1 / 21

หัวข้อ การจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของ องค์การบริหารส่วนตำบล

หัวข้อ การจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของ องค์การบริหารส่วนตำบล. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2546

saskia
Download Presentation

หัวข้อ การจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของ องค์การบริหารส่วนตำบล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หัวข้อ การจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบล กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าวิธีการงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2541 และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 ผู้บรรยาย นายอมร วงศ์วรรณ ตำแหน่งงาน ท้องถิ่นจังหวัดกระบี่

  2. ความสำคัญของงบประมาณรายจ่ายความสำคัญของงบประมาณรายจ่าย • ระเบียบ มท. ว่าด้วยวิธีการงบประมาณของ อปท. พ.ศ. 2541 ข้อ 5 • งบประมาณ หมายความว่า แผนงาน หรืองานสำหรับประมาณการด้านรายรับและรายจ่าย แสดงในรูปตัวเลขจำนวนเงิน การตั้งงบประมาณ คือ การแสดงแผนดำเนินงานออกเป็นตัวเลขจำนวนเงิน • แผนงาน หมายความว่า ภารกิจแตละด้านที่องค์กรปกครองส่วนส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแตละรูปแบบ

  3. อำนาจหน้าที่ ของ อบต. • พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 66 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขต อบต. ดังต่อไปนี้ - จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก - รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล - ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ - ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

  4. อำนาจหน้าที่ของ อบต.(ต่อ) - ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม - ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ - คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น - ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร

  5. อำนาจหน้าที่ ของ อบต.(ต่อ) • มาตรา 68 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำกิจการในเขต อบต. ดังต่อไปนี้ - ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร - ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น - ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ - ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ - ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ - ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว - บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร

  6. อำนาจหน้าที่ของ อบต.(ต่อ) - การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน - หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต. - ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม - กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ - การท่องเที่ยว - การผังเมือง (นอกจากนั้นแล้ว พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542 มาตรา ได้กำหนดอำนาจและหน้าที่ ของ อบต.)

  7. รายได้ของ อบต. (ตาม พรบ.สภาตำบลฯ) • มาตรา 82 องค์การบริหารส่วนตำบลอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้ - รายได้จากทรัพย์สิน ของ อบต. ,รายได้จากสาธารณูโภค ของ อบตรายได้จากกิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ ของ อบต. , ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ตามที่จะมีกฎหมายกำหนดไว้, เงินและทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้, รายได้อื่นตามที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐจัดสรรให้, เงินอุดหนุนจากรัฐบาล และรายได้อื่นตามที่จะมีกฎหมายกำหนดให้เป็นของ อบต. • มาตรา 83 อบต. อาจกู้เงินจากกระทรวง ทบวง กรม องค์การหรือนิติบุคคลต่างๆได้ เมื่อได้รับอนุญาตจาก สภา อบต. การกู้เงินตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบของ มท.

  8. ลักษณะของงบประมาณ(ตามระเบียบ มท.ฯ) • ข้อ 9 เงินรายจ่ายประจำปีของ อปท. ให้จัดทำเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปี และให้มีประมาณการรับประกอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีด้วย • ข้อ 10 งบประมาณรายจ่ายประจำปีของ อปท. อาจจำแนกป็นงบประมาณรายจ่ายทั่วไป และงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ • ข้อ 11 อปท. อาจจัดทำงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการได้โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่น • ข้อ 12 งบประมาณรายจ่ายทั่วไป และงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการอาจตั้งจ่ายเงินช่วยเหลือระหว่างกันได้

  9. ข้อ 13 งบประมาณรายจ่ายทั่วไปของ อปท. ประกอบด้วย รายจ่ายงบกลาง และรายจ่ายตามแผนงาน • ข้อ 14 รายจ่ายตามแผนงาน จำแนกเป็นสองลักษณะ คือ (1) รายจ่ายประจำ ประกอบด้วย หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ หมวดค่าสาธารณูปโภค หมวดเงินอุดหนุน และหมวดรายจ่ายอื่ ( 2) รายจ่ายเพื่อการลงทุน ประกอบด้วย หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง • ข้อ 19 งบประมาณรายจ่ายกำหนดให้มีเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีที่จำเป็นได้ตามความเหมาะสม สำหรับการอนุมัติให้ใช้เงินสำรองจ่าย ให้เป็นอำนาจของผู้บริหาร

  10. การจัดทำข้อบัญญัติของ อบต. ตาม พรบ.สภาตำบลฯ • มาตรา 71 (วรรคหนึ่ง) อบต. อาจออกข้อบัญญัติ อบต.เพื่อใช้บังคับในเขต อบต. ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของ อบต. หรือเมื่อกฎหมายบัญญัติให้ อบต. ออกข้อบัญญัติหรือให้มีอำนาจออกข้อบัญญัติ ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่จะมีกฎหมาบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (วรรคสอง) ร่างข้อบัญญัติ อบต.จะเสนอได้ก็แต่นายก อบต. หรือสมาชิกสภา อบต. หรือราษฎรในเขต อบต.ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

