1 / 23

กระบี่บนทางแพร่ง:ถ่านหินสกปรก VS ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด

กระบี่บนทางแพร่ง:ถ่านหินสกปรก VS ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด. ความล้มเหลวกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพ( EHIA )ของ โครงการโรงไฟฟ้าและท่าเรือถ่านหินที่กระบี่. สิทธิ์ที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ให้ไว้กับประชาชน.

sandro
Download Presentation

กระบี่บนทางแพร่ง:ถ่านหินสกปรก VS ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กระบี่บนทางแพร่ง:ถ่านหินสกปรก VS ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ความล้มเหลวกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA)ของโครงการโรงไฟฟ้าและท่าเรือถ่านหินที่กระบี่

  2. สิทธิ์ที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ให้ไว้กับประชาชน • มาตรา ๖๗การดำเนินการโครงการหรือกิจกรรม ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้... 1. ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน 2. จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น 3. องค์การอิสระ (สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ) ให้ความเห็น • สิทธิของชุมชนที่จะฟ้อง เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ ย่อมได้รับความคุ้มครอง

  3. มาตรา ๕๗สิทธิในการรับรู้ข้อมูล คำชี้แจงและเหตุผล บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการ หรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ

  4. มาตรา ๖๖สิทธิในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างสมดุลและยั่งยืน

  5. ขั้นตอน EHIA การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ • 1.การกลั่นกรองโครงการ เจ้าของโครงการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ • 2.กระบวนการ ค.1 กระบวนการรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ • 3.กระบวนการ ค.2 กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆจากการดำเนินโครงการ • 4. กระบวนการ ค.3 เวทีทบทวนร่างรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพโดยภาคส่วนต่างๆ • 5. กระบวนการตัดสินใจเพื่อพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาต โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,คณะกรรมการผู้ชำนาญการ,องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ • 6.การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามขอบเขตและประเด็นที่เป็นข้อห่วงกังวลจากการดำเนินโครงการในพื้นที่

  6. ภาคใต้มีกำลังผลิตติดตั้ง 2,429 เมกะวัตต์ รับจากภาคกลาง 500 เมกะวัตต์ แลกไฟกับมาเลเซีย 300 เมกะวัตต์ รวม 3,229 เมกะวัตต์ ความต้องการใช้สูงสุด 1,848 เมกะวัตต์ ปี 2557 โรงไฟฟ้าจะนะ 2 เสร็จ 800 เมกะวัตต์ ปี 2559 โรงไฟฟ้าขนอมเสร็จเสริม 200 เมกะวัตต์

  7. จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย Stuttgartเยอรมนี พบว่า อายุขัยของชาวยุโรปสั้นลง 11 ปี จากมลพิษของโรงไฟฟ้าถ่านหิน 300โรง ชาวยุโรปตายจากโรค ที่มาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ปีละ 2 หมื่นราย ถ้าสร้างเพิ่มอีก 50 โรงจะตายเพิ่มเป็น 3.2 หมื่นราย

  8. -ในการทำการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมครั้งแรกปี 2556คนในจังหวัดกระบี่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่วนใหญ่ไม่ได้รับข้อมูลเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินเลย-ผ่านกระบวนการ ค.2ไป ระยะหนึ่ง ทางสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะลันตาจึงทราบข่าว -พื้นที่อื่นๆมาทราบข่าวหลังจบ ค.1ที่มาจัดทำใหม่( 9มีนาคมปี 2557)-การจัดทำเวทีรับฟังความคิดเห็นรอบหลังแยกส่วนของโรงไฟฟ้าออกจากการลำเลียงขนส่งถ่านหินทางทะเลทั้งที่เป็นโครงการที่ผลกระทบมีความเกี่ยวเนื่องกัน ทำให้มองเห็นผลกระทบไม่รอบด้าน-เวที ค.1บ้านคลองรั้ว ( 9มีนาคมปี 2557)พื้นที่จัดเวทีอยู่ลึก ป้ายบอกเส้นทางแทบไม่มี คนนอกพื้นที่หลงทางเป็นส่วนใหญ่

