520 likes | 1.53k Views
ความรู้เกี่ยวกับแผนที่เบื้องต้น. สวัสดิ์ หาญกุดตุ้ม นายช่างชลประทาน 6 โครงการชลประทานชัยภูมิ 0-4481-7052 swatt_h@yahoo.com. ความรู้เกี่ยวกับแผนที่เบื้องต้น. ความหมายของแผนที่ ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่ ชนิดของแผนที่ องค์ประกอบของแผนที่ มาตราส่วนแผนที่ สัญลักษณ์แผนที่.
E N D
ความรู้เกี่ยวกับแผนที่เบื้องต้น สวัสดิ์ หาญกุดตุ้ม นายช่างชลประทาน 6 โครงการชลประทานชัยภูมิ 0-4481-7052swatt_h@yahoo.com
ความรู้เกี่ยวกับแผนที่เบื้องต้นความรู้เกี่ยวกับแผนที่เบื้องต้น • ความหมายของแผนที่ • ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่ • ชนิดของแผนที่ • องค์ประกอบของแผนที่ • มาตราส่วนแผนที่ • สัญลักษณ์แผนที่
ความหมายของแผนที่ พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ “แผนที่ คือ สิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและที่ปรุงแต่งขึ้น โดยแสดงลงในพื้นแบนราบ ด้วยการย่อให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการและอาศัยเครื่องหมายกับสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้น”
ความหมายของแผนที่ กรมแผนที่ทหาร “แผนที่คือสิ่งซึ่งมนุษย์สร้างขึ้น เพื่อแสดงลักษณะของพื้นผิวพิภพ และสิ่งที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวพิภพ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมด หรือเพียงบางส่วน โดยแสดงไว้บนแผ่นวัสดุที่เลือกสรรแล้ว ด้วยการย่อให้มีขนาดเล็กลงตามอัตราส่วนที่พึงประสงค์ให้คงรักษารูปร่างลักษณะที่คล้ายของจริงไว้หรือใช้สัญลักษณ์ทดแทน ”
ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่ • ด้านการทหาร • ด้านการเมืองการปกครอง • ด้านเศรษฐกิจและสังคม • ด้านสังคม • ด้านสิ่งแวดล้อม
ชนิดของแผนที่ • แผนที่ลายเส้น (Line Map) • แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map) • แผนที่แบบผสม (Annotated Map) การจำแนกชนิดของแผนที่ตามลักษณะที่ปรากฏบนแผนที่
แผนที่ลายเส้น (Line Map) แผนที่ซึ่งรายละเอียดที่ปรากฏอยู่บนแผ่นแผนที่นั้นเป็นลายเส้น อาจจะเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง ท่อนเส้น หรือเส้นใด ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถนนแสดงด้วยเส้นเดี่ยว เส้นคู่ขนาน หรือท่อนเส้นต่อกันเป็นแนวยาวตามลักษณะความคดเคี้ยวของเส้นทางนั้น ๆ อาคารแสดงด้วยเส้นประกอบกันเป็นสี่เหลี่ยมตามลักษณะที่เป็นจริง สัญลักษณ์ที่ใช้ทดแทนรายละเอียด ในแผ่นแผนที่นั้นก็เป็นรูปแบบที่ประกอบด้วยลายเส้น แผนที่ลายเส้นดังกล่าว หมายรวมทั้งแผนที่แบบแบน และแผนที่แบบทรวดทรง (PLASTIC RELIEF MAP) ในเมื่อรายละเอียดที่แสดงบนแผ่นแผนที่นั้น ประกอบด้วยลายเส้นแล้วถือว่า เป็นแผนที่ลายเส้นทั้งสิ้น
แผนที่รูปถ่าย (PHOTO MAPS) แผนที่ซึ่งรายละเอียดที่ปรากฏอยู่บนแผ่นแผนที่นั้น เป็นรายละเอียดที่ได้จากการถ่ายภาพภูมิประเทศด้วยกล้องถ่ายรูป แผนที่รูปถ่ายในปัจจุบันที่ผลิตจากรูปถ่ายทางอากาศ มีทั้ง เป็นแผนที่แบบแบน แผนที่ทรวดทรง (พิมพ์ดุนนูน) และแผนที่แบบแบนที่มองเห็นเป็นภาพสามมิติ (3D-Map) คล้ายภาพโปสการ์ด แบบที่มองเห็นเป็นภาพสามมิติ
