1 / 40

โทร : 02 – 2490431 - 9

โทร : 02 – 2490431 - 9. สายด่วน : 1164 ร้องเรียน : 1332. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางศุลกากร ที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันการไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

shasta
Download Presentation

โทร : 02 – 2490431 - 9

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โทร : 02 – 2490431 - 9 สายด่วน :1164ร้องเรียน : 1332

  2. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางศุลกากรที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันการไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางศุลกากรที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันการไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ • ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับของที่ได้รับการยกเว้น ลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากร ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530ที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันการไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ • ลักษณะความผิดทางศุลกากรและการระงับคดีในชั้นศุลกากร • ปัญหาและข้อแนะนำการแก้ไข

  3. กฎหมายว่าด้วยการศุลกากรกฎหมายว่าด้วยการศุลกากร พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530

  4. การจัดเก็บภาษี มาตรา 10บรรดาค่าภาษีนั้น ให้เก็บตามบทพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร การเสียค่าภาษีให้เสียแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้(พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469) มาตรา 4 ของที่นำหรือพาเข้ามาในหรือส่งหรือพาออกไปนอกราชอาณาจักรนั้น ให้เรียกเก็บและ เสียอากรตามที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราอากรท้ายพระราชกำหนดนี้ ในการคำนวณเงินอากรที่ต้องเสียหรือจ่ายคืนแต่ละรายการ เศษของหนึ่งบาทให้ปัดทิ้ง(พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530)

  5. ภาระหน้าที่ตามกฎหมายของผู้นำเข้า-ส่งออกภาระหน้าที่ตามกฎหมายของผู้นำเข้า-ส่งออก • ภาระหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการศุลกากร -ภาระในการเสียภาษีอากร -ภาระในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร • ภาระหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

  6. การลดหย่อน/ยกเว้นอากรการลดหย่อน/ยกเว้นอากร มาตรา 10 ของใดซึ่งในเวลานำเข้าได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากร เพราะเหตุที่นำเข้ามาเพื่อใช้เอง โดยบุคคลที่มีสิทธิเช่นนั้น หรือเพราะเหตุที่นำเข้ามาเพื่อใช้ประโยชน์อย่างใดที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ ถ้าหากของนั้นได้โอนไปเป็นของบุคคลที่ไม่มีสิทธิได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากร หรือได้นำไปใช้ในการอื่น นอกจากที่กำหนดไว้หรือสิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรสิ้นสุดลง ของนั้นจะต้องเสียอากรโดยถือสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันโอนหรือนำไปใช้ในการอื่นหรือวันที่สิทธิได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรสิ้นสุดลงเป็นเกณฑ์ในการคำนวณอากร......

  7. สำหรับกรณีที่ได้รับลดหย่อนอากร ให้เสียอากรเพิ่มจากที่ได้เสียไว้แล้วให้ครบถ้วนตามจำนวนเงินอากรที่จะพึงต้องเสียทั้งหมดในเมื่อได้คำนวณตามเกณฑ์เช่นว่านั้น ทั้งนี้ให้แจ้งขอชำระอากรหรืออากรเพิ่มต่อกรมศุลกากรหรือด่านศุลกากรที่ได้นำของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักร ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ความรับผิดในอันจะต้องชำระอากรหรืออากรเพิ่มเกิดขึ้น และต้องชำระ ณ ที่ทำการศุลกากร ซึ่งกรมศุลกากรกำหนดให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจำนวนเงินอากรหรืออากรเพิ่มอันจะพึงต้องชำระ ถ้ามิได้มีการปฏิบัติเช่นว่านั้น ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงการเสียอากรแต่มิให้นำมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 มาใช้บังคับในกรณีที่ของนั้นได้โอนไปโดยสุจริต........

