160 likes | 412 Views
ข้อที่ 1 สถาบันการเงินประเภทใดไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ในปัจจุบัน บริษัทเงินทุน ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ธปท.
E N D
ข้อที่ 1 สถาบันการเงินประเภทใดไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ในปัจจุบัน • บริษัทเงินทุน • ธนาคารพาณิชย์ • บริษัทหลักทรัพย์ • บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ธปท.
ข้อที่ 2 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่เป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. ซึ่งกำหนดไว้ที่ร้อยละ 0- 3.5 นั้น ไม่รวมราคาสินค้าประเภทใด • เครื่องนุ่งห่ม • เนื้อหมู • ค่าเช่าบ้าน • ยาสูบ และ เครื่องดื่ม ความรู้เกี่ยวกับนโยบายการเงิน - จากรายงานเงินเฟ้อ
ข้อที่ 3 ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ดูแลระบบการชำระเงินของประเทศ ให้ดำเนิน ไปด้วยดี โดยพัฒนาระบบต่างๆ ขึ้นมา ระบบ BAHTNET มีหน้าที่ในการ • หักบัญชีเช็คทางอิเล็กทรอนิกส์ • โอนเงินข้ามประเทศ • ชำระค่าสินค้าสำหรับธุรกิจ E-commerce • โอนเงินที่มีมูลค่าสูง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ธปท.
ข้อที่ 4 วิกฤตสถาบันการเงินไทยในปี 2540 ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจาก • ระบบเศรษฐกิจไทยพึ่งพาตลาดทุนมากเกินไป ทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์อ่อนแอ • ระบบสถาบันการเงินไทยมีจำนวนสถาบันการเงินขนาดเล็กที่ปล่อยสินเชื่อความเสี่ยงสูงเป็นจำนวนมาก • การอนุญาตให้สถาบันการเงินจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจ ทำให้สถาบันการเงินไทยมีการปล่อยกู้ให้ต่างประเทศมากเกินควร • สถาบันการเงินขนาดใหญ่แห่งหนึ่งขาดทุนจากการลงทุนในตลาดตราสารอนุพันธ์จนล้มละลาย ประวัติเศรษฐกิจไทย – จาก 60 ปี ธปท.
ข้อที่ 5 หน่วยงานใดมีหน้าที่ในการดูแลการขายทอดตลาดสินทรัพย์ของบริษัทเงินทุน 56 แห่งที่ถูกปิดกิจการในปี 2540 • กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน • องค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) • บริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) • ธนาคาร ไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ประวัติเศรษฐกิจไทย - 60 ปี ธปท.
ข้อที่ 6 หากดอลลาร์สหรัฐอเมริกาอ่อนค่าลงต่อเนื่องเทียบกับเงินบาทไทยและเงินยูโร จะมีผลให้ • ผู้ส่งออกสินค้าไปประเทศสหรัฐอเมริกาได้เงินจากการขายสินค้าในรูปของเงินบาทเพิ่มขึ้น • ผู้นำเข้าสินค้าจากยุโรปใช้เงินบาทน้อยลงในการนำเข้าสินค้า • ผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานไปเรียนที่สหรัฐอเมริกาต้องจ่ายเงินค่าเทอมในรูปของเงินบาทเพิ่มขึ้น • กองทุนจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่มาลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น หลักเศรษฐศาสตร์
ข้อที่ 7 หากรัฐบาลประกาศเพิ่มการอุดหนุนราคาของน้ำมันดีเซลให้มีระดับราคาขายปลีกต่ำกว่าน้ำมันเบนซินในช่วง 5 ปีข้างหน้า ท่านคิดว่า ราคาและปริมาณดุลยภาพของรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลน่าจะเปลี่ยนแปลงใน ระยะสั้นอย่างไร ก) ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะตลาดจะปรับตัวได้เอง ข) ราคาดุลยภาพลดลง ปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้น ค) ราคาดุลยภาพเพิ่มขึ้น ปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้น ง) ราคาดุลยภาพเพิ่มขึ้น ปริมาณดุลยภาพลดลง หลักเศรษฐศาสตร์
ข้อที่ 8 ในปัจจุบัน ตามกฎของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น ผู้มีสิทธิในการใช้บริการบัตรเครดิตต้องมีระดับรายได้ขั้นต่ำต่อเดือนอย่างน้อยเท่าใด • 8,000 บาท • 12,000 บาท • 15,000 บาท • 18,000 บาท ความรู้ทั่วไป
