770 likes | 1.88k Views
โครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.). โครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันมี ศพค. จำนวน 4,252 ศูนย์ ใน 75 จังหวัด โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้ ปี 2547 ดำเนินการลงนามบันทึกข้อตกลงกับหน่วยงานต่างๆ 6 หน่วยงาน
E N D
โครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) โครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันมี ศพค. จำนวน 4,252 ศูนย์ ใน 75 จังหวัด โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้ ปี 2547 ดำเนินการลงนามบันทึกข้อตกลงกับหน่วยงานต่างๆ 6 หน่วยงาน ได้แก่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการปกครอง กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต กรมการพัฒนาชุมชน และกรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมดำเนิน โครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ปี 2548 คัดเลือก ศพค.ต้นแบบ จำนวน 20 ศูนย์ (20 จังหวัด) ปี 2549 ดำเนินการพัฒนาศักยภาพการเป็นวิทยากรกระบวนการแก่ ศพค. ต้นแบบ 20 ศูนย์
โครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) • ปี 2550 ดำเนินโครงการ ศพค.นำร่อง จำนวน 6 ศูนย์ (6 จังหวัด) • ปี 2550 คัดเลือก ศพค.เฉลิมพระเกียติ จำนวน 75 ศูนย์ (75 จังหวัด) และดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานในปีงบประมาณ 2551 • ปี 2550 ดำเนินโครงการ ศพค. ในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว จำนวน 25 ศูนย์ ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา และนครศรีธรรมราช • ปี 2550 ดำเนินโครงการ ศพค.รูปแบบใหม่ ร่วมกับยูนิเซฟ จำนวน 16 ศูนย์ ในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง และสตูล
การดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนดการดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนด ปีงบประมาณ 2551 สำนักส่งเสริมสถาบันครอบครัว ได้กำหนดเกณฑ์ การดำเนินงาน ซึ่งได้นำไปใช้กับ ศพค.เฉลิมพระเกียรติ ทั้ง 75 ศูนย์ โดยมี รายละเอียดของเกณฑ์แต่ละข้อ ดังนี้ • เกณฑ์ข้อที่ 1 มีเครือข่ายการเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาครอบครัว ศพค. มีเครือข่ายในการเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาครอบครัวโดยการแบ่งพื้นที่ให้คณะทำงานสามารถดูแลทุกครอบครัวในชุมชนได้อย่างทั่วถึงและเอื้อต่อการกระจายข่าวสารของ ศพค.
การดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนดการดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนด • เกณฑ์ข้อที่ 2 มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวอย่างต่อเนื่อง ศพค. มีการจัดกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการส่งเสริมความเข้มแข็งและสร้างเสริมความอบอุ่นให้แก่สถาบันครอบครัวอย่างต่อเนื่อง • เกณฑ์ข้อที่ 3 มีช่องทางในการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย ศพค. มีช่องทางที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร กิจกรรม ของศพค. ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม วิถีชีวิตและทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่
การดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนดการดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนด • เกณฑ์ข้อที่ 4 คณะทำงานสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัว ศพค.มีคณะทำงานที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัวให้แก่ประชาชนในชุมชน หรือสามารถดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆได้ • เกณฑ์ข้อที่ 5 สามารถจัดหาทรัพยากรจากหน่วยงานอื่นมาสนับสนุนในการดำเนินงาน ศพค. มีเครือข่าย ช่องทางในการแสวงหาความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ในการขอรับการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมของ ศพค. ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ วิทยากร เป็นต้น
ผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนดผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนด ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ของ ศพค.เฉลิมพระเกียรติ 75 ศูนย์ พบว่า มีการดำเนินงานผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 66 ศูนย์ ในส่วนของ ศพค. ที่ยังดำเนินงานไม่ครบ พบว่าเกณฑ์ที่ยังไม่ชัดเจน และไม่สามารถดำเนินการได้ คือ เกณฑ์ข้อที่ 1 และ 4 • เกณฑ์ข้อที่ 1 เครือข่ายที่จัดตั้งยังไม่มีการมอบหมายบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน • เกณฑ์ข้อที่ 4 คณะทำงานยังไม่สามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ ได้เอง โดยยังเน้นการเชิญวิทยากรจากภายนอกมาดำเนินการให้