  8. มาตรา 12 เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ หรือเพื่อความผาสุกของประชาชน หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศลดอัตราอากรสำหรับของใดๆ จากอัตราที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากร หรือยกเว้นอากรสำหรับของใดๆ หรือเรียกเก็บอากรพิเศษเพิ่มขึ้นสำหรับของใดๆ ไม่เกินร้อยละห้าสิบของอัตราอากรที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับของนั้น ทั้งนี้ โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขใดๆ ไว้ด้วยก็ได้

  9. การยกเว้นอากร รวมทั้งการกำหนดให้ของได้รับการยกเว้นอากรตาม (๑๕) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้ (ก) คำว่า “ผู้ขอใช้สิทธิยกเว้นอากร” หมายถึง ผู้นำเข้าซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็น ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตและประกอบส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (ข) ผู้ขอใช้สิทธิยกเว้นอากรจะต้องให้สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ตรวจสอบและรับรองสูตรการผลิต และต้องปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำหนด ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและการยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับลงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๙)

  10. (ค) ของหรือส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ รวมถึงวัสดุสิ้นเปลืองที่จะได้รับการยกเว้นอากร ต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองจากสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เสียก่อนว่านำมาใช้ในการผลิตหรือประกอบตามสูตรการผลิตในข้อ (ข) (ง) ผู้ขอใช้สิทธิยกเว้นอากรต้องนำของหรือส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ รวมถึงวัสดุสิ้นเปลืองที่ได้รับการยกเว้นอากร มาผลิตหรือประกอบเป็นของครบชุดสมบูรณ์ตามสูตรการผลิตให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี นับแต่วันนำเข้าหากมีเหตุขัดข้องหรืออุปสรรคอันใด ต้องรายงานขอขยายเวลาต่ออธิบดีกรมศุลกากรก่อนครบกำหนด ๑ ปี ยกเว้นในกรณีที่ของหรือส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ รวมถึงวัสดุสิ้นเปลืองไม่สามารถผลิตหรือประกอบเป็นของครบชุดสมบูรณ์ได้ต้องแจ้งให้กรมศุลกากรทราบทันที และต้องส่งกลับออกไปหรือทำลายหรือดำเนินการอย่างอื่นตามแต่อธิบดีกรมศุลกากรจะเห็นสมควร (จ) ผู้ขอใช้สิทธิยกเว้นอากรต้องปฏิบัติตามระเบียบพิธีการที่กรมศุลกากรกำหนด

  11. ข้อ ๑ ให้ผู้นำของเข้าปฏิบัติพิธีการศุลกากรในการลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ผู้นำของเข้าจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าและใบขนสินค้าขาออกตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนด โดยบันทึกในแต่ละรายการของข้อมูลใบขนสินค้า (Declaration Detail) ในช่องสิทธิพิเศษ (Privilege Code) ระบุเป็นรหัสตามที่กำหนดเป็นการเฉพาะเรื่อง (๒) การพิจารณาอนุมัติให้ลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร (๒.๑) กรณีที่การได้รับลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่ได้กำหนดให้มีการรับรองการนำของเข้ามาใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะจากหน่วยงานอื่น ให้ผู้นำ ของเข้าบันทึกข้อมูลการอนุมัติ / อนุญาตในแต่ละรายการของข้อมูลใบขนสินค้าในส่วนใบอนุญาตด้วย ประกาศกรมศุลกากรที่ 117/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์และพิธีการศุลกากรสำหรับการลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ข้อ 53 (3.4)

  12. (๒.๒)กรณีที่การได้รับลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่ได้กำหนดให้มีการรับรองการนำของเข้ามาใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะจากกรมศุลกากร(๒.๒)กรณีที่การได้รับลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่ได้กำหนดให้มีการรับรองการนำของเข้ามาใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะจากกรมศุลกากร (๒.๒.๑)ก่อนการนำของเข้าครั้งแรก ให้ผู้นำของเข้ายื่นคำร้องขอลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากรพร้อมเอกสารต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในเรื่องนั้นๆ ต่อสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรที่นำของเข้า เพื่อประกอบการพิจารณาการอนุมัติให้ได้สิทธิลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากร (๒.๒.๒) เมื่อผู้นำของเข้าทราบการอนุมัติในหลักการให้ได้รับลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากร ให้ผู้นำของเข้าบันทึกข้อมูลการแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติการให้ลดอัตราอากรของสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากร ในแต่ละรายการของข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าในส่วนใบอนุญาตด้วย

