70 likes | 286 Views
บทคัดย่อ การศึกษาสถานการณ์ การใช้กฎหมายสาธารณสุขของ องค์การบริหารส่วนตำบล ในเขต 4. ธิดารัตน์ ดำรงค์สอน เมธี ชุ่มศิริ. การศึกษาสถานการณ์การใช้กฎหมายสาธารณสุขของ องค์การบริหารส่วนตำบลในเขต 4 เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ
E N D
บทคัดย่อ การศึกษาสถานการณ์ การใช้กฎหมายสาธารณสุขของ องค์การบริหารส่วนตำบล ในเขต 4 • ธิดารัตน์ ดำรงค์สอน • เมธี ชุ่มศิริ
การศึกษาสถานการณ์การใช้กฎหมายสาธารณสุขของการศึกษาสถานการณ์การใช้กฎหมายสาธารณสุขของ องค์การบริหารส่วนตำบลในเขต 4 เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ * ศึกษาสถานการณ์การออกข้อกำหนดท้องถิ่น การบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย ตาม พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 * ศึกษาสภาพปัญหาทางสาธารณสุขสิ่งแวดล้อมของ องค์การบริหารส่วนตำบลในเขต 4
โดยรวบรวมข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขต 4 ทั้งหมด จำนวน 562 แห่ง ได้รับแบบสอบถามคืน 549 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 97.69 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 62.11 ผลการศึกษา พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่มีข้อกำหนดท้องถิ่น ที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุขใช้แล้ว ร้อยละ 71.04 เรื่องที่มีการออกและประกาศใช้เป็นข้อกำหนดของท้องถิ่นมากที่สุด คือ เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลร้อยละ 20.95 อยู่ระหว่างดำเนินการออกข้อกำหนดท้องถิ่น การยกร่างข้อกำหนดท้องถิ่นส่วนใหญ่จะใช้คณะทำงานในการ ยกร่างคิดเป็นร้อยละ 73.54
องค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 59.02 เคยมีการใช้มาตรการทางกฎหมายแล้ว ซึ่งมาตรการทางกฎหมายที่ใช้มากที่สุด คือ การตรวจแนะนำและชี้แจงผู้ประกอบการ คิดเป็นร้อยละ 38.62 ขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ตอบแบบสอบถาม สำหรับปัญหาด้านสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม พบว่าปัญหาเรื่องน้ำเสีย มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 25.15 รองลงมาคือ กลิ่นเหม็น ร้อยละ 24.39 ปัญหาที่องค์การบริหารส่วนตำบลประสบมากที่สุด คือ เจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมายสาธารณสุข คิดเป็น ร้อยละ 22.93 รองลงมา คือ ขาดบุคลากรผู้รับผิดชอบงานกฎหมายสาธารณสุข ร้อยละ 22.44
องค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 78.51 ไม่มีผู้ที่ดำรงตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ส่วนใหญ่ร้อยละ 74.5ขององค์การบริหารส่วนตำบลที่มีเจ้าพนักงาน สาธารณสุข ได้แก่ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลรักษาการหัวหน้า ส่วนสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลต้องการอบรมความรู้ในเรื่อง บทบาทหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มากที่สุด ร้อยละ 26.27 รองลงมา คือ แนวทางยกร่างข้อกำหนดท้องถิ่น ร้อยละ 24 และสารบัญญัติ ร้อยละ 23.29 ตามลำดับ
ผลการศึกษาสรุปได้ว่า องค์การบริหารส่วนตำบล ในเขต 4 ส่วนใหญ่มีข้อกำหนดท้องถิ่น ที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุขใช้แล้ว แต่ยังไม่ได้ใช้มาตรการทางกฎหมายมากนัก สาเหตุหนึ่งเนื่องจาก ปัญหาเจ้าหน้าที่ยังไม่เข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมายสาธารณสุขและปัญหาขาดบุคลากร ดังนั้น การอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจในกฎหมายสาธารณสุขจึงมีความสำคัญ เพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีศักยภาพในการใช้ข้อกำหนดท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