1 / 19

ความหมายและความสำคัญของมารยาทและการสมาคม

บทที่ 1. ความหมายและความสำคัญของมารยาทและการสมาคม. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม. 1. บอกความหมายมารยาทและการสมาคมได้ 2. นำความรู้ที่ได้ไปศึกษาและปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3. ปรับตัวเข้ากับสังคมในปัจจุบันได้. เรื่องที่จะศึกษา. ความหมายของคำว่ามารยาท. มารยาทกับวัฒนธรรม. ขอบข่ายของวัฒนธรรม.

shawn
Download Presentation

ความหมายและความสำคัญของมารยาทและการสมาคม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1 ความหมายและความสำคัญของมารยาทและการสมาคม

  2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. บอกความหมายมารยาทและการสมาคมได้ 2. นำความรู้ที่ได้ไปศึกษาและปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3. ปรับตัวเข้ากับสังคมในปัจจุบันได้

  3. เรื่องที่จะศึกษา ความหมายของคำว่ามารยาท มารยาทกับวัฒนธรรม ขอบข่ายของวัฒนธรรม มารยาททางใจ จุดมุ่งหมายของการมีมารยาท Exit

  4. ความหมายของ”มารยาท” มารยาทไทย คือ ขอบเขต หรือระเบียบข้อบังคับที่ให้ประพฤติปฏิบัติ ในสังคมไทย ซึ่งบรรพบุรุษ ได้กำหนดขึ้น และได้นำมาปรับปรุงใช้ในปัจจุบัน • การสมาคม คือ การประชุมกันเป็นหมู่คณะ การพบปะ ตลอดจนการอบรม สัมมนาต่าง ๆ ตามจุดประสงค์ที่กำหนด • สรุปได้ว่า มารยาทและการสมาคม หมายถึง กิริยาถ้อยคำที่เหมาะสมจะประพฤติปฏิบัติสำหรับบุคคลที่เจริญแล้วได้นำไปใช้ในการพบปะหรือประชุมในหมู่คณะ เพื่อประโยชน์ในการเข้าสมาคม

  5. ดังนั้น มารยาทในการสมาคม ถือว่าเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งบุคคลที่เจริญแล้ว ต้องศึกษาสิ่งที่นำมาใช้ให้ถูกต้อง เหมาะสมกับเวลาโอกาสและสถานที่ เนื่องจากมารยาทในการสมาคมเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงบุคลิกภาพของบุคคลนั้นว่าได้รับการศึกษามาเพียงใด หรือมารยาทในการสมาคมเป็นตัววัดวัฒนธรรมของบุคคลเหล่านั้น

  6. สาระน่ารู้ • มารยาทไทย เป็นการเจาะจงชี้แจงให้ทราบถึงขอบเขตหรือระเบียบแบบแผน • แห่งการประพฤติปฏิบัติแบบไทย ที่บรรพบุรุษของเราได้พิจารณากำหนดขึ้นและดัดแปลงแก้ไขใช้สืบทอดกันมา กลับไปรายการเลือก

  7. มารยาทกับวัฒนธรรม • วัฒนธรรม หมายถึง การดำเนินชีวิตของสังคมตามข้อประพฤติปฏิบัติที่บ่งชัด ซึ่งเป็นความรู้สึกนึกคิดในสภาวะต่าง ๆ ที่สมาชิกในกลุ่มได้เห็นพ้องต้องกัน ดังนั้น วัฒนธรรมไทยจึงหมายถึง วิถีชีวิตที่คนไทยสร้างสรรค์ และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และยังใช้เป็นแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม

  8. วัฒนธรรมย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ แนวทางใหม่ที่ใช้ในการแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคมให้ดียิ่งขึ้น ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ ๆ จึงจำเป็นต้องเลิกใช้วัฒนธรรมดั้งเดิมในที่สุด การอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมไว้จึงต้องพัฒนาวัฒนธรรมนั้น ๆ ให้ทันกับความเจริญตามยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป กลับไปรายการเลือก

  9. ขอบข่ายของวัฒนธรรม พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติพุทธศักราช 2485-2486 ได้กำหนดขอบข่ายของวัฒนธรรมแห่งชาติออกมา 2 ประเภท ดังต่อไปนี้ • 1. วัฒนธรรมทางจิตใจ คือ สิ่งจรรโลงปัญญา และจิตใจ ซึ่งได้แก่ ระเบียบ • ประเพณี ภาษา กฎหมาย ศาสนา และวรรณคดี • 2.วัฒนธรรมทางวัตถุ คือ ปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบาย • ทางร่างกาย

