1.03k likes | 3.26k Views
การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ. แหล่งที่มาของข้อมูล. คู่มือความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับสารเคมีสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ( คณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานกลางทางห้องปฏิบัติการ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ คณะ แพทยศาสตร์ศิ ริราชพยาบาล)
E N D
การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการการจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ
แหล่งที่มาของข้อมูล • คู่มือความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับสารเคมีสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (คณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานกลางทางห้องปฏิบัติการ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) • คู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ(Laboratory safety manual) กรมประมง
รายละเอียด • 1. มาตรการทั่วไป • 1.1 ความรับผิดชอบต่อการป้องกันอันตรายจากสารเคมี • 1.2 กฎทั่วไปในการปฏิบัติงานกับสารเคมี • 2. มาตรการส่วนบุคคล • 3. มาตรการระดับห้องปฏิบัติการ • 3.1 การฝึกอบรมบุคลากร • 3.2 การจัดซื้อและตรวจรับสารเคมี • 3.3 การเก็บรักษาสารเคมี • 3.4 ฉลากบนภาชนะบรรจุสารเคมี • 3.5 การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี 6
รายละเอียด • 3.6 การเขียนวิธีปฏิบัติงานของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี • 3.7 การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล • 3.8 การจัดให้มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่จำเป็นในห้องปฏิบัติการ • 4. การทิ้งและการกำจัดสารเคมี • 4.1 การทิ้งสารเคมีจากห้องปฏิบัติการ • 4.2 การกำจัดสารเคมีจากห้องปฏิบัติการ • 5. การปฏิบัติเมื่อเกิดการปนเปื้อนของสารเคมีอันตราย • 5.1 แนวปฏิบัติทั่วไปเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากสารเคมี • 5.2 แนวปฏิบัติในการทำความสะอาดสารเคมีที่หกหรือปนเปื้อน • 6. การปฏิบัติเมื่อเกิดไฟไหม้จากสารเคมี
MSDS คืออะไร? • MSDS ย่อมาจาก Material Safety Data Sheet หมายถึงข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ เป็นเอกสารที่บริษัทผู้ผลิตสารเคมี ให้มาพร้อมกับสารเคมี เพื่อที่ผู้ซื้อสามารถศึกษารายละเอียดของสารเคมีที่ใช้ปฏิบัติงาน
MSDS คืออะไร? • ข้อมูลที่อยู่ในเอกสารความปลอดภัยประกอบด้วย 16 หัวข้อได้แก่1 - ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีและบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่าย2 - องค์ประกอบ/ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม3 - ข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย4 - มาตรการปฐมพยาบาล 5 - มาตรการการผจญเพลิง6 - มาตรการเมื่อมีอุบัติเหตุสารหกรั่วไหล7 - ข้อปฏิบัติการใช้สารและการเก็บรักษา8 - การควบคุมการสัมผัสสาร/ การป้องกันส่วนบุคคล9 - สมบัติทางเคมีและกายภาพ
MSDS คืออะไร? • 10 - ความเสถียรและความว่องไวต่อปฏิกิริยา11 - ข้อมูลทางพิษวิทยา12 - ข้อมูลเชิงนิเวศน์13 - มาตรการการกำจัด14 - ข้อมูลการขนส่ง15 - ข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนด16 - ข้อมูลอื่นๆ
การทิ้งสารเคมี • การทิ้งสารเคมีจากห้องปฏิบัติการ หลักปฏิบัติเมื่อจะทิ้งสารเคมีที่ใช้แล้วหรือของเสียสารเคมีที่เกิดจากกระบวนการในห้องปฏิบัติการ มีดังนี้ • 1. ปฏิบัติตามคำแนะนำใน MSDS และ SG ของสารเคมีแต่ละชนิด หรืออาจหาข้อมูลได้จากแหล่งอื่น เช่น website http://www.epa.gov/sbo/labguide.htm • 2. สารเคมีที่ทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทิ้งได้เลย ได้แก่ • สารละลายที่เป็นกลาง และสารระคายเคือง เช่น sodium chloride • สารละลายบัฟเฟอร์ • สีย้อมเซลล์และเนื้อเยื่อซึ่งล้างออกจากแผ่นสไลด์
