1 / 46

หน่วยที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

หน่วยที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. เนื้อหา. โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ IDC และ ASP. ความสำคัญของอินเตอร์เน็ต.

sheera
Download Presentation

หน่วยที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  2. เนื้อหา • โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • เทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ • IDC และ ASP

  3. ความสำคัญของอินเตอร์เน็ตความสำคัญของอินเตอร์เน็ต • อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อธุรกิจที่สามารถรองรับการประกอบธุรกรรรมแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกขั้นตอน นั่นคือ การค้นหาสินค้า การสั่งซื้อ การชำระเงิน และการนำส่งสินค้าและบริการ กล่าวได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีความพิเศษอยู่ที่ความหลากหลายและยืดหยุ่น เนื่องจาก • ประการแรกลักษณะธุรกรรมที่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์กร โดยมีข้อจำกัดเรื่องเวลาและระยะทางน้อย • ประการที่สอง ลักษณะการสื่อสารแบบสื่อประสม ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อินเทอร์เน็ตจึงสามารถลดข้อจำกัดในการสื่อสารที่มีอยู่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบเดิม ทั้งยังช่วยเชื่อมประสานสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบเดิมที่มีอยู่หลายประเภทให้เข้ามาเป็นระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์ได้

  4. โครงสร้างของเครือข่ายและการเติบโตของอินเตอร์เน็ตโครงสร้างของเครือข่ายและการเติบโตของอินเตอร์เน็ต • โครงสร้างของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตคือต้นแบบของโครงสร้างแบบกระจายที่ครอบคลุมโยงใยไปทั่วโลก ในทางกายภาพเราสามารถแบ่งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นระดับชั้นได้ โดยในชั้นบนสุดจะมีสายส่งข้อมูลที่เรียกว่า backbone ที่มีความเร็วของการส่งผ่านข้อมูลสูงมากทำหน้าที่เสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ของเครือข่าย • ข้อมูลส่วนใหญ่ที่อยู่ในระบบอินเตอร์เน็ตจะถูกส่งยังจุดเชื่อมต่อเครือข่าย หรือ NAPs (Network Access Points)เพื่อส่งผ่านไปยัง backbone โดย NAPs จะกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งมีบริษัททางด้านการสื่อสารต่างๆ ดูแลอยู่ เช่น Sprint, MFS, Teleglobe, PCCW, DACOMเป็นต้น

  5. โครงสร้างของเครือข่ายและการเติบโตของอินเตอร์เน็ตโครงสร้างของเครือข่ายและการเติบโตของอินเตอร์เน็ต • ในชั้นถัดมาจะเป็นเครือข่ายในระดับประเทศและเชื่อมต่อเข้ากับInternetผ่านทาง NAPs เครือข่ายในระดับนี้เป็นจุดที่มีความคับคั่งของข้อมูลมากและเป็นสาเหตุทำให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างล่าช้า ผู้ที่รับผิดชอบดูแลเครือข่ายระดับนี้ในประเทศไทยได้แก่ การสื่อสารแห่งประเทศไทย, บ.ทีโอที คอร์ปฯ, เนคเทคหรือไทยสาร และ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตต่างๆ (ISP : Internet Service Provider)เป็นต้น • ในชั้นถัดมาจะเป็นเครือข่ายในระดับท้องถิ่น ภูมิภาคหรือระดับจังหวัด เช่น ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในระดับท้องถิ่น ภูมิภาคหรือระดับจังหวัด เป็นต้น แล้วจึงแยกย่อยเข้าสู่มหาวิทยาลัย โรงเรียน องค์กรธุรกิจ หรือ สถาบันองค์กรต่างๆ ตลอดจนผู้ใช้งานตามบ้านทั่วไป

  6. High Speed backbone networks โครงสร้างของเครือข่ายและการเติบโตของอินเตอร์เน็ต NAPs Teleglobe NAPs DACOM NAPs PCCW NAPs Sing Tel CAT TOT KSC CSLoxinfo สถาบันการศึกษา องค์กรธุรกิจ ผู้ใช้งานทั่วไป

