1 / 37

การตรวจสอบบัญชีธุรกิจรวบรวมและแปรรูปน้ำนมดิบ

การตรวจสอบบัญชีธุรกิจรวบรวมและแปรรูปน้ำนมดิบ. นายสุเทพ ทองบ้านบ่อ นักวิชาการตรวจสอบบัญชีชำนาญการพิเศษ. ขั้นตอนการตรวจสอบบัญชีธุรกิจรวบรวมและแปรรูปน้ำนมดิบ. 1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจ กฎระเบียบ การควบคุมภายในและระบบบัญชีของสหกรณ์. 2. ประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชี.

Download Presentation

การตรวจสอบบัญชีธุรกิจรวบรวมและแปรรูปน้ำนมดิบ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การตรวจสอบบัญชีธุรกิจรวบรวมและแปรรูปน้ำนมดิบการตรวจสอบบัญชีธุรกิจรวบรวมและแปรรูปน้ำนมดิบ นายสุเทพ ทองบ้านบ่อ นักวิชาการตรวจสอบบัญชีชำนาญการพิเศษ

  2. ขั้นตอนการตรวจสอบบัญชีธุรกิจรวบรวมและแปรรูปน้ำนมดิบขั้นตอนการตรวจสอบบัญชีธุรกิจรวบรวมและแปรรูปน้ำนมดิบ 1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจ กฎระเบียบ การควบคุมภายในและระบบบัญชีของสหกรณ์ 2. ประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชี 3. จัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวม 4. จัดทำแนวการสอบบัญชี 5. ปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชี

  3. 1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจ กฎระเบียบ การควบคุมภายในและระบบบัญชีของสหกรณ์ - ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ ดังนี้  วิธีการรวบรวมน้ำนมดิบ  การจำหน่ายน้ำนมดิบ  การแปรรูปน้ำนมดิบ  การจำหน่ายนมพร้อมดื่ม - ศึกษากฎระเบียบ และข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง - พิจารณาสภาวะเศรษฐกิจ การเมือง ที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ - พิจารณาระบบการควบคุมภายในและระบบบัญชีของสหกรณ์ 2

  4. 2. ประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชี • วิธีการที่ใช้รวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความเสี่ยง • การวิเคราะห์เปรียบเทียบ • สอบถามคณะกรรมการและฝ่ายจัดการ • สังเกตการณ์และการตรวจสอบเอกสาร 2

  5. 3. จัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวม - หลังจากประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีแล้ว ผู้สอบบัญชีต้องนำผลการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม (RQ1) และ (RQ1-3) มาพิจารณาเพื่อจัดทำ แผนการสอบบัญชีโดยรวม 4. จัดทำแนวการสอบบัญชี - การจัดทำแนวการสอบบัญชี เป็นงานขั้นสุดท้ายของการวางแผนการสอบบัญชี เพื่อระบุวิธีการตรวจสอบโดยละเอียด ซึ่งจะพิจารณาจากผลการประเมินความเสี่ยง และต้องกำหนดให้สอดคล้องกับแผนการสอบบัญชีโดยรวมด้วย 2

  6. 5. ปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชี หลังจากที่จัดทำแนวการสอบบัญชีเรียบร้อยแล้ว ผู้สอบบัญชีต้องปฏิบัติงาน สอบบัญชีตามที่กำหนดไว้ในแนวการสอบบัญชี โดยใช้วิธีการตรวจสอบ ดังนี้ 1. ทดสอบการควบคุม 2. ตรวจสอบเนื้อหาสาระ ข้อควรพิจารณา  หากผลการประเมินความเสี่ยงอยู่ในระดับ สูง ผู้สอบบัญชี ไม่ควรใช้วิธีทดสอบการควบคุม 2

