1 / 39

เยอบีร่า

เยอบีร่า. ชื่อสามัญ Gerbera ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gerbera jamesonii hybrids วงศ์ : Compositae (Asteraceae) ถิ่นกำเนิด : South Africa. เยอบีร่าเป็นไม้ตัดดอกที่ได้รับการพัฒนาพันธุ์ก้าวหน้าและรวดเร็ว ปัจจุบันที่ปลูก ตัดดอกเป็นพันธุ์ลูกผสม

Download Presentation

เยอบีร่า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เยอบีร่า ชื่อสามัญ Gerbera ชื่อวิทยาศาสตร์: Gerbera jamesonii hybrids วงศ์: Compositae (Asteraceae) ถิ่นกำเนิด: South Africa

  2. เยอบีร่าเป็นไม้ตัดดอกที่ได้รับการพัฒนาพันธุ์ก้าวหน้าและรวดเร็ว ปัจจุบันที่ปลูก ตัดดอกเป็นพันธุ์ลูกผสม ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นผู้ผลิตเยอบีร่ารายใหญ่ของโลก ผลิตในโรงเรือน ประเทศคู่ค้า เยอรมันนี ฝรั่งเศส ออสเตรีย สหรัฐอเมริกา ชาวเยอรมันนิยมและชื่นชมเยอบีร่าเป็นพิเศษ

  3. นำเข้าประเทศไทย พ.ศ. 2451 โดยนายแพทย์คาร์ทิว จนเรียกว่าสายพันธุ์ไทย ปัจจุบันนิยมพันธุ์ยุโรป เพราะมีคุณภาพดี มีความสม่ำเสมอ ให้ผลตอบแทนสูง 1 ปี ตัดดอกได้ 75-180 ดอกต่อตารางเมตร

  4. ลักษณะทั่วไป เป็นไม้เนื้ออ่อน (herbaceous) มีลำต้นแบบไรโซม เจริญไปตามแนวราบ ใบเกิดจากตาที่ลำต้น แตกเป็นพุ่มก้านใบติดกับไรโซม ใบสีเขียวเข้ม ขอบใบหยัก เว้าไม่เท่ากัน ไม่มีหูใบ แผ่นใบไม่กางเต็มที่ มีขนละเอียด

  5. ช่อดอกแตกจากตาที่ส่วนของช่อดอกแตกจากตาที่ส่วนของ ลำต้น ก้านดอกกลมยาว 20-70 ซม. ช่อดอกแบบ head ประกอบด้วยดอกย่อย (florets) จำนวนมาก อัดตัวกันแน่น

  6. กลีบเลี้ยงลดรูปเป็นขนเล็กๆ เรียกว่า papus อับละอองเกสรตัวผู้มี 5 อัน เชื่อมติดกันเป็น วงรอบก้านเกสรตัวเมีย (style) อับละอองเกสรตัวผู้มี 2 ช่องแตกตามยาว ก้านเกสรตัวผู้ ติดกับกลีบดอก (corolla tube)รังไข่เป็นแบบอยู่ใต้ฐานรองดอก (inferior ovary) มี 1 locule 2 carpel

  7. การจำแนกประเภท • 2 ประเภท • เยอบีร่าดอกชั้นเดียว มีชั้นนอก 1-2 ชั้น ชั้นในมีขนาดสั้น เป็นกระจุก • เยอบีร่าดอกซ้อน มีชั้นนอกมากกว่า 2 ชั้น ชั้นในมีขนาดสั้นลดหลั่นกันไป • สายพันธุ์ไม้ตัดดอก • สายพันธุ์ไทย ดอกซ้อน ตัวผู้เป็นหมัน มีหลายสี ขาว แดง ชมพู ส้ม สีอิฐ • สายพันธุ์อเมริกาและออสเตรเลีย ดอกชั้นนอกมี 1-2 ชั้น กลีบดอกแคบยาว • ไม่นิยมเป็นไม้ตัดดอก

