่มนี้ทำจะมีช่วงเวลาสั้นหรือเปลี่ยนงานเร็ว ทำให้ขาดประสบการณ์ในการป้องกันตนเอง • ส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้จะมีเศรษฐานะยากจน ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ดี ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาทางสุขภาพโดยรวมสูง

  5. ลักษณะหรือปัจจัยที่ทำให้แรงงานกลุ่มนี้มีโอกาสประสบอันตรายหรือเกิดโรคจากการทำงานสูงลักษณะหรือปัจจัยที่ทำให้แรงงานกลุ่มนี้มีโอกาสประสบอันตรายหรือเกิดโรคจากการทำงานสูง • ไม่สามารถเข้าถึงความคุ้มครองตามกฎหมาย • ไม่สามารถเข้าถึงการบริการอาชีวอนามัยหรือการบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสม • เมื่อเจ็บป่วยไม่มีสวัสดิการในการรักษาและฟื้นฟู รวมทั้งไม่มีเงินทดแทนการเจ็บป่วยนั้น • ไม่สามารถรวมกลุ่มต่อรองหรือมีตัวแทนสหภาพในการเรียกร้องสิทธิในเรื่องความปลอดภัย • หน่วยงานภาครัฐ นักการเมือง นักวิชาการ รวมทั้งสังคมโดยรวม ยังให้ความสนใจในแรงงานกลุ่มนี้น้อยมาก

  6. มาตรการที่สำคัญในการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ คือการพัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับแรงงานนอกระบบ ในหน่วยบริการสาธารณสุข

  7. ลักษณะสำคัญในการจัดบริการของศูนย์สุขภาพชุมชนลักษณะสำคัญในการจัดบริการของศูนย์สุขภาพชุมชน • เน้นการป้องกันโรคและการบาดเจ็บที่เกิดจากการทำงาน • จัดรูปแบบการให้บริการแบบครบวงจรทั้งในเชิงรุกและรับ • ผสมผสานและบูรณาการงานทางด้านสาธารณสุขต่าง ๆ • พิจารณาสุขภาพแบบองค์รวม • เน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย • ใช้เทคโนโลยีอย่างง่ายและเหมาะสมกับพื้นที่

  8. กิจกรรมในการให้บริการอาชีวอนามัยกิจกรรมในการให้บริการอาชีวอนามัย • ประเมินและจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทำงาน • ดำเนินการในด้านความปลอดภัยในการทำงาน • ให้ความรู้และฝึกอบรมทางด้านอาชีวสุขศึกษา • ประเมินและเฝ้าระวังทางสุขภาพแก่ผู้ทำงาน • ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับผู้ทำงาน

  9. กิจกรรมในการให้บริการอาชีวอนามัย (ต่อ) • จัดเตรียมการในการปฐมพยาบาลและรักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน • ฟื้นฟูสภาพของผู้ทำงานหลังการเจ็บป่วย • ให้คำปรึกษาทางด้านสุขภาพ • รวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านอาชีวอนามัย รวมทั้งเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

  10. กิจกรรมในการจัดบริการอาชีวอนามัยกิจกรรมในการจัดบริการอาชีวอนามัย 1. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในสถานที่ทำงาน (Health Risk Assessment on Working Environment)

  11. 2. การวิเคราะห์และสื่อสารความเสี่ยงกับกลุ่มเป้าหมาย (Risk analysis and risk communication with the target group)

  12. 3. การตรวจประเมินสุขภาพและการรณรงค์ให้ความรู้ (Health Screening for Pesticides (Cholinesterase in blood) and increase public awareness in pesticide use)

  13. 4. การฝึกอบรมและให้สุขศึกษา (Safety Training and health education for the target groups)

  14. กลไกในการสนับสนุนการดำเนินการกลไกในการสนับสนุนการดำเนินการ • พัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัยในศูนย์สุขภาพชุมชนและหน่วยคู่สัญญาในการบริการปฐมภูมิ CUP(Contracting Unit for Primary Care) ในพื้นที่ • พัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในระบบบริการ • พัฒนาการผลักดันเชิงนโยบายในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น • พัฒนาเครือข่ายและสนับสนุนนโยบายในการดำเนินงานอาชีวอนามัยในกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับแกนนำชาวบ้าน • พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและระบบเฝ้าระวังโรคในเครือข่ายระบบบริการ สาธารณสุขนระดับพื้นที่ เขต และส่วนกลาง ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข

  15. กรอบแนวคิดของกลยุทธ์ การสนับสนุนทางด้านนโยบาย จากหน่วยงานระดับกระทรวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ • ระบบข้อมูลข่าวสาร • การพัฒนาการ • จัดบริการอาชีวอนามัย • การพัฒนาศักยภาพ • การจัดนำแนวปฏิบัติ • การสนับสนุนองค์ความรู้ • การสร้างความเข้มแข็งและการรวมตัวของ • กลุ่มแรงงานนอกระบบ

  16. เป้าหมาย/ทิศทางการดำเนินงานของกรมควบคุมโรคด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

