150 likes | 320 Views
สรุปประเด็นการนำเสนอผลงาน. การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยอาจารย์ลดาวัลย์ แก้วศรีนวล อิทธิพลที่ส่งผลให้ข่าวไม่เป็นข่าว กรณีศึกษาจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยคุณประกิต หลิมสกุล ที่ปรึกษาหัวหน้ากองบรรณาธิการ ไทยรัฐ
E N D
สรุปประเด็นการนำเสนอผลงานสรุปประเด็นการนำเสนอผลงาน การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยอาจารย์ลดาวัลย์ แก้วศรีนวล อิทธิพลที่ส่งผลให้ข่าวไม่เป็นข่าว กรณีศึกษาจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยคุณประกิต หลิมสกุล ที่ปรึกษาหัวหน้ากองบรรณาธิการ ไทยรัฐ ระบบและกลไกการรับผิดชอบของสื่อในยุคดิจิตัล โดย ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล
การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ • วัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการ ลักษณะของการสื่อสาร ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสื่อสารอิทธิพลของสื่อ และเพื่อสร้างรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสม • ในการสอบถามการเปิดรับข่าวสารของประชาชนในยะลา ปัตตานี นราธิวาสพบว่ากลุ่มตัวอย่างเปิดรับข่าวารจากสื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์และสื่อหนังสือพิมพ์ • การศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยมากเรื่องการนำเสนอข่าวสารที่รวมเร็ว แต่ไม่เชื่อถือข่าวสารที่สื่อมวลชนนำเสนอ • ประเด็นทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการสื่อสารพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการพูดคุยกับทุกวัน กับเพื่อนบ้านเป็นส่วนใหญ่ และมักเป็นเรื่องทั่วไปในหมู่บ้าน โดยระบุว่าทัศนคติและความเชื่อที่ต่างกันเป็นอุปสรรคในการสื่อสารมากที่สุด
พบว่าสถานที่ที่พบปะมักเป็นศาสนสถานและร้านน้ำชา ซึ่งเป็นช่องทางและแหล่งข่าวในการแพร่กระจายข่าวสารที่สำคัญ • พบว่ามีการสื่อสารทั้งผ่านสื่อมวลชนและสื่อบุคคล และมีความน่าเชื่อถือ โดยระบุว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรมไม่ใช่อุปสรรคในการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระกว่างชาวไทยพุทธและมุสลิม แต่การสื่อสารระหว่างกันจะทำให้รู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและชุมชน • พบว่ารูปแบบการสื่อสารหลัง 2547 มีความหวาดระหว่างระหว่างสื่อ-ประชาชน และ ประชาชน-ประชาชน มีการโฆษณาชวนเชื่อมาก และหาที่มาไม่ได้ คนไทยมุสลิมปฏิเสธการพูดภาษาไทย โดยเฉพาะกับคนแปลกหน้า • เสนอรูปแบบการดำเนินชีวิตและคติความเชื่อผ่านกระบวนทัศน์ DO IT RIGHT
