120 likes | 289 Views
โครงการประตูระบายน้ำห้วยบังกอ. 1.ความเป็นมา จากการที่รัฐบาลได้มีนโยบายมอบหมายให้กรมชลประทานศึกษาโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำ ปิดกั้นลำน้ำต่างๆ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง เพื่อบริหารจัดการน้ำอย่างสมบรูณ์แบบ ซึ่งทางกรมชลประทานได้ทำการศึกษาเพื่อจัดทำแผนงานสำหรับโครงการต่างๆ
E N D
โครงการประตูระบายน้ำห้วยบังกอโครงการประตูระบายน้ำห้วยบังกอ 1.ความเป็นมา จากการที่รัฐบาลได้มีนโยบายมอบหมายให้กรมชลประทานศึกษาโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำ ปิดกั้นลำน้ำต่างๆ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง เพื่อบริหารจัดการน้ำอย่างสมบรูณ์แบบ ซึ่งทางกรมชลประทานได้ทำการศึกษาเพื่อจัดทำแผนงานสำหรับโครงการต่างๆ จังหวัดนครพนมประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจำทุกปี เนื่องจากปริมาณน้ำฝนในพื้นที่มากและมีลำน้ำสำคัญไหลผ่านพื้นที่ เช่นแม่น้ำสงคราม ห้วยบังฮวก ห้วยบังกอ ห้วยทวย ฯลฯ ซึ่งลำน้ำทุกสายจะไหลลงสู่แม่น้ำโขงส่งผลให้ในฤดูฝนน้ำจะไหลท่วมตลิ่งเข้าสู่พื้นที่การเกษตร ทำให้ทรัพย์สินของราษฎรและทางราชการเสียหายเป็นประจำทุกปี ประกอบกับลำห้วยบังกอ เป็นลำห้วยสายสำคัญที่เชื่อมต่อกับอ่างเก็บน้ำหนองญาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมได้มีบันทึก นพ 00018.2/097 ลงวันที่ 21 มกราคม 2546 ขอให้กรมชลประทานพิจารณาสนับสนุนผลักดันแผนงานแก้ไขน้ำท่วมในระยะยาวและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในการเกษตรและอุปโภค-บริโภค และ สส.ชวลิต วิชยสุทธิ์ ได้มีบันทึกที่ สส.(พ)016 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2546 ขอให้กรมชลประทาน พิจารณาหาแนวทางแก้ไข ปัญหาน้ำท่วมในระยะยาวในพื้นที่เศรษฐกิจโดยกำหนดแผนงาน/-
โครงการประตูระบายน้ำห้วยบังกอโครงการประตูระบายน้ำห้วยบังกอ แผนงานก่อสร้างประตูระบายน้ำทุกลำน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง กรมชลประทานได้ประสานงานกับสำนักงานชลประทานที่ 7 เพื่อจัดทำรายงานวางโครงการชลประทานขนาดกลางประตูระบายน้ำห้วยบังกอ ได้ตรวจสอบรายละเอียดเบื้องต้นพบว่า สถานที่ดังกล่าวอยู่ใกล้ปากแม่น้ำ เหมาะสมจะเป็นประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันอุทกภัยจากแม่น้ำโขงในฤดูน้ำหลากและเก็บกักน้ำใช้ในฤดูแล้ง 2.ที่ตั้งและวัตถุประสงค์ของโครงการ 2.1 ที่ตั้งโครงการ โครงการประตูระบายน้ำห้วยบังกอ ตั้งอยู่ที่ พิกัด 48 QVE 783-117 ระวาง 5943 I บ้านหนองเซา ตำบลท่าค้อ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม โดยทำการก่อสร้างในลำห้วยบังกอ 2.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อช่วยในการระบายน้ำในช่วงฤดูฝนและเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร การประมง และอื่นๆ ในช่วงฤดูแล้ง
โครงการประตูระบายน้ำห้วยบังกอโครงการประตูระบายน้ำห้วยบังกอ 3. เพื่อป้องกันน้ำจากแม่น้ำโขงหนุนและไหลย้อนกลับเข้ามาท่วมพื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่ริมห้วยบังกอ 3. ลักษณะของโครงการและพื้นที่ชลประทาน ประเภทโครงการ ประตูระบายน้ำ (รับน้ำ 2 ทาง) ส่วนลาดเทลำน้ำบริเวณหัวงาน 1:1,500 พื้นที่รับน้ำ 490 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 2,249.40 มิลลิเมตร จำนวนวันที่ฝนตกเฉลี่ยทั้งปี 106.10 วัน อัตราการระเหย เฉลี่ยทั้งปี 1,121.60 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำไหลผ่านหัวงานรายปีเฉลี่ย 523.2924 ล้าน ลบ.ม./ปี ปริมาตรความจุที่ระดับเก็บกัก 1.2 ล้าน ลบ.ม.
