340 likes | 494 Views
การศึกษาการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์. สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. ทีมวิจัย. ผู้วิจัยหลัก นางจิตรา อ่อนน้อม ผู้วิจัยร่วม - นางวาสนา นิ่มวรพันธ์ - นางสาวศันสนีย์ สมิตเกษตริน
E N D
การศึกษาการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์การศึกษาการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค
ทีมวิจัย ผู้วิจัยหลัก นางจิตรา อ่อนน้อม ผู้วิจัยร่วม - นางวาสนา นิ่มวรพันธ์ - นางสาวศันสนีย์ สมิตเกษตริน - นางสุวนีย์ ใหม่สุวรรณ - นางสุธิดา วรโชติธนัน ที่ปรึกษา แพทย์หญิงพักตรพิมล ศุภลักษณศึกษากร
ที่มาของการศึกษา 1. จากสถานการณ์และปัญหาของโรคเอดส์ ผู้ได้รับผลกระทบในปัจจุบัน 2. บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3. ทีมศึกษา 4. ทิศทางการทำงานของกรมควบคุมโรค 5. การสนับสนุนจากหน่วยงานและผู้บังคับบัญชา
ที่มาของการศึกษา(ต่อ) จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้มาตั้งคำถามกันว่า • ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์มีใครบ้าง • ใครจะเป็นผู้ดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ ทีมงานได้มีการทบทวนสถานการณ์โรคเอดส์ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ และทบทวนบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของ “การศึกษาการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์”
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อ ศึกษากิจกรรม และการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบ จากโรคเอดส์ • เพื่อ ศึกษาบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ • เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์
วิธีการศึกษา • จัดทำโครงร่างการวิจัย เสนอแบบ ว-1ด • เสนอคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย / ปรับแก้ตามข้อเสนอแนะ/ ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรม • ขออนุมัติดำเนินการจากผู้อำนวยการสำนักฯ • ประชุมทีมวิจัยและผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการ • การดำเนินงานตามโครงการฯ
วิธีการศึกษา การศึกษาแบ่งออกเป็นสองส่วน 1 เชิงปริมาณ เป็นการสำรวจภาคสนาม กลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณ จำนวน 881 ตัวอย่าง 2. เชิงคุณภาพ ลงเก็บข้อมูลใน 4 ภาค 4 จังหวัด ประกอบด้วย พะเยา ลพบุรี ศรีสะเกษ นครศรีธรรมราช
ข้อมูลจากการสำรวจ การรับรู้สถานการณ์ด้านเอดส์ จากผู้ตอบแบบสอบถามของอปท. • ร้อยละ 45.7 รับรู้ว่าในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีผู้ป่วยเอดส์ โดยทราบข้อมูลผู้ป่วยเอดส์ • โรงพยาบาล ร้อยละ 25.6 • สถานีอนามัย ร้อยละ 20.3 • และผู้นำชุมชนร้อยละ 18.3
บทบาทของอปทในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ ร้อยละ 81.1 ตอบว่าการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์เป็นบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ76.1 ดูแลด้านการส่งเสริมอาชีพ ร้อยละ 78.7 ด้านการให้การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ
การมีส่วนร่วมในการวางแผนกับหน่วยงานอื่นการมีส่วนร่วมในการวางแผนกับหน่วยงานอื่น ร้อยละ51 มีการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สถานีอนามัย พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โรงพยาบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการวางแผนร่วมกับหน่วยงานอื่นมากกว่าภาคอื่น ๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก จะมีการจัดกิจกรรมการดูแลมากกว่าขนาดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่
การทำงานการดูแลผู้ได้รับผลกระทบด้านเอดส์ในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นร้อยละ 83.2 มีการติดตามผลการดำเนินงานการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ เพียงร้อยละ 52.9
ข้อมูลด้านเชิงคุณภาพ พื้นที่ศึกษา 4 ภาค 4 จังหวัด ได้แก่ พะเยา ลพบุรี ศรีสะเกษ นครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง อบจ 4 แห่ง เทศบาล 7 แห่ง อบต 8 แห่ง สสจ. 4 แห่ง สสอ.4 แห่ง สอ.4 แห่ง พม.4 แห่ง โรงเรียน 4 แห่ง องค์กรเอกชน 1 แห่ง เครือข่ายผู้ติดเชื้อ 2 คน อสม. 2 คน พระ 1 รูป
ภาพกิจกรรมการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพภาพกิจกรรมการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ
ข้อมูลเชิงคุณภาพ อบจ. จะไม่ทราบสถานการณ์โรคเอดส์ ให้การสนับสนุนเป็นครั้งคราว หากมีผู้ทำโครงการมาขอรับงบประมาณ “ งานเอดส์เป็นงานที่ทางสาธารณสุขดำเนินการอยู่แล้วเราเป็นเพียงผู้ให้การสนับสนุน เมื่อเดือนที่แล้วก็สนับสนุนของเครื่องใช้สำหรับผู้ป่วยเอดส์ที่อยู่ในมูลนิธิ” “ เราไม่มีบุคลากรที่ทำงานด้านนี้โดยตรง”
เทศบาล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. ไม่ทราบสถานการณ์โรคเอดส์ที่ชัดเจน มีการจัดกิจกรรมการป้องกันการป้องกันการติดเชื้อ การรณรงค์ไม่มีส่วนร่วมในดูแลผู้ได้รับผลกระทบ “ ไม่แน่ใจนะว่ามีผู้ป่วยเอดส์เท่าไร ต้องขอข้อมูลจากโรงพยาบาล ทราบเฉพาะผู้ที่มารับเงินสงเคราะห์” “กิจกรรมด้านเอดส์ มีการตั้งงบประมาณสำหรับการรณรงค์ ในวันสำคัญเช่นวันเอดส์โลก การทำงานจะร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล” “ไม่ทราบจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ การช่วยเหลือต้องดูตามระเบียบ”
2. ทราบสถานการณ์โรคเอดส์ในพื้นที่ ทำงานด้านเชิงรุกส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายสาธารณสุข ส่งข้อมูลต่อให้ฝ่ายพัฒนาสังคมในการให้งบประมาณในการสงเคราะห์ เบี้ยยังชีพ “ เราจะทราบข้อมูลของผู้ป่วยที่มาขึ้นทะเบียนกับเรา และจากการลงพื้นที่ประสานงานร่วมกับผู้นำชุมชน อสม. ” “จำนวนผู้ได้รับผลกระทบจะดูจากจำนวนผู้ติดเชื้อผู้ติดเชื้อ 1 คนจะมีผู้ได้รับผลกระทบประมาณ 2 คน ลูก และพ่อหรือแม่” “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้อยู่แล้วแต่ไม่ครบทุกคนเพราะผู้สูงอายุมีมากจะให้ตามความเหมาะสม ไม่ได้ดูว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์หรือเปล่า และทุนการศึกษาเด็กให้ผ่านทางโรงเรียน”
อบต แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1.ไม่ทราบสถานการณ์โรคเอดส์ที่แน่ชัด ไม่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ เพราะไม่ทราบข้อมูล “มีอยู่สองคนที่มารับเบี้ยยังชีพแต่ผมว่าน่าจะมีมากกว่านี้ ผมไม่รู้ว่าจะไปหาข้อมูลเอดส์ในพื้นที่ได้ที่ไหน” “ ผมไม่รู้ว่าจะให้การดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์อย่างไร เพราะเขาไม่เปิดตัว ตอนนี้ก็เห็นเขาช่วยเหลือตนเองได้ การช่วยเหลือต้องดูตามระเบียบ หากมีเป็นหนังสือชัดเจนก็จะทำ ”
2. ทราบสถานการณ์เอดส์ในพื้นที่ มีการดำเนินงานเรื่องการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบ ลักษณะการทำงานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 2.1 ทำงานด้วยตัวของ อบต.เอง มีการประสานกับหน่วยงานอื่นบ้างแต่ไม่มาก “ผมลงสำรวจพื้นที่ด้วยตนเอง มีการจัดกินกรรมการป้องกัน และผู้ได้รับผลกระทบ การให้ทุนการศึกษาเด็ก การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบ เช่นการดูแลสุขภาพ และเบี้ยยังชีพ” “ มีการประสานกับงานสาธารณสุขบ้างแต่ไม่มาก ผมว่าทำเองคล่องตัวกว่า”
2.2 ทำงานแบบการมีส่วนร่วม “ที่นี่มีการตั้งเป็นประชาคมหมู่บ้าน มีผู้นำชุมชน หรือผู้ที่ชุมชนให้ความนับ ถือเป็นกรรมการ รวมถึงเจ้าหน้าที่ของสถานีอนามัย ผมเป็นประธาน” (สัมภาษณ์นายก อบต.) “มีการวางแผนการดำเนินงานด้านเอดส์เช่นจัดกิจกรรมรณรงค์เรื่องการป้องกัน การส่งต่อการดูแลรักษา การทำเรื่องของบประมาณจากหน่วยงานอื่นด้วย หากไม่ได้ก็จะใช้งบของอบต.เอง”
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สสจ. มีข้อมูลสถานการณ์โรคของจังหวัด เป็นผู้ดูภาพรวมงานเอดส์ของจังหวัด สสจ. 2 ใน 4 แห่ง มีการเชิญผู้แทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าประชุมด้วย มีการประสานงานของบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาดำเนินงานด้านเอดส์ โรงพยาบาล ส่วนใหญ่ทำเรื่องการดูแลรักษา มีข้อมูลผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ที่มารับบริการ(ทำให้ทราบถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบ) ประสานการส่งผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์รับเงินเบี้ยยังชีพในพื้นที่ การดูแลรักษาผู้ได้รับผลกระทบอยู่ในสิทธิของหลักประกันสุขภาพอยู่แล้ว สสอ/สอทราบข้อมูลเอดส์ ไม่มีการทำงานด้านดูแลผู้ได้รับผลกระทบ ทำงานด้านการประสานงานมากกว่า
พัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัด มีการสนับสนุนครอบครัวผู้ติดเชื้อเป็นครั้งคราว ก่อนส่งต่อไปยังอปท. ประมาณครั้งละ 1,500-2,000 บาทต่อครอบครัว โรงเรียน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 1.โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ให้การดูแลเด็กที่ด้อยโอกาสรวมถึงเด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ (จัดที่พักในโรงเรียน)ไม่ได้มีการขอรับการสนับสนุนจาก อปท. 2.โรงเรียนสังกัดเทศบาล และโรงเรียนสังกัด สพฐ มีเด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ ทั้งที่ติดเชื้อเอชไอวี และไม่ติดเชื้อ เข้าเรียนครูผู้สอนจะทราบ เพื่อนๆไม่ทราบ ไม่มีใครรังเกียจ ท้องถิ่นมีการสนับสนุนทุนการศึกษามาเป็นบางครั้งไม่ได้ต่อเนื่อง
องค์กรเอกชน /เครือข่ายผู้ติดเชื้อ เป็นหน่วยงานที่ให้การดูแลผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์โดยตรง อปทให้การสนับสนุนเป็นบางครั้งในการจัดกิจกรรม พระ เป็นผู้ดูแลทางด้านจิตใจ เป็นคณะกรรมการของประชาคมหมู่บ้าน อสม. จะประสานทางสาธารณสุขมากกว่า อปท. ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์ที่เปิดเผยตัว
ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานดูแลผู้ได้รับผลกระทบฯ ของอปท • บุคลากรมีน้อย ยังไม่ได้รับการอบรมการทำงานเกี่ยวกับโรคเอดส์ • ไม่มีข้อมูลผู้ป่วยที่แน่ชัด • สังคมในพื้นที่ยังรังเกียจผู้ป่วย • ไม่มีคู่มือในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบ • ผู้สูงอายุดูเป็นภาพรวม ไม่ได้แยกว่ารายไหนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์
ข้อเสนอแนะ 1. อปท ทราบข้อมูลสถานการณ์โรคเอดส์น้อย เพียงร้อยละ 45 ดังนั้นควรจะมีการส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลสถานโรคเอดส์ในพื้นที่ มีช่องทางการไหลเวียนของข้อมูล 2. ภาครัฐควรจะทำคู่มือหรือแนวทางในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์สำหรับ อปท 3 นโยบายการดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบฯ ที่เหมาะสมและชัดเจน
ปัจจัยที่เอื้อให้ประสบความสำเร็จปัจจัยที่เอื้อให้ประสบความสำเร็จ • บุคลากร การทำงานเป็นทีม มีที่ปรึกษา • กระบวนการ การสนับสนุนของหน่วยงานและ ผู้บังคับบัญชาการ วางแผนการดำเนินงาน การประสานงานในการเก็บข้อมูล • ความยืดหยุ่นในการใช้จ่ายงบประมาณ การขยายเวลา ในการดำเนินงาน
สิ่งที่อยากบอกในการทำงานวิจัยสิ่งที่อยากบอกในการทำงานวิจัย • เลือกสิ่งที่สนใจ สอดคล้องกับนโยบายของ หน่วยงาน สอดคล้องกับงานที่ปฏิบัติ • การวางแผนการทำงานให้เหมาะสมกับเวลา • การประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ประสานกับ KM งานพัสดุ งานการเงิน ประสานพื้นที่ ฯลฯ • การทำงานเป็นทีม ใส่ความตั้งใจลงไปด้วย
มาตรฐานการพัฒนาการดำเนินงานด้านเอดส์ (ปก) · คำนำ · สารบัญ · บทที่ 1 บทนำ · บทที่ 2 ข้อตกลงระหว่างประเทศ กฎหมาย นโยบาย สถานการณ์เอดส์ และสิทธิของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ · บทที่ 3 แนวทางการจัดทำมาตรฐานการพัฒนาการดำเนินงานด้านเอดส์ · บทที่ 4 ตัวชี้วัดขั้นพื้นฐานและตัวชี้วัดขั้นพัฒนา · บทที่ 5 แนวทางการปฏิบัติเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปจัดทำแผน/กิจกรรมให้ได้ตามมาตรฐานตัวชี้วัด · บทที่ 6 การเตรียมความพร้อม และเงื่อนไขความสำเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานด้านเอดส์ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน · ภาคผนวก ก ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 · ภาคผนวก ข คู่มือความรู้เรื่องเอดส์ · ภาคผนวก ค หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง · ภาคผนวก ง การประสานหน่วยงานที่ให้บริหารและช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์และครอบครัว · ที่ปรึกษาและคณะทำงาน