  11. การเสนอข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ของ อบต.ตาม พรบ.สภาตำบลฯ • มาตรา 87 (วรรคแรก) งบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมของ อบต. ให้จัดทำเป็นข้อบัญญัติ อบต. และจะเสนอได้ก็แต่โดยนายก อบต. ตามระเบียบและวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด (วรรคสอง) ถ้าในระหว่างปีงบประมาณใดรายจ่ายซึ่งกำหนดไว้ในงบประมาณไม่พอใช้จ่ายประจำปีนั้นหรือมีความจำเป็นต้องตั้งรายจ่ายขึ้นใหม่ระหว่างปีงบประมาณ ให้จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม ฯลฯ

  12. การจัดทำงบประมาณรายจ่ายระเบียบ มท.ว่าด้วยวิธีการงบประมาณฯ • ข้อ 23 ให้เจ้าหน้าที่งบประมาณ(ปลัด อปท.)ทำการพิจารณาตรวจสอบวิเคราะห์ และแก้ไขงบประมาณในชั้นต้น แล้วเสนอต่อคณะผู้บริหารท้องถิ่น เมื่อคณะผู้บริหารท้องถิ่น ได้พิจารณาอนุมัติให้ตั้งงบประมาณยอดใดเป็นงบประมาณประจำปีแล้ว ให้เจ้าหน้าที่งบประมาณรวบรวม และจัดทำเป็นร่างงบประมาณรายจ่ายเสนอต่อคณะผู้บริหารท้องถิ่นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อคณะผู้บริหารท้องถิ่นได้นำเสนอต่อสภาท้องถิ่น ภายในวันที่ 15 สิงหาคม • ข้อ 7 ในกรณีที่งบประมาณรายจ่ายประจำปีออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อน

  13. ข้อ 22 ให้ใช้แผนพัฒนา อปท. เป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณ ให้หัวหน้าหน่วยงาน(ตามโครงสร้าง) จัดทำประมาณการรายรับ และประมาณการรายจ่าย และให้หัวหน้าหน่วยงานคลังรวบรวมรายการการเงินและสถิติต่างๆ ของทุกหน่วยงานเพื่อใช้ประกอบการคำนวณขอตั้งงบประมาณเสนอต่อเจ้าหน้าที่งบประมาณ 25 การพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างงบประมาณรายจ่ายของสภาท้องถิ่น และการพิจารณาอนุมัติร่างงบประมาณรายจ่ายของผู้มีอำนาจอนุมัติให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของ อปท. แต่ละรูปแบบ ข้อ 39 ให้ อปท.จัดส่งสำเนางบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณ รายจ่ายเพิ่มเติมที่ได้รับอนุมัติให้ประกาศใช้แล้วไปยัง ผวจ. สำหรับ อบต. ให้ส่งนายอำเภอ หรือ ป.ผู้เห็นหัวหน้าประจำกิ่ง อ. เพื่อทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นสุดการประกาศโดยเปิดเผย ณ สำนักงาน อปท.

  14. การพิจารณาร่างประมาณรายจ่าย ตามพรบ.สภาตำบลฯ และระเบียบ มท.ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมของสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 • มาตรา 87(วรรคสาม) เมื่อสภา อบต. เห็นชอบด้วยร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมแล้ว ให้เสนอนายอำเภอเพื่อขออนุมัติ และให้นายอำเภอพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติดังกล่าว (วรรคสี่) ถ้านายอำเภอไม่อนุมัติต้องแจ้งเหตุผลและส่งคืนให้สภา อบต. เพื่อพิจารณาทบทวนร่างข้อบัญญัตินั้นใหม่ หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วนายอำเภอพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ให้ถือว่านายอำเภออนุมัติร่างข้อบัญญัติดังกล่าว

  15. (วรรคหก) ในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม สภา อบต.ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่ได้รับร่างข้อบัญญัตินั้น เพื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ถ้าสภา อบต.พิจารณาไม่แล้วเสร็จให้ถือว่าสภา อบต. ให้ความเห็นชอบตามที่ นายก อบต.เสนอและให้ดำเนินการตามวรรคสามต่อไป • ระเบียบ มท.ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมของสภาท้องถิ่นฯ • ข้อ 45 (วรรคแรก) ญัตติร่างข้อบัญญัติที่ประชุมสภาท้องถิ่นต้องพิจารณาเป็นสามวาระ แต่ที่ประชุมสภาท้องถิ่นจะอนุมัติให้พิจารณาสามวาระรวดเดียวก็ได้

  16. (วรรคสาม) ญัตติร่างข้อบัญญัติงบประมาณจะพิจารณาสามวาระรวดเดียวไม่ได้ และในการพิจารณาวาระที่สอง ให้กำหนดระยะเวลาเสนอคำขอแปรญัตติไว้ไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่สภาท้องถิ่นมีมติรับหลักการแห่งร่างข้อบัญญัติงบประมาณนั้น • ข้อ 49 ญัตติร่างข้อบัญญัตติที่สภาท้องถิ่นลงมติรับหลักการแล้ว ถ้าจะต้องส่งให้คณะกรรมการแปรญัตติพิจารณา ให้ประธานสภาท้องถิ่นส่งร่างข้อบัญญัตินั้นไปให้คณะกรรมการแปรญัตติพิจารณาโดยละเอียด และที่ประชุมสภาท้องถิ่นจะต้องกำหนดระยเวลาเสนอคำแปรญัตติต่อคณะกรรมการแปรญัตติด้วย • ข้อ 59 การแปรญัตติร่างข้อบัญญัติงบประมาร จะกระทำได้เฉพาะการขอลดรายจ่ายหรือการขอลดจำนวนเงินที่ขออนุญาตจ่าย และต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองเช่นเดียวกับการเสนอญัตติ