  7. การรับน้ำนมดิบ สหกรณ์รวบรวมน้ำนมดิบจากสมาชิกทุกวัน วันละ 2 ครั้ง (เช้าและเย็น)น้ำนมดิบที่รวบรวมจากสมาชิกในแต่ละวันนั้น สหกรณ์จะจัดจำหน่ายให้กับแหล่งรับซื้อนมดิบอื่นบางส่วน เช่น บริษัท เนสเล่ย์ (แห่งประเทศไทย) จำกัด โรงนมผงสวนจิตรลดา และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ น้ำนมดิบส่วนที่เหลือสหกรณ์จะแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นมเพื่อจำหน่ายสู่ท้องตลาดประเภทต่าง ๆได้แก่ นม ยู เอช ที นมพาสเจอร์ไรส์ อาหารเสริม (นม) โรงเรียน นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม โยเกิร์ต เนย และไอศกรีม สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  8. การรับน้ำนมดิบ • การจ่ายเงินค่าน้ำนมดิบให้กับสมาชิก สหกรณ์จะคำนวณค่าน้ำนมดิบให้แก่สมาชิก ทุกงวด 10 วัน และจ่ายเงินให้กับสมาชิกอีก 15 วัน นับจากครบ 10 วัน กล่าวคือ • สมาชิกส่งน้ำนมดิบ ให้กับ สหกรณ์ ระหว่างวันที่ 1 - 10 ของเดือนที่ส่งนม สหกรณ์จะจ่ายเงินค่าน้ำนมดิบให้แก่สมาชิกในวันที่ 25 ของเดือนที่ส่งน้ำนมดิบ • สมาชิกส่งน้ำนมดิบ ระหว่างวันที่ 11 - 20 ของเดือนที่ส่งน้ำนม สหกรณ์จะจ่ายเงินค่าน้ำนมดิบให้แก่สมาชิกวันที่ 5 ของเดือนถัดไป • สมาชิกส่งน้ำนมดิบระหว่าง วันที่ 21-31 ของเดือนที่ส่งน้ำนมดิบ สหกรณ์จะจ่ายค่าน้ำนมดิบให้แก่สมาชิกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ซึ่งเป็นการหมุนชนรอบไปทุกงวดทุกเดือน สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  9. การรับน้ำนมดิบ • การรับนมดิบจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น • แบ่งขั้นตอนของการรับนมดิบออก เป็น 2 เวลา คือ เช้า เย็น • โดยกำหนดกฎเกณฑ์การรับซื้อน้ำนมดิบจากสมาชิก คือ • - ตอนเช้าส่งนมถึงสหกรณ์ ระหว่างเวลา 06.00 - 09.30 น. • - ตอนเย็นส่งนมถึงสหกรณ์ ระหว่างเวลา 17.00 - 20.30 น. สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  10. การรับน้ำนมดิบ สมาชิกนำ น้ำนมดิบมาส่ง ถังรับนมดิบ งานกรรมวิธี เครื่อง บรรจุนม ไซโลแท๊งค์ ถังผสม จำหน่ายนมดิบ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  11. การรับน้ำนมดิบ ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ เก็บตัวอย่างนม เพื่อตรวจคุณภาพนม ถังรับนมดิบ • ค่าความถ่วงจำเพาะ : lactometer • ปริมาณไขมัน : gerber method • ค่าความสะอาด : กรอง • ค่าแบคทีเรีย : methylene bluereduction test • สารปฏิชีวนะตกค้าง : yoghurt test ,negative สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  12. การรับน้ำนมดิบ ใบสำคัญการรับเงินค่าน้ำนมดิบ ประจำงวด 11 /01/2549 ถึง 21/01/2549 สมาชิก 00001 นาย สมชาย เก่งกสิกร สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  13. การรับน้ำนมดิบ เกณฑ์การเพิ่มหรือลดราคาน้ำนมดิบ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  14. การรับน้ำนมดิบ เกณฑ์การเพิ่มหรือลดราคาน้ำนมดิบ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  15. การรับน้ำนมดิบ เกณฑ์การเพิ่มหรือลดราคาน้ำนมดิบ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  16. การตรวจสอบคุณภาพน้ำนมดิบการตรวจสอบคุณภาพน้ำนมดิบ การตรวจสอบคุณภาพน้ำนมดิบ - จะเก็บตัวอย่างนมดิบจากถังนมสมาชิกที่นำมาส่งเพื่อตรวจสอบ ไขมัน แบคทีเรีย ความถ่วงจำเพาะ ผงตะกอนในน้ำนม และความสะอาดของการเลี้ยงโคนม (ข้อมูลจากฝ่ายส่งเสริมทุก 6 เดือน) - การเก็บตัวอย่างน้ำนมดิบ จะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง ในแต่ละครั้งที่สุ่มตัวอย่างติดต่อกันจะไม่ซ้ำประเภทของการสุ่มตัวอย่าง จะหมุนเวียนไปจนครบทุกประเภทของการตรวจ และครบ จำนวนสมาชิกทุกคนภายใน 10 วัน สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  17. การตรวจสอบคุณภาพน้ำนมดิบการตรวจสอบคุณภาพน้ำนมดิบ • เมื่อสุ่มตัวอย่างแล้ว จะตรวจสอบคุณภาพน้ำนมว่าเป็นไปตาม • เกณฑ์มาตรฐานมากน้อย เพียงใดแล้ว กำหนดเพิ่มราคา หรือ • ลดราคาค่าน้ำนมด้วยตามหลักเกณฑ์ที่ทางสหกรณ์กำหนดไว้ • เมื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำนมและกำหนดราคาเพิ่มหรือลดราคา • จากราคามาตรฐานของน้ำนมดิบซึ่งกำหนดไว้ 13.00 บาท/ก.ก. • และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดแล้วจะบันทึก ข้อมูลที่ได้ • ไว้ในบัญชีแจ้งเกรดน้ำนมดิบเป็นรายบุคคล สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  18. การนำน้ำนมดิบเข้าผลิตการนำน้ำนมดิบเข้าผลิต ด้านการผลิต สหกรณ์รายงานข้อมูลการนำน้ำนมดิบเข้าผลิต โดยใช้หน่วยของปริมาณเป็นกิโลกรัม ในทางปฏิบัติฝ่ายผลิตนำน้ำนมดิบเข้าผลิต โดยผ่านโฟร์มิเตอร์มีหน่วยเป็น ลิตรหรือใช้ค่าประมาณการ ตามขีดข้างถังนมทำให้มียอดแตกต่างของน้ำนมดิบที่ใช้ในการผลิตในแต่ละล็อต สหกรณ์จึงไม่ทราบยอดการใช้น้ำนมดิบที่ แท้จริง สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  19. กระบวนการผลิตและการควบคุมกระบวนการผลิตและการควบคุม รับยอดสั่งนม จากฝ่ายการตลาด คำนวณยอดสั่งผลิต และจัดทำใบสั่งผลิต อนุมัติใบสั่งผลิตและใบเบิกวัตถุดิบ แผนกบรรจุนมพาสฯ แผนกกรรมวิธีการผลิต แผนกบรรจุนมยู เอช.ที คลังวัสดุภัณฑ์ คลังวัสดุภัณฑ์ คลังวัตถุดิบ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  20. กระบวนการผลิตและการควบคุมกระบวนการผลิตและการควบคุม แผนกบรรจุนมพาสฯ แผนกกรรมวิธีการผลิต แผนกบรรจุนมยู เอช.ที เก็บตัวอย่างตรวจคุณภาพ เก็บตัวอย่างตรวจคุณภาพ คลังสินค้า (ไอศกรีม,เนย) คลังสินค้า (ยู.เอช.ที) คลังสินค้า (พาสฯ) สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  21. วิเคราะห์เปรียบเทียบ การวิเคราะห์การใช้วัตถุดิบและวัสดุในการผลิต มาตรฐานการสอบบัญชี ฉบับ 500 ข้อ 25 ได้กล่าวว่า การวิเคราะห์เปรียบเทียบ ประกอบด้วย การวิเคราะห์อัตราส่วนและแนวโน้มที่สำคัญ รวมทั้งการตรวจสอบผลของการเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น หรือเบี่ยงเบนไปจากจำนวนที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับมาตรฐานการสอบบัญชี ฉบับ 520 ข้อ 5 ได้กล่าวว่าการวิเคราะห์เปรียบเทียบรวมถึงการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ของข้อมูลทางการเงินว่าเป็นไปตามที่คาดหมายไว้ตามประสบการณ์ของกิจการ และระหว่างข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่นที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน

