740 likes | 1.69k Views
ขอต้อนรับเข้าสู่บทเรียน เรื่อง ดาวฤกษ์. ดาวฤกษ์. ความส่องสว่างและโชติมาตรของดาวฤกษ์. สีและอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์. ระยะห่างของดาวฤกษ์. ประวัติผู้สอน. ความหมายของดาวฤกษ์. เนบิวลา แหล่งกำเนิดดาวฤกษ์. ประวัติที่ปรึกษา. วิวัฒนาการของดาวฤกษ์.
E N D
ขอต้อนรับเข้าสู่บทเรียนขอต้อนรับเข้าสู่บทเรียน เรื่อง ดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์ ความส่องสว่างและโชติมาตรของดาวฤกษ์ สีและอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์ ระยะห่างของดาวฤกษ์ ประวัติผู้สอน ความหมายของดาวฤกษ์ เนบิวลา แหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ ประวัติที่ปรึกษา วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ ระบบดาวฤกษ์ ประวัติผู้จัดทำ กำเนิดและวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์ มวลของดาวฤกษ์
ความหมายของดาวฤกษ์ . ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์ในกาแล็กซีต่างกำเนิดมาจาเนบิวลาที่ยุบตัวรวมกัน เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของเนบิวลาเองเมื่อแก๊สยุบตัวลงความดันของแก๊สจะสูงขึ้น ผลที่ตามมาคืออุณหภูมิของแก๊สจะสูงขึ้นด้วย นี่คือธรรมชาติของแก๊สในทุกสถานที่ ที่แก่นกลางของเนบิวลาที่ยุบตัวลงนี้จะมีอุณหภูมิสูงกว่าที่ขอนอก เมื่ออุณหภูมิแก่นกลางสูงมากขึ้นเป็นหลายแสนเคลวินเรียกช่วงนี้ว่า ดาวฤกษ์ก่อนเกิด(protostar) หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ หน้าหลัก • ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยประมาณดวงอาทิตย์ จะให้แสงสว่างน้อย มีการใช้เชื้อเพลิงในอัตราที่น้อย จึงมีช่วงชีวิตยาว โดยชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นดาวฤกษ์สีเหลืองและบั้นปลายชีวิตจะไม่ระเบิด แต่จะกลายเป็นดาวยักษ์แดง และยุบตัวลงเป็นดาวแคระขาวพร้อมเหลือเนบิวลาดาวเคราะห์กระจายออกสู่บรรยากาศ หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ • ดาวฤกษ์ที่มวลมากมีขนาดใหญ่ ให้ความสว่างมาก จึงต้องใช้เชื้อเพลิงในอัตราที่สูงมาก ทำให้มีช่วงชีวิตสั้น ชีวิตส่วนใหญ่เป็นดาวยักษ์ใหญ่สีน้ำเงิน ในปั้นปลายชีวิตจะเป็นดาวยักษ์แดง ตามลำดับ จนเมื่อใช้เชื้อเพลิงไปหมดเกิดความไม่สมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงกับแรงดันโดยแรงโน้มถ่วงมากกว่าดาว จึงยุบตัวลงเป็นดาวนิวตรอน พร้อมการระเบิดที่เรียกว่า ซูเปอร์โนวา หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ หน้าหลัก เกิดธาตุต่างๆ ที่หนักกว่าเหล็กขึ้นในระหว่างการระเบิดซึ่งถูกสาดกระจายออกสู่อวกาศเป็นเนบิวลารุ่นใหม่ ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากๆ จะมีชีวิตส่วนใหญ่เป็นดาวยักษ์ใหญ่สีน้ำเงิน และถึงจุดจบด้วยการระเบิดเป็นซูเปอร์โนวาที่สร้างธาตุหนักต่างๆ กระจายออกสู่อวกาศ ขณะที่แรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวทำให้ดาวยุบตัวลงเป็นหลุมดำธาตุต่างๆ นอกเหนือ จากไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นธาตุที่ดาวฤกษ์มวลมาก และดาวฤกษ์มวลมากๆ สร้างขึ้น และเป็นส่วนประกอบของเนบิวลาใหม่ ซึ่งจะเป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์รุ่นต่อไป หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
กำเนิดและวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์ ปัจจุบันดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ สีเหลือง ดวงอาทิตย์เกิดจากการยุบตัวของเนบิวลาเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของเนบิวลาเอง การยุบตัวทำให้ความดันและอุณหภูมิภายในเนบิวลาสูงขึ้นด้วย เมื่ออุณหภูมิสูงเป็นแสนเคลวิน เนบิวลาจะกลายเป็นดวงอาทิตย์ก่อนเกิด เมื่อแรงโน้มถ่วงมากกว่าแรงดัน ดวงอาทิตย์ก่อนเกิดจึงยุบตัวลงไปอีกจนอุณหภูมิที่แก่นสูงประมาณ 15 ล้านเคลวินเป็นอุณหภูมิที่สูงมากพอที่จะเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
กำเนิดและวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์ นิวเคลียสของธาตุไฮโดรเจนหลอมรวมกันเกิดเป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียมให้พลังงานออกมาเป็นพลังงานของดวงอาทิตย์เกิดใหม่ส่วนปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ที่เกิดในช่วงดวงอาทิตย์ขยายตัวเป็นดาวยักษ์แดงเพราะเมื่อธาตุไฮโดรเจนที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงที่แก่นลดน้อยลงอุณหภูมิแก่นกลางจะลดลงทำให้แรงดันน้อยกว่าแรงโน้มถ่วง ผลก็คือดวงอาทิตย์ยุบตัวลงทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่าเดิมเป็น 100 ล้านเคลวิน จะเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์หลอมรวมนิวเคลียสของฮีเลียม เป็นนิวเคลียสของคาร์บอน หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
กำเนิดและวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์ นับจากปัจจุบันไปอีกประมาณ 5,000 ล้านปี เมื่อดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 10,000 ล้านปี จะเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์หลอมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมครั้งใหม่ ผลก็คือได้พลังงานออกมามหาศาลทำให้ดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 100 เท่าของดวงอาทิตย์ในปัจจุบัน เมื่อผิวนอกขยายตัว อุณหภูมิจะลดลง สีจะเปลี่ยนจากเหลือง เป็นแดง ดวงอาทิตย์จึงกลายเป็นดาวยักษ์แดง ในช่วงท้ายชีวิตของดวงอาทิตย์ในสภาพดาวยักษ์แดง หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
กำเนิดและวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์ บริเวณแก่นกลางไม่เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ แรงโน้มถ่วงมากกว่าแรงดัน แก่นกลางของดาวยักษ์แดงจึงยุบตัวเป็นดาวแคระขาว ดวงอาทิตย์ในสภาพ ดาวแคระขาวจะมีความสว่างลดลง และอุณหภูมิภายในลดต่ำลงจนไม่เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
ความส่องสว่างและโชติมาตรของดาวฤกษ์ ความส่องสว่าง (brightness) ของดาวฤกษ์ เป็นพลังงานจากดาวฤกษ์ที่ปลดปล่อยออกมาในเวลา 1 วินาทีต่อหน่วยพื้นที่ ความส่องสว่างมีหน่วยเป็นวัตต์ต่อตารางเมตร แต่เนื่องจากว่าตาของมนุษย์มีความละเอียดไม่มาก นักดารศาสตร์จึงได้กำหนดค่าการเปรียบเทียบความสว่างของดาวฤกษ์เรียกว่า อันดับความสว่าง หรือ แมกนิจูด (magnitude) หรือ โชติมาตร หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
