250 likes | 312 Views
สานเสวนา. แก้ปัญหาชายแดนใต้. ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้. เป็นความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ไทยกับชาติพันธุ์มลายู. รัฐเป็นตัวแทนชาติพันธุ์ไทย มีชาตินิยมเป็นอุดมการณ์. ผู้ก่อการเป็นตัวแทนของส่วนหนึ่งของชาติพันธุ์มลายู มีชาติพันธุ์นิยมเป็นอุดมการณ์ และศาสนาเป็นแรงเสริม.
E N D
สานเสวนา แก้ปัญหาชายแดนใต้
ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ไทยกับชาติพันธุ์มลายู รัฐเป็นตัวแทนชาติพันธุ์ไทย มีชาตินิยมเป็นอุดมการณ์ ผู้ก่อการเป็นตัวแทนของส่วนหนึ่งของชาติพันธุ์มลายู มีชาติพันธุ์นิยมเป็นอุดมการณ์ และศาสนาเป็นแรงเสริม
การแก้ไขความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ • ระบบครอบงำ (domination) แบบกีดกัน (exclusive) โดยสร้างวาทกรรมให้เชื่อว่า กลุ่มชาติพันธุ์ที่อ่อนแอกว่ามีลักษณะด้อยและสมควรได้รับการเลือกปฏิบัติจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่ “เหนือกว่า” • ระบบครอบงำแบบรวมทุกฝ่าย (inclusive) ซึ่งก็คือการกลมกลืนชาติพันธุ์ (assimilation) คือบังคับให้คนกลุ่มน้อยใช้ภาษา และปรับวัฒนธรรมให้เหมือนคนกลุ่มใหญ่
การแก้ไขความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์การแก้ไขความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ • ระบบแบ่งปันอำนาจ (power sharing) ซึ่งมีทั้งแบบสหพันธ์ (federation) แบบสหสังคม (consociation – ที่การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์มีการผสมผสานกันมากจนไม่สามารถแยกพื้นที่อยู่อาศัยได้ชัดเจน) และแบบถ่ายโอนอำนาจ (devolution) จากรัฐไปสู่การปกครองในพื้นที่ของชนกลุ่มน้อย ซึ่งการแบ่งปันอำนาจแบบหลังนี้มีความเป็นทางการน้อยกว่าสองแบบแรก
การแก้ไขความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์การแก้ไขความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ • ระบบบูรณาการ (integration) ซึ่งเน้นความเป็นปัจเจก ตลอดจนเสรีภาพและความเสมอภาคระหว่างบุคคล ระบบนี้อุปมาอุปมัยเหมือนเป็นหม้อจับฉ่าย (melting pot) ซึ่งชาติพันธุ์กลุ่มน้อยไม่ได้ถูกกลมกลืนโดยปราศจากร่องรอย หากมีส่วนสำคัญในการสร้างองค์รวมของสังคมที่มีพลวัต ท่านคิดว่ารัฐควรใช้นโยบายชาติพันธุ์อย่างไร
ลักษณะร่วมของก่อการร้ายโดยปัจเจกและโดยรัฐลักษณะร่วมของก่อการร้ายโดยปัจเจกและโดยรัฐ 1. ใช้ความรุนแรงเพื่อให้ได้ชัยชนะ 2. ทำร้ายหรือทำลายจิตใจของผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการต่อสู้ 3. แพร่กระจายความตื่นตระหนกและหวาดกลัวเพื่อให้ยอมจำนน (spread terror/shock and awe)