  22. วิเคราะห์เปรียบเทียบ การนำวัตถุดิบเข้าแปรรูป นมดิบ เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตและแปรรูป ได้มาโดยวิธีการรวบรวมจากสมาชิก คิดมูลค่าตามน้ำหนัก การนำเข้าผลิตมีใบสั่งผลิตเป็นกิโลกรัม แต่นำเข้าผลิต โดยผ่าน Flow Meter ซึ่งอ่านค่าเป็นลิตร ใช้หลักการแปลงค่าเป็นปริมาตร โดยใช้ความถ่วงจำเพาะ (ถพ.) น้ำตาลทราย เป็นวัตถุดิบส่วนผสม นำเข้าผสมอ่านค่าเป็นน้ำหนัก โดยใช้ผสมตาม อัตราส่วน น้ำตาลทราย 2 ส่วน ต่อน้ำ 1 ส่วน หรือ 2:1 นมผง (หางนม) เป็นวัตถุดิบส่วนผสม นำเข้าผสม ซึ่งอ่านค่าเป็นน้ำหนัก โดยใช้ผสมตาม อัตราส่วน นมผง 1 ส่วนต่อน้ำ 9 ส่วน หรือ 1:9 ผงโกโก้และกาแฟ เป็นวัตถุดิบส่วนผสม นำเข้าผสม ซึ่งอ่านค่าเป็นน้ำหนัก สำหรับน้ำตาลทรายและนมผง (หางนม) ในการผสมบางครั้งจะไม่ละลายน้ำเพื่อทำการผสมแต่ใช้วิธีผสมโดยใช้น้ำนมดิบผสมแทน