  7. Domain Name • คือชื่อที่ใช้แทนกลุ่มตัวเลข IP Address • IP Address คือการกำหนดรหัสของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่ให้ซ้ำกัน เป็นตัวเลข 4 กลุ่ม เช่น 203.151.17.31 เพื่อจะได้สื่อสารอ้างอิงถึงกันในเครือข่ายอินเตอร์เนตได้ทั้งโลก แต่เนื่องจากจดจำได้ยาก จึงมีการพัฒนา Domain Name ขึ้นมาใช้เรียกแทนเลขดังกล่าวนี้ เช่น Domain Name = http://www.cmru.ac.th IP Address = 202.29.60.208

  8. การทำงานของระบบ Domain Name • มีการใช้เครื่อง Name Server หรือ Domain Name Service ; DNS ใช้เก็บชื่อโดเมนต่างๆ และเลข IP ของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นไว้ เมื่อผู้ใช้เรียกดูข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยอ้างชื่อโดเมน เซิฟเวอร์ดังกล่าวจะค้นเลข IP ที่ตรงกับชื่อโดเมนนั้นให้อัตโนมัติ • การใช้ระบบโดเมนเนมต้องมีความเป็นเอกลักษณ์ มีชื่อเดียว ซ้ำไม่ได้ จึงต้องมีองค์กรกลางในการจัดการรับจดชื่อเหล่านี้ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรมีหน้าที่รักษามาตรฐานและดูแลโดเมนเนมทั่วโลก คือ ICANN (Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) โดยมี บริษัท Network Solutions เป็นผู้ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลสหรัฐ ให้บริการดูแลการจดทะเบียน

  9. การจองชื่อ Domain Name • หลักการจดทะเบียนโดเมนเนม ยึดหลักใครจดก่อนได้ก่อน โดยไม่สนใจว่าชื่อนั้นจะเกี่ยวข้องกับผู้จดทะเบียนแต่อย่างใด • ปัจจุบัน Network Solution ปล่อยให้เกิดการแข่งขันในการรับจดทะเบียนโดเมนเนมแล้ว อัตราค่าบริการจึงถูกลง โดยประมาณ 10-25U$ ต่อปี (400 – 1000 บาทต่อปี) • กลุ่มของชื่อโดเมนเนมนั้นมีการแบ่งเป็นระดับ ระดับสูงสุด (Top Level) ซึ่งเป็น Domain Nameที่ Network Solution ได้สิทธิ์ผูกขาด ดังนี้

  10. กลุ่มของชื่อโดเมนเนม • .com Commercial Website • .net Network , Organization Website • .mil Military Website • .gov Government Website • .edu education or Academic Website • .org Organization or Privatization web

  11. ความสำคัญของโดเมนเนม • โดเมนเนมที่คุ้นหูหรือเดาง่ายเป็นที่ต้องการมาก เพราะทำให้ลูกค้าเข้าถึงเว็บไซต์ที่ต้องการได้ • ทำให้เจ้าของเว็บไซต์ไม่ต้องลงทุนในการโฆษณาชื่อเว็บไซต์มาก ลูกค้าก็สามารถสุ่มเดาชื่อเข้ามาได้โดยง่าย • จึงเกิดธุรกิจหากินกับการจองชื่อโดเมนเนมแล้วนำมาขายกลับ • จากหลักการใครจดก่อนได้ก่อน ทำให้มีคนหัวใสจองชื่อเมนไว้แล้วนำมาขายแก่เจ้าของชื่อในราคาแพง เรียกพวกนี้ว่า Cyber squatter ปัจจุบัน ICANN ต้องออกมาปกป้องชื่อโดเมนที่มีชื่อเสียงเพื่อป้องกันการกระทำดังกล่าวและมีการระงับข้อพิพาทโดยการฟ้องคดีกับ WIPO (World Intellectual Property) เพื่อตัดสินคดีเกี่ยวกับการแย่งสิทธิ์ โดเมนเนม

  12. วิธีการจดทะเบียน Domain Name • www.gkg.net • www.ecombotthailand.com • www.thnic.com • www.networksolutions.com • www.checkdomain.com • www.SnapNames.com

  13. โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะสมบูรณ์ได้ต้องประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม และองค์ประกอบหลักที่ครบถ้วน โดยในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วย • Telecommunication Infrastructure • Internet Infrastructure • Internet Software and Tools • องค์ประกอบหลักอื่นๆ

