1.39k likes | 1.88k Views
การบรรยายรายวิชา 765 106 ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ในประเทศไทย. ครั้งที่ 2 ( 11 มิถุนายน 2547 ). 1. หัวข้อที่จะบรรยายในวันนี้. 1.1 ประวัติความเป็นมาของการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีในประเทศไทย 1.2 การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในประเทศไทย
E N D
การบรรยายรายวิชา 765 106 ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีในประเทศไทย ครั้งที่ 2 (11 มิถุนายน 2547)
1. หัวข้อที่จะบรรยายในวันนี้ 1.1 ประวัติความเป็นมาของการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีในประเทศไทย 1.2 การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในประเทศไทย 1.3 ข้อมูลหลักฐานที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีในประเทศไทย 1.4 ปัญหาและข้อจำกัดของหลักฐานประวัติศาสตร์ – โบราณคดีในประเทศไทย 1.5 สภาพภูมิศาสตร์ประเทศไทยที่มีบทบาทต่อการตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองสมัยโบราณ รวมทั้งพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม
2. จุดมุ่งหมายในการบรรยาย 2.1 เพื่อให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของการศึกษาประวัติศาสตร์-โบราณคดีในประเทศไทยและเข้าใจถึงแนวคิดในการแบ่งยุคสมัยและการกำหนดอายุยุคสมัยประวัติศาสตร์ – โบราณคดีในประเทศไทย 2.2 เพื่อให้รู้จักหลักฐานประเภทต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ – โบราณคดีในประเทศไทย 2.4 เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาและข้อจำกัดของหลักฐานที่ทำ ให้ข้อสรุปทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในประเทศไทยยังมีข้อถกเถียงขัดแย้งกันอยู่เสมอ ๆ 2.4 เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทของสภาพภูมิศาสตร์ที่มีต่อวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์
3. บทความที่ใช้อ่านประกอบในการบรรยายครั้งนี้ มยุรี วีระประเสริฐ “หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดีในประเทศไทย”ประวัติศาสตร์และโบราณคดีในประเทศไทย ฉบับคู่มือครูสังคมศึกษา ภาควิชาโบราณดี, คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) กรุงเทพฯ 2544
ประวัติความเป็นมาของการศึกษาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ในประเทศไทยประวัติความเป็นมาของการศึกษาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ในประเทศไทย • การศึกษาด้านโบราณคดี จากหลักฐานที่มีอาจกล่าวได้ว่าความสนใจเรื่องโบราณคดีในประเทศไทยคงจะเริ่มขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ ๓ ตอนปลาย ตั้งแต่สมเด็จพระวชิรญานมหาเถระ เสด็จธุดงค์ไปนครปฐม ทอดพระเนตรพระปฐมเจดีย์ และโปรดให้ขุดตรวจเพื่อศึกษา การทรงกระทำดังกล่าวเป็นลักษณะของการทำงานโบราณคดี คือมีการสำรวจและขุดค้นเพื่อศึกษา
พ.ศ. ๒๓๗๖ สมเด็จพระวชิรญานมหาเถระเสด็จธุดงค์หัวเมืองเหนือทรงค้นพบศิลาจารึกสมัยสุโขทัย (คือศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ และหลักที่ ๔) ทำให้ความรู้เกี่ยวกับอดีตของแผ่นดินไทยย้อนกลับไปถึงสมัยสุโขทัย ต่อมาเมื่อสมเด็จพระวชิรญานมหาเถระเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชการที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็โปรดให้บูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ และด้วยความสนพระทัยที่จะศึกษาประวัติความเป็นมาของโบราณวัตถุโบราณสถาน จึงโปรดให้รวบโบราณวัตถุต่างๆที่ทรงสะสมไว้มารวมไว้ที่พระที่นั่งราชฤดี เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ต่อมาจึงโปรดให้สร้างพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อเป็นที่รวมรวบโบราณวัตถุ