  13. (๒.๓)กรณีมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือข้อเท็จจริงใดที่ยื่นในการนำเข้าครั้งแรก ให้ ผู้นำของเข้ายื่นหลักฐานขอแก้ไขให้ถูกต้องภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง (๓)ให้ผู้นำของเข้าบันทึกข้อมูลในส่วนของใบอนุญาต (Import Declaration Detail Permit) (๓.๑) ให้ระบุเลขที่ใบรับรองการนำของเข้ามาใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะเพื่อการลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากรในช่องเลขที่ใบอนุญาต (Permit No) ดังต่อไปนี้ (๓.๒) ให้ระบุวันที่ออกใบรับรองการนำของเข้ามาใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะในช่องวันที่ออกใบอนุญาต (Issue Date) (๓.๓) ให้ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของหน่วยงานผู้ออกใบรับรองการนำของเข้า มาใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะ ในช่องเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของหน่วยงานผู้ออกใบอนุญาต (Permit Issue Authority)

  14. (๔)กรณีผู้นำของเข้าประสงค์จะขอรับของออกไปก่อนที่จะได้รับอนุมัติให้ลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ให้ผู้นำของเข้า (๔.๑)ชำระอากรในอัตราปกติ โดยในแต่ละรายการของข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าในช่องสิทธิพิเศษให้ระบุเป็น “๐๐๐” และ (๔.๒)ขอสงวนสิทธิขอคืนเงินอากร โดยบันทึกข้อมูลในช่องบันทึกอื่น ๆ (Remark) ของรายการในใบขนสินค้าขาเข้าว่า “ขอสงวนสิทธิคืนเงินอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.๒๕๓๐ ลงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ สำหรับ “XXX” (โดยใช้เลขรหัสสิทธิพิเศษตามที่กำหนดเป็นการเฉพาะเรื่องที่ขอสงวนสิทธิขอคืนเงินอากร นั้น ๆ)” และ

  15. (๔.๓)แจ้งความประสงค์ขอตรวจสอบพิกัดและ/หรือราคา ในขณะส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร (๔.๔) ผู้นำของเข้าต้องยื่นคำร้องสิทธิเรียกร้องในการขอคืนเงินอากรมีกำหนด ๒ ปี นับจากวันที่นำของเข้า

  16. (๕)ผู้นำของเข้าต้องปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ครบถ้วนก่อนการรับของออกจากอารักขาศุลกากรหรือโรงพักสินค้า(๕)ผู้นำของเข้าต้องปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ครบถ้วนก่อนการรับของออกจากอารักขาศุลกากรหรือโรงพักสินค้า (๕.๑) กรณีระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานผู้ออกหนังสือรับรองการนำของเข้ามาใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะเพื่อการลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากร สามารถส่งผ่านข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรโดยผ่านระบบการให้บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (Single Window) ผู้นำของเข้าไม่ต้องยื่นแสดงเอกสารการรับรองการนำของเข้ามาใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะเพื่อการลดอัตราอากรหรือยกเว้นอัตราอากรในรูปแบบเอกสารให้ศุลกากรในขณะปฏิบัติพิธีการศุลกากรอีก (๕.๒) กรณีไม่สามารถดำเนินกระบวนการทางศุลกากรโดยระบบการให้บริการเบ็ดเสร็จณ จุดเดียว (Single Window)ได้ ให้ผู้นำของเข้ายื่นแสดงเอกสารการรับรองการนำของเข้ามาใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะเพื่อการลดอัตราอากร หรือยกเว้นอากรในรูปแบบเอกสารแก่หน่วยบริการศุลกากร ก่อนการนำของออกจากอารักขาศุลกากรหรือโรงพักสินค้า

