950 likes | 2.78k Views
การจัดการผลิตภัณฑ์และราคา. A.Suchada Hommanee Mobile phone: 083-989-3138 Chada_hommanee@hotmail.com. บทที่ 2 การบริหารผลิตภัณฑ์ ( Product Management ). ผลิตภัณฑ์ ( Product ) เป็นสิ่งที่นำเสนอเพื่อตอบ สนองความจำเป็นและความต้องการลูกค้า ลูกค้าจะพิจารณาสิ่งที่นำเสนอ 3 ประการ
E N D
การจัดการผลิตภัณฑ์และราคาการจัดการผลิตภัณฑ์และราคา A.SuchadaHommanee Mobile phone: 083-989-3138 Chada_hommanee@hotmail.com
บทที่ 2 การบริหารผลิตภัณฑ์ ( Product Management ) ผลิตภัณฑ์( Product ) เป็นสิ่งที่นำเสนอเพื่อตอบ สนองความจำเป็นและความต้องการลูกค้า ลูกค้าจะพิจารณาสิ่งที่นำเสนอ 3 ประการ 1. รูปลักษณะและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ 2. ส่วนประสมบริการและคุณภาพบริการ 3. ความเหมาะสมของราคาโดยพิจารณาจากเกณฑ์ คุณค่าผลิตภัณฑ์
องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ 5 ระดับ เป็นคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ 5 ระดับในแต่ละระดับ จะสร้างคุณค่าสำหรับลูกค้า 1. ประโยชน์หลัก( Core benefit ) หมายถึงประโยชน์พื้นฐานของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคได้รับจากการซื้อสินค้าโดยตรง 2. รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์( Tangible product ) หมายถึง ลักษณะทางกายภาพที่ผู้บริโภคสามารถสัมผัสหรือรับรู้ได้ 2.1 คุณภาพ 2.4 การบรรจุภัณฑ์ 2.2 รูปร่างลักษณะ 2.5 ตราสินค้า 2.3 รูปแบบ
องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ 5 ระดับ 3. ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง( Expected product ) กลุ่มของคุณสมบัติและเงื่อนไขต่าง ๆที่ผู้ซื้อคาดหวัง ว่าจะได้รับจากผลิตภัณฑ์ 4. ผลิตภัณฑ์ควบ ( Augmented product ) หมายถึง ผลประโยชน์เพิ่มเติมที่จะมอบให้ลูกค้า เช่นการบริการก่อนและหลังการขาย
องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ 5 ระดับ 5. ศักยภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ( Potential product ) หมายถึง การพัฒนาลักษณะใหม่ ๆ ของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต เช่น การพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์
การตัดสินใจในส่วนประสมผลิตภัณฑ์( Product-mix decisions ) ส่วนประสมผลิตภัณฑ์( Product mix )หรือผลิตภัณฑ์ ทั้งหมด หมายถึง กลุ่มของสินค้าหลายชนิดที่ธุรกิจใด ธุรกิจหนึ่งผลิตออกเสนอขายกับผู้ซื้อ สายผลิตภัณฑ์( Product line ) หมายถึง กลุ่มของ ผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด เช่น ผลิตภัณฑ์ทำหน้าที่คล้ายคลึงกัน ขายให้ลูกค้ากลุ่มเดียวกัน
การตัดสินใจในส่วนประสมผลิตภัณฑ์( Product-mix decisions ) บริษัทจะต้องพิจารณาด้านต่าง ๆ คือ 1. ความกว้างของส่วนประสมผลิตภัณฑ์ : จำนวนสายผลิตภัณฑ์ 2. ความยาวของส่วนประสมผลิตภัณฑ์ : จำนวนรายการ ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดในส่วนประสมผลิตภัณฑ์ 3. ความลึกของส่วนประสมผลิตภัณฑ์ : จำนวนรายการ ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์แต่ละสาย 4. ความสอดคล้องกันของส่วนประสมผลิตภัณฑ์