ข้อที่ 9ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ใช้กรอบนโยบายการเงินมากี่รูปแบบ อะไรบ้าง (โปรดเรียงลำดับก่อนหลัง) • 2 แบบ ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายทางการเงินและการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ • 2 แบบ ได้แก่ การผูกค่าเงินบาทกับค่าเงินสกุลอื่น และการลอยตัวของค่าเงินบาท • 3 แบบ ได้แก่ การผูกค่าเงินบาทกับค่าเงินสกุลอื่น การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน และการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ • 3 แบบ ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน การผูกค่าเงินบาทกับค่าเงินสกุลอื่น และการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนโยบายการเงิน
ข้อที่ 10 การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ในทางทฤษฎี จะส่งผลให้ • I. ราคาของพันธบัตร ลดลง • II. การใช้จ่ายของประชาชน ลดลง • III. ช่วยชะลออัตราเงินเฟ้อ และทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลง • ข้อ I. และ II. เท่านั้น • ข้อ I. และ III. เท่านั้น • ข้อ II. และ III. เท่านั้น • ข้อ I. II.และ III. หลักเศรษฐศาสตร์
ข้อที่ 11 หลังจากเกิดวิกฤตการทางการเงินเมื่อปี 2540 ธปท. ได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างชาติ 4 แห่ง เข้าซื้อ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของสถาบันการเงินไทย เพื่อเพิ่มทุนในการดำเนินงานให้แข็งแกร่ง ธนาคารพาณิชย์ในข้อใดเป็น 1 ใน 4 ของธนาคารนั้น • ธนาคาร Citibank • ธนาคาร HSBC (Hong Kong and Shanghai Banking Corporation) • ธนาคาร Sumitomo • ธนาคาร UOB ประวัติเศรษฐกิจไทย
ข้อที่ 12 บุคคลในรูป เป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างมากในแวดวงเศรษฐกิจการเงินของโลกบุคคลท่านนี้มีชื่อว่าอะไร • Edward C. Prescott • Paul Krugman • Alan Greenspan • John W. Snow ความรู้ทั่วไป
ข้อที่ 13 กำหนดให้อุปสงค์และอุปทานของปลาทูในตลาด สามารถเขียนอยู่ในรูปของสมการทางคณิตศาสตร์ ดังต่อไปนี้ อุปสงค์ Q = 110 – b*P, โดยที่ b > 1 เป็นค่าคงที่ อุปทาน Q = 10 + 2P โดยให้ Q เป็นปริมาณปลาทู (กิโลกรัม) และ P เป็นราคาปลาทู (บาทต่อกิโลกรัม) สมมติว่า ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมีผลให้ต้นทุนของปลาทูเพิ่มขึ้น 1 บาทต่อกิโลกรัม และสมการอุปทานใหม่สามารถเขียนได้เป็น Q = 11 + 2P ราคาดุลยภาพเปลี่ยนแปลงอย่างไร ก) เพิ่มขึ้นน้อยกว่า 1 บาท (ต่อกิโลกรัม) ข) เพิ่มขึ้นเท่ากับ 1 บาท (ต่อกิโลกรัม) ค) เพิ่มขึ้นมากกว่า 1 บาท (ต่อกิโลกรัม) ง) ข้อมูลที่มีไม่เพียงพอสำหรับการตอบคำถาม หลักเศรษฐศาสตร์
ข้อที่ 14 ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปัจจัยใดต่อไปนี้ที่มีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น (โดยสมมุติให้ตัวแปรอื่นคงที่) ก) การชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชน ข) การลดลงของอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ค) การลดลงของการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐ ง) การลดลงของการออมในภาคครัวเรือน หลักเศรษฐศาสตร์
ข้อที่ 15 ตัวแปรหรือเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจตัวใดที่มีการปรับตัวลดลงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ก) อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ข) หนี้สาธารณะต่อ GDP ค) สัดส่วนทุนสำรองทางการต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ง) มูลค่าการส่งออก ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย - จากรายงานเงินเฟ้อ