370 likes | 384 Views
กฎ หมาย แรงงาน เพื่อการไกล่เกลี่ยคดีแรงงาน (Labor Law for Labor Dispute Conciliation). สิทธิ หน้าที่นายจ้างลูกจ้าง. 1. กำหนดโดยกฎหมาย (statutes) 2. กำหนดโดยความตกลงร่วมกัน (mutual agreement). 1. กำหนดโดยกฎหมาย. (core labor laws). ก . กฎหมายสัญญาจ้างแรงงาน ป. พ.พ . บรรพ 3 มาตรา 575-586
E N D
กฎหมายแรงงานเพื่อการไกล่เกลี่ยคดีแรงงานกฎหมายแรงงานเพื่อการไกล่เกลี่ยคดีแรงงาน (Labor Law for Labor Dispute Conciliation)
สิทธิหน้าที่นายจ้างลูกจ้างสิทธิหน้าที่นายจ้างลูกจ้าง 1.กำหนดโดยกฎหมาย(statutes) 2. กำหนดโดยความตกลงร่วมกัน (mutual agreement)
1. กำหนดโดยกฎหมาย (core labor laws) ก . กฎหมายสัญญาจ้างแรงงาน ป.พ.พ. บรรพ 3 มาตรา 575-586 เนื้อหา จ้างแรงงาน สิทธิหน้าที่ ความระงับของสัญญาจ้าง ข. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 เนื้อหา กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเพื่อคุ้มครองลูกจ้าง
ค. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ 2518 เนื้อหา ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง องค์กรแรงงาน การระงับข้อพิพาทแรงงาน การกระทำอันไม่เป็นธรรม ง. กฎหมายศาลแรงงาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เนื้อหา ศาลแรงงาน การดำเนินคดีแรงงาน และเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จ. กฎหมายเงินทดแทน พ.ร.บ. เงินทดแทน 2537 เนื้อหา คุ้มครองลูกจ้างที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหายเนื่องจากการทำงาน ฉ. กฎหมายประกันสังคม พ.ร.บ. ประกันสังคม 2533 เนื้อหา คุ้มครองผู้ประกันตนที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย มิใช่เนื่องจากการทำงาน ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์ ว่างงานและชราภาพ
2.กำหนดโดยความตกลงร่วมกัน2.กำหนดโดยความตกลงร่วมกัน 2.1 ข้อตกลงในสัญญาจ้าง(terms & conditions of employment contract) ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างแต่ละคน(individual)เกี่ยวกับการจ้างการทำงาน มีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญา การแก้ไขต้องได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาอีกฝ่าย (Mutual Agreement)
2.2 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง(Collective Bargaining Agreement) ข้อตกลงระหว่างฝ่ายนายจ้างกับฝ่ายลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีผลผูกพันทั้งสองฝ่าย ในลักษณะมหภาค เช่น ข้อบังคับการทำงานฯลฯ การแก้ไขเปลี่ยนจะทำฝ่ายเดียวไม่ได้ ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
สัญญาจ้างแรงงาน (Employment Contract)
สัญญาจ้างแรงงาน จ้างแรงงาน คือ สัญญาที่ลูกจ้างตกลงทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างตกลงจ่ายสินจ้างตอบแทนการทำงานให้ (มาตรา 575) มีลักษณะสำคัญดังนี้ 1. เป็นสัญญาต่างตอบแทน(reciprocal contract) ฎีกา 9115/2546 ลูกจ้างรายเดือน ไม่มาทำงานให้แก่นายจ้าง ตั้งแต่วันที่ 11 ม.ค.2545 สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทน นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างเดือนสุดท้ายเพียง 10 วัน (hire of service)
ฎีกา 18585-18590/2557แม้นายจ้างมีระเบียบให้หักค่าจ้างกรณีขาดงานได้ แต่ไม่ใช่ข้อยกเว้นหักค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 76 จึงหักไม่ได้ ฎีกา 8881/2559เมื่อลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน ตามสัญญาจ้างแรงงานได้รับค่าจ้างอัตราเดือนละตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอน และการคิดค่าจ้างรายเดือนมิได้นำจำนวน วันหรือชั่วโมงที่ลูกจ้างเข้าปฏิบัติงานจริงมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าจ้าง ถ้าลูกจ้างขาดงานหรือมาสายบ้าง ลูกจ้างก็มิได้ถูกลดหรือถูกตัดค่าจ้างในวันดังกล่าว ยังคงได้รับค่าจ้างรายเดือนเต็มจำนวน
2. เรียกชื่อคู่สัญญาว่า “นายจ้าง” กับ “ลูกจ้าง” 3. ลูกจ้างตกลงทำงานให้แก่นายจ้าง นายจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างตอบแทนการทำงานให้ 4. ลูกจ้างต้องทำงานภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของนายจ้างProf Kahn Freund “ ความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงาน จะมีโดยปราศจากอำนาจของนายจ้างที่จะออกคำสั่ง(power to command)และหน้าที่ของลูกจ้างที่จะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้าง(duty to obey)ไม่ได้(Kahn Freund , Labour and the Law, London:Sweet & Maxwell, 1983)