  17. (๕.๓)หน่วยบริการศุลกากร ณ สำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรที่นำของเข้า จะลงรับเอกสารไว้ และจัดเจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่อทำการตรวจสอบเบื้องต้นกับข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร (๕.๓.๑) โดยหน่วยบริการศุลกากรจะเป็นผู้ตรวจสอบและพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติการให้ลดอัตราอากรของอของที่นำเข้าก่อนการรับของไปจากอารักขาศุลกากรหรือโรงพักสินค้า (๕.๓.๒) กรณีตรวจพบว่าเอกสารไม่ตรงกับข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าจะพิจารณาดำเนินการเป็นการเฉพาะรายทันที

  18. (๖)กรณีการจัดทำและยื่นใบขนสินค้าขาเข้าในรูปแบบเอกสาร ให้ผู้นำของเข้ายื่นเอกสารแสดงการรับรองการนำของเข้ามาใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะเพื่อการลดอัตราอากรหรือยกเว้นอัตราอากร พร้อมกับการยื่นใบขนสินค้าขาเข้า โดยสำแดงเลขที่เอกสาร ชื่อหน่วยงานที่ออกเอกสาร และการใช้สิทธิตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ ๒๕๔๙ ไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและประทับตราหรือเขียนตัวบรรจงด้วยหมึกสีแดงไว้อย่างชัดเจนที่มุมบนด้านขวาของต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้าและสำเนาทุกฉบับตามรหัสสิทธิพิเศษที่กำหนดไว้

  19. (๗)ให้ผู้นำของเข้าจัดเก็บและรักษาบัญชีเอกสารหลักฐานและข้อมูลไม่ว่าในสื่อรูปแบบใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากรไว้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปี นับแต่วันนำของเข้าหรือวันส่งของออก

  20. ข้อ 24 มอบอำนาจเกี่ยวกับการดำเนินการด้านพิธีการศุลกากร ให้ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากร ปฏิบัติราชการแทนอธิบดี ดังนี้ คำสั่งศุลกากรที่ 5/2551 เรื่อง มอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมศุลกากร (ลงวันที่ 3 มกราคม 2551)

  21. 24.4 การอนุมัติให้ดำเนินการกับของที่มีการนำเข้าที่ท่าเรือหรือที่ ในเขตรับผิดชอบ ที่ได้รับสิทธิลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากร ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภายหลังจากที่ได้รับการตรวจปล่อยไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว เช่น การขยายเวลาในการใช้วัตถุดิบ การส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร หรือการขอทำลาย

  22. ประกาศกรมศุลกากร ที่ /2551 เรื่อง การดำเนินการกับของที่ได้รับสิทธิลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ภายหลังจากที่ได้รับการตรวจปล่อยไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว • สถานที่ยื่นคำร้องขอ • การยื่นคำร้องขอ

  23. สถานที่ยื่นคำร้อง -- กรณีขอขยายเวลาการใช้วัตถุดิบ หรือขอชำระค่าภาษีอากร ให้ยื่นต่อสำนักงานศุลกากรหรือ ด่านศุลกากรที่รับผิดชอบ ท่าหรือที่ ที่ของนั้นๆ นำเข้าในเขตความรับผิดชอบ -- กรณีขอส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร หรือการขออนุมัติทำลายของซึ่งวัตถุดิบนำเข้าทางท่าหรือที่หลายแห่ง ให้สามารถยื่นขอต่อสำนักงานศุลกากร หรือด่านศุลกากรที่รับผิดชอบท่าหรือที่ใดที่หนึ่งที่มีการนำเข้าได้ ไม่ว่าจะได้มีการนำเข้ามาจากท่าหรือที่อื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม

  24. ต้องร้องขอให้สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีหนังสือแจ้งความประสงค์ดังกล่าวให้กรมศุลกากรทราบส่วนการขอดำเนินการในกรณีอื่น ผู้นำของเข้าสามารถร้องขอได้เองโดยตรง ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการแห่งของที่ขอดำเนินการเช่น รายละเอียดของวันที่นำเข้า เลขที่ใบขนสินค้าขาเข้า เลขที่บัญชีราคาสินค้า ปริมาณที่นำเข้า ปริมาณคงเหลือ เป็นต้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบ ในกรณีที่ขอทำลาย หรือขอส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องรับคณะเจ้าหน้าที่ของสำนักงานหรือด่านศุลกากรที่พิจารณา ไปทำการตรวจสอบของ และหรือควบคุมการทำลาย โดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามระเบียบ ในกรณีที่ขอขยายเวลาการใช้วัตถุดิบ ต้องยื่นขอขยายเวลาการใช้วัตถุดิบภายใน 15 วันก่อนหมดระยะเวลาตามที่ประกาศกระทรวงการคลังฯ กำหนด และกรมศุลกากรจะอนุญาตให้ขยายเวลาออกไปได้ตามความเหมาะสมแต่ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาการผลิตตามประกาศกระทรวงการคลังฯ

  25. ความผิดทางศุลกากรที่พบได้บ่อยครั้งความผิดทางศุลกากรที่พบได้บ่อยครั้ง • ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร • ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร • ความผิดฐานนำของต้องห้ามต้องกำกัดเข้ามาในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร • ซื้อหรือรับไว้ซึ่งของที่รู้ว่าเป็นของลักลอบหนีศุลกากร • ความผิดฐานสำแดงเท็จ • ความผิดฐานไม่เก็บรักษาเอกสารหลักฐานทางศุลกากร • ความผิดด้านพิธีการศุลกากรต่างๆ

  26. บทกำหนดโทษทางศุลกากร • โทษปรับ • โทษจำคุก • ริบทรัพย์สิน

  27. มาตรา 27 ผู้ใดนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีหรือของต้องจำกัดหรือของต้องห้ามหรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในพระราชอาณาจักรไทยก็ดี หรือส่งหรือพาของเช่นว่านี้ออกไปนอกพระราชอาณาจักรก็ดี หรือช่วยเหลือด้วยประการใดๆ ในการนำของเช่นว่านี้เข้ามาหรือส่งออกไปก็ดี หรือย้ายถอนไป หรือช่วยเหลือให้ย้ายถอนไปซึ่งของดังกล่าวนั้น จากเรือกำปั่น ท่าเทียบเรือ โรงเก็บสินค้า คลังสินค้า ที่มั่นคง หรือโรงเก็บของ โดยไม่ได้รับอนุญาตก็ดี หรือให้ที่อาศัยเก็บ หรือเก็บ หรือซ่อนของเช่นว่านี้ หรือยอม หรือจัดให้ผู้อื่นทำการเช่นว่านั้นก็ดี........

  28. หรือเกี่ยวข้องด้วยประการใดๆ ในการขนหรือย้ายถอนหรือกระทำอย่างใดแก่ของเช่นว่านั้นก็ดี หรือเกี่ยวข้องด้วยประการใดๆ ในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร หรือในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใดๆ อันเกี่ยวแก่การนำของเข้า ส่งของออก ขนของขึ้น เก็บของในคลังสินค้า และการส่งมอบของโดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะต้องเสียสำหรับของนั้นๆ ก็ดี หรือหลีกเลี่ยงข้อห้ามหรือข้อจำกัดอันเกี่ยวแก่ของนั้นก็ดี สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