ข้อวิพากษ์ (คุณพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ) • งานวิจัยยังไม่ได้ระบุว่าอะไรคืออุปสรรคในการสื่อสาร ระบุแต่ว่าวัฒนธรรมไม่ใช่ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค • กลุ่มตัวอย่างอาจไม่กระจายถึงสังคมชนบท ดังนั้นข้อสรุปรูปแบบการสื่อสารที่ได้จึงเป็นลักษณะของสังคมเมือง ซึ่งมีรูปแบบต่างจากสังคมชนบท • ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างเป็นคนที่มีความรู้ แต่การสื่อสารที่มีปัญหาคือการสื่อสารกับคนที่ไม่มีความรู้ ดังนั้นรัฐจะสื่อสารกับคนกลุ่มนี้อย่างไร • โมเดล SMCR น่าจะเป็น RCMS เนื่องจากผู้รับสารเป็นผู้เลือกว่าจะรับสารจากช่องทางใดและสารประเภทใด • การนิยาม “ไทยพุทธ” ไม่ชัดเจนพอ เนื่องจากไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นไทยพุทธที่เป็นคนในพื้นที่ เกิดที่นั่น หรือเป็นไทยพุทธที่ย้ายถิ่นไปทำงานที่นั่น ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกัน
ข้อวิพากษ์ (คุณจักร์กฤษ เพิ่มพูน) • ข้อค้นพบยังไม่ตอบโจทย์ว่าความขัดแย้งที่แท้จริงคืออะไร ทั้งนี้เพราะงานวิจัยมุ่งเน้นที่การหารูปแบบที่เหมาะสม เหมือนเป็นการตั้งกรอบไว้ ทำให้ได้ข้อมูลบางประเด็นและละเลยข้อมูลบางประเด็น • ความน่าสนใจน่าจะอยู่ที่สภาพการที่เปลี่ยนไปก่อนและหลัง 2547 โดยเฉพาะเรื่องความหวาดระแวง ซึ่งเดิมมีความหวาดระแวงระหว่างรัฐ-ไทยมุสลิม แต่ปัจจุบันได้ขยายไปสู่รัฐ-ไทยมุสลิม และ ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม
อิทธิพลที่ส่งผลให้ข่าวไม่เป็นข่าว กรณีศึกษาจากอดีตถึงปัจจุบัน • Timeframe 2500-2516 และหลัง 2516 • อิทธิพลที่ส่งผลให้ข่าวไม่เป็นข่าว ได้แก่ การเซ็นเซอร์หนังสือพิมพ์ อิทธิพล 3 ทางจากการเมือง นายทุน(เจ้าของ) และทุน(โฆษณา) การคุกคาม ทั้งการจับกุม ฟ้องร้องและฆ่า และอิทธิพลจากผู้อ่าน • ในเรื่องการฟ้องร้อง มีผลทำให้นักข่าวอาจต้องหยุดการนำเสนอข่าว เพราะไม่แน่ใจว่าข้อเขียนต่างๆจะละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ • บางครั้งแหล่งข่าวก็ใช้วิธีการด่าสื่อจนสื่อไม่ลงข่าวเกี่ยวกับบุคคลนั้นๆ ซึ่งก็เป็นวิธีหนึ่งในการทำให้สื่อหยุดการนำเสนอข่าวได้ • อิทธิพลที่สำคัญที่สุดคือการโฆษณา นอกจากนี้ยังมีเรื่องชีวิตที่สื่อจำเป็นต้องหยุดเสนอข่าวสาร เสนอไม่ครบประเด็น ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อรักษาชีวิตไว้
ข้อวิพากษ์ (คุณจักร์กฤษ เพิ่มพูน) • มีปัจจัยที่ทำให้ข่าวไม่เป็นข่าวน้อย • ประเด็นที่น่าสนใจคือปัจจัยการโฆษณา • ปัจจัยที่ทำให้ข่าวไม่เป็นข่าวถูกกำหนดโดยทุน หนังสือพิมพ์มักมีข่าวสำคัญ 8ข่าว ใครกำหนด สื่อ เพราะเป็นข่าวที่กำหนดด้วยโฆษณาและอิทธิพลอื่นๆ เช่นข่าวนายกฯมาพัทยา แม้ว่าสื่อออนไลน์ โทรทัศน์และวิทยุจะเสนอข่าวแล้ว วันรุ่งขึ้นหนังสือพิมพ์ก็จะเสนอข่าวอยู่ดี แต่จะไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องเนื้อหามากนัก น่าจะเป็นประเด็นนายกฯมาพัทยาเป็นครั้งแรกหลังจากเหตุการณ์ที่พัทยาครั้งที่แล้ว • สรุป เรื่องสำคัญถูกละเลย กำหนดโดยสื่อ กำหนดโดยทุน • คุณประกิตชี้แจงว่าเรื่องดีกำหนดโดยแหล่งข่าวดีมักขายไม่ได้