ความลึกของแชมพู SUNSILKแชมพู SUNSILK มีทั้งหมด 8 แบบ ได้แก่ • SUNSILK สำหรับผมตรง • SUNSILK สำหรับผมแห้ง • SUNSILK สำหรับผมดำ(ผสมสาหร่ายทะเล) • SUNSILK สำหรับผมลีบแบน • SUNSILK สำหรับผมที่มีปัญหารังแค • SUNSILK สำหรับที่ต้องการสระบ่อย • SUNSILK สำหรับผมเสีย • SUNSILK สำหรับผมธรรมดา แต่ละแบบมี 3 ขนาด ได้แก่ ขวดใหญ่ ขวดกลาง ขวดเล็ก ดังนั้นความลึกของแชมพู SUNSILK = 8 X 3 = 24
การบริหารสายผลิตภัณฑ์การบริหารสายผลิตภัณฑ์ ในการบริหารสายผลิตภัณฑ์ • แนวคิดหลักคือ ต้องมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายที่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ โดยมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ
การตัดสินใจในสายผลิตภัณฑ์( Product-line decisions ) เป็นการบริหารผลิตภัณฑ์ในแต่ละสายโดยจะต้อง พิจารณาในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. การวิเคราะห์สายผลิตภัณฑ์ 1.1 วิเคราะห์ยอดขายและกำไรของสายผลิตภัณฑ์ 1.2 การวางตำแหน่งสายผลิตภัณฑ์โดยเทียบกับคู่ แข่งขัน เพื่อหาวิธีเอาชนะคู่แข่งในสายผลิตภัณฑ์ เดียวกัน
การตัดสินใจในสายผลิตภัณฑ์( Product-line decisions ) 2. ความยาวของสายผลิตภัณฑ์ 2.1 การตัดสินใจขยายสายผลิตภัณฑ์ เป็นการขยาย ความยาวของสายผลิตภัณฑ์ของบริษัทให้เหมาะสม มี วัตถุประสงค์ที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ โดยคาดว่าบริษัท จะมียอดขายและกำไรเพิ่มขึ้น การขยายสายผลิตภัณฑ์ ทำได้ 3 วิธี
การตัดสินใจขยายสายผลิตภัณฑ์การตัดสินใจขยายสายผลิตภัณฑ์ 1.การขยายจากบนลงล่าง (Downward stretch) เป็นการนำเสนอสินค้าที่มีราคาหรือคุณภาพต่ำกว่าสินค้าเดิมเข้าสู่ตลาด 2.การขยายจากล่างสู่บน(Upward stretch) เป็นการ นำเสนอสินค้าที่มีราคาหรือคุณภาพสูงกว่าสินค้าเดิมเข้าสู่ตลาด 3.การขยายแบบสองทาง(Two-way stretch) เป็นการนำเสนอสินค้าที่มีทั้งราคาหรือคุณภาพสูงกว่าและต่ำ กว่าสินค้าเดิมเข้าสู่ตลาด
การตัดสินใจในสายผลิตภัณฑ์( Product-line decisions ) 2.2 การตัดสินใจเพิ่มเติมในสายผลิตภัณฑ์ : เป็นการตัดสินใจเพิ่มความยาวในสายผลิตภัณฑ์ โดยการเพิ่มรายการผลิตภัณฑ์ในสายผลิตภัณฑ์เดิม บริษัทจะตัดสินใจเพิ่มความยาวในสายผลิตภัณฑ์ในกรณีต่อไปนี้ - เมื่อบริษัทมีกำลังผลิตเหลือ - ป้องกันไม่ให้ลูกค้าซื้อสินค้าของคู่แข่งขันและป้องกันคู่แข่งขันเข้า สู่ตลาด - เมื่อพิจารณาแล้วพบว่ามียอดขายที่สูญเสียไปจากการที่ไม่ได้ขาย ผลิตภัณฑ์บางรายการ
การตัดสินใจในสายผลิตภัณฑ์( Product-line decisions ) 3. การตัดสินใจปรับปรุงสายผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย 4. การตัดสินใจในลักษณะสายผลิตภัณฑ์ : เป็นการตัดสินใจว่าสายผลิตภัณฑ์จะมีคุณสมบัติอย่างไร หรือ มีระดับราคาเท่าใด 5. การตัดสินใจตัดรายการผลิตภัณฑ์ในสายผลิตภัณฑ์ : เป็นการตัดรายการผลิตภัณฑ์ที่กำไรน้อยออกไป