ผู้ค้ำประกันรับผิดไม่เกิน 60เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ ไม่ได้ให้นายจ้างทำสัญญากำหนดวงเงินให้ผู้ค้ำประกันรับผิดเพียงใดก็ได้ นายจ้างจะสามารถฉวยโอกาสทวงถามเรียกร้องค้ำประกันให้ชำระค่าเสียหายเป็นจำนวนตามสัญญาค้ำประกันซึ่งเกินกว่า 60 เท่าดังกล่าว โดยคาดหวังว่าจะได้รับชำระค่าเสียหายเต็มตามสัญญาหรือเกินกว่า 60 เท่าตามกฎหมายจาก ผู้ค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันเช่นนี้ตกเป็นโมฆะ
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย (Payment in Lieu of Notice & Severance Pay)
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (Payment in Lieu of Notice) • สัญญาจ้างมีกำหนดเวลา เมื่อครบกำหนด สัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
สัญญาจ้างมีกำหนดเวลาแน่นอนหากนายจ้างเลิกจ้างก่อนครบกำหนด จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ฎีกา 14260/2558นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าต้องเป็นกรณีที่มีการจ้างกันครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างเท่านั้น สัญญาจ้างมีกำหนดเวลา 11 เดือน นายจ้างเลิกจ้างก่อนครบกำหนดในสัญญาต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
สัญญาจ้างไม่มีกำหนดเวลา นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อถึงหรือก่อนถึงกำหนดการจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่ง เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้าง เมื่อถึงกำหนดการจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า มิฉะนั้น ต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
บอกกล่าววาจา/เป็นหนังสือบอกกล่าววาจา/เป็นหนังสือ กรกฎาคม มีผล 30 31 31 มิถุนายน สิงหาคม
บอกกล่าววาจา/เป็นหนังสือบอกกล่าววาจา/เป็นหนังสือ กรกฎาคม มีผล 15 30 15 31 15 31 มิถุนายน สิงหาคม
บอกกล่าวไม่ถูกต้อง บอกกล่าววาจา/เป็นหนังสือ กรกฎาคม มีผล 18 30 18 31 31 มิถุนายน สิงหาคม
บอกกล่าวถูกต้อง บอกกล่าววาจา/เป็นหนังสือ กรกฎาคม มีผล 18 30 31 31 มิถุนายน สิงหาคม
ตัวอย่างการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตัวอย่างการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ฎีกา 3824 /2546นายจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 28 ของเดือน นายจ้างเลิกจ้างวันที่ 16 มิ.ย 2542 โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างก่อนวันที่ 28 มิ.ย. 2542 อันเป็นวันกำหนดการจ่ายค่าจ้าง จะมีผลเป็นการเลิกจ้างวันที่ 28 ก.ค.2542 ซึ่งเป็นกำหนดการจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า นายจ้างต้องจ่ายสินจ้างเท่ากับค่าจ้าง 43 วัน ตามป.พ.พ. มาตรา 582 และพ.ร.บ.คุ้มครองฯ มาตรา 17
ฎีกา 460 /2544นายจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 16 และ 30 ของเดือน นายจ้างเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2541 เป็นการล่วงเลยกำหนดการจ่ายค่าจ้างงวดวันที่วันที่ 30 มาแล้ว นายจ้างต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างถึงงวดการจ่ายค่าจ้างวันที่ 30 กันยายน 2541 เป็นเวลา 30 วัน ฎีกา 2660/2556นายจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือน นายจ้างเลิกจ้างวันที่ 29 ก.ค.2547 โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จึงต้องใช้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างวันที่ 29 ก.ค. ถึง 15 ส.ค.2547 รวม 18 วัน
ข้อยกเว้น 1.จงใจขัดคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย 2.ละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเป็นอาจิณ 3.ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรและนานพอสมควร 4.ทำความผิดร้ายแรง 5. กระทำการไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วง ไปโดยถูกต้องและสุจริต 6. ฝ่าฝืน พ.ร.บ.คุ้มครองฯ มาตรา 119