ข้อวิพากษ์ (ผศ. ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ) • ขาดบริบทความแตกต่างระหว่างหนังสือพิมพ์ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งจะมีปัจจัยที่ทำให้ลงข่าวใดไม่ลงข่าวใดต่างกัน • ขาดการเชื่อมโยงอิทธิพลที่ทำให้ข่าวไม่เป็นข่าวและการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด • ควรพิจารณาประเด็นที่แหล่งข่าวสร้าง agenda มาเพื่อให้สื่อลงข่าว เช่น PR ของนักการเมืองดังหลายคนที่เห็นอยู่ นักข่าวรู้เท่าทันกลยุทธ์ประชาสัมพันธ์เหล่านี้หรือไม่
ระบบและกลไกการรับผิดชอบของสื่อในยุคดิจิตัล • วิเคราะห์ความแตกต่างของ Responsibility V Accountability • ทำไมต้องศึกษา เพราะ โลกาภิวัฒน์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำสื่อขับเคลื่อนด้วยทุนและตลาด มีช่องทางที่ประชาชนสามารถรับข่าวสารอย่างไม่มีขีดจำกัด และเกิดนักข่าวภาคประชาชน • คำถามหลักคือสื่อในยุคดิจิตัลต่างจากเดิมหรือไม่ในแง่ความหมาย ความคาดหวัง บทบาทหน้าที่ เสรีภาพ และความรับผิดชอบ • กรอบเรื่องความรับผิดชอบมี 4ประการคือ กรอบความรับผิดชอบต่อสาธารณะ กรอบด้านกฎหมายและระเบียบ กรอบเชิงวิชาชีพ และกรอบทางการตลาด • กลุ่มตัวอย่างเป็นสื่อกระแสหลัก (สื่อปัจจุบัน) สื่อกระแสรอง (นิตยสารบันเทิง เว็บ บล็อก) สมาคมวิชาชีพ รวม 45 คน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(มูลนิธิเด็ก Media Watch กระทรวงวัฒนธรรม ฯลฯ) 14 คน
ข้อค้นพบ • ความหมาย สื่อ-press Journalist สื่อดั้งเดิม Mass media media มองว่าจากจุดเชื่อมบุคคลกับโลกภายนอก ช่องทาง • กรอบความรับผิดชอบต่อสาธารณะ 1 สื่อต้องมีสิทธิเสรีภาพ 2 จรรยาบรรณ ขึ้นอยู่กับจุดยืนของสื่อนั้นๆ เช่น นิตยสารที่ขายเรื่องเพศ การนำเสนอเรื่อง/รูปที่ล่อแหลมถือว่าไม่ผิดเพราะเป็นจุดยืน 3 การควบคุมกันเอง เน้นที่การควบคุมในองค์กรมากกว่าการควบคุมความเป็นวิชาชีพ • กรอบกฎหมาย พบว่าสื่อมวลชนจะคิดถึงกฎหมายที่ควบคุมสื่อมากกว่าที่คุ้มครองสื่อ และไม่ค่อยรู้เรื่องกฎหมายอื่นๆที่อาจจะเกี่ยวข้อง แต่พบว่าหลายสำนักมีการอบรมให้ความรู้เรื่องกฎหมายเฉพาะเมื่อจำเป็นต้องนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติเกี่ยวกับยา • ดังนั้นระบบและกลไกความรับผิดชอบในกรอบกฎหมายคือ ตระหนัก (ถึงความสำคัญของกฎหมาย) ต่อเติม (คืออบรมเพิ่มเติม) และตรวจสอบ (ตรวจสอบก่อนนำเสนอ)