  14. โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • Telecommunication Infrastructure:โครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคม ควรมีอย่างเพียงพอและทั่วถึงในราคาที่ยอมรับได้ เพื่อให้การใช้งานสามารถกระจายออกไปได้ทั่วประเทศ เช่น โทรศัพท์ ระบบวงจรเช่า ใยแก้วนำแสง และระบบไร้สาย เป็นต้น

  15. โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • Internet Infrastructure:โครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ต โดยการใช้บริการจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ทั้งที่เป็นการใช้บริการแบบส่วนบุคคลและแบบองค์กร ทั้งที่เป็นระบบหมุนโทรศัพท์ผ่านโมเด็มของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Dial Up Service) หรือแบบเช่าสายสื่อสาร (Leased Line) เพื่อให้สมาชิกภายในองค์กรใช้ร่วมกันผ่านเครือข่ายขององค์กรเอง

  16. โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • Internet Software and Tools:ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้บนอินเทอร์เน็ต เช่น HTML, CGI, PERL, Java, ASP, PHP,และ DHTMLเป็นต้นโปรแกรมต่างๆ เช่น Browser, FTP, Content Creator หรือ CMS เป็นต้น

  17. โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • องค์ประกอบหลักอื่น ๆ ได้แก่ • ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง • เนื้อหาภายในเว็บไซต์ชัดเจนในเรื่องวัตถุประสงค์ในการขายสินค้า/บริการ • ออกแบบเว็บไซต์ให้ใช้งานได้ง่ายและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว • มีความปลอดภัยในการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า สามารถป้องกันผู้บุกรุกไม่ให้เข้ามาแก้ไขหรือทำลายข้อมูล • สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้า/บริการ ว่าจะได้รับสินค้า/บริการแน่นอน และถ้าหากชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ข้อมูลจะไม่ถูกนำไปใช้ในการหาผลประโยชน์อื่น

  18. โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โครงสร้างพื้นฐานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • มีทางเลือกในการชำระค่าสินค้า/บริการ ให้กับลูกค้าหลายๆ ทาง เช่น เงินสด บัตรเครดิต เช็คเงินสด ธนาณัติ หรือพัสดุเก็บเงินปลายทาง เป็นต้น • จัดส่งสินค้า/บริการให้ถึงมือลูกค้าด้วยความรวดเร็ว ระมัดระวัง และตรงต่อเวลา • มีทางเลือกในการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้หลายๆทาง (คำนึงถึงความเหมาะสมและค่าใช้จ่ายในการจัดส่งด้วย) • ซอฟต์แวร์สำหรับการทำธุรกิจ เมื่อมีการทำเว็บไซต์แล้วควรใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น เชื่อมต่อให้ครบวงจรทั้งระบบการชำระเงิน การนำข้อมูลมาใช้กับระบบภายในสำนักงาน (Back Office) การจัดการสินค้าคงคลัง การสั่งซื้อสินค้า และระบบการจัดส่ง เป็นต้น

  19. เทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์เทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ • การจะสร้างเว็บไซต์ให้น่าสนใจ สามารถทำงานได้ตรงตามความต้องการของเรานั้น ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่างในการสร้างสรรค์ ได้แก่ • Browser(โปรแกรมที่ใช้เรียกดูข้อมูลตลอดจนบริการต่างๆ บนเครือข่าย World Wide Web) ที่นิยมใช้ ได้แก่ Netscape,Internet Explorer และ firefox เป็นต้น • เครื่องมือซอฟต์แวร์ในการสร้างเว็บ1.Web Authoring Toolsเป็นโปรแกรมสร้างเว็บ ช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างเว็บเพจ ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้ โดยมากไม่จำเป็นต้องทราบ HTMLก็สามารถสร้างเว็บได้ เช่น Frontpage, GoLive,และ Dream Weaver2.Visual Programming Toolsเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วยลักษณะของ Interfaceเช่น Delphi, Visual Basic,และ Visual C++