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ • เกณฑ์ข้อที่ 1: มีเครือข่ายการเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาครอบครัว • คณะทำงานไม่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านครอบครัว ยังเน้นการประชุมและตรวจเยี่ยมประสานกับเครือข่ายในหมู่บ้าน • ครอบครัวที่มีปัญหาไม่ยอมรับปัญหาของตนเอง ทำให้การเก็บข้อมูลไม่ได้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง • การทำงานต้องอาศัยความใกล้ชิด แต่คณะทำงานเป็นเครือข่ายของหลายองค์กร ทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่ได้บ่อย • ขาดบุคลากรที่เป็นคนรุ่นใหม่ๆ ที่จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ • เกณฑ์ข้อที่ 2 มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวอย่างต่อเนื่อง • กลุ่มเป้าหมายไม่สามารถเข้าร่วมจนแล้วเสร็จกิจกรรม ทำให้ขาดความต่อเนื่อง • ขาดผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำหลักสูตรกิจกรรม • งบประมาณมีจำนวนจำกัด • ประชาชนยังต้องประกอบอาชีพ การจัดกิจกรรมต่างๆ จึงต้องพิจารณาจังหวะเวลาให้เหมาะสมกับสภาพวิถีชีวิตของชุมชน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความพึงพอใจ
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ • เกณฑ์ข้อที่ 3 มีช่องทางในการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย • ขาดงบประมาณในกรณีสื่อประชาสัมพันธ์ที่ต้องใช้เทคโนโลยี • บางพื้นที่หอกระจายข่าว หรือเสียงตามสายยังเข้าไม่ถึง • ขาดบุคลากรในการทำงานด้านประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะ จึงทำให้การประชาสัมพันธ์มีการทำเป็นครั้งๆไป ขาดความต่อเนื่อง และขาดรูปแบบที่หลากหลาย • การประชาสัมพันธ์ยังเน้นหนักในเรื่องข่าวการจัดกิจกรรมต่างๆ ควรเพิ่มเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้ที่ประชาชนสามารถนำไปปรับใช้ในครอบครัวได้
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ • เกณฑ์ข้อที่ 4 คณะทำงานสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัว • คณะทำงานขาดความมั่นใจในการเป็นวิทยากร อย่างไรก็ตามต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อยๆ • ขาดองค์ความรู้เฉพาะด้าน ซึ่ง อบต. ได้พยายามสนับสนุนให้เข้าร่วมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรในประเด็นอื่นๆ
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์ • เกณฑ์ข้อที่ 5 สามารถจัดหาทรัพยากรจากหน่วยงานอื่นมาสนับสนุน ในการดำเนินงาน การดำเนินการตามเกณฑ์ข้อนี้ ไม่ค่อยพบปัญหาอุปสรรค เนื่องจากผลการทำงานของ ศพค. เป็นที่ประจักษ์ ดังนั้นเมื่อขอความร่วมมือจากหน่วยงานใด ก็จะได้รับการช่วยเหลือด้วยดี นอกจากบางกรณี เช่น ปัญหาการเมืองท้องถิ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารของ อบต. อย่างไรก็ตาม กิจกรรมต่างๆของ ศพค. เป็นกิจกรรมที่ทำกับกลุ่มครอบครัวในชุมชนอยู่แล้ว การที่ อบต. ให้การสนับสนุนก็จะเป็น การสร้างฐานให้แก่ อบต. เอง อีกทั้งรูปแบบกิจกรรมของ ศพค. ไม่ได้มีผลประโยชน์กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ
การพัฒนามาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนการพัฒนามาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ในปีงบประมาณ 2552 สำนักส่งเสริมสถาบันครอบครัวได้ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการพัฒนาเกณฑ์ 5 ข้อ เพื่อจัดทำเป็น มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ซึ่งในเบื้องต้นจะดำเนินการร่วมกับ ศพค. ใน 75 จังหวัดๆ ละ 4 ศูนย์
มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน • มาตรฐานที่ 1 : การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาครอบครัว ตัวชี้วัดที่ 1 สัดส่วนเครือข่ายต่อประชาชนในชุมชน • มาตรฐานที่ 2 : การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว ตัวชี้วัดที่ 2 จำนวนกิจกรรม ตามขนาดของ อบต. ตัวชี้วัดที่ 3 ร้อยละการมีส่วนร่วมของประชาชน • มาตรฐานที่ 3 : การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัว ตัวชี้วัดที่ 4 ร้อยละของการเข้าถึงการประชาสัมพันธ์ของประชาชนในพื้นที่ ตัวชี้วัดที่ 5 ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าใจการประชาสัมพันธ์ • มาตรฐานที่ 4 : การถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัว ตัวชี้วัดที่ 6 ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้าใจในการถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัว ตัวชี้วัดที่ 7 จำนวนวิทยากรของคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน • มาตรฐานที่ 5 : การประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินงาน ตัวชี้วัดที่ 8 จำนวนกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรจากหน่วยงานอื่น
