1 / 47

ความรู้พื้นฐานด้านการตลาด

ความรู้พื้นฐานด้านการตลาด. โดย อาจารย์ กัญจนา ทองสนิท. การตลาดคืออะไร. คอตเลอร์ ให้นิยามการตลาดว่า “ การตลาด คือกระบวนการทางสังคมและการบริหาร โดยปัจเจกบุคคล และกลุ่ม ให้ได้รับในสิ่งที่เขามีความจำเป็น ต้องการ โดยผ่าน การสร้างสรรค์ และแลกเปลี่ยน ผลิตภัณฑ์ / บริการ และ มูลค่า กับผู้อื่น ”

shasta
Download Presentation

ความรู้พื้นฐานด้านการตลาด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้พื้นฐานด้านการตลาดความรู้พื้นฐานด้านการตลาด โดย อาจารย์ กัญจนา ทองสนิท

  2. การตลาดคืออะไร • คอตเลอร์ ให้นิยามการตลาดว่า “การตลาด คือกระบวนการทางสังคมและการบริหาร โดยปัจเจกบุคคล และกลุ่ม ให้ได้รับในสิ่งที่เขามีความจำเป็น ต้องการ โดยผ่าน การสร้างสรรค์ และแลกเปลี่ยน ผลิตภัณฑ์ / บริการ และ มูลค่า กับผู้อื่น” หน้าที่ทางการตลาด “กิจกรรมทางธุรกิจที่จะทำให้สินค้าหรือบริการเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคหรือผู้ใช้ คำถาม การตลาด แตกต่างจาก การขาย อย่างไร

  3. อะไรบ้างที่ทำการตลาดได้อะไรบ้างที่ทำการตลาดได้ • Product : รถยนต์ เสื้อผ้า เครื่องจักร อุปกรณ์ หนังสือ • Services : ธนาคาร โรงภาพยนตร์ การศึกษา การ รักษาพยาบาล การฝึกอบรม • Ideas : การรณรงค์การขับขี่ปลอดภัย การรักชาติ-ใช้ ของไทย • People : ดารา ผู้แทนราษฏร สามารถนำดารามาทำ การตลาดในแง่ บุคคลได้ • Places : unseen in Thailand • Experiences: การเล่นบันจี้จัมพ์ การพายเรือแคนนู ปีนเขา

  4. วิวัฒนาการของการตลาด • ระยะมุ่งความสำคัญที่การผลิต (Production Orientation Stage)เน้นเพื่อผลิตของให้ได้มากๆ ในราคาถูก • การมุ่งความสำคัญที่การขาย (Sales Orientation Stage) หาวิธีการขายที่ทำให้ขายได้มากที่สุด เนื่องจากเริ่มมีสินค้าออกมาแข่งขันมากขึ้น • การมุ่งความสำคัญที่การตลาด (Marketing Orientation Stage) เริ่มมีการค้นหาความต้องการของลูกค้า มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงเพื่อต้องการของลูกค้ามากขึ้น

  5. แนวคิดหลักการตลาดที่ควรเข้าใจแนวคิดหลักการตลาดที่ควรเข้าใจ • Needs : ความจำเป็น ทุกคนต้องมีความจำเป็นบน พื้นฐานทางร่างกาย • Wants : ความต้องการ คือ สิ่งที่เราต้องการที่เวลาใดเวลา หนึ่งอันเป็นผลมาจากบุคลิกภาพ ประสบการณ์ วัฒนาธรรม • Demand : ความต้องการของมนุษย์ที่มีอำนาจการซื้อเช่นมี เงิน มีกำลังซื้อ

  6. แนวคิดหลักการตลาดที่ควรเข้าใจแนวคิดหลักการตลาดที่ควรเข้าใจ ตัวอย่าง เดชา ต้องการอาหารเช้า (Need) โดยนึกอยากรับประทาน ข้าวหรือ บุฟเฟ่ตามโรงแรม ถ้าเดชาเป็นคนอเมริกันอยากจะรับประทานอเมริกันเบรคฟาสต์ (want) แต่เดชามีงบอยู่ 35 บาท และไม่มีทางเลือกมากนัก เดชาจึงเลือกซื้อ ข้าวเหนียว หมูปิ้ง 25 บาท กาแฟ 1 ถุง 10 บาท ดังนั้น ต้องรู้ถึงจิตใจลูกค้าว่าอะไรคือความจำเป็น ความต้องการ และกำลังซื้อของลูกค้าในตลาดที่ดำเนินธุรกิจอยู่ ซึ่งได้จากการวิจัยตลาด

