150 likes | 585 Views
สิ่งที่เรียนรู้จากการควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีที่ผ่านมา. นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. ก่อนการระบาด. 1. การเตรียมความพร้อม 1.1 การเตรียมบุคลากรในศูนย์ ปฏิบัติการ ผู้ว่า ราชการจังหวัด , นายอำเภอ เป็นผู้สั่ง การ 1.2 แผนและงบประมาณ
E N D
สิ่งที่เรียนรู้จากการควบคุมโรคไข้เลือดออกปีที่ผ่านมาสิ่งที่เรียนรู้จากการควบคุมโรคไข้เลือดออกปีที่ผ่านมา นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง
ก่อนการระบาด 1.การเตรียมความพร้อม 1.1 การเตรียมบุคลากรในศูนย์ปฏิบัติการ ผู้ว่าราชการจังหวัด ,นายอำเภอ เป็นผู้สั่งการ 1.2 แผนและงบประมาณ ประสานการทำแผนระหว่างหน่วยงานและการจัดสรรงบประมาณสำหรับโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ให้ชัดเจนและเพียงพอ 1.3 องค์ความรู้ การพ่นสารเคมี จัดหลักสูตรให้ความรู้และทักษะ โดยการอบรม ทำคู่มือการปฏิบัติงาน เช่น ขั้นตอนการใส่ทราย เทคนิคการพ่นสารเคมี (ถูกต้อง ถูกช่วงเวลา ถูกสถานที่ ครอบคลุม ทันเวลา) เทคนิคการซ่อมบำรุงเครื่องพ่น -ปรับเปลี่ยนแนวคิด “การพ่นรณรงค์ล่วงหน้า” การดูแลรักษาผู้ป่วย - Case Conference - การจัดระบบแพทย์พี่เลี้ยงภายในจังหวัด - แนวทางการส่งต่อผู้ป่วยภายในจังหวัด การสื่อสารให้ถึงประชาชน(รูปแบบและช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่)
2. การมีส่วนร่วมของประชาชน -การส่งข้อมูลสถานการณ์โรคที่เข้าใจง่ายให้ประชาชนและชุมชนรับทราบ -มีตัวแทนภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน -บูรณาการการทำงานให้เป็นเรื่องเดียวกัน ในระดับกระทรวง กรม จังหวัด พื้นที่ ประชาชน -การสั่งการจากฝ่ายปกครอง(ผู้ว่าราชการ/นายอำเภอ) -ปรับรูปแบบการสื่อสารให้น่าสนใจ และแสดงให้เห็นถึง ความรุนแรงของโรค เช่น ให้นักแสดง/ดาราที่กำลังนิยมมาเป็น Presenter -การทำประชาคมอย่างต่อเนื่อง -ประเมินความเสี่ยงและจัดทำแผนที่เสี่ยง -จัดทำสื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ทำแผ่นพับสองภาษา ไทย-กัมพูชา ไทย-เมียนมาร์ ไทย-ลาว
3. วิเคราะห์สถานการณ์ “ต้องวิเคราะห์สถานการณ์องค์รวม สถานการณ์โรคและปัจจัยเสี่ยง เพื่อให้ได้ พื้นที่ซ้ำซากและพื้นที่เสี่ยง” “บุคลากรขาดองค์ความรู้ (บุคลากรใหม่) ช่วงแรกใช้วิธีพี่สอนน้อง และช่วงต่อไป ให้เข้ารับการอบรม” ระบบการรายงาน ให้มีข้อบังคับใช้ในการสั่งการต่อไป อนุญาตสถานพยาบาล
4. การป้องกันโรค 1.ต้องมีการสำรวจลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องทุกฤดูกาล (ทุกจังหวัด) ในช่วงก่อนฤดูกาลระบาด ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ และฤดูกาลระบาด ประมาณเดือนพฤษภาคม โดยสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกอำเภอโดยอย่างน้อย เขตเมือง 1 แห่ง นอกเขตเมือง 1 แห่ง 2. มีการสื่อสารข้อมูลไปยังเครือข่าย 3. จัดทำฐานข้อมูลไข้เลือดออกที่วิเคราะห์แล้ว(HI,CI) โดยหน่วยงานสาธารณสุขระดับจังหวัด 4. มีการอบรมในกลุ่มของ อสม. ครู นักเรียน และคณะกรรมการวัด/มัสยิด 5. สื่อสารไปยังกลุ่มประชาชน ให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการปฏิบัติ
ระหว่างการระบาด • War room ระดับจังหวัด/อำเภอ 1. ขอให้มี “ผู้ว่าราชการจังหวัด/นายอำเภอควรเป็นประธาน” 2. ควรมีข้อสั่งการสั้น ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการ 3. มีการกำหนดเวลาติดตามงาน D-day อย่างชัดเจน 4. การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด และอำเภอ 5. มีการดึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาประชุม มีการ share ทรัพยากร บุคลากร เช่น โรงเรียน โรงงาน ข้อสังเกต การประชุม WR มีข้อดี ทำให้เกิดแชร์ข้อมูลและการดำเนินงานระหว่างหน่วยงาน