ทุจริต กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นนายจ้างลูกจ้าง เป็นความผิดมีโทษทางอาญา ทำผิดที่เสื่อมต่อศีลธรรม ทำให้นายจ้างเสียหายมาก ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับสำคัญ(destroy mutual trust & confidence) กระทำความผิดร้ายแรง เลิกจ้างได้ทันที
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกัน 120 วันขึ้นไป ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เลิกจ้าง หมายถึง นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานและไม่จ่ายค่าจ้าง ไม่ว่าเพราะสัญญาจ้างสิ้นสุดลงหรือเพราะเหตุอื่น / ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ / ลูกจ้างเกษียณอายุตามข้อตกลง ค่าชดเชย (severance pay)
กรณีมิได้ตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้หรือมีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่า 60 ปี ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ 60 ปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้ โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบ 30 วันวันแต่วันแสดงเจตนาและให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้น ตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง
อัตราค่าชดเชย (1)ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 30 วันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย (2) ลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้าง ของการทำงาน 90 วันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณ เป็นหน่วย
(3) ลูกจ้างที่ทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 180 วันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย (4) ลูกจ้างที่ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 240 วันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(5) ลูกจ้างที่ทำงานครบ10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย (6) ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 20 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 400 วันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
ข้อยกเว้น 1. ทุจริตต่อหน้าที่ /ทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง 2. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 3. ประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างเสียหายร้ายแรง 4. ฝ่าฝืนคำสั่ง ระเบียบฯลฯ กรณีร้ายแรง
ก.ฝ่าฝืนระเบียบ คำสั่งฯกรณีไม่ร้ายแรง ข. เตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ค. มีข้อความแสดงการทำผิดและเตือนไม่ให้ทำผิดซ้ำอีก ง. แจ้งให้ลูกจ้างทราบ จ. หากทำผิดซ้ำคำเตือนภายใน 1 ปี นับแต่ทำผิดครั้งที่ ถูกเตือน นายจ้างอาจเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย 5.ทำผิดซ้ำคำเตือน
6. ละทิ้งหน้าที่ 3วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมี วันหยุดคั่นหรือไม่ โดยไม่มีเหตุอันสมควร 7. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดกรณีทำผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ นายจ้างต้องได้รับความเสียหาย
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม( Unfair Dismissal)
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม (unfair dismissal) หากนายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างอาจฟ้องขอให้ ศาลแรงงานรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามเดิมหรือให้ใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ (พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49) ฎีกา 2299/2528เลิกจ้างไม่เป็นธรรม หมายถึงเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุ หรือมีสาเหตุแต่ยังไม่สมควรและเพียงพอที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้าง
การเยียวยา (remedy) • รับกลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิม (re-instatement) • รับกลับเข้าทำงานไม่ต่ำกว่าเดิม (re engagement) • ใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน(financial compensation)
การกำหนดค่าเสียหาย • อายุงานของลูกจ้าง • อายุตัวของลูกจ้าง • สาเหตุของการเลิกจ้าง • ความเดือดร้อนของลูกจ้าง • เงินอื่นๆที่ได้รับจากการเลิกจ้าง