  7. ลูกค้า

  8. กระบวนการทางการตลาด

  9. การวิเคราะห์ตลาด การวิเคราะห์สภาวะตลาด เพื่อบอกได้ว่า • กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย: ลูกค้าคือใคร • ขนาดของตลาด : ขนาดของตลาดใหญ่สักแค่ไหน • แนวโน้มการตลาด: ความต้องการในปัจจุบันแนวโน้มในอนาคต • คู่แข่ง : ใครเป็นคู่แข่งของเราบ้าง กำลังทำอะไรอยู่ • แนวโน้มการตลาดจากปัจจัยภายนอก: เศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมาย สิ่งแวดล้อม

  10. คู่แข่ง • คู่แข่งเสนออะไร ขนาด, ราคา, สีสัน, การใช้งาน, รูปลักษณ์, น้ำหนัก, การติดตั้ง, การดูแลรักษา, สมรรถนะ, ความทนทาน, บรรจุภัณฑ์, ทำเลที่ตั้ง, การบริการ เช่นการจัดส่ง ฟรี, การส่งเสริมการขาย ( ข้อมูลดังกล่าวอาจดูได้จากเอกสารการขาย หรือสอบถามจากพนักงานขายสอบถาม อื่นๆ)

  11. แนวโน้มการตลาดจากปัจจัยภายนอก: เศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมาย สิ่งแวดล้อม • แนวโน้มหลักด้านประชากร: อัตราการเติบโตของประชากร การเปลี่ยนโครงสร้างด้านอายุ กลุ่มการศึกษา รูปแบบครอบครัว • สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ: จะส่งผลต่อกำลังซื้อ รูปแบบการใช้จ่าย ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย การว่างงาน • แรงผลักดันทางการเมืองกฏหมาย :เช่นนโยบาย หรือโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล • เทคโนโลยี : เช่น internet งานวิจัยการพัฒนาใหม่

  12. ตัวอย่าง แนวโน้มจากปัจจัยภายนอกด้าน กระแสสุขภาพ ทางออกของสุขภาพดีเป็นโอกาสในการเติบโต ของกลุ่มสินค้า และธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพต่าง ๆ • สถานที่ให้บริการสุขภาพจากการออกกำลังกาย เช่น ฟิตเนส ธุรกิจความสวยความงาม เช่น สปา • กลุ่มอาหาร หรือเครื่องดื่มสุขภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม น้ำดื่มชาเขียว น้ำผลไม้ น้ำผักรวม ข้าวกล้อง นม • ผลิตภัณฑ์ด้านความสวย ความงาม เช่น เครื่องสำอางจากสารสกัดธรรมชาติ น้ำมันหอมระเหย อโรมาเธอราปี ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวลดริ้วรอย • สินค้าเกี่ยวกับสุขภาพอื่น ๆ เช่น เครื่องฟอกอากาศ เครื่องกรองน้ำ

  13. ทำไมกระแสด้านสุขภาพ จึงมาแรง ??

  14. สาเหตุที่เป็นแรงผลักดันให้กลุ่มสุขภาพเติบโตเร็วสาเหตุที่เป็นแรงผลักดันให้กลุ่มสุขภาพเติบโตเร็ว • คนมีความรู้มากขึ้น ข่าวสาร ข้อมูลกระจายรวดเร็วขึ้น ทำให้คนตระหนักถึงความสำคัญด้านสุขภาพมากขึ้น • คนแต่งงานช้า สนใจตัวเองมากขึ้น พยายามปรุงแต่งทำให้ดูดีตลอดเวลาจึงเป็นโอกาสของ ผลิตภัณฑ์ด้าน beauty & fasion รวมถึงผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ความอ้วน อาหารเสริม • ผู้สูงอายุมากขึ้น เป็นโอกาสสำหรับผลิตภัณฑ์บริการสำหรับผู้สูงอายุ ศูนย์สุขภาพ • คนทำงานนอกบ้านมากขึ้น มีรายได้ดี มีการศึกษา ทำให้อะไรก็ตามที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพตัวเอง จะรับรู้และยอมรับเร็ว

