100 likes | 201 Views
ทันตก รรม. ข้อ 2 รายการวัสดุทันตกรรมที่มีมูลค่าการใช้รวม สูง หรือมีปริมาณ มาก ให้ดำเนินการ จัดซื้อร่วมในระดับจังหวัดและระดับเขตบริการสุขภาพ (ตามบัญชีรายการแนบท้าย)
E N D
ทันตกรรม ข้อ 2 รายการวัสดุทันตกรรมที่มีมูลค่าการใช้รวมสูงหรือมีปริมาณมาก ให้ดำเนินการ จัดซื้อร่วมในระดับจังหวัดและระดับเขตบริการสุขภาพ (ตามบัญชีรายการแนบท้าย) ข้อ 3 ให้คณะกรรมการตามข้อ 1 ของประกาศนี้จัดทำบัญชีรายการร่วม จัดทำแผนการจัดซื้อร่วม ต่อรองราคาร่วม ในระดับจังหวัดและระดับเขตบริการสุขภาพ ข้อ 4 การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุทันตกรรมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล หรือหน่วยงานย่อย ให้ดาเนินการในระดับจังหวัด ระดับอาเภอ หรือระดับหน่วยบริการหลัก (CUP) เพื่อให้มีขนาดที่เหมาะสม
ทันตกรรม ข้อ 5 รายการวัสดุทันตกรรมที่มีราคาแพง หรือวัสดุรายการเฉพาะ เช่น ทันตกรรมรากฟันเทียม วัสดุรักษารากฟัน ทันตกรรมประดิษฐ์ ทันตกรรมจัดฟัน เป็นต้น คณะกรรมการ ระดับจังหวัดต้องจัดระบบกำกับการจัดซื้อจัดหา และการเบิกจ่าย ข้อ 6 การจ้างเหมาเอกชน เพื่อ ให้การตรวจวินิจฉัย รักษา ส่งเสริมป้องกัน และฟื้นฟู ต้องจัดทาในรูปคณะกรรมการ ในระดับโรงพยาบาลชุมชนขึ้นไป
เทคนิคการแพทย์ ข้อ 3 กำหนดให้มีการพัฒนาระบบการส่งตรวจต่อตัวอย่างภายในเครือข่ายทุกระดับ โดยควรมีพัฒนาระบบการขนส่งตัวอย่าง ระบบการรายงานผลผ่านระบบ Internet และระบบการ Clearing House โดยคณะกรรมการพัฒนาระบบคุณภาพทางห้องปฏิบัติการระดับจังหวัด และระดับเขตบริการสุขภาพ หรือหน่วยราชการ ส่วนราชการ กรณีที่ภายในเครือข่ายบริการสุขภาพไม่สามารถให้บริการตรวจวิเคราะห์ได้ ให้พิจารณามีการส่งต่อหน่วยงานเอกชนโดยให้มีการกำหนดการจัดจ้างร่วมภายในเครือข่ายบริการสุขภาพ หรือส่วนราชการ
เทคนิคการแพทย์ ข้อ 4กำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาการใช้บริการทางห้องปฏิบัติการ โดยให้มีคณะกรรมการพิจารณาการใช้บริการทางห้องปฏิบัติการในระดับจังหวัด โดยมีหน้าที่ ดังนี้ 4.1กำหนดแนวทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ดีทั้งรายการการตรวจที่จำเป็น ความถี่ในการตรวจ เงื่อนไขในการตรวจ เป็นต้น 4.2กำหนดรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นพื้นฐานในการให้บริการในแต่ละระดับ ตั้งแต่ รพ.สต. รพช. รพศ./รพท.