ในรัชกาลที่ ๕ โปรดให้ตั้งหอมิวเซียมขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บรวมรวมโบราณวัตถุที่ย้ายมาจากพระที่นั่งพิพิธภัณฑ์ ต่อมาเมื่อมีการยุบตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า) จึงโปรดให้ย้ายหอมิวเซียมมาอยู่ที่วังหน้า คือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปัจจุบันในเวลานั้นมีนักวิชาการชาวตะวันตกเข้ามาสำรวจศึกษาโบราณวัตถุโบราณสถานในประเทศไทย เช่นนาย Lucien FORONOนาย Etienne AYMONIERพันตรี Lunet de LAJONGUIERE พ.ศ. ๒๔๔๗ มีการตั้งสมาคมและสโมสรทางวิชาการขึ้นคือ สยามสมาคมทวีปัญญาสโมสรโบราณคดีสโมสร นักโบราณคดีไทยคนสำคัญในยุคนี้คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ในรัชกาลที่๖ - มีการตั้งหอพระสมุดสำหรับพระนครซึ่งมีทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่องโบราณวัตถุโบราณสถานของประเทศว่าสิ่งใดควรรักษาไว้สำหรับบ้านเมือง ในรัชกาลที่ ๗ – มีการตั้งราชบัณฑิตยสภา โดยมีสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นนายกสภานาย GEORGE COEDES นักวิชาการชาวฝรั่งเศสเป็นเลขานุการราชบัณฑิตยสภาที่ตั้งขึ้นนี้มีแผนกโบราณคดีที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่องพิพิธภัณฑ์และโบราณวัตถุ โบราณสถาน
รัชกาลที่ ๗ (ต่อ) - พ.ศ. ๒๔๖๙ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้แบ่งยุคสมัยของศิลปะ โบราณวัตถุที่พบในประเทศไทยออกเป็นยุคต่างๆคือ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ - พ.ศ. ๒๔๗๙ นายStein CALLENFELS ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑที่เมืองชวามีหนังสือมายังทางการไทยขอรับเป็นผู้ฝึกนักโบราณคดีในการขุดค้นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย แต่ทางการไทยไม่ได้ให้ความสนใจและปฏิเสธ - พ.ศ. ๒๔๗๔ นาย Fritz SARASIN นักวิชาการ ชาวสวิสได้เข้ามาศึกษาเรื่องโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยพบหลักฐานที่เป็นเครื่องมือหินในภูมิภาคต่างๆ
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง - พ.ศ. ๒๔๙๖ มีการเรียนการสอนวิชาโบราณคดีในโรงเรียนศิลปศึกษา - พ.ศ. ๒๔๙๘ มีการจัดตั้งคณะโบราณคดีขึ้นในมหาวิทยาลัยศิลปากรเพื่อผลิตนักโบราณคดีอาชีพออกไปทำหน้าที่เป็นนักโบราณคดี มีการสอนทั้งในเรื่องโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ โดยยึดแนวคิดตะวันตกเป็นหลัก - ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมามีนักวิชาการตะวันตกเข้ามาศึกษาค้นคว้าเรื่องโบราณคดีในประเทศไทยมากขึ้น มีการขุดค้นทางโบราณคดีครั้งใหญ่ๆ หลายแห่ง ทำให้เกิดองค์ความความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมากมาย
ปัจจุบันในการศึกษาทางโบราณคดีสามารถศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ที่อาศัยอยู่แผ่นดินไทยย้อนกลับไปถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุราวนับเป็นแสนปีขึ้นไป ปัจจุบันในการศึกษาทางโบราณคดีสามารถศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ที่อาศัยอยู่แผ่นดินไทยย้อนกลับไปถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุราวนับเป็นแสนปีขึ้นไป นอกจากนี้ความรู้เรื่องโบราณคดีและแหล่งโบราณคดีของไทยบางแห่งยังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกอีกด้วย เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี
การศึกษาด้านประวัติศาสตร์การศึกษาด้านประวัติศาสตร์ ถ้าพิจารณาจากหลักฐานเอกสารที่มีอาจกล่าวได้ว่า ความสนใจในประวัติศาสตร์นั้นเริ่มขึ้นมาก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ขึ้นไป และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับราชสำนัก และนักบวชที่เป็นผู้นำทางศาสนาของบ้านเมือง ดังจะเห็น ได้ว่ามีการบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ไว้ในรูปของเอกสารที่เรียกว่า พงศาวดารและตำนานไว้มากมาย