  29. มาตรา 99 ผู้ใดกระทำหรือจัดหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำ หรือยื่นหรือจัดให้ผู้อื่นยื่นซึ่งใบขนสินค้า คำแสดง ใบรับรอง บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในเรื่องใดๆ อันเกี่ยวด้วยพระราชบัญญัตินี้ หรืออันพระราชบัญญัตินี้บังคับให้กระทำนั้นเป็นความเท็จก็ดี เป็นความไม่บริบูรณ์ก็ดีหรือเป็นความชักพาให้ผิดหลงในรายการใดๆก็ดี หรือถ้าผู้ใดซึ่งพระราชบัญญัตินี้บังคับให้ตอบคำถามอันใดของพนักงานเจ้าหน้าที่มิได้ตอบคำถามอันนั้น โดยสัตย์จริงก็ดี หรือถ้าผู้ใดไม่ยอม หรือละเลยไม่ทำไม่รักษาไว้ซึ่งบันทึกเรื่องราว หรือทะเบียน หรือสมุดบัญชี หรือเอกสาร หรือตราสารอย่างอื่นๆ ซึ่งพระราชบัญญัตินี้บังคับไว้ก็ดี หรือถ้าผู้ใดปลอมแปลงหรือใช้เมื่อปลอมแปลงแล้วซึ่งเอกสารบันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นที่พระราชบัญญัตินี้บังคับไว้ให้ทำ หรือที่ใช้ในกิจการใดๆ เกี่ยวด้วยพระราชบัญญัตินี้ก็ดี หรือแก้ไขเอกสารบันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นภายหลังที่ได้ออกไปแล้วในทางราชการก็ดี หรือปลอมดวงตรา ลายมือชื่อ ลายมือชื่อย่อหรือเครื่องหมายอย่างอื่นของพนักงานกรมศุลกากร หรือซึ่งพนักงานกรมศุลกากรใช้เพื่อการอย่างใดๆ อันเกี่ยวด้วยพระราชบัญญัตินี้ก็ดี ท่านว่าผู้นั้นมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  30. พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 16การกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 และมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 นั้น ให้ถือว่าเป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่ มาตรา 17ของใดๆ อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 ประกอบด้วยมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 ท่านให้ริบเสียสิ้นโดยมิพักต้องคำนึงว่าบุคคลผู้ใดจะต้องรับโทษหรือหาไม่

  31. มาตรา 113 ทวิ พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ให้ผู้นำเข้า ผู้ส่งของออก ตัวแทนของเรือ ตัวแทนของบุคคลดังกล่าวหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องตามที่อธิบดีกำหนด มีหน้าที่เก็บและรักษาบัญชี เอกสาร หลักฐานและข้อมูลไม่ว่าในสื่อรูปแบบใดๆ ที่บุคคลดังกล่าวใช้อยู่ซึ่งเกี่ยวข้องกับของใดๆ ที่กำลังผ่านหรือได้ผ่านศุลกากรไว้ ณ สถานที่ประกอบการหรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนด เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่นำของเข้าหรือส่งของออก

  32. ในกรณีที่บุคคลหรือนิติบุคคลตามวรรคหนึ่งเลิกประกอบกิจการ ให้บุคคลหรือนิติบุคคลหรือผู้ชำระบัญชีของนิติบุคคลนั้น เก็บและรักษาบัญชี เอกสาร หลักฐานและข้อมูลดังกล่าว ณ สถานที่ ที่อธิบดีกำหนด ต่อไปอีกสองปีนับแต่วันเลิกประกอบกิจการ ให้อธิบดีมีอำนาจประกาศกำหนดชนิดของเอกสารที่บุคคลตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่เก็บและรักษารวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บและรักษาบัญชี เอกสาร หลักฐานและข้อมูลดังกล่าว ณ สถานที่ที่อธิบดีกำหนด ต่อไปอีกสองปีนับแต่วันเลิกประกอบกิจการ

  33. ประกาศกรมศุลกากรที่ 26/2543 เรื่องการจัดเก็บและรักษาบัญชี เอกสาร หลักฐาน หรือข้อมูลไม่ว่าในสื่อรูปแบบใดๆ ที่เกี่ยวกับการนำเข้าหรือส่งออก

  34. การเปรียบเทียบและงดการฟ้องร้องการเปรียบเทียบและงดการฟ้องร้อง การเปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง (หรือ การระงับคดีในชั้นศุลกากร) มีหลักการสำคัญ คือ ผู้ที่จะต้องถูกฟ้องยินยอม และอธิบดีกรมศุลกากรเห็นสมควรแล้ว การยินยอมต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร กฎหมายศุลกากรได้ให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากร ดำเนินการได้อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่องดการฟ้องร้องใน 4อย่างต่อไปนี้ คือ ใช้ค่าปรับทำความตกลง ทำทัณฑ์บน หรือให้ประกัน