  9. การกำหนดขอบเขตPublic Scoping กฟผ.กำหนดพื้นที่ศึกษาผลกระทบ -รัศมี 5 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้า -รัศมี 5 กิโลเมตรรอบท่าเทียบเรือ -รัศมี 5 กิโลเมตรรอบจุดขนถ่ายกลางทะเล -รัศมี 1 กิโลเมตรในเส้นทางที่เรือวิ่ง ระยะที่กำหนดไม่คลอบคลุมถึง -มลพิษทางอากาศไปได้ไกลกว่า 100 กิโลเมตร -การไหลของน้ำทะเลที่ขึ้นลงวันละสองครั้ง -คลื่นลมในหน้ามรสุม มีการกำหนดจุดจอดเรือขนถ่ายห่างจากชุมชน 5 กิโลเมตรเพื่อหนีการทำ EIA ทั้งที่ในความเป็นจริงในช่วงมรสุมไม่สามารถจอดได้ ในการกำหนดครั้งหลังต่างจากครั้งแรกที่จอดห่างจากชุมชนใกล้สุดเพียง 2 กิโลเมตร แผนที่ของรายงานภาพหลักเลี่ยงที่จะแสดงส่วนของเกาะพีพี เกาะห้า ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ

  10. มีการใช้กำลังและพูดจาข่มขู่ฝ่ายคัดค้านว่าอาจปิดสะพานไม่ให้กลับออกจากเวที กลางที่ประชุม แต่คนพูดก็ยังอยู่ร่วมเวที ค.1 จนจบ

  11. การให้ข้อมูลที่ถูกต้องและรอบด้านการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและรอบด้าน

  12. กำนันสมบูรณ์ ดำรงอ่องตระกูลเพิ่งทราบว่ามีการทำEIA หลังจบ ค.2 แล้ว

  13. การนำเรือขนถ่านหินเข้ามาต้องลอกร่องน้ำทำให้มีผลกับแหล่งหญ้าทะเลการนำเรือขนถ่านหินเข้ามาต้องลอกร่องน้ำทำให้มีผลกับแหล่งหญ้าทะเล

  14. ความล้มเหลวกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA)ของโครงการโรงไฟฟ้าและท่าเรือถ่านหินที่กระบี่ สุดท้ายใครเสียประโยชน์ ยังไม่เห็นมาตรการดูแลผลกระทบจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ แม้จะผ่านกระบวนการศึกษาผลกระทบมากว่าสองปี แต่มองเห็นผู้ได้รับผลกระทบชัดเจน -ประมงที่ได้รับผลกระทบ ตลอดเส้นทางจนถึงกระบวนการผลิตไฟฟ้า -เสียพื้นที่ชุ่มน้ำแรมซ่าร์ไซด์ แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำที่มีความสมบูรณ์สูง -เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพรอบพื้นที่โครงการ -เสี่ยงกระทบกับการท่องเที่ยวฝั่งอันดามันที่กังวลเรื่องสุขภาพและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม -เสี่ยงกระทบกับปลาพะยูน สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ -กระบี่ปัจจุบันผลิตเหลือให้จังหวัดอื่นใช้อยู่แล้วกว่า 300 เมกะวัตต์ หากโรงไฟฟ้าถ่านหินมาต้นทุนการผลิตไฟฟ้าราคาถูกเพราะต้นทุนจากผลกระทบทุกด้านคนกระบี่ต้องรับภาระแทนคนพื้นที่อื่น เว้นเสียกฟผ.จะตั้งกองทุนชดเชยพร้อมจ่ายค่าเสียหายตามจริงทุกกรณีไม่ต้องเป็นภาระให้ชาวบ้านต้องฟ้องศาลเป็นสิบๆปีแบบแม่เมาะ ปัจจุบันเมื่อปัญหายังไม่มี ก่อนจัดทำโครงการที่เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบแบบโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่จึงควรทำอย่างชัดเจน รอบคอบ

More Related