เครื่องมือชี้วัดมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเครื่องมือชี้วัดมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน • เครื่องมือชี้วัดมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน หมายถึง เครื่องมือในการประเมินประสิทธิภาพของสิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามภารกิจ (ผลผลิต) ของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน โดยในที่นี้คือแบบรายงาน ศพค.มฐ. ซึ่งประกอบไปด้วย - แบบรายละเอียดข้อมูลทั่วไป - แบบรายงานผลตามการดำเนินงานแต่ละข้อ ได้แก่ แบบ ศพค.มฐ.1 – ศพค.มฐ.5 - แบบประเมินเพื่อประกอบการดำเนินงาน ได้แก่ แบบ ศพค.มฐ.3-1 และ แบบ ศพค.มฐ.4-1
แบบ ศพค.มฐ. แสดงรายละเอียดข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย • ที่ตั้ง ศพค. (ตำบล/อำเภอ/จังหวัด/ปีที่จัดตั้ง) • จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครอบครัวทั้งตำบล ชื่อหมู่บ้าน และจำนวนครอบครัวในแต่ละหมู่บ้าน • จำนวนคณะทำงาน รายชื่อ ตำแหน่งในคณะทำงาน และอาชีพหลักของคณะทำงานแต่ละคน • ช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่มีในชุมชน และช่องทางที่ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ใช้ในการประชาสัมพันธ์ • วันที่รายงาน/ผู้รายงาน/ตำแหน่ง • ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์ของผู้ทำหน้าที่ประสานการดำเนินงาน ศพค. ที่สามารถติดต่อได้ ตย 1
มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน • มาตรฐานที่ 1: การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาครอบครัว เครือข่ายเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาครอบครัว หมายถึง การรวมตัวกันของประชาชนในชุมชน ในการเชื่อมประสานการทำงานระหว่าง ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ร่วมกับประชาชนในชุมชน เพื่อสำรวจข้อมูลด้านครอบครัว แล้วนำมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาครอบครัว ที่เกิดขึ้นในชุมชน รวมทั้งปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน ประกอบกับดำเนินการหาแนวทาง วิธีการในการแก้ไข และแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น กล่าวคือมีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน การร่วมกันวิเคราะห์และตัดสินปัญหา รวมทั้งหาแนวทางในการแก้ไข โดยมีตัวบุคคลที่เป็นคนรับผิดชอบในการติดต่อประสานงานที่ชัดเจน
มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตย 2
มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน • มาตรฐานที่ 2: การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว หมายถึง การดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนในท้องถิ่น ผู้นำของชุมชน และหน่วยงานในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อก่อให้เกิดความเป็นเจ้าของ นำมาสู่กิจกรรมที่อยู่ในความสนใจของชุมชนและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชนนั้นๆ สามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตย 3
มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตย 3
มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน • มาตรฐานที่ 3: การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัว การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัว หมายถึง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัวและการดำเนินงานของ ศพค. ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและมีความรู้ความเข้าใจ ผ่านช่องทางการสื่อสารหลายรูปแบบที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่นของชุมชน เช่น สื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่อกิจกรรม เป็นต้น
มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตย ตย-1
มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน
แบบประเมิน ศพค.มฐ. 3-1 แบบประเมิน ศพค.มฐ. 3-1 คือ แบบประเมินการเข้าถึงและความเข้าใจการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัว ของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน จัดทำขึ้นเพื่อประเมินผลการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานและข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัวของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงในครั้งต่อไป ตย-1
วิธีการใช้แบบประเมิน ศพค.มฐ. 3 -1 ให้ประชาชนกลุ่มตัวอย่างกรอกข้อมูลว่า • ในรอบปีที่ผ่านมาได้รับทราบข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัว หรือข่าวการจัดกิจกรรมของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน จากช่องทางการประชาสัมพันธ์ช่องทางใดบ้าง • ท่านมี ความเข้าใจในเนื้อหาสาระ ที่ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนประชาสัมพันธ์มากน้อยเพียงใด ในข้อคำถามนี้จะเป็นการสอบถามความเข้าใจในภาพรวมของช่องทางการประชาสัมพันธ์ไม่ว่าผู้ตอบแบบประเมินจะเลือกช่องทางใดก็ตาม • ข้อเสนอแนะ เพิ่มเติมในการปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัวของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตย-1