ความส่องสว่างและโชติมาตรของดาวฤกษ์ ค่าโชติมาตรนี้ไม่มีหน่วยเป็นเพียงตัวเลขที่กำหนดขึ้น โดยมีหลักว่าดวงดาวริบหรี่ที่สุดที่ตาเปล่าสามารถมองเห็นได้ มีค่าโชติมาตรเป็น 6 และดาวที่สว่างที่สุดที่ตาเปล่าสามารถมองเห็นได้มีค่าโชติมาตรเป็น 1 ดาวที่มีค่าโชติมาตรต่างกัน 1 จะมีความสว่างต่างกัน 2.512 เท่า หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
ความส่องสว่างและโชติมาตรของดาวฤกษ์ ถ้าดวงดาวที่มีค่าโชติมาตรต่างกัน 5 จะสว่างต่างกัน (2.512)5 หรือ 100 เท่า โชติมาตรของดาวฤกษ์ที่สังเกตได้จากโลกเรียกว่า โชติมาตรปรากฏ ซึ่งเป็น โชติมาตรที่นำเปรียบเทียบกับความสว่างจริงๆ ของดวงดาวต่างๆ ไม่ได้ เพราะความสว่างที่ปรากฏให้เราเห็นบนโลกนั้นขึ้นอยู่กับระยะห่างของดาวนั้นกับโลก และขึ้นอยู่กับความสว่างจริงๆ ของดาวด้วย หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
ความส่องสว่างและโชติมาตรของดาวฤกษ์ ดังนั้นเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบความสว่างระหว่าง ดาวฤกษ์ด้วยกันได้ นักดาราศาสตร์จึงกำหนด โชติมาตรสัมบูรณ์ของดาวว่า เป็นค่า โชติมาตรของดาวเมื่อดาวนั้นอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางเท่ากับ 10 พาร์เซก หรือ 32.62 ปี แสง หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
ความส่องสว่างและโชติมาตรของดาวฤกษ์ โชติมาตรสมบูรณ์ของดาวฤกษ์จึงนำมาใช้เปรียบเทียบความสว่างของดาวฤกษ์ทั้งหลายได้ เช่น ดวงอาทิตย์ มีโชติมาตรสัมบูรณ์ 4.8 ส่วนดาวไรเจลมีโชติมาตร สัมบูรณ์ -6.6 ดังนั้นดาว ไรเจลจึงมีความส่องสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์เป็น (2.512)11.4 หรือ 36,326 เท่า หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
สีและอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์สีและอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์ จากการสังเกตดาวฤกษ์ที่ปรากฏบนฟ้า จะพบว่าดาวฤกษ์มีสีต่างกัน สีของ ดาวฤกษ์ที่มองเห็นมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิผิวดาวฤกษ์ นักดาราศาสตร์แบ่งชนิดของดาวฤกษ์ตามสีและอุณหภูมิผิวออกเป็นชนิดสเปกตรัมหลักๆ ได้ 7 สเปกตรัม โดยใช้อักษรตัวใหญ่ในภาษาอังกฤษ ดังแสดงในตาราง หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
สีและอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์สีและอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์ สีของดาวฤกษ์นอกจากจะสัมพันธ์กับอุณหภูมิแล้ว ยังสัมพันธ์กับช่วงอายุไขของดาวฤกษ์ด้วย โดยดาวฤกษ์ที่มีอายุน้อยจะมีสีน้ำเงิน และมีอุณหภูมิผิวสูง ส่วนดาวฤกษ์ที่มีอายุมากจะมีสีแดง และมีอุณหภูมิต่ำ หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
ระยะห่างของดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์แต่ละระบบอยู่ห่างกันมาก เช่น ระบบดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะ คือ แอลฟาเซนเทารี ซึ่งอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 4.26 ปี แสง หรือประมาณ 40 ล้านล้านกิโลเมตร แต่ดาวเคราะห์ต่างๆ ในระบบสุริยะอยู่ใกล้โลกมากกว่านี้มาก เช่น ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกน้อยกว่า 2 วินาทีแสง ดวงอาทิตย์อยู่ห่างโลก 500 วินาแสง หรือประมาณ 8.3 นาทีแสง หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