พงศาวดารและตำนานมักเป็นเรื่องของการกำเนิดบ้านเมือง กษัตริย์ และศาสนา เนื้อหาที่เขียนไว้ได้มาจากเรื่องเล่าหรือจากเอกสารโบราณที่มีมาก่อน เนื้อหาสาระที่มีแสดงว่าการเรียนรู้อดีตของไทยในเวลานั้นอาศัยหลักฐานเอกสารที่มีและคัดลอกกันต่อๆมา เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ในลักษณะที่เรียกว่า รับรู้ เท่านั้น
ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงอย่างมาก การเรียนรู้ประวัติศาสตร์จากการรับรู้แต่เพียงอย่างเดียว เริ่มมีการเรียนรู้ด้วยการค้นหาข้อมูลหลักฐาน มีการตรวจสอบข้อมูลหลักฐาน และการวิเคราะห์หลักฐาน ซึ่งขึ้นเริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ทรงค้นพบจารึกสมัยสุโขทัย และโปรดให้ย้ายลงมากรุงเทพฯ มีการอ่านแปลจารึก ทำให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ของไทยย้อนกลับไป ได้ไกลกว่าเดิมมาก • ตั้งแต่ราวปลายรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ลงมาจนถึงรัชกาลที่ ๕
ในรัชกาลที่ ๕ การศึกษาประวัติศาสตร์แพร่หลายมากขึ้นกว่าแต่ก่อน รัชกาลที่ ๕ ทรงสนพระทัยในเรื่องประวัติศาสตร์และ ทรงพระราชนิพนธ์ ด้านประวัติศาสตร์ไว้หลายเรื่องที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถยิ่ง และที่สำคัญคือ การศึกษาประวัติศาสตร์ไม่ผูกขาดอยู่ในราชสำนักอีกต่อไป พ.ศ. ๒๔๓๓ เริ่มมีการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยขึ้นในสถาบันการศึกษา แต่เรียกว่า พงศาวดาร บุคคลสำคัญที่ผลิตผลงานทางด้านประวัติศาสตร์ในยุคนี้คือสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
งานพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมีมากกว่า ๕๐๐ เรื่อง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการด้านประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง ถือเป็นงานเขียนที่เป็นการบุกเบิกงานประวัติศาสตร์แบบใหม่ ท่านต้องการสร้างความรู้ให้คนไทยรู้เรื่องของตนเอง ขณะเดียวกันให้คนไทยรู้จักค้นคว้าเรื่องราวของตนเองต่อไปโดยยึดหลักการวิเคราะห์ตามข้อมูลหลักฐานที่มี
อย่างไรก็ดี ในยุคนี้ ก็ยังมีการผลิตผลงานประวัติศาสตร์ในลักษณะที่เป็นพงศาวดารออกมาหลายเรื่อง ได้แก่พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ และพงศาวดารท้องถิ่น และผู้เขียนงานเหล่านี้ยังเป็นบุคคลในราชสำนัก
มีการผลิตงานทางประวัติศาสตร์ออกมามาก มีทั้งที่เป็นงานวิชาการและที่เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เนื้อหาเน้นในเรื่องความรุ่งเรืองและความยิ่งใหญ่ของประเทศไทยในอดีต ในลักษณะโฆษณาชวนเชื่อ ข้อสรุปทางประวัติศาสตร์ในยุคนี้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงมาก • ในรัชกาลที่ ๖ ยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ประเด็นที่น่าสนใจ จะเห็นได้ว่ามีความสนใจศึกษาเรื่องความเป็นมาของประเทศชาติมานาน แต่คำว่า ประวัติศาสตร์ เพิ่งจะเกิดขึ้นในรัชกาลนี้ คือ ในพ.ศ. ๒๔๕๙ พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นทิพยลาภพฤฒิยากร ได้เสนอคำว่า ประวัติศาสตร์ ขึ้นใช้แทนคำว่า พงศาวดาร
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง - พ.ศ. ๒๔๗๖ มีการสอนหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ขึ้นเพื่อผลิตครูสอนวิชาประวัติศาสตร์โดยตรงที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมาการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีการเปิดสอนวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาเอกในระดับอุดมศึกษาขึ้นในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ และมีการขยายระดับการศึกษาไปถึงปริญญาโทและเอกทำให้เกิดนักประวัติศาสตร์อาชีพ
การเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ที่เปิดขึ้นอย่างกว้างขวางทำให้เกิดความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ในยุคก่อนๆอย่างมาก มีการส่งเสริมให้นักวิชาการตะวันตกเข้ามาสอน ให้ทุนนักเรียนไปเรียนต่างประเทศ ทำให้เกิดนักประวัติศาสตร์อาชีพที่นำเอาวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ตามแนวคิดตะวันตกเข้ามาใช้กันอย่างแพร่หลาย และเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางตราบจนปัจจุบัน
