210 likes | 338 Views
โครงการ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน ด้วยชุมชนนักปฏิบัติ. C ommunity o f P ractice. หลักการและเหตุผล. มี นโยบายและให้ความสำคัญในเรื่องของ การจัดการความรู้ ใน การนำไปใช้ พัฒนากระบวนงานของผู้ปฏิบัติงาน ภายในหน่วยงานให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ
E N D
โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงานด้วยชุมชนนักปฏิบัติโครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงานด้วยชุมชนนักปฏิบัติ Community of Practice
หลักการและเหตุผล • มีนโยบายและให้ความสำคัญในเรื่องของการจัดการความรู้ ในการนำไปใช้พัฒนากระบวนงานของผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ • สามารถพัฒนาส่วนงานไปสู่สถาบันแห่งการเรียนรู้ ตามแผนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์สู่สถาบันการเรียนรู้ • สอดคล้องกับแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาในองค์ประกอบที่ 7
หลักการและเหตุผล จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรสายปฏิบัติการของคณะวิทยาศาสตร์ ได้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพงานประจำของตนผ่านชุมชนนักปฏิบัติ เปิดโอกาสให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนนักปฏิบัติที่มีแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน รวมตัวเพื่อก่อตั้งเป็นชุมชนนักปฏิบัติกลุ่มใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น
วัตถุประสงค์ • เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรสายปฏิบัติการ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพงานของตน ผ่านชุมชนนักปฏิบัติ
หลักเกณฑ์การจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ 1. เป็นบุคลากรสังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมตัวกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะพัฒนาวิธีการทำงานให้ดีขึ้น และมีความเชื่อมั่นในค่านิยมของคณะวิทยาศาสตร์ SCI-CMU ได้แก่ • Successการมุ่งความสําเร็จตามเป้าหมาย • Competitivenessการขยายความสามารถในการแข่งขัน • Innovativenessการสร้างสรรค์ภูมิปัญญานวัตกรรม • Collaborationการทํางานร่วมกันเป็นทีม • Moralityการยึดมั่นในศีลธรรมความดี • Unityการรู้รักสามัคคีเพื่อองค์กร
ภายใต้เงื่อนไขของหลักเกณฑ์ทั่วไปของการจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ ดังนี้ • ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน • มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน • วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือและภาษาเดียวกัน • มีความเชื่อ และยึดมั่นคุณค่าเดียวกัน • มีบทบาทในการสร้างและใช้ความรู้ • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริงหรือผ่านเทคโนโลยี • มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย • มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง • มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้าแข็งให้แก่กันในทางสังคม
หลักเกณฑ์การจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ (ต่อ) 2. มีแผนการดำเนินงานในรอบปีที่ชัดเจน มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สม่ำเสมอต่อเนื่อง และไม่เป็นอุปสรรคต่องานประจำ 3. มีการรายงานผลการดำเนินงานทุก 6 เดือน ผ่านความเห็นชอบของผู้บังคับบัญชา โดยสรุปประเมินผลการดำเนินงานตามแผนองค์ความรู้ที่ได้จากแต่ละกิจกรรม ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาชุมชนนักปฏิบัติของตนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หลักเกณฑ์การจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ (ต่อ) 4. ไม่เน้นการศึกษาดูงาน หรือใช้งบประมาณนอกสถานที่ 5. คณะวิทยาศาสตร์ มีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน 6. ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนการจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติตามแบบฟอร์มที่คณะวิทยาศาสตร์กำหนด โดยคณะกรรมการจะพิจารณาอนุมัติการจัดตั้งปีละ 1 ครั้ง
วิธีการประเมิน • โดยคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงานด้วยชุมชนนักปฏิบัติ
ลักษณะโดยทั่วไปของชุมชนนักปฏิบัติลักษณะโดยทั่วไปของชุมชนนักปฏิบัติ • คนกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่ง มีเป้าหมายร่วมกันและต้องการที่จะแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน • โดยกลุ่มดังกล่าวมักจะไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งโดยองค์กร แต่เป็นกลุ่มที่เกิดจากความต้องการทางสังคม และความพยายามที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีการกำหนดไว้ในแผนภูมิโครงสร้างองค์กร • ในหนึ่งองค์กรอาจจะมีชุมชนนักปฏิบัติจำนวนมาก และคนคนหนึ่งอาจเป็นสมาชิกในหลายชุมชนก็ได้
โดยสามารถแบ่งลักษณะได้เป็น 6 แบบ • แบบกลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่ • แบบเป็นทางการ (Public)-เปิดเผย และไม่เป็นทางการ (Private)-ส่วนตัว • แบบบนลงล่าง (Top Down) และรากหญ้า (Grass Root) • แบบแยกฝ่าย และคละฝ่าย • แบบคนในองค์กรกับคนในองค์กร และคนในองค์กรกับคนนอกองค์กร • แบบระหว่างคน-คน และระหว่างคน-สื่อ-คน