  10. ขอบข่ายทางวัฒนธรรมยังแบ่งได้ตามลักษณะความสัมพันธ์ต่อการดำรงชีวิตโดยทั่วไปแบ่งออกได้ 4 ชนิด คือ • 1. สหธรรม (Social Culture) คือวัฒนธรรมทางสังคมที่ใช้ติดต่อสื่อสารกับกลุ่มในสังคม เช่น มารยาทในการพูด และการปฏิบัติตนให้เข้ากับสังคม • 2.วัตถุธรรม (Material Culture) คือวัฒนธรรมทางวัตถุ เช่น เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และศิลปกรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น

  11. 3. เนติธรรม (Legal Culture) คือ วัฒนธรรมทางจิตใจ และศีลธรรม ถือเป็นวิธีการดำเนินชีวิตให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข • 4.คติธรรม (Moral Culture) คือวัฒนธรรมทางจิตใจ และศีลธรรม ถือเป็นวิธีการดำเนินชีวิตให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข กลับไปรายการเลือก

  12. มารยาททางใจ ผู้มีมารยาททางใจ คือ ผู้ที่พัฒนาจิตใจของตนให้อยู่ในศีลธรรม รวมไปถึงคุณงามความดี ดังนั้น การวางตัวจึงควรใช้ความคิดเสมอ ซึ่งมีหลักธรรมเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ คือ พรหมวิหาร 4

  13. 1. เมตตา คือ ความหวังดี มีมิตรไมตรี ตลอดจนการช่วยเหลือเกื้อกูล • ซึ่งกันและกัน • 2. กรุณา คือ ความสงสาร ปรารถนาให้บุคคลอื่นพ้นจากความทุกข์ พรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย • 3. มุทิตา คือ ความยินดี เมื่อเห็นคนอื่นมีความสุข ด้วยใจที่แจ่มใส • เบิกบาน • 4. อุเบกขา คือ การทำใจเป็นกลาง ราบเรียบ ไม่ลำเอียง

  14. มารยาทในการสมาคมที่สำคัญแบ่งได้ 2 ประการ มีลักษณะดังนี้  บุคลิกลักษณะ (Personally)  จรรยามารยาท (Etlquette)

  15.  บุคลิกลักษณะ (Personally) บุคลิกลักษณะ คือ ลักษณะนิสัยของแต่ละบุคคล ซึ่งมีกิริยาท่าทางที่แตกต่างกันไปนับเป็นคุณสมบัติและความเป็นมาของบุคคลนั้น ๆ บุคลิกลักษณะที่ดี มีดังต่อไปนี้ • หมั่นศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยังไม่รู้ด้วยการสังเกต จะทำให้เพิ่มคุณลักษณะในตัวเอง ซึ่งจะทำให้บุคลิกภาพของเราดีขึ้น •  ปฏิบัติให้เป็นคนมีระดับในการสมาคมด้วยการปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างให้กับสังคม •  ปฏิบัติตัวด้วยความตั้งใจจริง เพื่อพัฒนาบุคลิกให้ดีขึ้น •  ดำเนินงานด้วยการมีใจคอกว้างขวาง ไม่คับแคบ

  16.  จรรยามารยาท (Etlquette) จรรยามารยาท ที่แสดงถึงความสุภาพเรียบร้อยถือเป็นลักษณะสำคัญ คืออากัปกิริยาที่เรียบร้อย นอกจากแสดงถึงนิสัยใจคอแล้วยังแสดงถึง การมีวัฒนธรรมของบุคคลนั้นด้วย ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษของจรรยามารยาท ของคนในการสมาคม

  17. ความสุภาพในกิริยา คือ การวางตัวที่เหมาะสม ดำเนินงานเหมาะกับเวลา สถานที่ และบุคคลที่เรา สามาคมด้วยอากัปกิริยาที่สุภาพเรียบร้อย เช่น ให้ความเคารพผู้ใหญ่ ความสุภาพในวาจา • คือ การพูดด้วยวาจาที่สุภาพอ่อนโยน ด้วยคำพูดที่เหมาะสมกับกาลเทศะต่าง ๆ กลับไปรายการเลือก

  18. จุดมุ่งหมายของการมีมารยาทจุดมุ่งหมายของการมีมารยาท มารยาทเป็นคุณธรรมที่ทุกคนควรยึดเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ปฏิบัติตนเพื่อให้เข้ากับสังคม มารยาทนับเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเป็นรูปแบบแห่งพฤติกรรม รูปแบบความคิด ความรู้ มีการจัดรูปแบบทางสังคม เพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกให้ อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยมีกฎเกณฑ์และระเบียบต่าง ๆ เป็นบรรทัดฐาน

  19. จบบทที่ 1 Exit กลับไปรายการเลือก

More Related