ระยะห่างของดาวฤกษ์ การวัดระยะห่างจากโลกถึงดาวฤกษ์ทำได้หลายวิธี วิธีการหนึ่งที่สำคัญคือการหาแพรัลแลกซ์ของดวงดาวนั้น ซึ่งนับว่าเป็นวิธีวัดระยะห่างของดาวฤกษ์ที่อยู่ค่อนข้างใกล้โลกได้อย่างแม่นยำหลักการของแพรัลแลกซ์ คือ การสังเกตเห็นดาวฤกษ์เปลี่ยนตำแหน่งไปเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์อ้างอิง(ซึ่งอยู่ห่างไกลจากโลกมาก) โดยจะสังเกต ดาวฤกษ์จากโลก 2 ครั้ง ในช่วงระยะเวลาที่ห่างกัน 6 เดือน หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
ระยะห่างของดาวฤกษ์ หน้าหลัก ทั้งนี้เพราะจุดสังเกตทั้ง 2 ครั้งนั้น จะอยู่ห่างกันเป็นระยะทางประมาณ 2 เท่าของระยะทางเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เมื่อนักดาราศาสตร์วัดมุมที่เปลี่ยนไประหว่างดาวฤกษ์ดวงนั้นกับดาวฤกษ์อ้างอิงแล้ว จะสามารถคำนวณหาระยะห่างระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวฤกษ์ หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
ระยะห่างของดาวฤกษ์ หน้าหลัก 1. หน่วยดาราศาสตร์ เป็นหน่วยวัดระยะทางเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์ คือประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร 2. หน่วยปี แสง เป็นหน่วยวัดระยะทางในอวกาศที่แสงเดินทางได้ใน 1 ปี 1 ปี แสง = 9.5 x 1012กิโลเมตร 3. หน่วยพาร์เซก เป็นหน่วยวัดระยะทางที่ใช้วัดระยะทางจากโลกถึงดาวฤกษ์ 1 พาร์เซกเท่ากับระยะทางของดาวที่มีมุมแพรัลแลกซ์1ฟิลิปดา หรือเท่ากับ = 3.26 ปีแสง หรือเท่ากับ 206,265 หน่วยดาราศาสตร์ หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
ระยะห่างของดาวฤกษ์ หน้าหลัก เมื่อนักดาราศาสตร์ถ่ายภาพท้องฟ้าที่มีดาวฤกษ์ที่ต้องการวัดระยะห่างกับดาวฤกษ์อ้างอิง นักดาราศาสตร์จะสามารถวัดตำแหน่งที่เปลี่ยนไปของดาวฤกษ์ที่ต้องการวัดกับดาวฤกษ์อ้างอิงซึ่งถือว่าหยุดนิ่ง ตำแหน่งของดาวฤกษ์ที่ต้องการวัดที่เปลี่ยนไปนั้นเปลี่ยนไปเป็นมุมครึ่งหนึ่งของมุมที่เปลี่ยนไปเรียกว่า มุมแพรัลแลกซ์ของดาว หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
เนบิวลา แหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ เนบิวลาไม่ใช่ดาวฤกษ์ แต่เป็นกลุ่มแก๊สขนาดใหญ่ที่มีความสว่างจากแสงของดาวฤกษ์เกิดใหม่ ภายในเนบิวลามีดาวฤกษ์เกิดใหม่จำนวนมากที่มีสีค่อนไปทาง สีน้ำเงิน โดยดาวฤกษ์ต่างๆ เหล่านั้น แต่ละดวงถือกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ก่อนเกิด โดยสังเกตเนบิวลาที่อยู่ในกลุ่มดาวนายพรานและในกระจุกดาวลูกไก่ เนบิวลาที่อยู่ในกระจุกดาวลูกไก่ประกอบด้วยดาวฤกษ์ที่เกิดใหม่จึงเป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน อุณหภูมิผิวสูงมีดาวฤกษ์ 5 ดวงเรียงกันเป็นรูปกระบวยเล็กๆ เรียกว่า กระบวยตักนม จะมองเห็นเนบิวลาเป็นฝ้าขาวจางๆ หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