2. War room ระดับกระทรวง/กรม 2.1 จัดระบบการติดตาม มติครม. ใน WR กระทรวงเช่น จัดเวทีให้แต่ละกระทรวงรายงานความก้าวหน้า 2.2. ให้กำหนดตัวชี้วัดของผลมติครม.ที่เป็น outcome เพื่อติดตามการดำเนินงานของกระทรวงต่างๆ 2.3 มีแบบสรุปผลการดำเนินงานจากภาคีให้ทราบ ควรมีการร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการ ทั้งในระดับกระทรวงและระดับกรม หน่วยงานจัดสรรงบประมาณจัดทำโครงการผลักดันการนำไปใช้จริง
3. Dengue Corner & Case Management 1.1 การดำเนินงาน Dengue Corner แบ่งเป็น - OPD คัดกรอง ให้ความรู้ ควบคุมการกระจายเชื้อ - IPD รักษาอย่างใกล้ชิดให้ความรู้ ป้องกันยุงกัด 1.2 การจัดทำ Dengue Card ที่ใช้เหมือนกันทุก รพ. 1.3 มีแนวทางการจัดการเรื่อง Dengue Corner เป็นเอกสารคู่มือโดยให้หน่วยงานบริหารจัดการเอง 1.4 อธิบายสื่อสารให้ชัดเจนว่า Dengue Corner คืออะไร เพื่ออะไร เพื่อผู้ปฏิบัติจะได้เข้าใจตรงกันและปฏิบัติตามได้ถูกต้อง 1.5 มี OPD-fasttrack ให้คำปรึกษาและมีหอผู้ป่วย Dengue โดยเฉพาะ การดำเนินงานหลังพบผู้ป่วยควรสื่อสารให้ถึงชุมชนและสร้างเครือข่ายในชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยรีบไปพบแพทย์และไม่ซื้อยาที่ไม่เหมาะสมรับประทานเอง เกณฑ์การเปิด Dengue Corner • ขึ้นอยู่กับบริบทและสถานการของพื้นที่ ตามเกณฑ์ที่ควรจะมีการกำหนด • ควรมีการฝึกบุคลากรที่จะดูแล Dengue Corner • โรงพยาบาลมีการปรับปรุงระบบการส่งต่อเพื่อลดการตาย มีการประชุมกับ รพ.ที่เกี่ยวข้องและหาแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการส่งต่อผู้ป่วยร่วมกัน
ประเด็น 5 ป 1 ข - มีประโยชน์สั่งการใน VDO Conference สสอ. รพช. รพสต. อสม.รับทราบ - จัดทำ key message ให้เข้าใจง่าย ชัดเจนในการปฏิบัติ เช่น บ้านท่านเองอย่านิ่งดูดาย ฆ่าลูกน้ำยุงลายให้ตายเพื่อลูกหลานท่าน, กำจัดลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ • ประเด็น 5 เสือ 5 เสือแต่ละระดับควรใช้ App เพื่อการสื่อสารแบบ Real time กำหนดบุคคลเข้า WR - แต่งตั้ง 5 เสือให้ครบตั้งแต่ในWR - ให้ผู้ตรวจราชการเป็น IC
ประเด็น การรณรงค์ในโรงเรียน - ควรจะต้องให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยทุกเดือนในช่วงก่อนฤดูกาลระบาด และอย่างน้อยทุกสัปดาห์ในช่วงฤดูกาลระบาด - กำหนดเรื่องไข้เลือดออกในหลักสูตรการเรียนการสอน - มีการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกกับครู/บุคลากรทางการศึกษา - เพิ่มกิจกรรมการกำจัดลูกน้ำยุงลายและยุงตัวแก่ด้วยเทคโนโลยีและวิธีการที่ง่าย ทั้งในโรงเรียน/บ้าน/ชุมชนใกล้บ้าน “ให้การบ้านนักเรียนกลับไปทำที่บ้าน” - จัดทำแผนการปฏิบัติการของอาสาสมัคร/แกนนำนักเรียนในโรงเรียน เช่น อย.น้อย - การรณรงค์ควรคำนึงถึงโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็กในสังกัด อปท. นอกเหนือจากโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ - ให้มีมาตรฐานในการจัดการลูกน้ำ โดยอาจทำ MOU ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ สาธารณสุข. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข ลงประเมิน - กระทรวงศึกษาธิการต้องสั่งการให้โรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย และให้ สคร. ศตม. สสจ. สสอ. รพช.ประเมิน - กรมควบคุมโรคควรเป็นหน่วยงานหลักในการติดตามและประเมินผล
ประเด็นมาตรการป้องกันควบคุมโรคประเด็นมาตรการป้องกันควบคุมโรค • มาตรการ 331ต้องระบุให้ชัดเจนว่าแจ้งด้วยอะไรโดยใคร แจ้งใคร ให้อสม.ทำอะไร • มาตรฐาน SRRT เดิม รายงานภายใน 24 ชม. สอบสวนควบคุม 24 ชม.
หลังการระบาด • การทบทวนถอดบทเรียน • จัดทำพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดและไม่ระบาดเพื่อเฝ้าระวังต่อไป • วิเคราะห์การระบาดในพื้นที่ แล้วดำเนินการจัดการพื้นที่ให้เป็นศูนย์ • จัดทำ BESTPRACTICE นวัตกรรมด้านการป้องกันควบคุมโรค