1 / 20

การปลูกไม้ผล ช่วงชั้นที่ 4 ปีที่ 2

การปลูกไม้ผล ช่วงชั้นที่ 4 ปีที่ 2. ขนุน. โดย วีรจินต์ นาคะนิเวศน์. ขนุน (Jack Fruit) ผลไม้ประหลาดจากป่าร้อนชื้นในเอ เชียอาคเนย์ คัดพันธุ์ ได้เนื้อหนา รสชาติอร่อย เมื่อนำมา Freeze Dry จะให้รสชาติ กรอบ หอมหวานตามธรรมชาติ ที่ไม่สามารถหาได้จากแหล่งใดในโลก FD Jackfruit มีรส

Download Presentation

การปลูกไม้ผล ช่วงชั้นที่ 4 ปีที่ 2

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การปลูกไม้ผลช่วงชั้นที่ 4 ปีที่ 2

  2. ขนุน โดย วีรจินต์ นาคะนิเวศน์

  3. ขนุน (Jack Fruit) ผลไม้ประหลาดจากป่าร้อนชื้นในเอ เชียอาคเนย์ คัดพันธุ์ ได้เนื้อหนา รสชาติอร่อย เมื่อนำมา Freeze Dry จะให้รสชาติ กรอบ หอมหวานตามธรรมชาติ ที่ไม่สามารถหาได้จากแหล่งใดในโลก FD Jackfruit มีรส กลิ่นที่เหมือนสด ทรงคุณค่าด้วยวิตามิน และเกลือแร่ เป็นทั้งอาหารว่าง ขบเคี้ยว หรือนำไปเติมแต่งอาหารเช้า

  4. ขนุน • ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lam. • วงศ์ MORACEAE • ชื่อสามัญ Jackfruit Tree • ชื่ออื่น ๆ มะหนุน หมักหมี๊ หมากลาง

  5. ลักษณะทางพฤษศาสตร์ ขนุน (Gerbera, African Daisy, Gerbera Jamessonil) เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ สูง ๒๕ เมตร ทรงพุ่มรูปทรงกระบอก ใบมันและหนาเหมือนแผ่นหนัง ช่อดอกตัวผู้และช่อดอกตัว เมียแยกกันแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ผลใหญ่มีหลายขนาด รอบผลมีหนามสั้นๆ ขนุนมีหลายพันธุ์ เป็นไม้ถิ่นอินเดีย ปลูกทั่วไป ชอบที่ดอนผลสุก เดือนมกราคม-พฤษภาคม ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด นิยมทาบกิ่ง

  6. ขนุน เป็นไม้ผลอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันมาก ปัจจุบันมีพันธุ์ที่ ปลูกเป็นการค้ามากมายหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกภาย ในบริเวณบ้านได้แก่ พันธุ์ทองสุดใจ พันธุ์จำปากรอบ พันธุ์แดงรัศมี และพันธุ์ละแม เป็นต้น เนื่องจากพันธุ์ขนุนดังกล่าวนี้ให้ผลดก ผลมี ขนาดไม่ใหญ่มาก เหมาะสำหรับการบริโภคในครัวเรือน การเลือก ซื้อต้นพันธุ์ควรเลือกซื้อต้นพันธุ์ที่ขยายพันธุ์โดยวิธีการติดตามหรือ เสียบกิ่ง เพราะจะได้ต้นตอที่มีรากแก้ว ขนุนจัดเป็นไม้ผลอีกชนิด หนึ่งที่ดูแลรักษาได้ง่าย มีทรงพุ่มที่ทึบและให้ร่มเงาดี ควรมีการตัด แต่งกิ่งบ้าง เพื่อให้ได้ทรงต้นที่มีขนาดเหมาะสมกับบริเวณบ้าน

  7. พันธุ์ ขนุนที่นิยมปลูกกันทั่วไปอยู่มี 2 ประเภท คือ ขนุนหนัง และขนุนละมุด

  8. พันธุ์ 1. ขนุนหนัง ลักษณะเนื้อยวงแห้งกรอบ สีเหลืองทอง สี จำปา ยวงโต เนื้อแน่น หวาน กรอบ นิยม ปลูกกันโดยทั่วไป ขนุนหนังมีอยู่หลายพันธุ์ เช่น จำปา ตาบ๊วย ฟ้าถล่ม เป็นต้น

  9. พันธุ์ 2. ขนุนละมุด ลักษณะเนื้อยวงเปียก เละเหนียว เนื้อค่อนข้างบาง ยวงเล็ก รสหวาน มี กลิ่นหอม ขนุนพันธุ์นี้ ไม่ค่อยนิยมปลูกกันมากนัก อีกพวกหนึ่ง ซึ่งนิยมปลูก กันมากทางภาคใต้ของประเทศไทยคือ จำปาดะ ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายขนุน ผลเล็กยาวเรียวคล้ายผลฟัก เปลือกบาง เนื้อเละ รสหวาน กลิ่นหอม การปลูก และการดูแลรักษา ก็ปฎิบัติเช่นเดียวกับการปลูก ขนุน