ลักษณะร่วมของก่อการร้ายโดยปัจเจกและโดยรัฐลักษณะร่วมของก่อการร้ายโดยปัจเจกและโดยรัฐ 4. ลอบจู่โจมอย่างไม่คาดคิด ว่าเป้าหมายเป็นใคร ที่ไหน เมื่อไร 5. ผู้ก่อการอยู่ในที่ลับ ไม่แสดงตนให้ตอบโต้หรือถูกกำจัดโดยง่าย ท่านคิดว่าถ้ารัฐใช้วิธีการเดียวกับผู้ก่อการ จะมีผลเช่นไร
นิยามของสันติวิธี การแก้ปัญหาหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง โดยไม่ใช้ความรุนแรง เพื่อให้เกิดสันติสุข - - - - การกระทำเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม (หรือสถานการณ์) ไปในทางสันติ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน หรือโดยไม่ใช้ความรุนแรง ทางกายและวาจา
สันติวิธีทำงานอย่างไรสันติวิธีทำงานอย่างไร -ลดทอนอำนาจของคู่กรณี ด้วยการไม่เชื่อฟังหรือถอนการสนับสนุน หรือสร้างเงื่อนไขที่บั่นทอนสมรรถนะของคู่กรณี (Coercion to create balance of power) - สร้างจิตสำนึกถึงความไม่เป็นธรรม (persuasion to create awareness) - ชนะใจ ด้วยการให้อภัยและหยิบยื่นมิตรภาพให้
วิธีการแก้ไขความขัดแย้งวิธีการแก้ไขความขัดแย้ง • วิธีการจากง่ายไปหายาก จากกดดันน้อยไปกดดันมาก จากโอกาสแพ้/แพ้หรือชนะ/ชนะไปสู่โอกาสแพ้/ชนะกันมากขึ้น มีดังนี้ 1) หนีหน้า 2) พูดคุยอย่างไม่เป็นทางการและพยายามแก้ไขปัญหาร่วมกัน 3) การเจรจา 4) การเจรจาโดยมีคนกลาง 5) การตัดสินโดยใช้อำนาจบริหารจัดการขององค์กรหรือของรัฐ
วิธีการแก้ไขความขัดแย้งวิธีการแก้ไขความขัดแย้ง 6) การตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการ 7) การตัดสินโดยกระบวนการยุติธรรม 8) การตัดสินโดยฝ่ายนิติบัญญัติ 9) ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง 10) การใช้ความรุนแรง • จะเห็นได้ว่าด้วยวิธีการที่ 1-4 การตัดสินใจอยู่ที่คู่ขัดแย้ง ด้วยวิธีการที่ 5-6 เป็นการตัดสินโดยฝ่ายที่สาม ส่วน 7-8 เป็นการตัดสินในระดับสาธารณะ วิธีการที่ 9-10 เป็นการต่อสู้นอกกรอบปกติ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสันติวิธีข้อสังเกตเกี่ยวกับสันติวิธี • สันติวิธี เป็นเรื่องของการสร้างสายสัมพันธ์กับทุกฝ่าย ความรักความเมตตา การใช้สติปัญญา และการรับความเสี่ยง • สันติวิธี เป็นศาสตร์และศิลป์ เป็นทักษะและจินตนาการ • สันติวิธี ใช้การสื่อสาร การฟังอย่างตั้งใจ การพูดอย่างมีสติ • สันติวิธี ควรทำให้เป็นเรื่องใกล้ตัว ควรเป็นเรื่องของคนในพื้นที่ ควรเคารพความแตกต่างหลากหลาย ควรใช้วิถีท้องถิ่น เรื่องราวของท้องถิ่น เป็นประเด็นในการสร้างความสัมพันธ์