การตัดสินใจในผลิตภัณฑ์แต่ละรายการการตัดสินใจในผลิตภัณฑ์แต่ละรายการ 1. การตัดสินใจในคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ (Product attribute decision ):คุณภาพ, รูปลักษณะ การออกแบบ 2. การตัดสินใจในตราสินค้า ( Brand decision ) 3. การตัดสินใจในการบรรจุภัณฑ์ ( Packaging decision ) 4. การตัดสินใจป้ายฉลากสินค้า( Label decision )
ตราสินค้า( Brand ) หมายถึงชื่อ,คำ,สัญลักษณ์,เครื่องหมาย,การออกแบบ หรือส่วนประสมของสิ่งดังกล่าวเพื่อแสดงความแตกต่าง ของสินค้าหรือบริการของผู้ขายให้ต่างไปจากคู่แข่งขัน Brand name :เป็นส่วนหนึ่งของBrandที่อ่านออกเสียงได้ Brand Mark :เป็นส่วนหนึ่งของ Brand ที่สามารถรับ รู้ได้ แต่ไม่สามารถออกเสียงได้ เช่น สัญลักษณ์ การออกแบบ
ตราสินค้า( Brand ) • Brand คือทุกอย่างที่สินค้ามีทั้งหมดรวมทั้งความรู้สึกอะไรบางอย่างที่ผู้บริโภคมีกับสินค้าหรือตรานั้นและเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพ (Personality), ความน่าเชื่อถือ (Trust/Reliability) ความมั่นใจ (Confidence) สถานภาพ (Status) ประสบการณ์ (Share experience) และความสัมพันธ์ (Relationship)
ลักษณะของตราสินค้าที่ดีลักษณะของตราสินค้าที่ดี 1. สามารถสื่อสารลักษณะบางอย่างของผลิตภัณฑ์ได้ดี และสร้างภาพพจน์ที่ดีให้สินค้า 2. ง่ายต่อการออกเสียง การสะกด และจดจำ 3. มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ ไม่ใช่ตราที่ใกล้เคียงกับคู่แข่งขัน เพราะจะทำให้ลูกค้าสับสน 4. ต้องทันสมัย และสามารถนำไปใช้ได้ตลอดไป 5. สามารถนำไปจดทะเบียนเพื่อได้รับการคุ้มครองตาม กฎหมาย
การตัดสินใจในตราสินค้า ( Brand decision ) 1. การตัดสินใจว่าควรจะมีชื่อตราสินค้าหรือไม่ 2. การตัดสินใจว่าจะใช้ตราสินค้าของใคร - ตราของผู้ผลิต - ตราของคนกลาง - ตราร่วมกัน
การตัดสินใจในตราสินค้า ( Brand decision ) 3. การตัดสินใจในประเภทของตราผู้ผลิต 3.1 ตราเฉพาะ 3.2 ตรารวมสำหรับทุกผลิตภัณฑ์ 3.3 ตรารวมสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละกลุ่ม 3.4 ตราที่ใช้ชื่อบริษัทรวมกับชื่อผลิตภัณฑ์แต่ละอย่าง
การตัดสินใจในตราสินค้า ( Brand decision ) 4. การตัดสินใจในกลยุทธ์ตราสินค้า ( Brand-strategy decision ) 4.1 การขยายสายผลิตภัณฑ์ ( Line extensions ) 4.2 การขยายตราสินค้า ( Brand extensions ) 4.3 กลยุทธ์หลายตรา ( Multibrands ) 4.4 ตราสินค้าใหม่ ( New brands )
การตัดสินใจในกลยุทธ์ตราสินค้า( Brand-strategy decision ) เดิม ชนิดผลิตภัณฑ์ ใหม่ เดิม ชื่อตราสินค้า ใหม่
คุณค่าของความซื่อสัตย์ต่อตราสินค้า(Brand loyalty) 1. ทำให้ลดต้นทุนทางการตลาด 2. สามารถขายสินค้าได้ ในราคาแพง ทั้ง ๆ ที่ต้นทุนต่ำกว่า 3. ทำให้คนกลางยินดีรับสินค้าไปขาย 4. สามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ 5. เป็นอุปสรรคต่อคู่แข่งขัน 6. เป็นประโยชน์ต่อบริษัทในการใช้ตราสินค้ากับ สินค้าชนิดอื่น ๆ ( Brand extension )