แผนที่แบบผสม (ANNOTATED MAPS) เป็นแผนที่แบบผสม ระหว่างแผนที่ลายเส้นกับแผนที่รูปถ่าย รายละเอียดที่ปรากฏให้เห็นบนแผ่นแผนที่ชนิดนี้ จึงมีทั้งรายละเอียดที่ได้จากการถ่ายภาพภูมิประเทศด้วยกล้องถ่ายรูป และรายละเอียดที่ถูกวาด หรือเขียนขึ้นเป็นลายเส้น ตามปกติแล้ว แผนที่ดังกล่าวรายละเอียดที่เป็นพื้นฐานส่วนใหญ่จะเป็นรายละเอียด ที่ได้จากการถ่ายภาพภูมิประเทศด้วยกล้องถ่ายรูป ส่วนรายละเอียดที่สำคัญ ๆ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ถนนหรือเส้นทาง รวมทั้งอาคารใด ๆ ที่ต้องการเน้นให้เห็นเด่นชัดก็แสดงด้วยลายเส้น พิมพ์แยกสีให้เห็นเด่นชัดกว่ารายละเอียดบริเวณรอบ ๆ แผนที่แบบผสมในปัจจุบันนิยมใช้กันมาก เพราะสะดวกและง่ายแก่การอ่าน ผู้ผลิตได้ผลิตขึ้นหลายแบบ มีทั้งแบบแบน และแบบพิมพ์นูน ส่วนใหญ่จะเป็นแผนที่สีมากกว่าสองสีขึ้นไป
องค์ประกอบที่สำคัญของแผนที่องค์ประกอบที่สำคัญของแผนที่ • เส้นขอบระวาง • สัญลักษณ์ (Symbol) • ชื่อภูมิศาสตร์ (Geographical Names) • มาตราส่วนแผนที่ (Map Scale) • ระบบอ้างอิงในการกำหนดตำแหน่ง (Position Reference Systems )
มาตราส่วนแผนที่ (Map Scale) อัตราส่วนระหว่างระยะทางในแผนที่ กับระยะทางจริงในภูมิประเทศ มาตราส่วนแผนที่ คือ มาตราส่วนเศษส่วน(Representative Fraction) เช่น 1:1,000 หรือ 1/1000 มาตราส่วนคำพูด (Verbal Scale) เช่น 1 นิ้ว ต่อ 1 ไมล์ หรือ 1 เซนติเมตร ต่อ 5 กิโลเมตร มาตราส่วนรูปภาพ หรือมาตราส่วนบรรทัด (Graphic Scale or Bar Scale)
รูปทรงสัณฐานของโลก โลกสดใส โลกมืด
รูปทรงสัณฐานของโลก โลกจริง โลกแผนที่
รูปทรงสัณฐานของโลก • ทรงกลม หรือ สเฟียรอยด์ - แผนที่มาตราส่วนเล็กที่มี ขอบเขตกว้างขวาง เช่น แผนที่โลก • ทรงรี หรือ อิลิปซอยด์ -สำหรับใช้เป็นพื้นผิวการรังวัดและการแผนที่ที่ต้องการความละเอียดถูกต้องสูง • ยีออยด์ - งานรังวัดชั้นสูง (Geodesy)
ระบบอ้างอิงในการกำหนดตำแหน่ง(Position Reference Systems )
1. พิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinates)
1. พิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinates) • The Prime Meridian and the Equator are the reference planes used to define latitude and longitude. • The geodetic latitude (there are many other defined latitudes) of a point is the angle from the equatorial plane to the vertical direction of a line normal to the reference ellipsoid. • The geodetic longitude of a point is the angle between a reference plane and a plane passing through the point, both planes being perpendicular to the equatorial plane. • The geodetic height at a point is the distance from the reference ellipsoid to the point in a direction normal to the ellipsoid.
2. พิกัดกริด (Rectangular Coordinates) Universal Transverse Mercator (UTM) • Universal Transverse Mercator (UTM) coordinates define two dimensional, horizontal, positions. • UTM zone numbers designate 6 degree longitudinal strips extending from 80 degrees South latitude to 84 degrees North latitude. • UTM zone characters designate 8 degree zones extending north and south from the equator.
2. พิกัดกริด (Rectangular Coordinates) Universal Transverse Mercator (UTM) • Each zone has a central meridian. • Eastings are measured from the central meridian (with a 500 km false easting to insure positive coordinates). • Northings are measured from the equator (with a 10,000 km false northing for positions south of the equator).