  8. 3. สายพันธุ์ยุโรป ดอกชั้นเดียว ชั้นนอก 2-3 ชั้น กลีบกว้าง ป่องกลาง กลีบหนา ไส้ดำหรือน้ำตาล เหมาะเป็นพ่อพันธุ์ นิยมเป็นไม้ตัดดอก พันธุ์สีแดง cleopatra floijn สีชมพู Appelblesem สีขาว delphi สีเหลือง golden สีส้ม Agnes

  9. 4. สายพันธุ์นิวซีแลนด์ ดอกซ้อน แยกเป็น 2 ชั้นเห็นชัดเจน 5. ลูกผสมระหว่างดอกซ้อนและยุโรป นิยมเป็นไม้ตัดดอก

  10. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม • แสง ควรปลูกในโรงเรือนพรางแสง 50 % ก้านดอกยาวสีสดใส • อุณหภูมิ ชอบอากาศเย็น กลางวัน 24-28 องศาเซลเซียส กลางคืน 14-18 องศาเซลเซียส • 3. ความชื้น ความชื้นในอากาศ 80-90 % • 4. pH 5.5-7.0

  11. การขยายพันธุ์ • การเพาะเมล็ด วัสดุเพาะ ขุยมะพร้าวกับทราย 1:1 • ใช้ถาดเพาะ หรือตะกร้าพลาสติก งอกภายใน 5-7 วัน อายุ 2-3 สัปดาห์ มีใบจริง 2 ใบ • ย้ายลงถุง 10x15 ซม. ส่วนผสมคือ • ดินร่วน 1 • ปุ๋ยคอก 1 • แกลบ 1 • ถ่านแกลบ 1 • เก็บไว้ในโรงเรือนพลาสติกกันฝน เมื่อต้นกล้าเริ่มตั้งตัวให้ปุ๋ยสูตร 21-21-21 1-2 ช้อนแกง • ต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อกล้าอายุ 45-60 วัน ย้ายปลูกลงกระถาง ให้ดอกแรกเมื่ออายุ 4-5 เดือน

  12. 2. การแยกหน่อ ครบ 1 ปี ให้แยกหน่อ งดให้น้ำก่อนขุด 1 เดือน เพื่อให้หยุดการแตกกอ ก่อนขุด 1 สัปดาห์รดน้ำให้เต็มที่ ขุดกอทำการแยก ต้นตั้งตัวได้เร็ว 1 กอได้ 10-15 หน่อ ให้มีรากติดมาด้วย 2-3 ราก ตัดรากและใบให้ สั้น จุ่มโคนหน่อในฮอร์โมนเร่งราก IBA 8000 ppm (เซราดิกซ์เบอร์ 3) จะออก รากใหม่ใน 2 สัปดาห์ อีก 2 สัปดาห์ย้ายลงแปลงและให้ดอกหลังปลูก 60-75 วัน

  13. 3. การชำยอดอ่อน ได้ต้นมากกว่าหน่อ โดยการขุดกอมาล้างน้ำ ดึงใบ ดึงยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดตาข้างแตก ใช้ยากันราฉีดพ่น นำไปชำในกระบะชำ เหง้าจะแตกยอดใหม่ ตัดยอดจุ่มฮอร์โมนเบอร์ 1 หรือ 2 ชำจนออกราก 4. การขยายพันธุ์ระบบทวีคูณ เป็นการสร้างหน่อใหม่ โดยการกระตุ้นต้นเยอบีร่า ให้มีการแตกหน่อจำนวนมาก ได้ตลอดระยะการปลูก คือหลังย้ายปลูก 3 สัปดาห์ จะเกิดการแตกหน่อ ให้ตัดหน่อที่ได้ขนาดไปชำในกระบะชำ ให้น้ำระบบพ่นฝอย เพื่อให้เกิดราก วิธีนี้นิยมมาก เพราะได้ต้นกล้าขนาดใหญ่ ออกดอกเร็ว ประมาณ 45-60 วัน หลังย้ายปลูก 5.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นิยม ใช้ส่วนปลายยอดของดอกอ่อน ฐานรองดอกที่บานแล้ว สูตรอาหาร ms (murashigeand skoog) ได้ต้นจำนวนมากและรวดเร็ว