  35. มาตรา 102 ภายในบังคับแห่งมาตรา 102 ทวิ ถ้าบุคคลใดจะต้องถูกฟ้องตามพระราชบัญญัตินี้ และบุคคลนั้นยินยอมและใช้ค่าปรับ หรือได้ทำความตกลง หรือทำทัณฑ์บน หรือให้ประกันตามที่อธิบดีจะเห็นสมควรแล้ว อธิบดีจะงดการฟ้องร้องเสียก็ได้ และการที่อธิบดีงดการฟ้องร้องเช่นนี้ให้ถือว่าเป็นอันคุ้มผู้กระทำผิดนั้น ในการที่จะถูกฟ้องร้องต่อไปในกรณีแห่งความผิดอันนั้น

  36. มาตรา 102 ทวิสำหรับความผิดตามมาตรา 27 มาตรา 31 มาตรา 36 และมาตรา 96 และความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 5 ทวิ และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) พุทธศักราช 2480 ถ้าราคาของกลางรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเกินกว่าสี่แสนบาท ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนกระทรวงการคลัง และผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่จะเปรียบเทียบและงดการฟ้องร้อง และการที่คณะกรรมการงดการฟ้องร้องเช่นนี้ ให้ถือว่าเป็นอันคุ้มกันผู้กระทำผิดนั้นในการที่จะถูกฟ้องร้องต่อไปในกรณีแห่งความผิดอันนั้น

  37. เกณฑ์เปรียบเทียบระงับคดีกรณีฝ่าฝืนกฎระเบียบเกณฑ์เปรียบเทียบระงับคดีกรณีฝ่าฝืนกฎระเบียบ • ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดละเลย หรือฝ่าฝืนระเบียบที่กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับพิธีการศุลกากร ให้ปรับ 1,000.- บาท และหากมีสัญญาประกันที่ให้ไว้ต่อกรมศุลกากร ให้พิจารณาบังคับสัญญาประกันตามสมควรแก่กรณี • กรณีละเลยหรือฝ่าฝืนระเบียบพิธีการเกี่ยวกับการขอใช้สิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรโดยขอใช้สิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภายหลังที่ได้ผ่านพิธีการศุลกากรไปแล้ว ให้เปรียบเทียบปรับใบขนฯ ละ 5,000.- บาท

  38. การป้องกันการกระทำผิดทางศุลกากร การป้องกันการกระทำผิดทางศุลกากร • เลือกจ้างตัวแทนออกของที่มีคุณภาพและรับผิดชอบสูง • รักษามาตรฐานของการผ่านพิธีการศุลกากร • ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด • สำแดงรายละเอียดในใบขนสินค้าอย่างถูกต้อง • เสียภาษีอย่างถูกต้อง • กรณีสงสัยให้สอบถามกรมศุลกากรหรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ตนเองไว้ใจ

  39. จะทำอย่างไรเมื่อพบว่าตนเองสำแดงรายการในใบขนสินค้าผิดพลาดทำให้อากรขาด หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง • รีบตรวจสอบสาเหตุของความผิดนั้น • ปรึกษาเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ตนเองไว้ใจ • รีบทำหนังสือแจ้งให้กรมศุลกากรทราบเพื่อขอแก้ไขและเสียภาษีให้ถูกต้องก่อนเจ้าหน้าที่ตรวจพบ

  40. จะทำอย่างไรเมื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจพบความผิดก่อนจะทำอย่างไรเมื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจพบความผิดก่อน • รีบตรวจสอบสาเหตุของความผิดนั้น • ปรึกษาเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ตนเองไว้ใจ • ทำหนังสือชี้แจงเหตุผลให้กรมศุลกากรทราบถึงความผิดพลาดนั้นๆ • ยินยอมทำความตกลงระงับคดีในชั้นศุลกากรหรือต่อสู้คดี

More Related