  20. เทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์เทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ • ภาษาในการสร้างเว็บ1. Markup Languageคือ ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งของคอมพิวเตอร์ ที่ต้องมีการกำหนด Tagเปิดปิด เพื่อแสดงผลลัพธ์ในลักษณะของเว็บเพจ ซึ่งสามารถแสดงผลได้ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าเป็นภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เช่น HTML, Dynamic HTML, VRML, SGML,และ XML2. Scriptingคือ ส่วนของโปรแกรมที่แทรกเข้าไป เพื่อประโยชน์ในการใช้งาน เช่น CGI Script, Java, Java Applet, JavaScript, VBScript, C++, Perl,PHPและ Active X

  21. CGI ; Common Gateway Interface • วิธีที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายใช้ในการโต้ตอบกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยรับข้อมูลมาจากเครื่องลูกข่ายผ่านอินเทอร์เนต Client CGI Server

  22. CGI ; Common Gateway Interface • CGIสามารถเรียกใช้โปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายได้ และสามารถส่งข้อมูลจากลูกข่ายเข้าไปประมวลผลในเครื่องแม่ข่ายแล้วส่งค่าที่คำนวณเสร็จกลับมาแสดงผลในลูกข่ายได้ เช่น • ข้อมูลคำสั่งซื้อ และระบบตะกร้าเงิน • คำสั่งค้นหารายการสินค้า • ข้อมูลแสดงผลการชำระเงิน • โปรแกรมนับจำนวนคนเยี่ยมชมเว็บไซต์ (Hit Rate)

  23. ตัวอย่างของการส่งค่าไปยังเครื่องแม่ข่ายตัวอย่างของการส่งค่าไปยังเครื่องแม่ข่าย ส่งค่ากลับมาแสดงให้ Client เห็นว่ารวมเป็นเงินเท่าไร Cart System ที่ระบบตะกร้าทาง Client จะส่งจำนวนสินค้าผ่าน CGI เข้าไปคำนวณในเครื่องแม่ข่าย

  24. CGI ; Common Gateway Interface • Trend • CGI เป็นต้นแบบของการพัฒนา Application Server โดยมีผู้ให้บริการโปรแกรมประยุกต์บนเครื่องแม่ข่าย (Application Service Provider : ASP) แล้วให้ผู้ใช้บริการ Download โปรแกรมมาใช้ โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมต่างๆ บนเครื่องลูกข่ายอีกต่อไป • กรณีในปัจจุบัน ได้แก่ True Internetเปิดให้ผู้ใช้บริการเครือข่าย Trueสามารถ เรียกใช้โปรแกรมการจัดการธุรกิจได้หลากหลายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

  25. ประโยชน์ของ CGI • ใช้วิเคราะห์ตลาดและพฤติกรรมผู้ซื้อในระบบ EC • จะทราบได้อย่างไรว่าคนที่เข้ามาชมเว็บไซต์ของเราอยู่ในประเทศอะไร • จะทราบได้อย่างไรว่าคนที่ชมเว็บไซต์ของเรานั้นใช้เวลานานเท่าไร และอยู่ที่ page ใดนานที่สุด • จะทราบได้อย่างไรว่าก่อนหน้านี้เขาไปเว็บไซต์ใดมาก่อน การใช้ CGI เพื่อการประมวลผลจะทำให้เราทราบพฤติกรรมและสถานการณ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการวางแผนการตลาดของเว็บไซต์ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งสามารถใช้ภาษาใดๆ ก็ได้ในการพัฒนา

  26. ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม CGI • PERL • C • TCL • JAVA • PHP • PERL ; Practical Extraction and Report Language เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานส่วนใหญ่บนอินเทอร์เนตซึ่งเป็นการตัดต่อคำ แต่งรูปประโยคและแสดงผลตัวอักษรมากกว่างานคำนวณที่ซับซ้อน ซึ่งบริการเว็บโฮสติ้งส่วนใหญ่มักมีตัวแปลภาษา PERL อยู่แล้ว จึงเป็นเหตุผลที่มีการใช้ PERL อย่างกว้างขวางในการทำ CGI

  27. เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง • www.w3.org/cgi/ • www.comp.leeds.ac.uk/perl/start.htm • www.cgi.resourceindex.com • www.cgi2you.com