กรอบการรับผิดชอบทางวิชาชีพ ได้แก่ training monitoring evaluation feedback • ซึ่งหากเกิดขึ้นผิดพลาด จะมีขั้นตอนแก้ไขคือ ยึดหลักศีลธรรมและสังคม ทำด้วยความสมัครใจ รูปแบบตักเตือนไม่เป็นทางการ เป็นการให้ความร่วมมือ การลงโทษไม่เป็นรูปธรรม เช่น ตอบชี้แจง และอ้างอิงคุณภาพ • กรอบทางการตลาด (ความอยู่รอดของสื่อ กับการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค)สื่อที่ตอบไม่มีผลกระทบเป็นสื่อที่แยกกอง บก. ออกจากฝ่ายตลาด ตอบมีผลปานกลาง มักเป็นกลุ่มนิตยสาร ที่ยอมแก้ไขหากไม่เสียความเป็นตัวเอง สื่อที่ตอบว่ามีมากคือโทรทัศน์ ส่วนสื่อที่ตอบผสมคือสื่อที่ส่วนต่างๆและการตลาดทำงานด้วยกัน • ทัศนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นว่าสื่อยังไม่รับผิดชอบพอ มีความเป็นมือาชีพเฉพาะเรื่องเทคนิค แต่ไม่เป็นมืออาชีพเรื่องผลงาน สมาคมวิชาชีพไม่เข้มแข้ง กลไกอื่นๆไม่มีประสิทธิภาพ
สรุปสื่อยุคดิจิตัล • Competition and convergence มีการแข่งขันสูง ข้ามสื่อมาก นักสื่อสารมวลชนทำงานหลายสื่อ แต่ส่วนมากใช้จรรยาบรรณของหนังสือพิมพ์ • Changing Meaning ความหมายของสื่อกว้างขึ้นทั้งในแง่ประเภท ช่องทาง การนำเสนอ • Confusing Sources หยิบยืมเนื้อหาข้ามไปมา ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ • Careless Process แข่งกับเวลา การตรวจสอบจึงน้อยลง • Clear position สื่อใหม่มีจุดยืนทางการตลาดและมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาข้อเสนอแนะจากการศึกษา • ขยายขอบเขตการดูแล คนทำทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ใช้จรรยาบรรณอะไร • คัดแยก ประเด็นที่ต้องแก้ไข • ควบคุมที่เข้มงวด ชัดเจนและเท่าเทียม • เคร่งครัดในการตรวจสอบ
ข้อวิพากษ์ (คุณจักร์กฤษ เพิ่มพูน)ค่อนข้างเป็นห่วงประเด็นการเติบโตของนักข่าวภาคประชาชน ที่ไม่มีความรู้แง่จริยธรรมสื่อเช่นเดียวกับสื่อมวลชน ข้อวิพากษ์ (ผศ. ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ) ควรเก็บตัวอย่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่ม เพราะยังไม่สะท้อนภาพทั้งหมด กลุ่มที่เก็บมาเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะมองว่าสื่อชี้นำ ควรพิจารณา audience ที่เปลี่ยนไปด้วย active audience ควรพิจารณาสื่อหลักมากขึ้น เพื่อนำผลศึกษามาสร้างกรอบจรรยาบรรณและความรับผิดชอบ อาจแบ่งสื่อเป็นส่วนย่อย (segment) โดยเฉพาะสื่อ convergence แล้วนำเสนอเฉพาะกลุ่ม
Comment อื่นๆ • คุณประดิษฐ์ – สมาคมได้เชิญบุคลจากภาคส่วนต่างๆและสื่อต่างประเภทกันมาทำงานร่วมกัน และพยายามดูเรื่องจรรยาบรรณให้ครอบคลุมมากขึ้น • คุณรุ่งมณี – (ดร.สุดารัตน์) ควรแบ่งสื่อวิชาชีพออกจากสื่อทั่วไป และศึกษาเฉพาะ สื่อวิชาชีพ • การควบคุม ต้องเป็นการควบคุมกันเอง และสังคมจะควบคุมสื่อด้วยการรู้เท่าทัน • (คุณประกิต) ขาดการถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างนักข่าวรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ • (อ.ลัดดาวัลย์) บ้อมูลภาคใต้มีความละเอียดอ่อนมาก และมีลำดับระยะผ่านของสถานการณ์ เช่น ไทยพุทธดั้งเดิมในพื้นที่จะมีความสัมพันธ์กับไทยมุสลิมต่างจากไทยพุทธที่เกิดในยุคหลังๆ