  17. ข้อ 59 (วรรคสอง) คำแปรญัตติให้เสนอล่วงหน้าต่อประธานคณะกรรมการแปรญัตติภายในระยะเวลาที่สภาท้องถิ่นกำหนดตามข้อ 45 วรรคสามและข้อ 49 วรรคหนึ่ง • ข้อ 60 ห้ามไม่ให้แปรญัตติ รายจ่ายขึ้นใหม่ หรือเพิ่มเติมรายจ่าย หรือเปลี่ยนแปลงความประสงค์ของจำนวนเงินที่ขอนุมัติจ่าย เว้นแต่จะได้รับคำรับรองจากผู้บริหารท้องถิ่น หรือคำแปรญัตตินั้นผู้บริหารท้องถิ่นเป็นผู้แปรญัตติ

  18. ข้อห้ามในการแปรญัตติร่างข้อบัญญัติงบประมาณ ตามพรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลฯ • มาตรา 87(วรรคแปด) ในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม สมาชิกสภา อบต.จะแปรญัตติเพิ่มเติมรายการหรือจำนวนในรายการไม่ได้ แต่อาจแปรญัตติได้ในทางลดหรือรายจ่าย ซึ่งไม่ได้เป็นรายจ่ายที่เป็นเงินส่งใช้เงินกู้ หรือเงินที่กำหนดให้จ่ายตามกฎหมาย และในการพิจารณาของสภาตำบล การเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภา อบต.มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่ายจะกระทำมิได้

  19. กรณีสภา อบต.ไม่รับหลักการแห่งร่างข้อบัญญัติงบประมาณ • ตามมาตรา 87/1 • ภายใน 7 วันนับแต่สภา อบต. ไม่รับหลักการ ให้นายอำเภอแต่งตั้งคณะกรรมการจำนวน 7 คน ประกอบด้วย สมาชิกสภา อบต. จำนวน 3 คน และบุคคลที่นายก อบต.เสนอ(มิได้เป็นสมาชิกสภา อบต.)จำนวน 3 คน(วรรคสอง) • ภายใน 7 วันนับแต่เมื่อครบ 6 คนแล้ว ให้ปรึกษากันและเสนอบุคคลอื่น (ยกเว้นบุคคลต้องห้าม อาทิ นายก อบต. รองนายกฯ เลขาฯนายกฯ และสมาชิกฯ) ทำหน้าทีประธานกรรมการ 1 คน(วรรคสอง) • หากภายใน 7 วันไม่สามารถหาประธานได้ ให้นายอำเภอแต่งตั้งบุคคลอื่น (ยกเว้นบุคคลต้องห้ามตามข้อ 2) ทำหน้าที่ประธานกรรมการ(วรรคสาม)

  20. กรณีสภา อบต.ไม่รับหลักการแห่งร่างข้อบัญญัติงบประมาณฯ 4. คณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้งโดยแก้ไข ปรับปรุง หรือยืนยันสาระสำคัญที่บัญญัติไว้ในร่างข้อบัญญัตินั้น ทั้งนี้ ให้ยึดหลักเกณฑ์ ทั้งนี้ ให้ยึดหลักเกณฑ์ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประโยชน์ของท้องถิ่นและประชาชนเป็นสำคัญ(วรรคหนึ่ง) 5. คณะกรรมการ พิจารณาร่างข้อบัญญัติให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้แต่งตั้งประธานกรรมการและรายงานให้นายอำเภอทราบ หากพิจารณาไม่แล้วเสร็จในระยะเวลาดังกล่าว ให้ประธานกรรมการรวบรวมผลการพิจารณาแล้ววินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็วแล้วรายงานต่อนายอำเภอ(วรรคสี่)

  21. กรณีสภา อบต.ไม่รับหลักการร่างข้อบัญญัติงบประมาณฯ 6. นายอำเภอส่งร่างข้อบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ หรือประธานกรรมการ ให้ นายก อบต.โดยเร็ว แล้วให้นายก อบต. เสนอร่างข้อบัญญัติดังกล่าวต่อสภาฯ ตาม ม.87 ภายในเจ็ดวันนับแต่ได้รับ หากไม่เสนอร่างฯต่อสภาให้นายอำเภอรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อสั่งให้นายก อบต.พ้นจากตำแหน่ง 7. สภา อบต. พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนี้ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่ได้รับจากนายก อบต. หากสภา อบต.พิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดนี้ หรือมีมติไม่เห็นชอบ ให้นายอำเภอเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อให้มีคำสั่งยุบสภา อบต.

More Related