  23. วิเคราะห์เปรียบเทียบ การคำนวณการใช้วัตถุดิบ การคำนวณใช้ค่าความถ่วงจำเพาะหรือ ถ.พ. ของนมที่ผสมแล้วในแต่ละรสชาติที่กำหนดค่าความถ่วงจำเพาะหรือค่า ถ.พ.ไว้เพื่อแปลงค่าจากค่าน้ำหนัก(กิโลกรัม) เป็นค่าปริมาตร(ลิตร) เนื่องจากวัตถุดิบที่นำเข้าผสมมีค่าเป็นน้ำหนัก(กิโลกรัม) แต่ผลผลิตที่ได้มีค่าเป็นปริมาตร(ลิตร) ทำให้ไม่ทราบว่าในการผลิตแต่ละครั้งมีปริมาณนมที่ผสมแล้วจำนวนกี่ลิตร เมื่อแปลงค่าน้ำหนัก(กิโลกรัม) เป็นค่าปริมาตร(ลิตร)ได้แล้วนำมาเทียบกับผลผลิตที่ได้ โดยนำจำนวนสินค้าที่ผลิตได้คำนวณยอดปริมาณน้ำนมที่ผสมแล้วบรรจุเป็นผลิตภัณฑ์มีปริมาณเท่าไร เทียบกับนมที่ผสมแล้วรอการบรรจุ ความถ่วงจำเพาะ(Lacto meter) เป็นอัตราส่วนของน้ำหนักของเหลว เมื่อเทียบน้ำหนักที่ปริมาตรเดียวกัน แต่ปริมาตรของเหลวมีการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ ดังนั้น การบอก ค่าความถ่วงจำเพาะจึงต้องระบุอุณหภูมิ