  14. ขั้นตอนการปลูกและการดูแลรักษาขั้นตอนการปลูกและการดูแลรักษา • 1. การเตรียมพื้นที่ปลูกเยอบีร่า • 1.1 โรงเรือน การสร้างโรงเรือนพลาสติกเหมาะสำหรับการปลูกเยอบีร่าในที่อากาศค่อนข้างเย็น ส่วนในเขตร้อน อุณหภูมิในโรงเรือนจะสูงมาก ควรสร้างโรงเรือนในที่โล่งจะได้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

  15. ขนาดโรงเรือนหลังละ 1 ไร่ ห่างกันไม่ต่ำกว่า 5 เมตร การปลูกในโรงเรือนสามารถป้องกันการระบาดของโรคและแมลง ความเสียหายจากน้ำฝน โรคใบจุด ดินกระแทก โรคราที่ดอก รากเน่าเกิดน้อย ส่วนในฤดูร้อนปลูกในโรงเรือน ดีกว่าปลูกกลางแจ้ง เพราะใบและดอกไม่เหี่ยว และยังสามารถป้องกันแมลงและผีเสื้อกลางคืนได้ดี ลดการใช้สารเคมี

  16. 1.2 แปลงปลูกและวัสดุปลูก แปลงสูง 30 ซม.กว้าง 65-75 ซม. ความยาวตามพื้นที่ ทางเดิน 50 ซม. โดยใช้วัสดุ ปลูกดังนี้คือ • - ขุยมะพร้าว 3 • - แกลบดำ-แกลบดิบ 2 • - ดินดำ 2 • ทรายหยาบ 1 • - ปุ๋ยหมัก 1 • ธาตุอาหารรอง • - แคลเซียมคาร์บอเนต 500 กรัม/ลบ.ม • - แคลเซียมซัลเฟต 100 กรัม • เฟอรัสซัลเฟต 500 กรัม • คอปเปอร์ซัลเฟต 10 กรัม • - ซิงค์ซัลเฟต 10 กรัม

  17. 1.3 การปลูก ระหว่างแถว 30-40 ซม. ระหว่างต้น 30-35 ซม. และควรปลูกแบบสลับฟันปลา การปลูกควรให้ต้นอยู่ระดับผิวดินหรือเหนือดินเล็กน้อย ไม่ควรปลูกลึก อย่าให้วัสดุปลูกกลบยอด เพราะจะทำให้ต้นเน่าตายได้

  18. 2. การดูแลรักษาต้นเยอบีร่า • 2.1 การให้น้ำ เยอบีร่ายุโรป ต้องการน้ำมาก ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะ ถ้าต้นเยอบีร่าขาดน้ำ ทำให้ใบ ดอกเหี่ยว คอดอกพับลง ก้านดอกไม่ตรง ดอกเล็ก คุณภาพและอายุการปักแจกันลดลง ถ้าให้น้ำไม่สม่ำเสมออาจทำให้ก้านดอกเปราะหัก มีรอยแตกตามขวาง • วิธีการให้น้ำต้นเยอบีร่าสามารถทำได้ 3 วิธีดังต่อไปนี้

  19. 2.1.1 แบบสปริงเกอร์ ช่วง 1 เดือนแรกช่วยปรับอุณหภูมิและสภาพความชื้นได้ดี ในฤดูร้อน สิ้นเปลืองน้ำมาก ถ้าให้ในช่วงดอกบานจะทำให้ดอกเปียก

  20. 2.1.2 แบบใช้สายยางรดทั้งแปลง ใช้ฝักบัวสวมสายยาง สิ้นเปลืองน้ำน้อย ข้อเสียคือ จะทำให้ดินในแปลงอัดแน่น