ประเภทของชุมชนนักปฏิบัติประเภทของชุมชนนักปฏิบัติ • Helping Communities เพื่อแก้ปัญหาประจำวัน และแลกเปลี่ยนแนวคิดในกลุ่มสมาชิก • Best Practice Communities เน้นการพัฒนาตรวจสอบและเผยแพร่แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ • Knowledge-Stewarding Communities เพื่อจัดระเบียบยกระดับ และพัฒนาความรู้ที่สมาชิกใช้เป็นประจำ
สรุปการยื่นขอจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ ประจำปีงบประมาณ 2556 1. ชุมชนนักปฏิบัติงานบริหารทั่วไป 2. การปฏิบัติงานด้านการเงิน 3. การปฏิบัติงานพัสดุไม่ยากอย่างที่คิด 4. GuRuงานวิชาการ 5. Living Library ห้องสมุดมีชีวิต
ชุมชนนักปฏิบัติงานบริหารทั่วไปชุมชนนักปฏิบัติงานบริหารทั่วไป • จำนวนสมาชิก 63 คน • สังกัด งานบริหารทั่วไป • งบประมาณที่ได้รับจัดสรร 9,450.- บาท • ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา • จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานร่วมกัน จำนวน 1 ครั้ง (มกราคม 2556) • จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เทคนิคการเขียนโครงการ การสร้างแบบประเมินและติดตามผลตามแนวทางประกันคุณภาพการศึกษา” (11 เมษายน 2556) • ปัญหาและอุปสรรค • การนัดประชุมค่อนข้างยาก เนื่องจากภาระงานประจำของสมาชิกมีมาก
ชุมชนนักปฏิบัติ การปฏิบัติงานด้านการเงิน • จำนวนสมาชิก 51 คน • สังกัด งานการเงิน การคลังและพัสดุ • งบประมาณที่ได้รับจัดสรร 7,650.- บาท • ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา • จัดประชุมสมาชิกร่วมกัน • จัดทำรายงานการประชุมการจัดการความรู้ด้านการเงิน จำนวน 3 ครั้ง • จัดทำรวบรวมประกาศ มช. , กำหนดประเภทรายจ่าย รายการและเงื่อนไขการจ่ายเงิน เพื่อแจกให้สมาชิก • จัดทำสรุปอัตราเปรียบเทียบการเบิกจ่ายค่าเดินทางไปราชการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ • รวบรวมประกาศเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินการเรียนการสอน • ส่งเจ้าหน้าที่การเงิน จำนวน 3 คน เข้ารับการอบรม แล้วกลับนำมาเสนอในกลุ่มสมาชิก • จัดทำช่องทางเผยแพร่ข่าวสารผ่านเว็บไซต์ของหน่วยการเงินฯ
ชุมชนนักปฏิบัติ การปฏิบัติงานด้านการเงิน (ต่อ) • ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน • วางแผนจะไปศึกษาดูงานหน่วยงานภายนอก แต่ไม่ได้ดำเนินการเนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอ • วางแผนไว้ว่าจะกำหนดช่องทางการเผยแพร่ข่าวสาร คลังความรู้ ไว้ 5 ช่องทาง แต่ดำเนินการได้แค่ 3 ช่องทาง ได้แก่ การจัดทำเอกสารเผยแพร่ , การประชุมในกลุ่ม และเว็บไซต์ของหน่วยการเงินฯ • สมาชิกมีจำนวนมาก ทำให้ยากต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ชุมชนนักปฏิบัติ การปฏิบัติงานพัสดุไม่ยากอย่างที่คิด • จำนวนสมาชิก 21 คน • สังกัด หน่วยการพัสดุ • งบประมาณที่ได้รับจัดสรร 3,150.- บาท • ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา • จัดประชุมสมาชิกร่วมกัน • จัดทำรายงานการประชุมการจัดการความรู้ด้านพัสดุ จำนวน 6 ครั้ง • จัดทำแบบฟอร์มถาม – ตอบ ด้านพัสดุ • จัดทำบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์แจกสมาชิก • จัดทำวารสารบริหารพัสดุปีละ 2 เล่ม
ชุมชนนักปฏิบัติ การปฏิบัติงานพัสดุไม่ยากอย่างที่คิด (ต่อ) • ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน • วางแผนจะไปศึกษาดูงานหน่วยงานภายนอก แต่ไม่ได้ดำเนินการเนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอ • วางแผนไว้ว่าจะกำหนดช่องทางการเผยแพร่ข่าวสาร คลังความรู้ ไว้ 5 ช่องทาง แต่ดำเนินการได้แค่ 3 ช่องทาง ได้แก่ การจัดทำวารสาร , แบบถามตอบ และการประชุมในกลุ่ม
ชุมชนนักปฏิบัติ GuRuงานวิชาการ • จำนวนสมาชิก 28 คน • สังกัด งานบริการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักศึกษา • งบประมาณที่ได้รับจัดสรร 4,200.- บาท • ผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา • จัดประชุมเครือข่ายงานบริการการศึกษาฯ กับคณะอื่น ๆ (10 พ.ค.56) • จัดประชุมการปฏิบัติงานหน่วยทะเบียนและประมวลผล และหน่วยส่งเสริมและพัฒนาทางวิชาการ จำนวน 4 ครั้ง • ปรับปรุงเว็บไซต์งานบริการการศึกษาฯ โดยเพิ่มหัวข้อ LO-การบริหารจัดการงานวิชาการ(ทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มคลังความรู้) • ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน • งานประจำมีมากและอย่างต่อเนื่อง ทำให้เวลาที่ใช้ในการดำเนินงานลดลง
ชุมชนนักปฏิบัติ Living Library ห้องสมุดมีชีวิต • จำนวนสมาชิก 7 คน • สังกัด ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • งบประมาณที่ได้รับจัดสรร 2,000.- บาท • ผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา • กิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมวัฒนธรรมใส่เสื้อพื้นเมืองในวันศุกร์ • กิจกรรม Focus Group แนวคิดการพัฒนาห้องสมุดฯในอนาคต • ประชุมสมาชิกกลุ่ม • ปัญหาและอุปสรรค • ไม่มี