  24. วิเคราะห์เปรียบเทียบ ความถ่วงจำเพาะตามช่วงเวลา และกำหนดถือใช้ ดังนี้ น้ำนมดิบ มีความถ่วงจำเพาะ 1.027 - 1.032 นมสดรสจืด มีความถ่วงจำเพาะ 1.027 - 1.032 นมสดรสหวาน มีความถ่วงจำเพาะ 1.044 - 1.046 นมสดรสช็อคโกแลต มีความถ่วงจำเพาะ 1.050 - 1.056 นมสดรสกาแฟ มีความถ่วงจำเพาะ 1.055 - 1.056 นมสดรสน้ำอ้อย มีความถ่วงจำเพาะ 1.044 นมสดพร่องมันเนยรสชาเขียวใบเตย มีความถ่วงจำเพาะ 1.047 - 1.049 นมสดพร่องมันเนยรสวนิลามอลล์ มีความถ่วงจำเพาะ 1.047 - 1.048 นมสดพร่องมันเนยรสใยอาหาร มีความถ่วงจำเพาะ 1.037 - 1.038

  25. วิเคราะห์เปรียบเทียบ การใช้วัตถุดิบผสม (น้ำตาลทราย/ผงโกโก้/ผงกาแฟ) วัตถุดิบที่ใช้ผสมน้ำนมดิบตามสูตรการผลิตในแต่ละรสชาติ โดยยึดหลักตามสัดส่วนน้ำนมดิบ 10 ตัน ต่อน้ำตาลทราย/ผงโกโก้/ผงกาแฟ ตามสูตร ที่กำหนดขึ้น ดังนี้ - ในการผลิตนมสดรสหวาน ใช้น้ำตาลทราย 450 กิโลกรัม ต่อ น้ำนมดิบ 10 ตัน - ในการผลิตนมสดรสช็อคโกแลต ใช้น้ำตาลทราย 583 กิโลกรัม ใช้ผงโกโก้ 76 กิโลกรัม ต่อน้ำนมดิบ 10 ตัน - ในการผลิตนมสดรสกาแฟ ใช้น้ำตาลทราย 576 กิโลกรัม ใช้ผงกาแฟ 51 กิโลกรัม ต่อน้ำนมดิบ 10 ตัน

  26. วิเคราะห์เปรียบเทียบ นมรสหวานใช้น้ำนมดิบ 10,000 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 450 กิโลกรัม R.S. 10 กิโลกรัม เป็นนมที่ผสมแล้ว 10,460 กิโลกรัม การแปลงค่าหน่วยวัดเป็นปริมาตร โดยใช้ค่าความถ่วงจำเพาะช่วยในการคำนวณ ดังนี้ ปริมาตรมวล = น้ำหนักมวล ความถ่วงจำเพาะ แปลงค่าหน่วยวัดเป็นปริมาตรได้ 10,460 = 10,000 ลิตร จะได้นมที่ผสมแล้วจำนวน 10,000 ลิตร ใช้น้ำตาลทราย 450 กิโลกรัม 1.046

  27. วิเคราะห์เปรียบเทียบ นมรสช็อคโกแลตใช้น้ำนมดิบ 10,000 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 583 กิโลกรัม ผงโกโก้ 76 กิโลกรัม PG 23 12 กิโลกรัม เป็นนมที่ผสมแล้ว 10,671 กิโลกรัม แปลงค่าหน่วยวัดเป็นปริมาตรได้ 10,671 = 10,124.29 ลิตร จะได้นมที่ผสมแล้ว จำนวน 10,124.29 ลิตร ใช้น้ำตาล 583 กิโลกรัม และใช้ผงโกโก้ 76 กิโลกรัม 1.054