การศึกษาประวัติศาสตร์ด้วย วิธีการทางประวัติศาสตร์ ที่ช่วยให้มีการมองประวัติศาสตร์ในแง่มุมที่กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านเนื้อหาและการวิเคราะห์ ส่งผลงานทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในยุคหลังๆ แตกต่างไปจากงานประวัติศาสตร์ในยุคก่อนๆ มีการใช้ข้อมูลหลักฐานและมีการนำเสนอข้อมูลที่กว้างขวาง มีการศึกษาประวัติศาสตร์ในแนวใหม่ที่เน้นเรื่อง สังคม วัฒนธรรมและท้องถิ่น เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ขัดแย้งอย่างมากกับองค์ความรู้เดิมที่เน้นแต่ในเรื่องชนชาติ
การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดีในประเทศไทยการแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดีในประเทศไทย อาจแบ่งได้เป็น 2 ยุคกว้าง คือ - ยุคก่อนประวัติศาสตร์ - ยุคประวัติศาสตร์ หรืออาจแบ่งออกเป็น 3 ยุคได้ คือ - ยุคก่อนประวัติศาสตร์ - ยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ หรือยุคหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ - ยุคประวัติศาสตร์
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึง ช่วงเวลาที่สังคมมนุษย์ยังไม่รู้จักบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์หรือยุคหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ หมายถึง ช่วงเวลาที่สังคมมนุษย์นั้นๆ ยังไม่รู้จักใช้ตัวอักษร แต่นักประวัติศาสตร์สามารถศึกษาเรื่องราวของสังคมมนุษย์ ดังกล่าวได้จาก เอกสารของชนต่างถิ่น ยุคประวัติศาสตร์ หมายถึง ช่วงเวลาที่สังคมมนุษย์รู้จักบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
การกำหนดอายุและการแบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย อาจแบ่งออกได้เป็น 3 แนวคิด คือ แนวคิดที่ 1 เป็นแนวคิดเดิมของนักวิชาการชาวยุโรปที่ให้ความสำคัญเรื่องความแตกต่างด้านเทคโนโลยีในการทำเครื่องมือเป็นหลัก จึงแบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยออกเป็น
ยุคหิน (Stone Age) ซึ่งแบบออกเป็นยุคย่อยๆ ยุคหินเก่า (Old Stone Age หรือ Paleolithic Period) อายุราว 500,000 – 10,000 ปีมาแล้ว ยุคหินกลาง (Middle Stone Age หรือ Mesolithic Period) อายุราว 10,000 – 6,000 ปีมาแล้ว ยุคหินใหม่ (New Stone Age หรือ Neolithic Period) อายุราว 6,000 – 4,000 ปีมาแล้ว
ยุคโลหะ (Metal Age) แบ่งย่อยออกเป็น ยุคสำริด (Bronze Age) อายุราว 4,000 – 2,500 ปีมาแล้ว ยุคเหล็ก (Iron Age) อายุราว 2,500 – 1,800 ปีมาแล้ว
แนวคิดที่ 2 เป็นแนวคิดของนักวิชาการชาวอเมริกันที่ให้ความสำคัญกับแบบแผนของการดำรงชีวิต การตั้งถิ่นฐาน และสภาพแวดล้อมเป็นหลัก จึงแบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยออกเป็น ยุคสังคมล่าสัตว์และหาของป่า หรือยุคสังคมนายพราน (Hunting – Gathering Society Period) มีอายุราว 500,000 – 6,000 ปีมาแล้ว ยุคหมู่บ้านสังคมเกษตรกรรม (Agricultural Village Society Period) มีอายุราว 6,000 – 2,500 ปีมาแล้ว ยุคสังคมเมือง (Urban Society Period) อาจเริ่มขึ้นราว 2,500 ปีลงมา
แนวคิดที่ 3 แบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยโดยยึดตามช่วงเวลาของการแบ่งยุคทางธรณีวิทยาเป็นหลัก ดังนี้ ยุคไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งยุคน้ำแข็ง และมีการแบ่งย่อยออกเป็น ยุคน้ำแข็งตอนต้น อายุราว 1,000,000 – 700,000 ปี มาแล้ว หมายถึงช่วงเวลาที่แผ่นดินที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันยังเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินซุนดา คือ ประเทศไทย แหลมมลายู หมู่เกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว ยังเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน
ยุคน้ำแข็งตอนกลาง อายุราว 700,000 – 125,000 ปีมาแล้ว หมายถึง ช่วงเวลาที่เกิดการก่อตัวและการสลายตัวของธารน้ำแข็งไม่น้อยกว่า 7 ครั้งและแต่ละครั้งทำให้ระดับน้ำทะเลขึ้นลง ทำให้แผ่นดินซุนดาแยกออกเป็นหมู่เกาะเหมือนในปัจจุบัน ยุคน้ำแข็งตอนปลาย ช่วงเวลานั้นยุคน้ำแข็งก่อตัวครั้งสุดท้าย ราว 125,000 – 10,000 ปีมาแล้ว ยุคโฮโลซีน (Holocene Epoch) หรือยุคหลังไพลสโตซีน (Post – Pleistocene Epoch) อายุราว 10,000 ปีลงมา
การกำหนดอายุและการแบ่งย่อยยุคสมัยประวัติศาสตร์ – โบราณคดีในประเทศไทย สมัยทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16) สมัยศรีวิชัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 18) สมัยลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 18) สมัยเชียงแสนหรือล้านนาไทย (ราวพุทธศตวรรษที่ 19 – 123) สมัยสุโขทัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 19 – 20) สมัยอยุธยา (ราวพุทธศตวรรษที่ 20 – พ.ศ. 2310) สมัยธนบุรี (ราว พ.ศ. 2310 – 2324) สมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน) ถ้ายึดตามการแบ่งยุคดังกล่าวข้างต้น ก็ถือได้ว่า สมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 12
การกำหนดอายุและการแบ่งยุคย่อยสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ มีสองแนวคิด คือ แนวคิดที่ 1 กำหนดให้สมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 6 – 11 ซึ่งเป็นเวลาเชื่อมต่อระหว่างสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว นักประวัติศาสตร์สามารถสืบค้นเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆ ของบ้านเมืองที่ตั้งอยู่ในเวลานี้ได้บ้างจากบันทึกของชนต่างถิ่น เช่น จีน อาหรับ กรีก โรมัน ถ้ายึดตามการกำหนดอายุดังกล่าว ถือว่าสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 12
แนวคิดที่ 2 กำหนดอายุให้สมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์อยู่ในช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 ซึ่งตรงกับ สมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี เพราะถือว่าในช่วงเวลาดังกล่าวยังไม่มีการค้นพบศิลาจารึกภาษาไทย จารึกที่ใช้ตัวอักษรไทย ถ้ายึดตามแนวคิดนี้ ถือว่าสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นในสมัยสุโขทัย
หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดี คืออะไร หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดี คือสิ่งต่างๆที่มนุษย์ในอดีตสร้างขึ้นหรือทำขึ้น รวมทั้งสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมนุษย์ในอดีตนำมาใช้ประโยชน์
หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดี มีความสำคัญอย่างไร หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดีมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวความเป็นมาของมนุษย์ในอดีต เพราะเป็นเครื่องมือสำคัญที่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี ใช้ในการสืบค้นเรื่องราววิถีชีวิตของมนุษย์ในอดีต นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีไม่สามารถที่จะสืบค้นเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตได้เลย ถ้าไม่มีหลักฐานดังกล่าวหลงเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดีที่ยังหลงเหลือสืบทอดมาจนปัจจุบันจึงมีความสำคัญอย่างมาก เราไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ ดังนั้นเราต้องช่วยกันทำนุบำรุงและสงวนรักษา หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดีที่มีอยู่ในประเทศไทยให้คงอยู่ตลอดไป เพราะ 1. การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตจะถูกต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริงเพียงไร ขึ้นอยู่กับร่องรอยหลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดีที่ยังหลงเหลืออยู่
2. หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดีคือ เกียรติภูมิของแผ่นดินและประเทศชาติ เพราะเป็นสิ่งที่แสดงว่าประเทศไทย เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีอารยธรรมอันโดดเด่น และมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ดังเช่นที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีกระแสพระราชดำรัสว่าเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2504 “โบราณสถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่าควรจะช่วยกันรักษาไว้ ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยาและกรุงเทพฯ แล้ว ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย”
3. หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นโบราณสถานนั้น ถือเป็นสมบัติอันล้ำค่าของแผ่นดินที่ช่วยพัฒนา และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดี ที่พบในประเทศไทย ประเทศไทยเป็นดินแดนอันเก่าแก่ที่มีมนุษย์อาศัยอยู่มานานที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงปรากฏร่องรอยหลักฐานประเภทต่างๆมากมายตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ลงมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น
1. หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่หลักฐานประเภทที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่ประกอบด้วย หลักฐานโบราณคดี และหลักฐานด้านศิลปกรรม 1.1 หลักฐานโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งย่อยออกเป็น 1.1.1 โบราณสถานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรือถูกมนุษย์ดัดแปลงเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างหนึ่งอย่างใด 1.1.2 โบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้แก่ซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น กระดูกคน กระดูกสัตว์และเมล็ดพืช ซากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับประเภทต่างๆ 1.2 หลักฐานด้านศิลปกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ ภาพเขียนสีตามผนังถ้ำและเพิงผา พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2. หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งมีทั้งหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรและที่เป็นลายลักษณ์อักษร 2.1 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร สมัยประวัติศาสตร์จะมีมากประเภทกว่าสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ นอกจากหลักฐานโบราณคดีและหลักฐานด้านศิลปกรรมแล้วยังมี หลักฐานประเภทสื่อโสตทัศน์ หลักฐานประเภทบุคคลอีกด้วย
2.1.1 หลักฐานโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ แบ่งเป็น 2.1.1.1 โบราณสถานสมัยประวัติศาสตร์พบมากมายและหลากหลายกว่าสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือนอกจากสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติและมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์แล้ว ยังมีสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดอีกมาก 2.1.1.2 โบราณวัตถุสมัยประวัติศาสตร์มีมากมายหลากหลายประเภทเช่นเดียวกัน นอกจากที่เป็นผลิตผลทางธรรมชาติ ที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับที่มนุษย์ทำขึ้นประดิษฐ์ขึ้นแล้ว ยังมีสิ่งของเครื่องใช้ในพิธีกรรมความเชื่อ งานประติมากรรมที่ใช้ประดับตกแต่งสิ่งก่อสร้างต่างๆ งานประติมากรรมที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาอีกด้วย
2.1.2 หลักฐานศิลปกรรมสมัยประวัติศาสตร์ ได้แก่ บรรดางานศิลปะประเภทจิตรกรรมซึ่งมีทั้งที่เป็นจิตรกรรมซึ่งมีทั้งที่เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่วาดอยู่ตามผนังโบสถ์ วิหาร และจิตรกรรมที่วาดลงบนผืนผ้า แผ่นกระดาษ สมุดไทย สมุดข่อย