เทคนิคการแพทย์ 4.3กำหนดรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ควรตรวจแบบรวมศูนย์ในระดับจังหวัด และระบบการรับส่ง ตัวอย่าง และการแจ้งผล เพื่อให้ทันต่อการให้บริการผู้ป่วย 4.4 วางแผนในการดำเนินการเพื่อการจัดซื้อจัดหาร่วมกันและรวมถึงการส่งต่อหน่วยงานเอกชนเพื่อการตรวจทางห้องปฏิบัติการทีมีประสิทธิภาพสูงสุด 5.7.1 ให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการอย่างสมเหตุสมผล ในรายการตรวจวิเคราะห์ที่มีความสาคัญหรือมีมูลค่าสูง
ข้อพิจารณา • ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาพ.ศ. 2543 ,2546 • ข้อ 7. ให้หน่วยราชการหรือส่วนราชการจัดทำ แผนการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาประจำ ปี ตามแบบที่ส่วนราชการกำ หนด เมื่อจัดทำ แผนเสร็จแล้ว ให้เสนอคณะกรรมการตามข้อ 5 (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี พิจารณาให้ความเห็นแล้วนำ เสนอหัวหน้าหน่วยราชการหรือหัวหน้าส่วนราชการให้ความเห็นชอบ จากนั้นให้ดำ เนินการให้เป็นไปตามแผน • ในกรณีที่มีความจำเป็นไม่สามารถดำ เนินการให้เป็นไปตามแผนได้ ให้เสนอคณะกรรมการตามข้อ 5(1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี พิจารณาให้ความเห็นและต้องได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าหน่วยราชการหรือหัวหน้าส่วนราชการก่อนดำ เนินการ
ข้อพิจารณา • ทำตามระเบียบพัสดุ น้อยกว่าไม่ได้ มากกว่าได้ถ้าไม่ขัดแย้ง egp • ซื้อวัสดุจากร้านเดียวกัน ราคาไม่เท่ากัน • รายไตรมาส ปรับแผน นอกแผน วงเงิน • ใครยืม ใครอนุมัติ • จ้างทำฟัน จ้างตรวจlab ก่อน ขออนุมัติทีหลัง • กรรมการตรวจรับ ไม่คิดค่าปรับ รู้ตัวหรือเปล่า ซื้อ 5 วันทำการ จ้าง 3 วันทำการ มติเอกฉันท์ ข้อ 36 ส่งมอบ จนท.พัสดุ ข้อ 71 • เอกสาร
ระเบียบพัสดุ ข้อ ๖๐การซื้อยาของส่วนราชการ ให้จัดซื้อตามชื่อสามัญ (GENERIC NAME) ในบัญชียาหลักแห่งชาติตามที่คณะกรรมการแห่งชาติทางด้านยากำหนด โดยให้ใช้เงินงบประมาณจัดซื้อยาดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ๖๐ เว้นแต่ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ใช้เงินงบประมาณจัดซื้อยาดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ๘๐ ข้อ๖๑การซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา เช่นผ้าก๊อส สำลีหลอดฉีดยา เข็มฉีดยา เฝือก วัสดุทันตกรรม ฟิล์มเอกซเรย์ และเภสัชเคมีภัณฑ์ ซึ่งองค์การเภสัชกรรมได้ผลิตออกจำหน่ายแล้ว ให้จัดซื้อจากองค์การเภสัชกรรม นอกจากส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้จัดซื้อจากโรงงานเภสัชกรรมทหาร ส่วนกรมตำรวจจะซื้อจากองค์การเภสัชกรรมหรือโรงงานเภสัชกรรมทหารก็ได้ โดยให้ดำเนินการด้วยวิธีกรณีพิเศษ แต่ทั้งนี้ราคายาที่องค์การเภสัชกรรมหรือโรงงานเภสัชกรรมทหารจำหน่ายต้องไม่สูงกว่าราคากลางของยาชื่อสามัญเดียวกันที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเกินร้อยละ ๓
ระเบียบพัสดุ ข้อ๖๒การซื้อยาตามชื่อสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ซึ่งองค์การเภสัชกรรมมิได้เป็นผู้ผลิตแต่มีจำหน่ายส่วนราชการจะจัดซื้อจากองค์การเภสัชกรรม หรือผู้ขาย หรือผู้ผลิตรายใดก็ได้ ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้ (๑) การจัดซื้อโดยวิธีสอบราคาหรือประกวดราคาให้ส่วนราชการแจ้งให้องค์การเภสัชกรรมทราบด้วยทุกครั้ง และถ้าผลการสอบราคาหรือประกวดราคาปรากฏว่าองค์การเภสัชกรรมเสนอราคาเท่ากันหรือต่ำกว่าผู้เสนอราคารายอื่น ให้ส่วนราชการซื้อจากองค์การเภสัชกรรม (๒) การจัดซื้อโดยวิธีตกลงราคาหรือวิธีพิเศษ ให้ซื้อในราคาที่ไม่สูงกว่าราคากลาง ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ระเบียบพัสดุ ข้อ ๖๓ในกรณีที่มีกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ความสนับสนุนให้ซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาจากหน่วยงานใด ก็ให้ส่วนราชการจัดซื้อยา หรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาจากหน่วยงานดังกล่าวได้ โดยวิธีกรณีพิเศษด้วย ข้อ ๖๔ให้กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่แจ้งเวียนบัญชียาหลักแห่งชาติตามที่คณะกรรมการแห่งชาติทางด้านยากำหนด พร้อมทั้งราคากลางของยาดังกล่าว และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบ กับให้องค์การเภสัชกรรมแจ้งรายการยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที่องค์การเภสัชกรรมผลิตได้หรือมีจำหน่ายให้ส่วนราชการ ๆ ทราบด้วย