วิธีการแปรผลข้อมูลศพค.มฐ. 3 -1 • ในแต่ละช่องทางที่ ศพค. มีการใช้เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัว จะต้องมีการเข้าถึงอย่างน้อยร้อยละ 70 ของประชาชนกลุ่มตัวอย่าง • ให้คณะทำงานหรือเจ้าหน้าที่รายงานผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน โดยนำค่าร้อยละที่ได้ของแต่ละช่องทางไปใส่ในแบบรายงาน ศพค.มฐ. 3 ในช่องร้อยละการเข้าถึงช่องทางประชาสัมพันธ์ (แต่ละช่องทาง) • สำหรับการวัดร้อยละความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนประชาสัมพันธ์ ให้นับเฉพาะผู้ที่ตอบว่า มาก หรือ มากที่สุด (เช่น ถ้ามีการจัดเก็บแบบประเมิน 100 ชุด มีผู้ตอบว่ามีความเข้าใจ มาก หรือ มากที่สุด จำนวน 75 ชุด แสดงว่ามีความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 75)
มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน • มาตรฐานที่ 4: การถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัว การถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัว หมายถึง คณะทำงานศพค. มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจด้านครอบครัว รวมทั้งปรับใช้ความรู้ที่ได้รับมาถ่ายทอดให้ประชาชนในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญและเสริมสร้างความอบอุ่น เข้มแข็ง ก่อให้เกิดสัมพันธภาพอันดีในครอบครัว
มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตย ตย-1
มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตย
แบบประเมิน ศพค.มฐ. 4-1 แบบประเมิน ศพค.มฐ. 4-1 คือ แบบประเมินความเข้าใจการถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัวของคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน จัดทำขึ้นเพื่อประเมินผลคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนที่ทำหน้าที่เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัว เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงในครั้งต่อไป
วิธีการใช้แบบประเมิน ศพค.มฐ. 4 -1 แบบประเมิน ศพค.มฐ.4-1 จัดทำขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน โดยเป็นเครื่องมือในการประเมินการทำหน้าที่ของคณะทำงาน (ที่ทำหน้าที่วิทยากร) เป็นรายบุคคล • สำหรับค่าคะแนนที่จะต้องประมวลผลเพื่อนำไปใส่ใน แบบรายงาน ศพค.มฐ.4 คือ คำถามข้อที่ 11ท่านมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่วิทยากรถ่ายทอดในระดับใด
วิธีการแปรผลข้อมูลศพค.มฐ. 4 -1 • การวัดร้อยละความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่วิทยากรถ่ายทอด นั้น ให้นับเฉพาะผู้ที่ตอบว่า มาก หรือ มากที่สุด • ให้คณะทำงานหรือเจ้าหน้าที่รายงานผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน โดยนำค่าร้อยละที่ได้ไปใส่ในแบบรายงาน ศพค.มฐ. 4 ในช่องร้อยละความเข้าใจ โดยใส่ให้ตรงกับโครงการ/กิจกรรมที่นายสมชายฯ ทำหน้าที่เป็นวิทยากร
มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน • มาตรฐานที่ 5: การประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินงาน การประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินงาน หมายถึง การประสานความร่วมมือ หรือการได้รับการสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ จากหน่วยงานอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อใช้ในการดำเนินงานหรือการจัดกิจกรรมของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน
มาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตย
การส่งรายงานผลการดำเนินงานการส่งรายงานผลการดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ต้องส่งรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตามแบบ ศพค.มฐ. ให้แก่สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ปีละ 2 ครั้ง ดังนี้ • ครั้งที่ 1 ภายในเดือน มีนาคม (ในปี 2552 ภายใน เดือนพฤษภาคม) • ครั้งที่ 2 ภายในเดือน สิงหาคม
ช่องทางการส่งรายงานผลการดำเนินงานช่องทางการส่งรายงานผลการดำเนินงาน • ส่งผ่านสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด • ส่งตรงถึงสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ซึ่งสามารถส่งได้หลายช่องทาง ดังนี้ • ทางไปรษณีย์ ส่งถึง สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เลขที่ 255 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 • ทางโทรสาร หมายเลข0 2306 8982 • ทางอีเมล์ : family_center08@hotmail.com สอบถามรายละเอียดทางโทรศัพท์หมายเลข 0 2306 8773