  21. 2.1.3 แบบระบบน้ำหยด เหมาะสำหรับเยอบีร่าที่ปลูกมาแล้ว 1 เดือน สามารถให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำ ต้องลงทุนสูง

  22. 2.2 การให้ปุ๋ย ต้องการปุ๋ยมาก ให้ปุ๋ยทั้งทางรากและทางใบ แบ่งเป็น 2 ช่วงคือ

  23. 2.2.1 ช่วงก่อนออกดอก - เมื่อเริ่มปลูก 1 เดือนแรก N สูง เช่น 20-0-0 หรือ 46-0-0 ผสมกับปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-20-20 อัตราส่วน 1:1 อย่างละ 1/2 กิโลกรัม+น้ำ 200 ลิตร แล้วใช้น้ำปุ๋ยรดครึ่งลิตร ต่อต้นทุก 7 วัน • เดือนที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 ใช้ 15 กิโลกรัม+น้ำ 200 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน ต่อมาเอาหัวปุ๋ยที่แช่ไว้ 5 ลิตร ผสมกับน้ำ 200 ลิตร ใช้น้ำปุ๋ยรด 1 ลิตรต่อต้นทุก 15 วัน จนกว่าจะมีดอกแรก และใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 25-5-5 หรือ 20-20-20 ผสมฉีดพ่นเสริมทางใบทุก 7 วัน สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงผสมกับปุ๋ยไปด้วย

  24. 2.2.2 ช่วงออกดอก สูตร 15-15-15 สูตร 12-24-12 สูตร 8-24-24 หรือสูตร 0-0-60 หรือใช้ 2 สูตร รวมกัน เช่นใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15+สูตร 0-0-60 อัตรา 1:1 หรือใช้สูตร 12-24-12+0-0-60 อัตรา 1:1 โดยผสมปุ๋ย ทั้ง 2 สูตรให้ได้ 15 กิโลกรัม/น้ำ 200 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำ หัวปุ๋ย 7 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร ใช้รดต้นเยอบีร่าต้นละ 1 ลิตรทุก 15 วัน และใช้ปุ๋ย0-46-0 ฝังลงดิน ใกล้โคนต้น1 ช้อนชา/เดือน ส่วนปุ๋ย 20-20-20 หรือสูตร 15-30-15 พ่นทางใบ+สารเคมีป้องกันกำจัดโรค และแมลงทุก 7 วัน

  25. 3. การแต่งทรงพุ่ม • เมื่อพุ่มโตเต็มที่ ตัดใบด้านล่าง ใบไม่สมบูรณ์ มีโรคและแมลงรบกวน ใบแก่ ให้เหลือใบไว้กอละ 20-25 ใบ การเด็ดใบ ต้องเด็ดให้หลุดจากขั้ว ระหว่างต้นกับใบ ห้ามใช้กรรไกรตัด เพราะทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้

  26. 4. การเก็บดอก การคัดเกรด และการบรรจุหีบห่อเยอบีร่า • 4.1 การเก็บดอกเยอบีร่า จากการเพาะเมล็ดการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ4-5 เดือน ต้นจากการแยกหน่อ 2-3 เดือน ดอกแรกมีขนาดเล็กให้ดูแลต่อไปอีก 1-2 เดือน จึงจะได้ดอกที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ระยะเวลาที่ เหมาะสมในการตัดดอก คือ กลีบดอกชั้นในที่เป็นเกสรตัวผู้บานได้ 1-2 วง หากเก็บเร็วเกินไปหรือปล่อยให้ดอกแก่ ทำให้ดอกคอหักพับ อายุปักแจกันสั้น ควรเก็บในช่วงเช้า

  27. วิธีเก็บดอก ใช้มือจับที่โคนก้านดอกเหนือจากดิน 2-3 นิ้วโยกลงข้างๆ ระหว่างก้านใบแล้วกระตุกขึ้น ดอกจะ หลุดออกมา แช่ก้านดอกลงในถังน้ำที่ใส่สารฟอกผ้าขาว (Sodium hypochlorite) เช่น คลอร็อกซ์ หรือไฮเตอร์ 7 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตร เก็บไว้ในที่ร่ม เยอบีร่าควรเก็บในตอนเช้า