เนบิวลา แหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ หน้าหลัก รอบดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในกระจุกดาวลูกไก่ได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อมองดูจากภาพถ่าย ในคืนที่ฟ้าโปร่ง แจ่มใส ไม่มีแสงไฟรบกวน และจะเห็นกระจุกดาวลูกไก่ได้ง่ายชัดเจน สวยงามแปลกตา และเห็นจำนวนมากขึ้น นอกจากเนบิวลาสว่างในกระจุกดาวลูกไก่ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแล้ว กล้องดูดาวยังสามารถเห็นเนบิวลาอีกมากมาย ภาพถ่ายของเนบิวลาจากกล้องโทรทรรศน์มีความสวยงามแปลกตา หลากสี และมีรูปร่างต่างๆ กัน ลักษณะที่ปรากฏมักเป็นชื่อเฉพาะของเนบิวลา หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
เนบิวลา แหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ ต้นกำเนิดของเนบิวลาคือสสารดั้งเดิมหลังจากการกำเนิดโมเลกุลของไฮโดรเจนและฮีเลียมภายในกาแล็กซี หรือเนบิวลาบางแห่ง อาจเป็นซากที่เหลือจากการระเบิดของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ ณ บริเวณนั้น เนบิวลาจึงเป็องค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของกาแล็กซี โดยเนบิวลาจะเป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์และระบบของดาวฤกษ์ภายในกาแล็กซี มีเนบิวลาจำนวนมากที่มวลสารกำลังยุบตัวรวมตัวเพื่อก่อกำเนิดดาวฤกษ์ดวงใหม่ และมีเนบิวลาอีกหลายแห่งที่มีมวลสารกำลังเคลื่อนที่กระจายออกจากกัน เพราะเกิดจากการระเบิดของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
เนบิวลา แหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ใช้เวลายาวนานมาก เมื่อเทียบกับช่วงชีวิตและ อารยธรรมของมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์จึงไม่สามารถจึงมาสามารถเฝ้าสังเกตการณ์การเปลี่ยนแปลงของดาวฤกษ์ดวงใดดวงหนึ่งได้โดยตลอด แต่เนื่องจากนักดาราศาสตร์มีความเชื่อว่า เอกภพมีขนาดใหญ่มากเพียงพอที่จะเกิดปรากฏการณ์ทางกายภาพทุกชนิดที่มีอยู่ในเอกภพ ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ดังนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาดาวฤกษ์จำนวนมากที่มีวิวัฒนาการต่างๆ กันจะช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถแสดงการวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ที่มีมวลต่างๆ กันได้ หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
ระบบดาวฤกษ์ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์เดี่ยวที่มีบริวารซึ่งไม่ใช่ดาวฤกษ์ ดาวซีรีอัสเป็นดาวคู่ คือเป็นระบบดาวฤกษ์ 2 ดวงเคลื่อนรอบซึ่งกันและกันด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวแอลฟาเซนเทารี เป็นระบบดาวฤกษ์ 3 ดวงประกอบด้วย ดาวแอลฟาเซนเทารี เอและดาวแอลฟาเซนเทารี บี เคลื่อนรอบซึ่งกันและกันรอบละ 80 ปี ในขณะที่ดาวแอลฟาเซนเทารี ซี เคลื่อนรอบ 2 ดวงแรกรอบละประมาณ 50 ล้านปี ดาวแอลฟาเซนเทารี ซี คือดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะที่สุด โดยอยู่ห่างเป็นระยะทางประมาณ 4 ปี แสง หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
ระบบดาวฤกษ์ ระบบดาวฤกษ์ที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์จำนวนมากคือ กระจุกดาว เช่น กระจุกดาวลูกไก่ ซึ่งเป็นระบบดาวฤกษ์ที่มีดาวฤกษ์มากกว่าร้อยดวง กระจุกดาวทรงกลมเอ็ม13 ประกอบด้วยดาวฤกษ์หลายแสนดวง ดาวฤกษ์และกระจุกดาวฤกษ์มักจะอยู่ภายในกาแล็กซีเป็นระบบดาวฤกษ์อีกระบบหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่ากระจุกดาวฤกษ์มาก สาเหตุที่เกิดดาวฤกษ์เป็นระบบต่างๆ กัน เพราะเนบิวลาต้นกำเนิดมีปริมาณและขนาดต่างๆ กัน หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