  10. การปลูก 1. การเตรียมดิน 1.1 ในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง เช่นที่ราบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ การปลูกขนุนในที่ ดังกล่าวต้องยกร่องเสียก่อน เช่นเดียวกับร่องผัก หรือร่องสวนในที่ลุ่ม เพื่อป้องกัน ไม่ให้น้ำท่วมถึงโคนต้นได้ ขนาดของร่องกว้างประมาณ 4-6 เมตร คูน้ำกว้าง 1.5 เมตร ส่วนความยาวของร่องขึ้นอยู่ กับขนาดของพื้นที่และความต้องการ ความสูง ของร่องยิ่งสูงมากยิ่งดี รากขนุนจะได้หยั่งลึกและเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อขุดยกร่อง เสร็จแล้วทำการปรับปรุงดินให้ร่วนซุยโดยการขุดตากดิน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เพราะดินในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมักจะเป็นดินเหนียว จัด ไม่ค่อยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้น ในที่ซึ่งเห็นว่าดินยังไม่ ดีพอ ดินยังเหนียวอยู่มาก ควรจะปลูกพืชพวกรากตื้น ๆ หรือปลูกผักก่อนสัก 2-3 ปีแล้วจึงปลูกขนุน ส่วนในที่เป็นร่องสวนเก่ามีคันคูอยู่แล้ว เคยปลูกพืชอย่างอื่นจนดินร่วนซุยดี แล้วก็อาจจะทำการปรับปรุงดินอีกเล็กน้อยแล้วลงมือปลูกได้เลย

  11. การปลูก 1.2 ในพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง ที่ป่า ที่เขา ถ้าเป็นที่ ๆ เคยปลูกพืชอย่างอื่น อยู่แล้วก็ไม่ต้องเตรียมดินมาก เพราะที่จะโล่งเตียนอยู่แล้ว เพียงแต่ปรับปรุงหน้าดิน โดยการไถพรวน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักให้ดินดีขึ้น ส่วนที่เป็นป่าเปิดใหม่ต้องถางที่ให้ โล่งเตียน ไม่ให้มีไม้อย่างอื่นปนอยู่ ถ้าไถพรวนได้สักครั้งสองครั้งก็จะเป็นการดี ที่ดังกล่าวมักเป็นดินที่ร่วนชุยอยู่แล้ว ในที่บางแห่ง เช่นป่าเปิดใหม่มักจะมีอินทรีย์วัตถุ อยู่มากตามธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องหามาเพิ่มเติม ส่วนในที่ ๆ เห็นว่าเป็นทรายจัด อินทรียวัตถุค่อนข้างน้อยก็ควรใส่เพิ่มโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น มูลสัตว์ ต่าง ๆ เศษใบไม้ใบหญ้าที่แห้งผุพัง กากถั่ว เปลือกถั่ว เป็นต้น หรือจะปรับปรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยพืชสดก็ได้โดยการปลูกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วไถกลบให้ต้นถั่วสลายตัวผุพัง อยูในดิน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี ทำให้ดิน อุ้มน้ำดี เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นขนุน

  12. การปลูก 2. การขุดหลุมปลูก การปลูกทั้งแบบยกร่องและแบบปลูกในที่ดอน ควรปลูกเป็นแถว เป็น แนว เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา และการปฎิบัติงานสวน ระยะ ห่างระหว่างต้นหรือ ระหว่างหลุมคือ 8x10 เมตร หรือ lOx l2 เมตร เป็น ระยะที่เหมาะสำหรับการปลูก แบบไร่ หรือถี่กว่านี้ขี้นอยู่กับพันธุ์และ ความเหมาะสมต่าง ๆ ส่วนการปลูก แบบร่อง ต้นขนุนมักมีขนาดเล็ก กว่าการปลูกแบบไร่ ระยะห่างระหว่างต้นอาจ ถี่กว่านี้ก็ได้

  13. ขนาดของหลุมปลูก ให้ขุดหลุมขนาด กว้าง ยาว ลึก 50-100 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินดีร่วนซุยมี พวกอินทรีย์วัตถุมาก ขุดหลุมขนาด 50 เซนติเมตรก็พอ ส่วนที่ดินไม่ ค่อยดีให้ขุดหลุมขนาดใหญ่ เพื่อจะ ได้ปรับปรุงดินในหลุมปลูกให้ดี ขึ้น ทำให้รากเจริญเติบโตได้ดี ดินที่ขุดขึ้นมาจาก หลุมนั้นให้แยกเป็น สองกอง คือดินชั้นบนกองหนึ่งและดินชั้นล่างอีกกองหนึ่ง ตากดินที่ ขุดขี้นมาประมาณ l5-20 วัน แล้วผสมดินทั้งสองกองนั้นด้วยปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก แล้วกลบดินลงในหลุมตามเดิมโดยให้ดินชั้นบนลงไว้ก้น หลุม และดิน ชั้นล่างกลบไว้ด้านบน ดินที่กลบลงไปจะสูงเกินปาก หลุม ปล่อยทิ้งไว้ให้ดินยุบตัวดี เสียก่อนจึงจะลงมือปลูก

