450 likes | 647 Views
การปลดหนี้สุดขอบฟ้า. ชีวิต ครอบครัว พ่อแม่ ต้องมาก่อน. หนี้...มาจากไหน ?. ไม่มีวินัยการเงิน ใช้-จ่ายไม่มีการวางแผน ใช้จ่ายเงินเกินตัว เกินกำลัง ฟุ่มเฟือย บ้าบอล ชอบเล่นการพนัน มัวเมาสุรา ยาเสพติด มีภาระครอบครัวมาก ต้องส่งเสียทั้งลูกเมียและพ่อแม่ หางานทำไม่ได้ หรือเพิ่งถูกไล่ออกจากงาน
E N D
การปลดหนี้สุดขอบฟ้า ชีวิต ครอบครัว พ่อแม่ ต้องมาก่อน
หนี้...มาจากไหน ? • ไม่มีวินัยการเงิน ใช้-จ่ายไม่มีการวางแผน • ใช้จ่ายเงินเกินตัว เกินกำลัง ฟุ่มเฟือย • บ้าบอล ชอบเล่นการพนัน มัวเมาสุรา ยาเสพติด • มีภาระครอบครัวมาก ต้องส่งเสียทั้งลูกเมียและพ่อแม่ • หางานทำไม่ได้ หรือเพิ่งถูกไล่ออกจากงาน • กู้เงินเอามาลงทุนแต่ธุรกิจฝืดเคือง • กู้เงินมาหมุนเพื่อเอามากินมาใช้ เพื่ออาไปใช้หนี้ของอีกเจ้าหนึ่งและอีกเจ้าหนึ่ง
หนี้ในระบบ - หนี้นอกระบบ
หนี้ในระบบ • หนี้ในระบบ คือ หนี้ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาระบุหนี้ไว้เท่าไร ลูกหนี้ก็ได้รับเงินตามที่ระบุไว้ในสัญญา และเจ้าหนี้ก็เรียกเก็บดอกเบี้ยไม่เกินที่กฎหมายกำหนด
หนี้ในระบบ • เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน บริษัทเงินทุนต่าง ๆ ที่ให้บริการสินเชื่อ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยตามที่ทางราชการกำหนด • เจ้าหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งให้กู้ยืมเงินกฎหมายให้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี หรือ ร้อยละ 5 สลึงต่อเดือนเท่านั้น • เจ้าหนี้สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงค์) ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน 28 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อต่าง ๆ ทั้งสินเชื่อเงินสด สินเชื่อเช่าซื้อสินค้า หรือบัตรเครดิต ซึ่งยังเป็นข้อถกเถียงในเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่จะให้เรียกเก็บเกินร้อยละ 15 ต่อปีมาเป็นร้อยละ 28 ต่อปีได้หรือไม่
หนี้นอกระบบ • คือหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประเภท กู้ 30,000 บาท แต่ในสัญญาเขียน 300,000 คิดดอกเบี้ยร้อยละ 120 ต่อปี อย่างที่เห็นโฆษณาเงินด่วนที่ปะอยู่ตามเสาไฟฟ้า หรือสะพานลอย
ดอกเบี้ยตามกฎหมายอยู่ที่เท่าไหร่ดอกเบี้ยตามกฎหมายอยู่ที่เท่าไหร่ • ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.654 ให้เรียกเก็บดอกเบี้ยได้เพียงไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น การเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราจึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย มีโทษทางอาญา ฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทำไมธนาคารถึงคิดดอกเบี้ยได้มากกว่าร้อยละ 15 • เนื่องจาก มีการอ้างถึงความจำเป็นในสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่เปลี่ยนไปและความอยู่รอดทางธุรกิจของสถาบันการเงินต่าง ๆ รัฐบาลจึงได้ออกกฎหมายที่ชื่อ “พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523” ขึ้นมา และมีการแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ.2524) และฉบับที่ 3 (พ.ศ.2535) ซึ่งทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกเว้นการบังคับใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 654 และอนุญาตให้สถาบันการเงินเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ 15 ต่อปีได้ โดยรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเป็นผู้ประกาศอัตราดอกเบี้ยตามคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย
ทำไมนอนแบงค์คิดดอกเบี้ยได้ถึงร้อยละ 28 • เมื่อ มิ.ย. 2548 กระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 ม.ค.2515 ที่ว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน ออกประกาศกำหนดให้ธุรกิจสินเชื่อที่มีลักษณะกิจการคล้ายธนาคาร(Nonbank) เหล่านี้ให้เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตและให้อยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 28 ราย)
ทำไมนอนแบงค์คิดดอกเบี้ยได้ถึงร้อยละ 28 • ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศตามมาเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยรวมกับค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมของสินเชื่อส่วนบุคคลไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี โดยแบ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ที่เหลืออีกร้อยละ 13 คือค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียม ให้มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 ก.ค. 2548
การใช้กระแสเงินสด ชดใช้เฉพาะหนี้ที่ถูกกฎหมาย หยุดชำระหนี้ เพื่อรอขึ้นศาล แนวทางการปลดหนี้
การตามทวงหนี้โหด การถูกฟ้องศาล การถูกยึดทรัพย์ อายัดเงินเดือน สิ่งที่ลูกหนี้จะเจอเมื่อหยุดชำระหนี้
การตามทวงหนี้โหด • ทวงแบบไม่สุภาพ พูดเหมือนคุณเป็นขี้ข้าคนทวงหนี้ • ทวงไปถึงคนที่มีชื่ออ้างอิงในตอนสมัคร หรือตอนทำสัญญาปรับปรุงหนี้ • ทวงไปถึงพ่อแม่ ญาติพี่น้องที่ต่างจังหวัด • ทวงโดยฝากคำพูดกับผู้รับโทรศัพท์เวลาเราไม่อยู่ที่ทำงาน • ส่งแฟกซ์เข้าที่ทำงานประจานให้คนรับแฟกซ์เห็น และส่งวันหนึ่งหลาย ๆ ครั้ง จนคุณถูกเจ้านายเรียกไปตักเตือน
การตามทวงหนี้โหด • ส่งไปรษณียบัตรไปที่บ้าน • ส่งจดหมายขู่สารพัดจากบริษัททนายตัวแทนสถาบันการเงินต่าง ๆ ล่าสุดมีการทำจดหมายเลียนแบบทำให้ลูกหนี้เข้าใจว่าเป็นคำสั่งศาล และขู่ว่าคุณจะโดนอายัดเงินเดือน ขู่ว่าจะฟ้องเจ้านาย ขู่ว่าคุณจะถูกดำเนินคดีอย่างร้ายแรงภายใน 3 วัน 7 วัน • ฯลฯ
สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการทวงหนี้ • ในทางกฎหมายแล้วเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยทางศาลได้ เมื่อมีคำพิพากษาแล้วจักบังคับใช้หนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ • ผู้ถูกทวงหนี้จะต้องมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกู้ยืมเงินเท่านั้น เช่น ลูกหนี้ ลูกหนี้ร่วม หรือผู้ค้ำประกัน เป็นต้น การไปข่มขู่ คุกคาม ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง หรือผู้เกี่ยวข้องกับลูกหนี้ ล้วนเป็นความผิดอาญาฐานกรรโชกทรัพย์ได้
สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการทวงหนี้ • การทวงหนี้ที่ใช้พฤติกรรมตัวอย่างเช่น เขียนจดหมายข่มขู่ด้วยวาจาหยาบคายหรือเป็นเท็จ ทำร้ายร่างกาย ด่าทอ กักขัง ทำการรบกวนชีวิตประจำวัน เป็นต้น หากกระทำต่อลูกหนี้หรือสมาชิกในครอบครัว เพื่อน บรรดาผู้ถูกทวงหนี้มีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มคนเหล่านั้นได้ทันที ถ้ามีการทำร้ายบาดเจ็บหรือกักขังหน่วงเหนี่ยว พวกเขาต้องรับโทษอาญาฐานทำร้ายร่างกายหรือทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพอีกคดีหนึ่งด้วย
สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการทวงหนี้ 3 • ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 บัญญัติว่า ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ ยอมให้ หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่า จะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือ ของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำผิดฐานกรรโชก มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการทวงหนี้ 4 • การส่งคำเตือนเรื่องหนี้ด้วยวิธีก้าวร้าวหรือจงใจประจานทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงด้วยวิธีใดๆ อาจเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ และในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 323 ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่น แล้วเปิดเผยความลับนั้น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการทวงหนี้ 5 • การกู้เงินเป็นเรื่องส่วนตัว การข่มขู่หรือการนำความลับของลูกหนี้ไปเปิดเผยแก่บุคคลอื่นจึงเป็นความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา ลูกหนี้ที่เจอกับการทวงหนี้ลักษณะเช่นนี้ให้สอบถามรายละเอียดว่าเจ้าหน้าที่คนนั้นชื่ออะไร ทำงานอยู่ที่บริษัทไหน ขอเบอร์โทรกลับ และแจ้งถึงความผิดที่เขาได้กระทำอยู่และสิทธิของคุณที่จะดำเนินการตามกฎหมาย
ควรปรับโครงสร้างหนี้ดีหรือไม่ควรปรับโครงสร้างหนี้ดีหรือไม่ • ไม่แนะนำ • มาตรา 655 ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ แต่ทว่าเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปี คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ แต่การตกลงนั้นต้องทำเป็นหนังสือ… • ดังนั้นถ้าไม่มีการตกลงปรับโครงสร้างหนี้ เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถคิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระได้
การถูกฟ้องศาล... เรื่องร้ายจะกลายเป็นดี • เป็นการยืดเวลาเพื่อให้ลูกหนี้ได้ตั้งตัว ตั้งสติ • ลูกหนี้มีโอกาสต่อรองลดหนี้กับเจ้าหนี้ในศาลได้ • การบังคับคดีมีความเป็นธรรมมากกว่าการถูกทวงหนี้
การถูกยึดทรัพย์ • เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระคืนตาม 30 วัน เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์หรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ โดยให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายยึดและอายัดต่อไป
การถูกยึดทรัพย์ • 1. ทรัพย์สินที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต มูลค่ารวมกัน 50,000 บาทแรกห้ามเจ้าหนี้ยึด ทรัพย์ที่จำเป็นในการดำรงชีพ เช่น โต๊ะกินข้าว เก้าอี้ โทรทัศน์ เครื่องครัว แต่ถ้าเป็นสร้อย แหวน นาฬิกา ของเหล่านี้แม้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของลูกหนี้ แต่เจ้าหนี้ก็มีสิทธิยึดได้เพราะไม่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต
การถูกยึดทรัพย์ • 2. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือทำมาหากินของลูกหนี้ ถ้ามูลค่ารวมกัน 100,000 บาทแรก ห้ามเจ้าหนี้ยึด เครื่องมือประกอบอาชีพ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร(ถ้าประกอบธุรกิจรับถ่ายเอกสาร) ในกรณีที่เครื่องมือประกอบอาชีพมีราคาสูงกว่า 100,000 บาท และจำเป็นต้องใช้จริง ๆ ก็สามารถขอต่อศาลได้
การถูกยึดทรัพย์ • หากมีเจ้าหนี้หลายราย ทรัพย์ใดถูกยึดไปแล้ว ห้ามเจ้าหนี้รายอื่นมายึดซ้ำ เจ้าหนี้รายใดยึดก่อนก็ได้สิทธิก่อน
การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่าง ๆ • ในกรณีที่ลูกหนี้ ไม่มีทรัพย์สินจะให้ยึด เจ้าหนี้จะสืบต่อไปว่าลูกหนี้ทำงานที่ไหน เพื่อจะอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นี้ ก็เช่น สิทธิที่จะได้รับเงินเดือนจากนายจ้าง ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส ค่าจ้างทำของต่าง ๆ เป็นต้น