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภูมิศาสตร์โลกความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภูมิศาสตร์โลก • เส้นศูนย์สูตร (Equator) • เส้นเมริเดียน (Meridians) • เส้นเมริเดียนปฐม (Prime Meridian) • ละติจูด (Latitude) หรือ เส้นรุ้ง • ลองจิจูด (Longitude) หรือ เส้นแวง • โปรเจคชั่นของแผนที่
ละติจูด • เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพที่เกิดจากการสมมติใช้พื้นราบตัดพิภพโดยให้พื้นราบนั้นตั้งได้ฉากกับแกนหมุนของพิภพเสมอ เส้นรอยตัดดังกล่าวนั้นคือเส้นละติจูด นิยมเรียกสั้นๆ ว่า “ เส้นขนาน” • ละติจูดศูนย์องศา คือ เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพ ที่เกิดจากพื้นราบที่ตั้งได้ฉากกับแกนหมุนตัดผ่านจุดศูนย์กลางของพิภพ เส้นรอยตัดเส้นนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เส้นศูนย์สูตร” (Equator) ซึ่งเป็นวงขนานละติจูดวงใหญ่ที่สุด • ค่าละติจูดของวงละติจูดใด คือ ค่ามุมที่จุดศูนย์กลางของพิภพนับไปตามพื้นราบที่บรรจุแกนหมุนของพิภพ เริ่มจากพื้นศูนย์สูตรถึงแนวเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางพิภพไปยังวงละติจูตนั้น • ที่จุดขั้วเหนือของพิภพมีค่าละติจูดเท่ากับ 90 องศาเหนือ และที่จุดขั้วใต้ของพิภพมีค่าละติจูดเท่ากับ 90 องศาใต้ • เนื่องจากพื้นของวงละติจูดศูนย์องศา หรือพื้นศูนย์สูตร เป็นพื้นที่ตัดผ่านจุดศูนย์กลางของพิภพ วงศูนย์สูตรจึงถูกเรียกว่า “วงกลมใหญ่” ส่วนละติจูดอื่นๆ เป็นวงกลมเล็ก วงละติจูตจะมีขนาดเล็กลงๆ เมื่อห่างวงศูนย์สูตรออกไปจนกระทั่งกลายเป็นจุดที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้
ลองติจูด (Longitude) ลองจิจูด • เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพที่เกิดจากการสมมติใช้พื้นราบตัดพิภพ โดยให้พื้นราบผ่านแนวแกนหมุนของพิภพ เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพดังกล่าวเรียกว่า เส้นลองจิจูดหรือเส้นเมริเดียน (Meridian) • ลองจิจูดศูนย์องศา คือเส้นลองจิจูดที่ผ่านหอส่งดาว ณ เมืองกรีนิส (Greenwich) ในประเทศอังกฤษ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมริเดียนหลัก (Prime Meridian) • การกำหนดค่าลองจิจูด คือค่าง่ามมุมที่จุดศูนย์กลางพิภพบนพื้นศูนย์สูตรโดยใช้แนวเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางพิภพมายังเมริเดียนหลักเป็นแนวเริ่มนับค่าง่ามมุมไปทางตะวันออก 180 องศา เรียกว่า ลองจิจูดตะวันออก และนับค่าง่ามมุมไปทางตะวันตก 180 องศา เรียกว่า ลองจิจูดตะวันตก เส้นลองจิจูดที่ 180 องศาตะวันออกและตะวันตกเป็นเส้นเดียวกัน • ลองจิจูดทุกเส้นเป็นส่วนโค้งของวงกลมใหญ่ (Great Circle)
ระบบพิกัดกริด UTM (Universal Transverse Mercator co-ordinate System)
การหาตำแหน่งของสถานที่บนพื้นโลกจากแผนที่การหาตำแหน่งของสถานที่บนพื้นโลกจากแผนที่ • พิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate) • พิกัดกริด UTM (UTM Grid Coordinate) อ่านค่าของเส้นกริดตั้ง (แกน X ทางตะวันออก) และ เส้นกริดราบ (แกน Y ทางเหนือ) ตัดกันทั้ง 2 แกน
ตัวอย่างการอ่านค่าพิกัดภูมิศาสตร์ตัวอย่างการอ่านค่าพิกัดภูมิศาสตร์ การอ่านค่าพิกัดภูมิศาสตร์ที่มุมล่างซ้ายของแผนที่ (ตามลูกศรสีม่วง) ค่าที่อ่านได้ คือ ละติจูดที่ 8 องศา 00 ลิปดา 00 ฟิลิปดา เหนือ ลองจิจูดที่ 100 องศา 15 ลิปดา 00 ฟิลิปดา ตะวันออก
ตัวอย่างการอ่านค่าพิกัด UTM การอ่านค่าพิกัด UTM ของจุดตัดถนนในแผนที่ (ตามวงกลมสีแดง) ระดับ 100 เมตร ค่าที่อ่านได้ คือ แกน X = 639200 ตะวันออก แกน Y = 985150 เหนือ WGS84 (World Geodetic System 1984)