  15. Work shop 1 • ให้จับคู่เพื่อนที่นั่งด้านข้าง พร้อมทั้งยกตัวอย่างธุรกิจ SMEs มา 1 บริษัท และวิเคราะห์ว่านโยบายรัฐบาลต่าง ๆ ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกหรือเชิงลบ ต่อธุรกิจนั้น ๆ อย่างไรบ้าง และนำเสนอ นโยบายด้านสาธารณสุข : 30 บาทรักษาทุกโรค , โครงการอาหารสะอาด , โครงการอาหารรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพ , GMP นโยบายด้านการค้า และอุตสาหกรรม : OTOP (รวมถึงการเสนอขายสินค้าผ่านทาง internet ), ฟื้นฟูภูมิปัญญาไทยและสิทธิบัตร , สมุนไพรไทย นวดแผนไทย ,HUB สุขภาพ , เอเชียครัวของโลก , กรุงเทพเมืองแฟชั่น , ยานยนตร์ , การท่องเที่ยว(MICE - meeting ,incentive , conference & entertainment) นโยบายอื่น ๆ การวางพื้นที่จังหวัดเขตติดชายแดนต่างประเทศเป็นเขตกลยุทธ์การค้า , การประกันราคายางพารา, การปรับโครงสร้างราชการ , ผู้ว่า CEO , โครงการบ้าน คอมพิวเตอร์ แท๊กซี่ เอื้ออาทร โครงการ ICT , การปรับปรุงผังเมือง เช่นการย้ายหน่วยงานของรัฐไปนครนายก , การสร้างสนามบินแห่งใหม่ที่หนองงูเห่า โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน โครงการสายการบินราคาต่ำ

  16. การวิจัยตลาด • การวิจัยตลาด (Marketing Research) เป็นกระบวนการในการออกแบบเก็บรวบรวม วิเคราะห์ และรายงานผลข้อมูลเกี่ยวกับตลาดและมีผลต่อกิจการอย่างเป็นระบบ โดยมีวิธีการหลากหลาย อาจไม่ต้องใช้เงินจำนวนมาก

  17. การวิจัยตลาด : แหล่งข้อมูล • หากตลาดยิ่งมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมากโอกาสที่จะต้องใช้เงิน และเวลาในการได้มาซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ก็ยิ่งมากขึ้น แหล่งข้อมูลที่สำคัญมี 3 แหล่ง - แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary sources) - แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary sources) - แหล่งข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ (Expert sources)

  18. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary sources) • เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีบุคคล หรือองค์กร หนึ่งจัดทำไว้ก่อนแล้ว โดยประโยชน์ของข้อมูลนี้ช่วยทำให้เห็นภาพรวมของตลาดที่สนใจ ทำให้รู้ว่าต้องเก็บข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มหรือไม่ • แหล่งข้อมูลมีหลายแหล่ง เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมศุลกากร สมาคมต่าง ๆ วารสาร งานวิจัย ของมหาวิทยาลัย

  19. ตัวอย่างข้อมูล ทุติยภูมิ

  20. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary sources) • บางครั้งข้อมูลทุติยภูมิก็ไม่ตรงกับความต้องการดังนั้นต้องมีการเก็บข้อมูลโดยตรง โดยใช้วิธีการดังนี้ -การสังเกตโดยตรง (Direct Observation)เช่น สังเกตพฤติกรรมของการซื้อ การใช้สินค้าของลูกค้า - การทดสอบตลาด (Marketing Test)เป็นการทดลองวางสินค้าโดยตรง เพื่อดูการตอบรับ - สำรวจ(Survey) การสัมภาษณ์ลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย หรือผู้เกี่ยวข้อง อาจสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

  21. แหล่งข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ (Expert sources) • แหล่งข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ มาจาก ที่ปรึกษา ผู้นำการปกครองท้องถิ่น ผู้นำชุมชน นายธนาคาร ตัวแทนหอการค้า สมาคมการค้าต่าง ๆ