  14. 3. วิธีปลูก การปลูกไม่ว่าจะปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งทาบ หรือต้นที่เพาะเมล็ดก็ ตาม ให้ทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้รากขาดมากต้นจะชะงักการเจริญเติบโต ต้นขนุนที่ปลูกไว้ในภาชนะนาน ๆ ดินในภาชนะจะจับตัวแข็งและรากจะพันกัน ไปมา เวลาปลูกเมื่อเอาออกจากกระถางแล้วให้เอามือบิดินก้นภาชนะ ให้แยกออกจาก กันเล็กน้อยและค่อย ๆ คลี่รากที่ม้วนไปมาให้แยกจากกัน เพื้อจะได้เติบโตต่อไป อย่างรวดเร็ว

  15. 3.1 การปลูกด้วยกิ่งทาบ อย่ากลบดินจนมิด รอยต่อของกิ่ง ให้ปลูกใน ระดับเดียวกับดินใน กระถางเดิมหรือสูงกว่าเดิมเพียงเล็กน้อยแต่ ไม่มิดรอยต่อ เพื่อจะได้มองเห็นว่ากิ่งที่แตก ออกมานั้นเป็นกิ่งของต้นตอหรือของกิ่งพันธุ์ ถ้า แตกออกมาจากต้นตอให้ตัดทิ้งไปเพราะ เป็นกิ่งที่ไม่ต้องการ

  16. 3.2 การปลูกด้วยกิ่งตอน ให้กลบดินให้เสมอดินเดิมใน ภาชนะ หรือให้ เหลือจุกมะพร้าวที่ใช้ในการตอนโผล่อยู่ อย่า กลบดินจนมิดจุกมะพร้าวเพราะทำให้ ต้นเน่าได้ง่าย เมื่อปลูกเสร็จให้หาไม้มาปักเป็นหลักผูกต้นกันลมโยกแล้ว รดน้ำทันทีให้โชก ควรใช้ทางมะพรัาวช่วยคลุมแดดให้บ้างใน ระยะแรก เพราะถ้าโดนแดดจัดต้นอาจจะ เฉาชะงักการเจริญ เติบโตได้ หลังจากปลูกแล้วให้คอยดูแลรดน้ำอยู่เสมอ ถ้าฝน ไม่ตกการใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมบริเวณโคนต้นจะช่วยรักษา ความชื้นของดินได้ดี

  17. 3.3 การปลูกพืชแซม การปลูกขนุนด้วยกิ่งตอนและกิ่งทาบจะใช้เวลา ประมาณ 3-4 ปีกว่าจะให้ผล และการปลูกด้วยเมล็ดใช้เวลาประมาณ 4-6 ปี ใน ระหว่างที่ต้นขนุนยังเล็กอยู่นี้ ควรปลูกพืชอย่างอื่นที่มีอายุสั้น ๆ เป็นการ หารายได้ไป พลาง ๆ ก่อน ไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่า นอกจากจะไม่ได้ ประโยชน์อะไร แล้ว ยังต้องคอยดายหญ้าอยู่เสมออีกด้วย วิธีหนึ่งที่นิยมทำ กันมากคือ ก่อนจะปลูก ขนุนควรปลูกกล้วยเสียก่อน เมื่อกล้วยโตพอสมควร จึงปลูกขนุนตามลงไป ซึ่งกล้วย จะช่วยเป็นร่มเงาให้ขนุนไม่โดนแดดมากเกิน ไป และทำให้สวนชุ่มชื้นอยู่เสมอ ต้นขนุนจะโตเร็ว จนเห็นว่าต้นขนุนโตพอสม ควร ก็ทยอยขุดกล้วยออก การ ปลูกกล้วยก่อนนี้เป็นวิธีที่นิยมในการปลูกไม้ ผลทั่วไป แต่มีข้อเสียตอนขุดรื้อ ต้นกล้วยออก เพราะต้องใช้แรงงานมากเช่น กัน

  18. ปัญหาอุปสรรค • 1. ขนุนพันธุ์ดียังมีราคาแพง • 2. เทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องยังกระจายไม่ทั่วถึง • 3. การแปรรูปยังมีน้อย • 4. ไม่มีการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกขนุน

  19. ขนุน (Jack Fruit) ผลไม้ประหลาดจากป่าร้อนชื้นในเอ เชียอาคเนย์ คัดพันธุ์ ได้เนื้อหนา รสชาติอร่อย เมื่อนำมา Freeze Dry จะให้รสชาติ กรอบ หอมหวานตามธรรมชาติ ที่ไม่สามารถหาได้จากแหล่งใดในโลก FD Jackfruit มีรส กลิ่นที่เหมือนสด ทรงคุณค่าด้วยวิตามิน และเกลือแร่ เป็นทั้งอาหารว่าง ขบเคี้ยว หรือนำไปเติมแต่งอาหารเช้า

  20. สวัสดี

More Related