  28. 4.2 การคัดเกรดเยอบีร่า เป็นการเพิ่มราคาผลผลิตและลดการเสียหายของดอกระหว่างการขนส่ง เมื่อเก็บดอกออกจากแปลงแล้ว ต้องนำมาทำการคัดเกรดตามความต้องการ ของตลาด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 เกรด คือ • 1.A ความยาว 40 เซนติเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางดอกมากกว่า 4 นิ้ว • 2. B ความยาว 35-40 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 3.5-4 นิ้ว • 3.C ความยาว 30-35 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 3.0-3.5 นิ้ว • 4. ส่วนดอกที่มีตำหนิหรือดอกที่ไม่ได้ขนาด เป็นดอกตกเกรด

  29. 4.3 การบรรจุหีบห่อเยอบีร่า • 1 ใช้ถุงพลาสติกใส 3 x 5 นิ้ว หากดอกใหญ่ให้ใช้ 4 x 6 นิ้ว เจาะรูตรงกลางด้านล่างของถุง แล้วสอดก้านดอกรูดให้ดอกเข้าไปอยู่ในถุงพลาสติก • 2 ใช้ฟลอร่าเทปใสมัดดอกรวบเข้าด้วยกัน มัดละ 10 ดอก แล้วห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่งให้ก้านดอกพ้นจากกระดาษประมาณ 3 นิ้ว และตัดก้านดอกด้วยมีดที่คมและสะอาดประมาณ 1 นิ้ว นำไปแช่น้ำผสมสารฟอกผ้าขาว 4 ชั่วโมง เพื่อให้ ดอกดูดน้ำเต็มที่ก่อนบรรจุลงกล่อง เพื่อเตรียมการขนส่งต่อไป

  30. 5. การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของเยอบีร่า • โรค • 1 โรคใบจุดหรือตากบ เกิดจากเชื้อรา Cercospora sp. มีจุดเป็นสีม่วง ปนน้ำตาลไหม้ แผลจะใหญ่ทะลุเป็นรู กระจาย ระบาดมากในช่วงฤดูฝน • การป้องกันกำจัด • - ควรเลือกต้นที่ปราศจากโรค • - เด็ดใบที่เป็นโรคออกทำลาย และฉีดยาป้องกันเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม

  31. 2. โรคเหี่ยวหรือโรครากเน่า เกิดจากเชื้อรา Sclerotium sp. ใบเหี่ยวเฉา แห้งและตายในที่สุด ที่โคนต้นและรากที่เน่าจะพบเส้นใยและเม็ดกลมๆ สีน้ำตาล ของเชื้อรา (ราเม็ดผักกาด) ทำให้ตายทั้งกอ • การป้องกันกำจัด • - ใช้ต้นพันธุ์ที่ปราศจากโรค • ไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิม • - ไม่ควรปลูกในดินที่เป็นกรด ถ้าดินเป็นกรดควรปรับสภาพดินด้วยปูนขาวก่อนปลูก • - พบต้นที่เป็นโรค เผาไฟ และใส่ปูนขาวบริเวณหลุมที่เป็นโรค • - ราดดินด้วยเทอร์ราคลอร์หรือเด็กซาน เป็นระยะ ๆ

  32. 3. โรครากปม เป็นโรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย ทำให้แคระแกรน รากโป่งนูน พบในต้นที่ปลูกมาเป็นเวลานานกว่า 1 ปี • การป้องกันกำจัด • - เลือกต้นที่ไม่มีโรค รากไม่มีปุ่มปม • - ไม่ควรปลูกเยอบีร่าในที่โรคระบาด • - ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด ฟูราดาน 3 จี • - ใช้สารเคมีบาซามิค-จี อบดินก่อนปลูก