  22. การใช้การวิจัยตลาดในธุรกิจขนาดเล็กการใช้การวิจัยตลาดในธุรกิจขนาดเล็ก • ตัวอย่าง สมชายเป็นช่างไฟฟ้า คิดจะมีกิจการขนาดเล็กเป็นตัวเอง จังหวัดที่สมชายอยู่มีผู้รับเหมาระบบไฟฟ้าอยู่หลายแห่ง ที่รับออกแบบระบบ เดินกระแสไฟในอาคาร โดยข้อมูลที่สมชายอยากรู้ได้แก่ - มีลูกค้าจำนวนเท่าไร ในธุรกิจนี้ - การแข่งขันสูงขนาดไหน - แนวโน้มของธุรกิจเป็นอย่างไร - ลูกค้ามีความต้องการอย่างไร - บริการอะไรที่คู่แข่งยังไม่มี

  23. วิธีการหาข้อมูลของสมชายวิธีการหาข้อมูลของสมชาย • ไปที่เทศบาลของเมืองหรือจังหวัดเพื่อตรวจว่าพื้นที่ไหนมีการขยายตัวมาก สามารถตรวจสอบได้จากจำนวนการขออนุญาตก่อสร้าง การขอเลขที่บ้าน การขอใช้น้ำ – ไฟ • ไปที่สำนักงานสถิติ เพื่อตรวจสอบว่าคนส่วนใหญ่อายุเท่าไร เป็นหนุ่มสาวที่เพิ่งสร้าง ครอบครัวหรือไม่ • สอบถามผู้รับเหมาอื่น ๆ ว่ามีความต้องการผู้รับเหมาช่วงหรือไม่ • ตรวจสอบรายชื่อบริษัทรับเหมาไฟฟ้าจากหนังสือรวบรวมรายชื่อ หรือจากการจดทะเบียนที่พาณิชย์จังหวัดดูว่าบริษัทเหล่านี้ให้บริการอะไรบ้าง • คุยกับลูกค้า อาจใช้เวลาในการขับรถไปรอบ ๆ พื้นที่ที่มีบ้านใหม่ กำลังก่อสร้าง คุยกับลูกค้าว่าอยากได้บริการประเภทไหน ยินดีจ่ายในราคาขนาดไหน บริการอะไรที่ยังไม่ได้รับจากผู้รับเหมาะอื่น ๆ

  24. กรณีศึกษา บ้านไร่กาแฟ

  25. การกำหนดกลุ่มเป้าหมายและการแบ่งส่วนการตลาดการกำหนดกลุ่มเป้าหมายและการแบ่งส่วนการตลาด • “ ความผิดพลาดที่สำคัญของผู้ประกอบการคือการพยายยามที่จะเป็นทุกอย่างสำหรับลูกค้า ซึ่งเป็นไปได้ยาก” ดังนั้นจึงเป็นที่มาของแนวคิดของการแบ่งส่วนตลาด (Market Segment)

  26. มองอุตสาหกรรมให้ออกในภาพรวมก่อนแบ่งส่วนการตลาดมองอุตสาหกรรมให้ออกในภาพรวมก่อนแบ่งส่วนการตลาด • การวิเคราะห์อุตสาหกรรม เริ่มต้น จาก • การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับขนาด • อัตราการเติบโต • โครงสร้างของอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยว อาหาร ขนส่ง ทำให้สามารถเตรียมตัวได้ดีกว่าที่จะวางแผนกการวางตำแหน่งในตลาดเลย ตัวอย่าง หากมีบริษัทรถบัส ที่ให้บริการรถบัสทางไกล ดังนั้นเราเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจขนส่ง ไม่เพียงแต่รู้ลูกค้าเป้าหมายเท่านั้น แต่ควรรู้จักอุตสาหกรรมในภาพรวมด้วย เนื่องจากหาค่าเครื่องบิน ค่ารถไฟ เพิ่มขึ้นหรือลดต่ำลงก็มีผลต่อธุรกิจ

  27. การแบ่งส่วนตลาด (Segmentation) • ผู้บริโภคหรือกลุ่มลูกค้าในตลาดมีลักษณะที่แตกออกมาเป็นกลุ่มย่อย ๆมากมาย แต่ละกลุ่มนั้นเรียกว่า ส่วนแบ่งตลาด(Segment) ตัวอย่าง สถาบันการศึกษามีกลุ่มลูกค้าคือ ผู้เรียน - กลุ่มที่มาเรียนที่สถาบัน - กลุ่มที่เรียนทางไกล ซึ่งแต่ละกลุ่มมีความต้องการแตกต่างกัน ซึ่งกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มก็ตอบสนองแตกต่าง กัน เช่นบางกลุ่มชอบของคุณภาพพื้น ๆ แต่ราคาถูก , บางกลุ่มการของพิเศษแตกต่าง โดยยินที่จะจ่ายแพง หรือพฤติกรรมการซื้อบางกลุ่มซื้อไปใช้ที่บ้าน ซื้อคราวละไม่มาก ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่สะดวก มียี่ห้อน่าเชื่อถือ แต่บางพวกก็ซื้อครั้งละมาก ๆ