  28. ผู้ให้บริการเทคโนโลยีสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ผู้ให้บริการจดทะเบียนการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์นั้นมีหน่วยงานดูแลเพื่อไม่ให้เกิดการจดชื่อที่ซ้ำซ้อนกัน แต่เดิมมีหน่วยงานในการกำหนดหมายเลข IPให้เครือข่ายทั่วโลก คือ InterNIC (International Network Information Center) แต่ต่อมามีการแบ่งออกเป็นภูมิภาค เช่น APNICสำหรับกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก อย่างไรก็ดีคนส่วนใหญ่ยังนิยมที่จะจดโดเมนเป็น .comที่สามารถเชื่อมโยงได้โดยตรงกับ Network Solutionsสำหรับประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้บริการจดทะเบียนโดเมนภายใต้ชื่อ thคือ THNIC (Thailand Network Information Center) ซึ่งปัจจุบันมีโดเมนเนมที่ให้บริการอยู่ ดังนี้ ac.th, co.th, go.th, in.th, mi.th, net.th,และ or.th.

  29. ผู้ให้บริการเทคโนโลยีสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ผู้ให้บริการระบบสื่อสารการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ผูกขาดบริการการสื่อสารระหว่างประเทศ และเป็นผู้ที่ให้สัมปทานการให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ ในอนาคตจะมีองค์กรใหม่เข้ามาทำหน้าที่ดูแลควบคุมในส่วนนี้แทน คือ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)องค์การโทรศัพท์และเอกชนผู้ให้บริการสื่อสารเชื่อมต่อภายในประเทศ เป็นผู้ให้บริการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้หรือองค์กรกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการการสื่อสารภายในประเทศเป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีผลต่ออัตราการเติบโตของอินเทอร์เน็ตประเทศไทย

  30. ผู้ให้บริการเทคโนโลยีสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) มีทั้งที่เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษาและวิจัย อย่างเช่น UNINETและ Thaisan-Internetและผู้ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตเอกชนที่ได้รับสัมปทานจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยให้เป็นผู้บริการอินเทอร์เน็ตกับบริษัท ห้างร้านและบุคคลทั่วไป หน้าที่หลักของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตคือ เชื่อมโยงผู้รับบริการเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การให้บริการอีเมล์ และ การให้บริการเช่าพื้นที่เว็บไซต์สำหรับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

  31. ผู้ให้บริการเทคโนโลยีสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ผู้ให้บริการระบบสารสนเทศประยุกต์ Application Service Provider: ASPคือผู้ให้บริการระบบสารสนเทศทางธุรกิจตามวัตถุประสงค์ที่ลูกค้าต้องการ การให้บริการดังกล่าวนี้อาจรวมถึง การให้คำปรึกษาทางด้านการวิเคราะห์ความต้องการด้านระบบสารสนเทศที่สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจของลูกค้า การวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศให้ลูกค้า รวมทั้งการติดตั้งและดูแลระบบนั้นๆ ด้วย การให้บริการ ASPนี้จึงอาจมีลักษณะเป็นแบบครบวงจร โดยที่ลูกค้าไม่ต้องไปติดต่อว่าจ้างที่อื่นอีกก็ได้

  32. ผู้ให้บริการเทคโนโลยีสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ผู้ให้บริการเว็บ โฮสติ้ง (Web Hosting)ผู้ให้บริการเว็บ โฮสติ้งเป็นผู้ที่ให้บริการเนื้อที่สำหรับเก็บข้อมูลในการนำเสนอเว็บไซต์ของผู้ประกอบการรายย่อยที่ยังไม่มีระบบเครือข่ายเป็นของตัวเอง และยังไม่ต้องการที่จะลงทุนในเรื่องของระบบสื่อสารและระบบคอมพิวเตอร์ โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ให้บริการเว็บ โฮสติ้งมักเป็นผู้เช่าบริการจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอีกขั้นหนึ่ง อีกทั้งยังให้บริการรับเป็นนายหน้าในการจดทะเบียนโดเมนเนมด้วย