  33. 4. โรคดอกเขียว เกิดจากเชื้อ Mycoplasma sp. โรคนี้ไม่แสดงอาการจนกว่าจะออกดอก มีกลีบดอกสีเขียว และจะเจริญเป็นยอดหรือต้นเล็กๆ อยู่บนช่อดอก ต้นที่ เป็นโรคนี้อาจจะเห็นว่ามีต้นเล็กๆ ขึ้นอยู่บริเวณโคนต้น จำนวนมาก เมื่อพบต้นที่เป็นโรคเผาทิ้ง เพลี้ยจักจั่นบางชนิดเป็นพาหะของโรค

  34. 5.2 แมลงศัตรูของเยอบีร่าที่สำคัญ คือ • 1 เพลี้ยไฟ (Thrips) ทำลายทั้งต้นใบและดอก ระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งแล้ง ใบหงิกงอ และมีขนาดเล็กกว่าปกติ ดอกที่ถูกทำลายจะมีรอยด่างสีขาว กลีบดอกจะหงิกงอ ไม่บาน ดอกไม่มีคุณภาพ • การป้องกันกำจัด • - ใช้สารเคมีคาร์โบซัลแฟน ฉีดพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือถ้า ระบาดมากให้ฉีดพ่น 3 วันต่อครั้ง ติดต่อกัน 2 ครั้ง

  35. 5.2.2 ไรแดงหรือไรต่างๆ มีจุดสีเทาหรือเหลืองบนใบ ถ้าระบาดมากดอกอ่อน ของที่ขอบหรือปลายใบ หงิกงอ ควรกำจัดตั้งแต่เมื่อพบอาการระยะแรก เพราะขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วใน อุณหภูมิสูงและความชื้นต่ำ • การป้องกันกำจัด • - ควรเก็บใบและดอกออกแล้วเผาทิ้ง และฉีดพ่นด้วยสารเคมี อามีทราว สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ถ้าระบาดมากให้ฉีดสารเคมี 3 วันต่อครั้ง ติดต่อกัน 2 ครั้ง

  36. 3. หนอนชอนใบ ใบส่วนที่ถูกหนอนชอน เป็นทางสีอ่อนกว่าเนื้อใบปกติ เพราะเซลใบสีเขียวถูกทำลาย ทำให้การสังเคราะห์แสงลดน้อยลง ทำให้ใบเยอบีร่าเป็นแผล • การป้องกันกำจัด • - ควรเก็บใบที่โดนทำลายเผาทิ้งเป็นการกำจัดตัวอ่อนไปด้วย และพ่นด้วยสารเคมี ไดคลอร์วอส กำจัดตัวอ่อน และสารเคมีโมโนโคร โตฟอส เมทโธนิล มีกำจัดตัวแก่ สัปดาห์ ละ 1 ครั้ง กรณีที่มีการระบาด

  37. 4. หนอนผีเสื้อกลางวัน หนอนระบาดในช่วงฤดูร้อน ผีเสื้อกลางวันจะวางไข่ตามใบและดอก เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนก็จะกัดกินทำลายใบและดอก • การป้องกันกำจัด • - ควรจับตัวหนอนในช่วงเช้าหรือเย็น • - ให้ฉีดยาฆ่าแมลงเมทโทมิล โมโนโครโตฟอส ทำลายตัวหนอนเล็กๆ แต่ตัวหนอนตัวใหญ่มักจะไม่ตาย

  38. 5. เพลี้ยอ่อน (Aphids) • การป้องกันกำจัด • ฉีดสารเคมีโมโนโครโตฟอส คาร์โบซัลแฟน ทุกสัปดาห์ • การปลูกเยอบีร่าจะได้ผลผลิตและคุณภาพดีที่สุดในช่วงปีแรก หลังจากปลูกได้ 1 ปี คุณภาพดอกและปริมาณจะ เริ่มลดลง ดังนั้นเมื่อปลูกเยอบีร่าไปแล้ว 1 ปีครึ่ง ควรปรับปรุงคุณภาพของดินและคุณภาพของต้นให้ดีอยู่เสมอ

More Related