การเปิดเผยความจริง • องค์ประกอบของสัมมาวาจาได้แก่ - พูดความจริง - ใช้วาจาสุภาพ - พูดถูกกาละ เทศะ - พูดในเรื่องที่เป็นประโยชน์ • องค์ประกอบของมิจฉาวาจาได้แก่ • - พูดเท็จ • - ใช้วาจาผรุสวาท • - พูดจาส่อเสียด • - พูดจาเพ้อเจ้อ
กติกาการพูดคุย • พูดทีละคน • ตั้งใจฟัง ไม่ด่วนตัดสิน • วิจารณ์ความคิด ไม่วิจารณ์ผู้คน • พูดตามหัวข้อ • สานเสวนาไม่ใช่โต้วาที • แบ่งปันประสบการณ์มากกว่าให้คำแนะนำผู้อื่น • ยอมรับว่าเราแต่ละคนต่างก็รู้ความจริงส่วนหนึ่ง คนอื่นอาจรับรู้ต่างออกไป • หยุดคิดก่อนพูด บางเวลา ทุกคนหยุดอยู่ในความเงียบก็เป็นเรื่องดี • ไม่เอาเรื่องที่พูดไปอ้างต่อ โดยเฉพาะไม่นำไปอ้างว่าใครพูดอะไร
เด็กหานาฬิกาพก ชาวนาคนหนึ่งทำนาฬิกาพกที่เป็นมรดกจากคุณแม่หายในคอกม้าเขาเสียใจมาก แต่หาเท่าไรก็ไม่พบ หมดหวัง เขาเดินออกมาจากคอกม้า พอดีเห็นเด็กกลุ่มหนึ่ง เล่นกันอยู่ใกล้ๆ เขาบอกว่า “ ลุงทำนาฬิกาพกหายในคอกม้าใครหาพบ จะให้รางวัล 100 บาท” เด็กทุกคนกรูเข้าไปในคอกม้า สาละวนหากันวุ่นวาย ครู่ใหญ่ผ่านไป เด็กเดินคอตกออกมาทีละคน ชาวนายิ่งผิดหวังใหญ่และกำลังถอดใจอยู่แล้ว พอดีมีเด็กคนหนึ่งมาขันอาสา “ลุงคะ หนูขอหาอีกหน่อย แต่ขอหาคนเดียวได้ไหมค่ะ” ลุงคิดในใจ สิบกว่าคนหาไม่เจอ เธอคนเดียวจะหาเจอได้อย่างไร แต่พูดว่า “เอาเถอะ แต่อย่านานมากนะ” เด็กหายเข้าไปในคอกม้าครู่ใหญ่ ชาวนาตัดใจจะขึ้นบ้านอยู่แล้ว พอดีเด็กโผล่ออกมาชูนาฬิกาอย่างภาคภูมิใจ “เธอทำอย่างไรละ” ชาวนาถาม “หนูเพียงแต่เข้าไปนั่งเฉยๆ เงี่ยหูฟังในความเงียบ แล้วจึงได้ยินเสียง ติ๊ก ต๊อกๆ หนูเดินตามไปจึงพบนาฬิกาของลุง ขอบคุณค่ะ” พลางรับเงินรางวัลไป
สันติวิธีเพื่อชีวิตที่ดีกว่าสันติวิธีเพื่อชีวิตที่ดีกว่า • สันติวิธีไม่ใช่การยอมจำนน หากใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น ใช้เพื่อสร้างสันติ • เริ่มด้วยสันติในตัวเรา • สันติในกลุ่มของเรา • สันติระหว่างกลุ่มที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา • สันติในสังคมการเมือง
สันติในจังหวัดชายแดนภาคใต้สันติในจังหวัดชายแดนภาคใต้ • คู่ขัดแย้งที่ต่างฝ่ายต่างยึดมั่นในจุดยืนของตน เช่นจุดยืนเรื่องการขอคืนดินแดนของฝ่ายหนึ่ง กับเรื่องบูรณภาพของดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง ย่อมไม่มีพื้นที่ในการเจรจาตกลง ในกรณีเช่นนี้ ความขัดแย้งจะยืดเยื้อ • อะไรคือทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการเจรจาตกลง - ใช้ความรุนแรง/ยกระดับความรุนแรงจนอีกฝ่ายต้องยอมตามจุดยืนของตน