  17. แนวทางการดำเนินงานของแผนฯ 4 ปี และ แผนฯ 2552 8 โครงการหลัก (P1 - P8) ที่ดำเนินการเชื่อมโยงกับนโยบายรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ • โครงการที่มีความสำคัญตามนโยบายรัฐบาล (Flagship) 2 โครงการ • โครงการที่เป็นภารกิจพื้นฐานของกรมควบคุมโรค 6 โครงการ 17

  18. แนวทางการดำเนินงานของแผนฯ 4 ปี และ แผนฯ 2552 (ต่อ) 1 . โครงเสริมสร้างมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อสร้างสุขภาพวิถี ชีวิตไทย (Flagship1) 2. โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการและการเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (PHER)(Flagship2) 3. โครงการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาวิชาการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 4. โครงการถ่ายทอดความรู้ในการดูแลสุขภาพ เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ภัยสุขภาพ และการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีคุณภาพ“ ตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ผู้รับบริการจากกรม ควบคุมโรค รวมทั้งประชากรกลุ่มเสี่ยงเฉพาะ ให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม” 5. โครงการพัฒนาประสิทธิภาพระบบเฝ้าระวังข่าวกรองโรคและภัยสุขภาพ “ โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากบุคคล ชุมชน หน่วยงาน และเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่นให้ เป็นระบบที่เข้มแข็ง รู้เร็ว เชื่อถือได้ของประเทศและพื้นที่” 18

  19. แนวทางการดำเนินงานของแผนฯ 4 ปี และ แผนฯ 2552 (ต่อ) 6. โครงการบริการสนับสนุนและพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัย สุขภาพ เพื่อประสานสนับสนุน แลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาให้เครือข่ายมีความ เข้มแข็งตามบทบาทตั้งแต่ระดับพื้นที่ 7. โครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร : โดย “กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี เชื่อมโยงจากแผนการบริหารราชการ แผ่นดิน และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยระบุสาระสำคัญของการดำเนินงานตามภารกิจ การใช้งบประมาณและทรัพยากรของหน่วยงานที่สามารถติดตาม ประเมินผลได้ว่า ก่อให้เกิด ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างไร รวมถึงการจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผลผลิต (Productivity)” โครงการแก้ไขปัญหามลพิษและเสริมสร้าง 8. คุณภาพชีวิตจังหวัดระยอง 19

  20. (1)โครงการเสริมสร้างมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงและปรับเปลี่ยนสุขภาพเพื่อสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย(Flagship -1)………

  21. Flagship (1) โครงการเสริมสร้างมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อสร้างสุขภาพสังคมดี-วิถีชีวิตไทย ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน-ความดันดลหิตสูง-โรคหัวใจและเส้นเลือดสมองตีบตัน ได้แก่ - หยุดสูบบุหรี่ - ลดไขมันLDLในเลือด - รักษาระดับความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ -“Lifestyle” –ปรับวิถีชีวิตพอเพียง.ได้แก่ - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ -ลดน้ำหนัก>ดัชนีมวลกาย (BMI น้อยกว่า 25 กก./ตร.ม. -งดอาหารเสี่ยง-เค็ม & ,ไขมันอิ่มตัวสูง ดูแลสุขภาพแรงงานนอกระบบ : ปี 52 ได้รับการประเมินความเสี่ยงสุขภาพ

  22. กลุ่มแรงงานนอกระบบ • หมายถึง - ผู้ประกอบอาชีพที่ไม่อยู่ในข่ายหรือได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันสังคม หรือสวัสดิการอื่นๆ - แรงงานต่างด้าว • กลุ่มเป้าหมายสำคัญ - เกษตรกร : เพาะปลูก ประมง เลี้ยงสัตว์ - ผู้ผลิต/วิสาหกิจชุมชน : ทำครกหิน ก่อสร้าง ทอผ้า เย็บผ้า แปรรูปอาหาร จักสาน

  23. กลุ่มแรงงานนอกระบบ (ต่อ) • กลยุทธ์/แนวทางดำเนินงาน - พัฒนาข้อมูลสถานการณ์ปัญหา - พัฒนาหน่วยบริการ สธ. (PCU/ สสจ.) - พัฒนาเครือข่าย (อสม.) - พัฒนารูปแบบ/แนวทางเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัย

  24. กรอบเป้าหมายและตัวชี้วัดกรอบเป้าหมายและตัวชี้วัด • ตัวชี้วัดร้อยละ 20 ของประชากรกลุ่มแรงงานนอกระบบได้รับการตรวจประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในการทำงาน • การตรวจประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในการทำงาน หมายถึง การหาระดับความเสี่ยงต่อสุขภาพในการทำงานโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบประเมินความเสี่ยงในการทำงาน

  25. สรุป • แรงงานนอกระบบ ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญทางด้านสาธารณสุข • มาตรการที่สำคัญในการควบคุมป้องกันปัญหา คือ การจัดบริการทางด้านอาชีวอนามัย โดยผสมผสานไปกับการจัดบริการสุขภาพอื่นๆ • กิจกรรมเร่งด่วน คือการประเมินความเสี่ยงทางด้านสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย

More Related