  33. ผู้ให้บริการเทคโนโลยีสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ผู้ให้บริการเพื่อการแลกเปลี่ยนธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ EDIEDIคือระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยข้อมูลธุรกรรมจะอยู่ในรูปแบบฟอร์มมาตรฐาน เช่น ในรูปฟอร์มมาตรฐานที่กำหนดโดยหน่วยงานสหประชาชาติที่เรียกว่า UN/EDIFACTเทคโนโลยีอีดีไอนี้ได้มีการใช้งานมาตั้งแต่ปี 1960 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันประเทศไทยก็มีการใช้ระบบอีดีไอในการดำเนินการด้านการซื้อขาย โดยศุลกากรเป็นผู้ผลักดันในอดีตระบบอีดีไอ มักจะใช้งานอยู่บนเครือข่ายเฉพาะกิจและใช้เทคโนโลยีที่มีความจำเพาะจึงทำให้มีราคาค่าใช้จ่ายที่สูงมาก แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีราคาถูกลง ประกอบกับการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เป็นมาตรฐานที่กว้างขวางขึ้น การส่งผ่านข้อมูลธุรกรรมผ่านเครือข่ายอีดีไอเริ่มเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประโยชน์ของการใช้งานจึงกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

  34. Web Hosting • เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เป็นแหล่งเก็บข้อมูลไฟล์เว็บเพจของแต่ละเว็บไซต์เพื่อให้เครื่องลูกข่ายเรียกใช้ • การเรียกใช้เว็บไซต์จากเครื่องแม่ข่าย (Host) สามารถเรียกผ่านโปรแกรมบราวเซอร์ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องลูกข่าย (Clients) ที่มีอยู่จำนวนมากด้วยการเรียกเลขที่ IP Address ซึ่งในปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย Domain Name Hosting

  35. คุณสมบัติของ Hosting ที่ดี • High Efficiency • Speed of Processing • High area of storage • Stability of IP Address • High Security • From Hacker , Fraud , Crime • From Natural Disaster , Temperature , Humidity • From Accident ; as fire • Electricity Back Up , File Back Up • User Tracking ; มีระบบติดตามผู้ใช้งาน

  36. IDC : Internet Data Center • IDCหรือ Internet Data Centerคือองค์กรที่ให้บริการคุ้มครองเก็บรักษาข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์แก่ลูกค้า วิธีการเก็บรักษาอาจทำได้โดยการให้เช่าเนื้อที่บางส่วนของเซิร์ฟเวอร์ (Web Hosting) ให้เช่าเนื้อที่ทั้งหมดของเซิร์ฟเวอร์ (Dedicated Server) หรือ รับเอาเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของลูกค้ามาเก็บรักษาไว้ที่ศูนย์ (Co-Location) โดยจุดขายของบริการประเภทนี้จะอยู่ที่ โครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยและการดูแลอย่างเข้มงวด เช่น ระบบกำลังไฟฟ้าสำรอง ระบบดับเพลิงโดยไม่ใช้น้ำ ระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง วิศวกรที่ตรวจตราระบบตลอดเวลา เพื่อรับรองความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าในทุกสถานการณ์ ตัวอย่างรายชื่อ IDC ในประเทศไทย ได้แก่ • บริษัท อาร์คไซเบอร์ จำกัด – http://www.arccyber.com • บริษัท ชินบรอดแบนด์ จำกัด – http://www.shinbroadband.com • บริษัท ดาต้าวัน เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด – http://www.d1asia.co.th • บริษัท พอยท์เอเชีย อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซนเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด – http://www.pointasiaidc.com - บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

  37. Internet Data Center ; IDC • บริษัท อาร์คไซเบอร์ จำกัด http://www.arccyber.com • บริษัท ชินบรอดแบนด์ จำกัด http://www.shinbroadband.com • บริษัท ดาต้าวัน เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด http://www.d1asia.co.th • บริษัท พอยท์เอเชีย อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซนเตอร์ http://www.pointasiaidc.com • บริษัท แจสมินอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด http://www.ji-net.com • บริษัท ซีเอสล็อกอินโฟ จำกัด http://www.csloxinfo.com http://www.csloxinfo.com/datacenter/webhosting.asp#price http://www.csloxinfo.com/datacenter/index.asp http://www.csloxinfo.com/datacenter/webhosting.asp#what

  38. CS Loxinfo ; Internet Data Center Control Room Server Farm and Clean Room

  39. Metro System Corp. Data Center บริษัท เมโทรซิสเต็มคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) MSC Group www.metrosystems.co.th