การทิ้งสารเคมี • 3. สารเคมีที่สามารถทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทิ้งได้ แต่ต้องทำให้เจือจางก่อน ได้แก่ • สารกัดกร่อน เช่น hydrochloric acid, sodium hydroxide เป็นต้น สารเคมีที่เป็นกรดหรือด่างนี้ ต้องเจือจางให้ต่ำกว่า 1 M (1 Molar หรือ 1 โมล/ลิตร) ก่อนเททิ้งลงอ่างน้ำ และเมื่อเทลงอ่างแล้วให้เปิดน้ำล้างตามมากๆ • สารกลุ่ม volatile organic เช่น formaldehyde ต้องเจือจางด้วยน้ำให้เป็น 0.1% ก่อนทิ้ง ส่วนglutaraldehydeต้องเจือจางด้วยน้ำให้เป็น 1% ก่อนทิ้ง
การทิ้งสารเคมี • 4. สารเคมีหรือสารละลายที่ประกอบด้วยสารต่อไปนี้ ห้ามทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทิ้งเด็ดขาด ได้แก่ • สารไวไฟสูง และ solvent ที่ไม่ละลายน้ำ เช่น ethyl ether, hexane, acetone เป็นต้น solventปริมาณไม่มาก และไม่ใช่สารพิษหรือสารก่อมะเร็ง อาจตั้งทิ้งไว้ในตู้ดูดไอสารเคมีจนระเหยหมด แล้วกำจัดตะกอนหรือสารเคมีที่เหลือตามวิธีที่เหมาะสมต่อไป • สารพิษ และสารก่อมะเร็ง เช่น acrylamide, mercury, ethidium bromide เป็นต้น • สารไวปฏิกิริยากับน้ำ เช่น โลหะโซเดียม เป็นต้น
การทิ้งสารเคมี • 5. การรวบรวมของเสียสารเคมีเพื่อรอกำจัด ให้หน่วยงานปฏิบัติดังนี้ • รวบรวมสารเคมีที่ต้องทิ้งใส่ภาชนะที่ทนการกัดกร่อน เช่น ขวดแก้ว หากมีปริมาณมากให้ใช้ safety can (ถ้ามี) โดยแยกประเภทของแข็งหรือของเหลว และแยกตามประเภทสารเคมี ระวังไม่รวมสารเคมีที่ไม่เข้ากันไว้ด้วยกัน (ภาคผนวก 5 และ 7) • ติดฉลากชนิดของสารเคมีและปริมาณที่อยู่ในแต่ละภาชนะ รวมทั้งวันที่ทิ้ง • จัดเก็บตามข้อควรระวังของสารเคมีแต่ละประเภท แต่ควรแยกจากสารเคมีที่ยังเก็บไว้ใช้ • แจ้งสำนักผู้อำนวยการ แล้วรอส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การทิ้งสารเคมี • 6. ภาชนะในห้องปฏิบัติการที่ใช้แล้วและเปื้อนสารเคมี ให้ผู้ใช้สารเคมีล้างสารเคมีจากภาชนะจนเจือจางก่อนที่จะให้เจ้าหน้าที่ล้างนำไปล้างต่อ • 7. ขวดที่เคยใส่สารเคมีแล้วจะทิ้ง ต้องนำสารเคมีออกให้หมดก่อน เช่น ขวดใส่ solvent ให้เปิดไล่ไอระเหยของ solvent ในตู้ดูดไอสารเคมีให้หมด เป็นต้น • 8. ขยะที่ปนเปื้อนสารเคมีให้ทิ้งลงในถังขยะสารเคมี (ถุงรองรับสีขาว) เท่านั้น ห้ามทิ้งในถังขยะทั่วไป (ถุงรองรับสีเหลือง) หรือถังขยะติดเชื้อ (ถุงรองรับสีแดง)
การกำจัดสารเคมีจากห้องปฏิบัติการการกำจัดสารเคมีจากห้องปฏิบัติการ สารเคมีที่เหลือใช้และไม่ต้องการเก็บไว้อีกต่อไป ให้แยกประเภทแล้วกำจัดให้ถูกต้อง (ภาคผนวก 7) หากกำจัดเองไม่ได้ ต้องจัดเก็บให้ถูกต้องเพื่อรอส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อไปกำจัดต่อไป • ภาคผนวก 7 การแยกประเภทของเสีย เป็นวิธีการในการจัดการของเสียภายในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระเบียบและปลอดภัยช่วยให้การขนย้ายสะดวกยิ่งขึ้น และสะดวกในการเลือกใช้วิธีกำจัดได้อย่างเหมาะสม การแยกของเสียจากห้องปฏิบัติการ อาจแยกได้ตามคุณลักษณะของสารอันตรายตาม ความสามารถติดไฟได้การกัดกร่อนความไวต่อปฏิกิริยาการแผ่รังสีและความเป็นพิษ ของสารเคมีที่เป็นของเสีย
การกำจัดสารเคมีจากห้องปฏิบัติการการกำจัดสารเคมีจากห้องปฏิบัติการ การกำจัดของเสียจากห้องปฏิบัติการควรใช้วิธีที่ง่ายและไม่ยุ่งยาก แต่การเลือกวิธีที่เหมาะสมควรคำนึงถึงคุณลักษณะของของเสียแต่ละประเภทและปริมาณของเสียที่ต้องการกำจัด โดยทั่วไปของเสียที่มีปริมาณน้อยกว่า 100กรัม สำหรับของแข็ง และน้อยกว่า 1 ลิตร สำหรับของเหลว สามารถดำเนินการได้เองภายในห้องปฏิบัติการ แต่มีข้อเสียบางประเภทที่ไม่สามารถกำจัดเองได้ ได้แก่ ของเสียประเภท halide และสารพิษร้ายแรง เนื่องจากต้องใช้เตาเผา (furnace) ชนิดพิเศษ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วิธีกำจัดของเสียประเภทต่างๆ ได้แสดงไว้ในตารางต่อไป