หลักการของการสร้าง Brand 1. การกำหนดตำแหน่งทางการตลาดของสินค้า (Positioning) 2. การสร้างความแตกต่างทางด้านความรู้สึก และอารมณ์ (Differentiation)
ปัจจัยต่างๆในการการสร้างแบรนด์ปัจจัยต่างๆในการการสร้างแบรนด์ • กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนและแคบลง เช่น นมสำหรับคุณแม่ที่มีครรภ์ • การพัฒนาสินค้า (Product Development) ที่แตกต่าง ชัดเจน • IMC จะต้องออกมาภายใต้รูปแบบ ความคิดรวบยอด ของ ภาพลักษณ์ของ Brand เรา ในทิศทางเดียวกันทั้งหมด ทั้ง TV, Radio, Print ads, internet, PR , Retail Store และ Packaging • CRM
คุณค่าตราสินค้า (Brand Equity) Brand Equityหมายถึงการที่ตราสินค้าของบริษัทมีความหมายในเชิงบวกในสายตาลูกค้า และสามารถตีค่าใน รูปมูลค่าของตราสินค้าได้ Brand ใดเป็นผู้นำ หรือประสบความสำเร็จมาก ยิ่งมี Equity มาก เช่น Coca Cola ,IBM ,Benz
Brand Equity แบ่งเป็น 6 ด้าน • Product Equity สินค้ามีคุณภาพเชิงกายภาพดีเพียงใด • Image Equity ภาพลักษณ์ตราสินค้าแข็งแกร่งเพียงใด • Reputation Equity/Goodwill Equity ความเป็นสมาชิกที่ดีในสังคมที่บริษัทได้สั่งสมมา • Customer Equity มีฐานของลูกค้ามากน้อยแค่ไหน • Channel Equity ช่องทางที่ผู้บริโภคมีโอกาสได้พบปะ กับตราสินค้ารวมถึง Agent ผู้ค้าปลีก บน Website • Identity Equity รูปลักษณ์ที่มองเห็น แรกเห็นก็สามารถ รู้ได้ทันที เช่น การใช้สัญญลักษณ์ สีต่าง ๆ
การสร้างตราสินค้าให้มีคุณค่าทำได้ดังนี้การสร้างตราสินค้าให้มีคุณค่าทำได้ดังนี้ 1. สร้างความซาบซึ้งในคุณภาพของตราสินค้า โดยเสนอสินค้าและบริการให้เหนือความคาดหวัง 2. สร้างปัจจัยเชื่อมโยงตราสินค้ากับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยการกำหนดตำแหน่งของตราสินค้าให้เชื่อมโยงกับคุณสมบัติสินค้า 3. ทำให้ตราสินค้าเป็นที่รู้จัก เช่น สร้างความเด่น ,ใช้สัญญลักษณ์หรือจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อให้เกิดการจดจำ 4. สร้างความซื่อสัตย์ต่อตราสินค้า โดยการใกล้ชิดลูกค้า , ให้สิทธิพิเศษ และหมั่นตรวจระดับความพึงพอใจของลูกค้า 5. สร้างปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ตราสินค้ามีคุณค่า เช่น มาตรฐาน ISO
Most Valuable Brand 2004 • Coca-cola 67,394 Millions -4% • Microsoft 61,372 Millions -6% • IBM 53,791 Millions 4% • GE 44,111 Millions 4% • Intel 33,499 Millions 8% • Disney 27,113 Millions -3% • McDonald’s 25,001 Millions 1% • Nokia 24,041 Millions -18% • Toyota 22,673 Millions 9% • Marlboro 22.128 Millions 0%
The BigWinners 43. Apple 6,871 M +24% 66. Amazon.com 4,156 M +22% 61. Yahoo! 4,545 M +17% 21. Samsung 12,553 M +16% 33. HSBC 8.671 M +15%
The Big Losers 53. Kodak -33% 46. Nintendo -21% 8. Nokia -18% 82. AOL -18% 19. Ford -15%