  28. ดังนั้น ผู้ประกอบการสามารถมองว่าในตลาดประกอบด้วยกลุ่มคนต่าง ๆ มากมายทั้งในแง่ ความชอบ ความนิยม พฤติกรรมการซื้อ

  29. ขั้นตอนการแบ่งส่วนการตลาด ระบุตลาดเป้าหมาย และวางตำแหน่งทางการตลาด

  30. การแบ่งส่วนการตลาด (Market segmentation) • การแบ่งส่วนการตลาดควรเป็นไปตามเกณฑ์ดังนี้ • A - Accessible หมายถึงตลาดย่อยนั้นต้องสามารถเข้าถึง หรือหาซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจได้ • M – Measurableหมายถึง ส่วนแบ่งการตลาดนั้น ต้องสามารถกำหนดจำนวนตัวเลขที่สามารถวัดได้ เช่นกลุ่มคนอายุ 15-30 ในอำเภอนี้มีประมาณ 30000 คน • S – Sizableกลุ่มลูกค้ามีขนาดที่ใหญ่พอที่สามารถดำเนินธุรได้ ทำกำไรได้

  31. การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด S :Segmentation ตาราง แสดงหลักเกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาด

  32. การแบ่งส่วนการตลาด (Market segmentation) • การแบ่งสามารถแบ่งได้หลายลักษณะ ซึ่งสามารถผสมผสานรูปแบบข้างต้นได้ เช่น - แบ่งส่วนของตลาดออกเป็นกลุ่มผู้ที่มีการศึกษาสูง ในเขตชนบท หรือ ผสมผสานระหว่าง ด้านประชากรศาสตร์กับด้านภูมิศาสตร์ หรือ อื่นๆ

  33. การระบุตลาดเป้าหมาย • หลังจากพบว่ามีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นไปได้กี่กลุ่ม กลุ่มใดบ้าง ซึ่งแต่ละกลุ่มมีลักษณะที่แตกต่างกันแล้ว จึงเลือก ตลาดเป้าหมาย ( Target Marketing) โดยประเมินจากความน่าสนใจของแต่ละกลุ่ม จากจำนวน อัตราการเติบโต กำลังซื้อ ความยากง่ายในการเข้าถึง โดยสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรอง

  34. กลยุทธ์การเลือกตลาดเป้าหมายกลยุทธ์การเลือกตลาดเป้าหมาย • กลยุทธ์ในการเลือกตลาดรวมแบ่งออกเป็น 3 แนวทางได้แก่ 1. กลยุทธ์ตลาดรวม (Mass marketing) เนื่องจากมองว่าตลาดมีความต้องการคล้ายกันไม่มีความแตกต่างกัน ตัวอย่าง • อดีต โคคา โคล่า ได้เสนอผลิตภัณฑ์รสชาติเดียว ขนาดเดียว บรรจุภัณฑ์เดียว สู่ตลาด แต่ในที่สุดก็ต้องปรับกลยุทธ์ หลังจากที่คู่แข่ง คือ Pepsi เสนอน้ำอัดลมหลายขนาดสู่ตลาด - บริษัทรถยนต์ ฟอร์ด เริ่มแรกเสนอ รถยนต์ Model T เพียงสีเดียว คือสีดำสู่ตลาดทั้งหมด ทำให้เสียส่วนครองตลาดให้ General Motor ซึ่งมีรุ่นมากกว่า สีมากกว่า