  40. Free Hosting • การลงทุนในการติดตั้งไฟล์ใน Hosting ที่กล่าวมา มีค่าใช้จ่ายอยู่ระหว่าง 10,000 – 15,000 ต่อเครื่องต่อปี จึงเหมาะกับองค์กรที่ใช้ประโยชน์จาก ธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ตโดยตรง • การขอใช้บริการ Free Host เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก หรือ Personal Web หรือผู้ประกอบการที่เริ่มต้นทดลองใช้เว็บไซต์ในการทำการตลาด • มีข้อเสียคือขนาดพื้นที่น้อย ไม่อิสระ และมักมีโฆษณาของผู้ให้บริการ Free Host แอบแฝงเข้ามาเสมอ (Pop Up) ตามเงื่อนไขที่ขอใช้ฟรี • Business Model ของ Free Hosting คือ Advertising Model โดยเรียกเก็บเงินค่าโฆษณาจากผู้ประสงค์ลงโฆษณา บนเว็บไซต์ของผู้ขอใช้บริการ

  41. ตัวอย่างของ Free Hosting • www.Netfirms.com • http://geocities.yahoo.com

  42. คุณสมบัติของ Free Hosting • URLชื่อเว็บของผู้ให้บริการ • Area Space ; 5MB – 500MB • วิธีการUp Load • FTP , Browser , Email to Admin , Frontpage • การโฆษณา • Pop-Up , Banner , No Ads , • CGIการอนุญาตให้รันโปรแกรมบน Host

  43. ชื่อเว็บไซต์ของผู้ขอใช้บริการ Free Hosting • /You ; ได้ชื่อเว็บไซต์ต่อท้ายชื่อผู้ให้บริการ เช่น www.netfirms.com/ourshop • Dir ; ผู้ให้บริการจัดหมวดหมู่ของผู้ใช้ตามประเภทธุรกิจ เช่น www.shoppingmall.com/ceramic/ourshop • Subdomain ; ผู้ให้บริการจะให้ชื่อร้านขึ้นต้นนำหน้า เป็นชื่อไซต์ที่ดีที่สุด เช่น www.ourshop.velocall.com • Domain ; ได้ชื่อโดเมนตามที่ต้องการแต่จะต้องเสียเงินค่าจดโดเมนรายปี เช่น www.ourshop.com

  44. หลักการเลือกผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่ดีหลักการเลือกผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่ดี • พิจารณาความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลของเว็บไซต์ในด้านลูกค้า • พิจารณาระบบปฏิบัติการบนเครื่องแม่ข่าย ; Windows , Linux • พิจารณาโปรแกรมต่างๆ บน Host • Program Web Server • Program แปลภาษา ; MS-ASP , Linux-PHP • Database Program ; • MS - SQLServer • Linux - mySQL • ใบรับรองอีเล็กทรอนิกส์ • ราคาค่าเช่าและค่าบริการ

  45. ASP :Application Service Provider • ASPหรือ Application Service Providerคือ ผู้ให้บริการระบบสารสนเทศทางธุรกิจตามวัตถุประสงค์ที่ลูกค้าต้องการ การให้บริการดังกล่าวนี้อาจรวมถึง การให้คำปรึกษาทางด้านการวิเคราะห์ความต้องการด้านระบบสารสนเทศที่สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจของลูกค้า การวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศให้ลูกค้า รวมทั้งการติดตั้งและดูแลระบบสารสนเทศนั้นๆ ด้วย การให้บริการ ASPนี้อาจมีลักษณะเป็นแบบครบวงจร โดยที่ลูกค้าไม่ต้องไปติดต่อว่าจ้างที่อื่นอีกก็ได้ ตัวอย่าง ASPในประเทศไทย ได้แก่ • บริษัท ไวล์ดเดสทิเนชั่น จำกัด – http://www.thaibiz.com • บริษัท ดาต้าแมท จำกัด – http://www.datamat.co.th • บริษัท เมโทรซิสเต็ม จำกัด – http://www.metrosystems.co.th

  46. แหล่งอ้างอิง • อ.พงศ์ตะวัน แสงสว่าง

More Related