โครงการประตูระบายน้ำห้วยบังกอโครงการประตูระบายน้ำห้วยบังกอ 4. อาคารหัวงานและอาคารประกอบ ประตูระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กแบบบานตรง รับน้ำ 2 ทาง มีสันฝายแข็งสูง 3.00 เมตร ช่องระบายน้ำกว้าง 6.00 เมตร สูง 7.75 เมตร จำนวน 8 ช่อง ระดับหลังทำนบดิน ระดับ + 144.50 (รทก.) ระดับหลังตอม่อ ระดับ + 140.50 (รทก.) ระดับเก็บกัก ระดับ + 138.00 (รทก.) ระดับธรณีบาน ระดับ + 132.00 (รทก.) ระดับพื้นประตูระบายน้ำ ระดับ + 129.00 (รทก.) 5. ผลประโยชน์ของโครงการ เมื่อก่อสร้างประตูระบายน้ำห้วยบังกอแล้วเสร็จ คาดว่าได้รับประโยชน์ ดังนี้.- 5.1 ใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำและกระจายน้ำสำหรับการเกษตร ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกของราษฎร ตำบลท่าค้อ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ฤดูฝนประมาณ 5,000 ไร่ ฤดูแล้งประมาณ 2,000 ไร่ 5.2 ใช้เป็นแหล่งน้ำและกระจายน้ำสู่แหล่งชุมชนสำหรับช่วยเหลือด้านการอุปโภค-บริโภค ในเขตโครงการและพื้นที่ใกล้เคียง 5.3 ใช้เป็นแหล่งขยายพันธุ์ปลาน้ำจืดมากขึ้น ซึ่งเป็นอาหารโปรตีนอย่างดีและสามารถจำหน่ายสร้างรายได้อีกทางหนึ่งด้วย
โครงการประตูระบายน้ำห้วยบังกอโครงการประตูระบายน้ำห้วยบังกอ 5.4 ทำให้ที่ดินที่ได้ผลประโยชน์โดยตรงจากโครงการมีราคาสูงขึ้น 5.5 ช่วยส่งเสริมและยกระดับรายได้ด้านการเกษตร ลดปัญหาการอพยพแรงงานเข้ากรุงเทพฯ และตามเมืองใหญ่ ๆ 6. ผลความก้าวหน้าในการดำเนินการ 6.1 การศึกษาความเหมาะสม ดำเนินการแล้ว 6.2 การสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินการแล้ว 6.3 การสำรวจธรณีวิทยา ดำเนินการแล้ว 6.4 การออกแบบ ดำเนินการแล้ว 6.5 การจัดหาที่ดิน จ่ายค่าที่ดินและทรัพย์สินไปแล้วรวม 95 % 6.6 เคยผ่านขั้นตอนประกวดราคาแล้วแต่ถูกยกเลิกผลการประกวดราคา เนื่องจากไม่มีงบประมาณ
โครงการประตูระบายน้ำห้วยบังกอโครงการประตูระบายน้ำห้วยบังกอ 7.ราคาค่าก่อสร้างและแผนงานก่อสร้าง แผนงานก่อสร้าง 3 ปี โดยมีแผนใช้จ่ายงบประมาณดังนี้.- ปีงบประมาณ 2557 จำนวน 84,000,000 บาท ปีงบประมาณ 2558 จำนวน 168,000,000 บาท ปีงบประมาณ 2559 จำนวน 168,000,000 บาท รวม 420,000,000 บาท