การอายัดเงินเดือน โบนัสฯ • การสั่งอายัดเงินเดือน ค่าจ้าง ได้แค่ 30% ของเงินเดือน ขณะที่ได้รับหนังสืออายัด โดยคำนวณจากเงินเดือนก่อนหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ภาษี ประกันสังคม • เงินโบนัส อายัดได้ 50%
การอายัดเงินเดือน โบนัสฯ • เงินตอบแทนกรณีลูกหนี้ออกจากงาน อายัดได้ 100% • เงินค่าคอมมิชชั่นอายัดได้ 30%
การอายัดเงินเดือน โบนัสฯ • ในกรณีลูกหนี้ เงินเดือน ไม่ถึง 10,000 บาท ห้ามเจ้าหนี้อายัดเงินเดือน แต่มิได้หมายความว่าหนี้จะหมดไป เพียงแต่แขวนหนี้เอาไว้ก่อน • หากลูกหนี้เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ห้ามเจ้าหนี้อายัดเงินเดือน
การอายัดเงินเดือน โบนัสฯ • เมื่อถูกอายัดเงินเดือน หรือรายได้ใด ๆ ก็ตาม รวมแล้วลูกหนี้ต้องมีเงินเหลืออย่างน้อยเดือนละ 10,000 บาท แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้เงินมากกว่า 10,000 บาท เช่น มีลูกหลายคน ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ หรือมีโรคประจำตัว ก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลให้เพิ่มจำนวนเงินเลี้ยงชีพมากกว่า 10,000 บาทได้ นอกจากนี้ ยังสามารถขอลดหย่อนสัดส่วนการอายัดรายได้ให้น้อยกว่าร้อยละ 30 ได้อีกหากมีความจำเป็น
การอายัดเงินเดือน โบนัสฯ • ในกรณีมีเจ้าหนี้หลายราย เมื่อถูกเจ้าหนี้รายใดอายัดเงินเดือนไปแล้ว ห้ามเจ้าหนี้อื่นอายัดเงินเดือนซ้ำอีก
การฟ้องให้ล้มละลาย • ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว • ลูกหนี้(บุคคลธรรมดา) เป็นหนี้เจ้าหนี้ ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท • ลูกหนี้ (นิติบุคคล) เป็นหนี้เจ้าหนี้ ไม่น้อยกว่า สองล้านบาท • หนี้ที่ถูกฟ้องต้องกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน แม้ว่าหนี้สินนั้นจะถึงกำหนดชำระในอนาคต (ต่างกับการร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ ต้องไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท)
มาตการควบคุมลูกหนี้ • ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดกจำนวนเงิน เพื่อใช้จ่ายเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว • ทุกครั้งที่ลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับทรัพย์สินจะต้องรายงานให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ • ลูกหนี้จะออกไปนอกราชอาณาจักรไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ • ห้ามลูกหนี้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเว้นแต่จะได้กระทำการตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้
การปลดจากการล้มละลาย • ศาลมีคำสั่งปลดจากการล้มละลาย • ปลดจากล้มละลายทันที เมื่อพ้นเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย (โดยศาลไม่ต้องสั่ง)
แนวทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบแนวทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ • การเจรจาเพื่อให้ยอมตัดลดหนี้ให้ลูกหนี้ โดยใช้มาตรการทางภาษีกดดัน • นอกจากมาตรการทางภาษีแล้ว ก็ยังมีกฎหมายเกี่ยวกับความผิดที่เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และความผิดฐานกรรโชกทรัพย์และฟอกเงิน ซึ่งจะนำไปสู่การยึดทรัพย์สินของนายทุนเงินกู้นอกระบบดอกเบี้ยโหดต่อไป
แนวทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบแนวทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ • ประมวลรัษฎากร ม. 91/2(5) ได้บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น ให้กู้ยืมเงิน มีรายได้จากดอกเบี้ย ต้องปฏิบัติดังนี้ • ขอจดทะเบียนธุรกิจเฉพาะ ถ้าไม่จดทะเบียนถือว่าผิด • ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3 บวกกับภาษีบำรุงท้องถิ่นอีก ร้อยละ 0.3 รวมเป็น ร้อยละ 3.3 • กรมสรรพากรจะตรวจสอบย้อนหลัง 10 ปี หากเจ้าหนี้ไม่เคยยื่นแบบเสียภาษีว่าเคยมีรายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ เจ้าหนี้ก็จะมีความผิดที่แจ้งฐานภาษีเงินได้ผิดไปจากความเป็นจริง ต้องเรียกชำระเงินเพิ่มอีกหนึ่งเท่า ค่าปรับอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน จนกว่าจะชำระเสร็จ ค่าปรับต้องย้อนหลังไป 10 ปี (120 เดือน)
การเช่าซื้อหรือนิติกรรมอำพราง?การเช่าซื้อหรือนิติกรรมอำพราง? • ปัญหาการไปทำสัญญาเช่าซื้อโดยไม่ได้รับสินค้า โดนฟ้องยักยอกทรัพย์ • การเช่าซื้อ ตามหลักกฎหมาย ตราบใดที่ผู้เช่าซื้อยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ก็ยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ ส่วนผู้เช่าซื้อเป็นได้แค่ผู้ครอบครองและมีสิทธิใช้สอยทรัพย์เท่านั้น ดังนั้น หาก ลูกหนี้ไม่มีสินค้าไปคืน บริษัท A จะโดนแจ้งความดำเนินคดีอาญาในข้อหายักยอกทรัพย์ได้
การเช่าซื้อหรือนิติกรรมอำพราง?การเช่าซื้อหรือนิติกรรมอำพราง? • ความจริงเป็นนิติกรรมอำพราง เพราะเจตนาจริง ๆ คือสัญญากู้เงิน แต่ถูกอำพรางด้วยสัญญาเช่าซื้อสินค้า ที่ฝ่ายผู้ให้กู้ได้รับดอกเบี้ยสูงถึง 50 % ในช่วงเวลา 10 เดือน ซึ่งการกระทำเช่นนี้เจ้าหนี้จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
การเช่าซื้อหรือนิติกรรมอำพราง?การเช่าซื้อหรือนิติกรรมอำพราง? • วิธีแก้ปัญหา ให้ไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุ เพื่อให้มีการบันทึกว่า มีการทำสัญญาเช่าซื้อแต่ไม่ได้รับสินค้า เป็นนิติกรรมอำพราง
การเช่าซื้อหรือนิติกรรมอำพราง?การเช่าซื้อหรือนิติกรรมอำพราง? • สามารถร้องเรียน ให้ข้อมูลและขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ดำรงธรรมในจังหวัดต่าง ๆ หรือ สายด่วน โทร. 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือทางไปรษณีย์ จ่าหน้าซอง ส่ง "ศูนย์ดำรงธรรม" กรุงเทพมหานคร ตู้ ป.ณ.1 ปณฝ.มหาดไทย กรุงเทพ ฯ 10206 • คดีหนี้นอกระบบ ติดต่อ CallCenter 1157
อายุความของหนี้ • หนี้บัตรเครดิต 2 ปี • หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล 5 ปี • เมื่อมีคำสั่งศาลให้ชำระหนี้แล้วมีอายุความ 10 ปี
เครดิตบูโรคืออะไร • เครดิตบูโร คือ องค์กรที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อมูลเครดิตของสถาบันการเงิน ในช่วงเริ่มแรกมีการตั้งองค์กรขึ้นมา 2 องค์กร คือบริษัท ข้อมูลเครดิตไทย และบริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง ต่อมาเมื่อมี พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2546 สองบริษัทนี้ได้มารวมกันเปลี่ยนเป็น บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เมื่อ พ.ค. 2548 ถูกเรียกกันง่าย ๆ ว่า “เครดิตบูโร” • สถานที่ติดต่อ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (NCB)999/9 ชั้น 10 อาคารสำนักงานเซ็นทรัลเวิลด์ ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330โทร : (66) 0-2612-5800 แฟกซ์ : (66) 0-2612-5801-2
ชื่อจะถอดออกจากเครดิตบูโรได้เมื่อไรชื่อจะถอดออกจากเครดิตบูโรได้เมื่อไร • เมื่อชำระหนี้หมดแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ บูโร เก็บข้อมูลการชำระหนี้ไว้ 3 ปี สำหรับบุคคลธรรมดา และ 5 ปี สำหรับนิติบุคคล