  35. กลยุทธ์การเลือกตลาดเป้าหมายกลยุทธ์การเลือกตลาดเป้าหมาย 2. กลยุทธ์หลายส่วนตลาด (Multiple Segment Strategy)เป็นการเลือกกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการแตกต่างกันสองกลุ่มขึ้นไป เพื่อพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด ในแต่ละกลุ่มเป้าหมายซึ่งแตกต่างกัน ตัวอย่าง โตโยต้า ผลิตรถกะบะ Tiger สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่นิยมรถกะบะ และผลิต Camry สำหรับผู้นิยมใช้รถเก๋ง สหพัฒน์ เสนอบะหมี่สำเร็จรูปสูตรต่าง ๆ เช่น มาม่าหมูสับ มาม่าต้มยำกุ้ง มาม่าเย็นตาโฟ

  36. กลยุทธ์การเลือกตลาดเป้าหมายกลยุทธ์การเลือกตลาดเป้าหมาย 3. การมุ่งเน้นเฉพาะส่วนตลาด (Concentrated Segment , Single Segment) กลยุทธ์นี้เหมาะกับบริษัทที่มีทรัพยากรจำกัด มีความชำนาญเฉพาะเจาะจง ตัวอย่าง ไนโซรัล ผลิตแชมพูกำจัดรังเพียงอย่างเดียว โดยไม่ผลิตแชมพูประเภทอื่น โดยมุ่งส่วนตลาดนี้ และสร้างความแข็งแกร่งในส่วนตลาดนี้

  37. ครั้งหน้า เรียนเรื่องส่วนประสมด้านการตลาด

  38. Assignment 2 • ให้ไปดูงานที่ OTOP – SME – BOI ที่อิมแพคเมืองทองธานี ที่ 11 – 20 มิถุนายน 2547 • ให้ไปหาข้อมูลโครงการว่ามีโครงการอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการสร้างผู้ประกอบการ หรือการสร้างธุรกิจ • โดยเลือกผลิตกภัณฑ์ที่ประทับใจ 5 ผลิตภัณฑ์ - สอบถามแนวคิดของการสร้างผลิตภัณฑ์ดังกล่าว - สอบถาม กลุ่มลูกค้า

  39. Assignment 3 • ทำรายงานด้านการวิเคราะห์ด้านการตลาด ในหัวข้อดังนี้ • ลักษณะของสินค้า / ผลิตภัณฑ์ เช่น ขนาดบรรจุ รูปลักษณ์ Specification ,ตราสินค้า , Model สินค้า, การให้บริการ • ภาพรวมของตลาด / ธุรกิจ : อัตราการเติบโต โครงสร้างของอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยว อาหาร ขนส่ง การนำเข้า ส่งออก โครงการรัฐบาลอื่น ๆ • วิเคราะห์คู่แข่ง • แบ่งส่วนการตลาด และกำหนดเป้าหมายการตลาด

  40. เพิ่มเติม ภาพรวมของตลาด ปริมาณความต้องการของตลาดรวม ( Demand) • ภาพรวมของตลาดผลิตภัณฑ์ว่ามีตลาดเป็นอย่างไร • แนวโน้มที่ผ่านมาในอดีต 2-3 ปี (ขึ้นกับผลิตภัณฑ์)มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น • หรือลดลงอย่างไร • สถานการณ์การคาดการณ์ในอนาคตสามารถใช้ตัวเลขอัตราการเจริญเติบโต • เปรียบเทียบเช่น รายได้ต่อคน , รายได้ประชาชาติ , สถิติการนำเข้า-ส่งออก , • ปริมาณการก่อสร้างโดยข้อมูลดังกล่าวสามารถหาได้จาก หน่วยงานราชการ เช่น • กรมศุลกากร , สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , หอการค้าไทย , • สภาอุตสาหกรรมไทย อื่น ๆ

  41. เพิ่มเติม ภาพรวมของตลาด ตัวอย่าง : ปริมาณความต้องการของตลาดรวม ( Demand)

  42. การวิเคราะห์คู่แข่ง

  43. การวิเคราะห์การแข่งขันในตลาดการวิเคราะห์การแข่งขันในตลาด

  44. การแบ่งส่วนการตลาด Segmentation ผู้มีฐานะต้องการ ทหารต้องการ

  45. ตาราง แสดงหลักเกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาด

  46. การระบุตลาดเป้าหมาย • กลุ่มเป้าหมายของลูกค้าคือใคร เพศ อายุ รายได้ มีขนาด (ปริมาณ) เท่าไร มาจากที่ไหน มีกำลังซื้อเท่าไร

More Related