มวลของดาวฤกษ์ มวลเป็นเนื้อสาร มวลของดาวฤกษ์แต่ละดวงแตกต่างกัน เพราะเนบิวลาที่ก่อกำเนิดเป็นดาวฤกษ์มีมวลไม่เท่ากัน มวลจึงเป็นสมบัติที่แตกต่างกันของดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์มวลมากจะใช้มวลที่แก่นดาวมากกว่าดาวฤกษ์มวลน้อย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความดันของแก๊สให้สูงขึ้นพอที่จะสมดุลกับแรงโน้มถ่วงซึ่งขึ้นอยู่กับมวลดาวฤกษ์เท่านั้น ดาวฤกษ์มวลน้อยมีแรงโน้มถ่วงน้อยกว่าดาวฤกษ์มวลมากความดันของแก๊สร้อนในดาวฤกษ์มวลน้อยจึงน้อยกว่า หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
มวลของดาวฤกษ์ การใช้เชื้อเพลิงที่แก่นดาวต้องน้อยกว่าด้วย นักดาราศาสตร์สามารถหามวลของดาวฤกษ์ได้หลายวิธี เช่น ในกรณีของ ดวงอาทิตย์ซึ่งมีบริวารเป็นดาวเคราะห์ สามารถใช้กฏเคปเลอร์ในการหามวลของดวงอาทิตย์ได้เนื่องจากว่าคาบการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์และระยะห่างของดาวเคราะห์จากดวงอาทิตย์จะมีความสัมพันธ์กับมวลของดวงอาทิตย์ตาม กฎเคปเลอร์ หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
ประวัติผู้สอน ชื่ออาจารย์ ปกรณ์กฤษ นามสกุล หวังกุ่มตำแหน่ง ครู คศ.2วิยฐานะชำนาญกาญสังกัด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสารสนเทศ (คอมพิวเตอร์) โรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก จังหวัดกาญจนบุรีการศึกษา พ.ศ.2542 ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี พ.ศ.2545ป. บัณฑิต วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี พ.ศ.2548 ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา พ.ศ. 2553 ปริญญาโท ศึกษาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม) สาขาบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีการติดต่อ korn.2514@hotmail.com www.pkkan.net หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
ประวัติที่ปรึกษาโครงงานประวัติที่ปรึกษาโครงงาน ชื่ออาจารย์ นิชาภา อ่อนละออตำแหน่ง ครูผู้ช่วยสังกัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก จังหวัดกาญจนบุรีการศึกษาปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่นปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีการติดต่อ Nischapa_o@yahoo.com หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ
ประวัติผู้จัดทำ ชื่อ นางสาว เนตนภา นามสกุล สืบด้วง ชื่อเล่น มุก เกิดวันที่ 15 มีนาคม 2539 ที่อยู่ บ้านเลขที่ 232 หมู่ 3 ตำบล ห้วยกระเจา อำเภอ ห้วยกระเจา จังหวัด กาญจนบุรี 71170 E mail: somjit_m3@hotmail.com อาหารที่ชอบ ก๋วยเตี๋ยว,ส้มตำ สีที่ชอบ สีฟ้า,สีขาว งานอดิเรก ดูทีวี ,อ่านหนังสือ ประวัติการศึกษา จบในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนอนุบาลห้วยกระเจา จบในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนอนุบาลห้วยกระเจา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก หน้าหลัก หน้าเมนู หน้าถัดไป หน้าย้อนกลับ