สันติในจังหวัดชายแดนภาคใต้สันติในจังหวัดชายแดนภาคใต้ • อะไรคือทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการเจรจาตกลง - ใช้ความรุนแรงแบบเจาะจง เฉพาะกับผู้ที่ใช้อาวุธด้วยกัน เพื่อแสดงให้เห็นว่าอีกฝ่ายใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุ จนผู้สนับสนุนลดน้อยลง - ใช้สันติวิธีกดดันให้อีกฝ่ายขาดความชอบธรรม เพราะใช้ความรุนแรงอยู่ฝ่ายเดียว
การคลี่คลายความขัดแย้งการคลี่คลายความขัดแย้ง ไม่สันติ ความสัมพันธ์ สันติ สงบนิ่ง ปั่นป่วน พัฒนา 3.การเจรจาต่อรอง 4. สันติภาพที่ยั่งยืน สมดุล อำนาจ 2. การเผชิญหน้า ความขัดแย้งปรากฏชัดเจน • การสร้างจิตสำนึก • ความขัดแย้งแฝง ไม่สมดุล ต่ำ สูง การตระหนักต่อการดำรงอยู่ของความขัดแย้ง รุนแรงหรือสันติวิธี ที่มา Adam Curle (1971)
สันติในจังหวัดชายแดนภาคใต้สันติในจังหวัดชายแดนภาคใต้ • อะไรคือเงื่อนไขอันอาจนำไปสู่การเจรจาตกลง - ใช้ความรุนแรงจนเกิดความสูญเสียมากมาย และเหนื่อยล้ากันทั้งสองฝ่าย - ใช้สันติวิธีอย่างเสมอต้นเสมอปลาย จนอีกฝ่ายขาดความชอบธรรมลงเรื่อย ๆ จนต้องยอมเจรจา - ยอมเปิดพื้นที่ จากเดิมที่เป็นจุดยืนที่แข็งตัว ให้มีพื้นที่ที่เปิดสำหรับการเจรจาต่อรอง เช่น ยอมรับแนวคิดการพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีอำนาจหน้าที่มากขึ้นตามลำดับ ตามเจตนารมณ์ของคนในท้องถิ่น
ภาพอนาคตจังหวัดชายแดนใต้ภาพอนาคตจังหวัดชายแดนใต้
ภาพอนาคตการเปลี่ยนแปลงในแอฟริกาใต้ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เศรษฐกิจเปลี่ยนมาก/เร็ว อีคารัส ฟลาเม็งโก ช้า/คงสถานะเดิม การเมืองเปลี่ยนเร็ว กระจอกเทศ เป็ดง่อย เศรษฐกิจพัฒนาจากฐานเดิม
ภาพอนาคตประเทศไทย 2562 เปิดใจกว้าง ต้มยำกุ้งน้ำโขง น้ำพริกปลาทู เน้นภายใน ประเทศ บูรณาการอาเซียน เกาเหลาไม่งอก ยึดมั่นถือมั่น
สภาพปัญหาและภาพอนาคต • สภาพปัญหาในปัจจุบัน จำแนกออกเป็น 4 มิติคือ มิติประวัติศาสตร์ มิติศาสนา มิติด้านภาษา และมิติทางการเมืองการปกครอง • สัญญาณความเปลี่ยนแปลง แนวโน้มหลักที่เป็นแรงขับเคลื่อน 3 ด้าน ได้แก่ แนวโน้มด้านสังคมและคุณค่า ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมือง • ภาพอนาคตทั้งสี่แบบของจังหวัดชายแดนภาคใต้
ภาพอนาคต จชต. 2564 รัฐปรับตัว บุหงารันไต/มือลอ (ดอกมะลิ) บุหงารำไป (รวมดอกไม้หอม) ขบวนการปรับตัว ขบวนการไม่ปรับ บุหงาบีแต บรายง (ดอกผกากรอง) บุหงารายอ (ดอกชบา) รัฐไม่ปรับตัว