  28. ปัจจัยที่มีผลต่อการสูญเสียปัจจัยที่มีผลต่อการสูญเสีย การรับน้ำนมดิบ • ความถ่วงจำเพาะของน้ำนม อุณหภูมิของน้ำนม • ความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัน (flow meter) • ชุดอุปกรณ์การรับน้ำนมดิบเกิดขัดข้อง(ระบบไฟฟ้า ระบบ Boiler ) • มีน้ำนมดิบจากสมาชิกที่มีการปนน้ำมา สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  29. ปัจจัยที่มีผลต่อการสูญเสียปัจจัยที่มีผลต่อการสูญเสีย การรับน้ำนมดิบ • ขั้นตอนของการปฏิบัติงาน • ช่วงการไล่น้ำก่อนเข้าเครื่องฆ่าเชื้อและหลังจากฆ่าเชื้อ • น้ำนมดิบแล้ว • น้ำนมดิบตกค้างใน silo tank เนื่องจากรูปแบบของถัง สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  30. ปัจจัยที่มีผลต่อการสูญเสียปัจจัยที่มีผลต่อการสูญเสีย การรับน้ำนมดิบ • ขั้นตอนของการปฏิบัติงาน • การส่งน้ำนมตามท่อเพื่อนำไปผสม หรือส่งไปโรงงานผลิต • (บรรจุนมพาสเจอร์ไรส์และบรรจุนม UHT) • การไล่นมหน้าเครื่องก่อนการบรรจุแต่ละรสชาติ • เครื่องฆ่าเชื้อขัดข้อง สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  31. เกณฑ์ที่ใช้ในการควบคุมการผลิตเกณฑ์ที่ใช้ในการควบคุมการผลิต นมพาสเจอร์ไรส์ 1 ตัน ผลผลิตที่ได้ ขนาด 200 cc. 4,800ซอง 150 cc. 6,000 ซอง ผลผลิตที่ได้ ขนาด 250 cc. 82 หีบ 200 cc. 130 หีบ 180 cc. 110 หีบ 200 cc. ฟีโน่ 90 หีบ นม ยู เอช ที 1 ตัน สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  32. เกณฑ์ที่ใช้ในการควบคุมการผลิตเกณฑ์ที่ใช้ในการควบคุมการผลิต นมเปรี่ยวพาสเจอร์ไรส์ 1 ตัน ผลผลิตที่ได้ ขนาด 150 cc. 6,000ซอง 140 cc. 6,500 ซอง สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  33. สิ่งที่ควรมอง กรณีสหกรณ์รับน้ำนมดิบด้วยถังกลาง • เจ้าหน้าที่ที่ยกถังเทน้ำนมหมดหรือไม่ • ปริมาณน้ำนมดิบของสมาชิกที่ส่งมีความผิดปกติหรือไม่ • เจ้าหน้าที่สหกรณ์ผู้บันทึกน้ำหนักน้ำนมมีการปรับเปลี่ยนมากน้อยเพียงใด สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  34. สิ่งที่ควรมอง กรณีสหกรณ์รับน้ำนมดิบด้วยถังของสมาชิก • เจ้าหน้าที่ที่ยกถังเทน้ำนมหมดหรือไม่ • สหกรณ์ใช้เกณฑ์ค่าน้ำหนักของถังน้ำนมเหมาะสมหรือไม่ • สหกรณ์มีการทดสอบน้ำหนักของถังน้ำนมสม่ำเสมอหรือไม่ • ถังน้ำนมที่สมาชิกใส่น้ำนมมาส่งให้สหกรณ์ เป็นมาตรฐาน • เดี่ยวกันหมดหรือไม่ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  35. ข้อสำคัญ การรับน้ำนมดิบจากสมาชิก ทั้ง 2 วิธี เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำนมดิบขาดและเกินบัญชี สิ่งที่ผู้สอบบัญชีควรนำเสนอ • ให้ข้อเสนอแนะ แนวทางในการแก้ไข เพื่อปิดจุดอ่อนที่เกิดขึ้นในแต่ละประเด็น • ควรให้สหกรณ์มีการทดสอบหาเกณฑ์การสูญเสียที่สามารถยอมรับได้ อย่างสมเหตุสมผล สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

  36. ตารางวิเคราะห์เปรียบเทียบนมที่ผสมแล้วกับการบรรจุตารางวิเคราะห์เปรียบเทียบนมที่ผสมแล้วกับการบรรจุ

  37. สวัส..ดี สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ราชบุรี

More Related