450 likes | 1.37k Views
บทที่ 4. กฎหมายว่าด้วยบุคคล. บุคคล คือ สิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล บุคคลธรรมดา คือ ผู้คลอดจากครรภ์มารดาแล้วอยู่รอดมีชีวิต สภาพบุคคลย่อมเริ่ม เมื่อ คลอด แล้วอยู่รอดเป็นทารก สิ้นสภาพบุคคล เมื่อตายและศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ.
E N D
บทที่ 4 กฎหมายว่าด้วยบุคคล
บุคคล คือ สิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล • บุคคลธรรมดา คือ ผู้คลอดจากครรภ์มารดาแล้วอยู่รอดมีชีวิต • สภาพบุคคลย่อมเริ่ม เมื่อคลอด แล้วอยู่รอดเป็นทารก • สิ้นสภาพบุคคลเมื่อตายและศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ
ทารกในครรภ์มารดาที่จะมีสิทธิรับมรดกจะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ ก. ทารกนั้นต้องเกิดมาภายใน 310 วัน นับแต่เวลาที่เจ้ามรดกตาย ข. ทารกนั้นเกิดมาแล้วต้องมีชีวิตรอดอยู่
การตายซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สภาพบุคคลแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ • ตายโดยธรรมดา • ตายโดยผลของกฎหมาย เรียกว่า สาบสูญ
หลักเกณฑ์ของการเป็นคนสาบสูญหลักเกณฑ์ของการเป็นคนสาบสูญ • บุคคลที่หายสาบสูญจากภูมิลำเนาโดยไม่มีผู้ใดรู้ข่าวคราว กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้ 1. หายไป 5 ปี กรณีธรรมดา 2. หายไป 2 ปี กรณีพิเศษ 2. ต้องมีคำสั่งของศาลว่าเป็นบุคคลสาบสูญ
การถอนคำสั่งแสดงความสาบสูญการถอนคำสั่งแสดงความสาบสูญ • บุคคลที่เป็นคนสาบสูญนั้นยังมีชีวิตอยู่ • บุคคลที่เป็นคนสาบสูญนั้นได้ถึงแก่ความตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลาที่กฎหมายกำหนด
กรณีความไม่แน่นอนแห่งการเริ่มหรือสิ้นสภาพบุคคลกรณีความไม่แน่นอนแห่งการเริ่มหรือสิ้นสภาพบุคคล • กรณีไม่ทราบวันเกิดของบุคคล - ไม่รู้วันเกิด แต่รู้เดือนเกิด ให้นับวันที่ 1 ของเดือนนั้นเป็นวันเกิด - ไม่รู้วันและเดือนเกิด ให้นับวันต้นปีปฎิทินเป็นวันเกิด • กรณีไม่ทราบลำดับการตายของบุคคล - บุคคลที่ตายก่อนย่อมไม่มีสิทธิได้รับมรดก - บุคคลตายพร้อมกัน ให้ถือว่าตายพร้อมกัน
ส่วนประกอบสภาพบุคคล จะต้องมีสิ่งต่อไปนี้ • สัญชาติ คือ ความผูกพันกับประเทศ • ชื่อ มีชื่อตัวและชื่อสกุล • ภูมิลำเนา ถิ่นอันบุคคลนั้นอยู่ • สถานะ คือสถานะในประเทศชาติ • ความสามารถ คือ การใช้สิทธิและหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายได้หรือไม่เพียงใด
1. สัญชาติ- การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด 1. ผู้เกิดโดยมีบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย 2. ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นคนต่างด้าวและคณะฑูต - การได้สัญชาติหลังการเกิด 1. โดยการสมรส 2. โดยการขอแปลงสัญชาติ
2. ชื่อ 1. ชื่อตัว 2. ชื่อสกุล 3. ชื่อรอง ชื่อเรียกขานบุคคล 1. ชื่อบรรดาศักดิ์ 2. ชื่อแฝง 3. ชื่อฉายา
3. ภูมิลำเนา คือ ที่อยู่ตามกฎหมายของบุคคล ได้แก่ ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นสำคัญ
3. ภูมิลำเนา • ถ้ามีที่อยู่หลายแห่งให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่ง • ถ้าภูมิลำเนาไม่ปรากฏให้ถือถิ่นที่อยู่ประจำเป็นภูมิลำเนา • ถ้าไม่มีถิ่นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง พบที่ไหนถือว่าภูมิลำเนา • ภูมิลำเนาของผู้เยาว์ ได้แก่ ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม
5. ภูมิลำเนาของคนไร้ความสามารถ ได้แก่ ภูมิลำเนาของผู้อนุบาล 6. ภูมิลำเนาของข้าราชการ ได้แก่ ถิ่นอันเป็นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่ประจำ 7. ภูมิลำเนาของผู้ถูกจำคุกได้แก่ เรือนจำที่ถูกจำคุกอยู่
4. สถานะ คือ ตำแหน่งหรือฐานะของบุคคล - คนเกิดในบ้าน แจ้งภายใน 15 วัน - คนเกิดนอกบ้าน แจ้งภายใน 30 วัน - คนตายในบ้าน แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง - คนตายนอกบ้าน แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อพบศพ การสมรส กำหนดให้จดทะเบียน 1 ต.ค. 2478 การหย่า ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานรับรอง
การรับบุตรบุญธรรม ก. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี ข. ต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี ค. ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุตั้งแต่ 15 ปี ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย ง. การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมายแล้ว
การเลิกรับบุตรบุญธรรมการเลิกรับบุตรบุญธรรม 1. เลิกโดยการตกลงยินยอมกันเอง 2. เลิกโดยคำพิพากษาของศาล 3. เลิกโดยผลของกฎหมาย คือ เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมสมรสกัน
การรับรองบุตร บุตรนอกสมรสจะมีสถานะเป็นบุตรโดยชอบธรรมด้วยกฎหมายได้ 3 กรณี คือ ก. บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง ข. บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร ค. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
5. ความสามารถของบุคคลมี 2 แบบ คือ 1. ความสามารถในการมีสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิในทรัพย์สิน การรับมรดก การแต่งงาน สิทธิในการดำเนินคดี 2. ความสามารถในการใช้สิทธิต่างๆ เช่น สามารถในการทำนิติกรรม การรับบุตรบุญธรรม การรับรองบุตร บุคคลผู้หย่อนความสามารถที่ถูกจำกัดความสามารถ ได้แก่ 1. ผู้เยาว์ 2. ผู้ไร้ความสามารถ 3. คนเสมือนไร้ความสามารถ
ผู้เยาว์ ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังอ่อนทั้งในด้านอายุ ร่างกาย และสติปัญญา กฎหมายจัดให้ผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของบุคคลซึ่งเรียกว่า “ผู้แทนโดยชอบธรรม”
ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ผู้ใช้อำนาจปกครอง 2. ผู้ปกครอง การตั้งผู้ปกครองอาจทำได้โดย 1. พินัยกรรมของบิดาหรือมารดา 2. ศาลตั้งเมื่อญาติของผู้เยาว์หรืออัยการร้องขอ
บุคคลที่ยกเว้นการเป็นผู้ปกครองบุคคลที่ยกเว้นการเป็นผู้ปกครอง • คนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ • บุคคลล้มละลาย • ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินผู้เยาว์ • ผู้เคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ • บิดาหรือมารดาระบุไว้ห้ามเป็นผู้ปกครอง
ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้เยาว์จะบรรลุ นิติภาวะต่อเมื่อ 1. อายุ 20 ปีบริบูรณ์ 2. สมรสแล้วถูกต้องตามกฎหมาย - หญิงชายจะสมรสได้ต่อเมื่ออายุครบ 17 ปี - เมื่อศาลอนุญาตให้สมรสในกรณีอายุไม่ครบ 17 ปี
ตามหลักกฎหมายผู้เยาว์จะทำนิติกรรมต้องได้รับความยินยอมจาก ผู้แทนโดยชอบธรรม หากทำไปโดยปราศจากความยินยอม นิติกรรมย่อมตกเป็น โมฆียะ นิติกรรมเป็นโมฆียะ หมายถึง นิติกรรมที่ใช้ได้สมบูรณ์ เพียงแต่ว่าถ้านิติกรรมที่เป็นโมฆียะนี้ถูกบอกล้างเมื่อใด นิติกรรมจะตกเป็นโมฆะตั้งแต่เริ่มแรกที่ทำนิติกรรม แต่หากมีการให้สัตยาบันนิติกรรมนี้ก็จะสมบูรณ์ตลอดไป
ความสามารถของผู้เยาว์ความสามารถของผู้เยาว์ • นิติกรรมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว เช่น การรับทรัพย์โดยเสน่ห์หา การรับมรดก • นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น การสมัครเรียน การรับรองบุตร ทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุ 15 ปี • ทำการใดๆที่เป็นอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร ผู้เยาว์ที่ได้รับอนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม ถือว่าผู้เยาว์มีฐานะเหมือนผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว
คนไร้ความสามารถ คือ บุคคลวิกลจริตซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและอยู่ภายใต้อนุบาลหรือความดูแลของผู้อนุบาล คำสั่งดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ต้องมีลักษณะคือ 1. ต้องเป็นอย่างมาก 2. ต้องเป็นอยู่ประจำ ผู้เยาว์และคนไร้ความสามารถ ทำนิติกรรมใดๆ ถือว่าเป็นโมฆียะเสมอ
ผลของการเป็นคนไร้ความสามารถผลของการเป็นคนไร้ความสามารถ • ต้องอยู่ในความดูแลของผู้อนุบาล • กฎหมายจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรม คือ ทำนิติกรรมใดๆไม่ได้ถือเป็นโมฆียะต้องให้ผู้อนุบาลทำให้ • คนไร้ความสามารถทำพินัยกรรม ถือเป็นโมฆะ
นิติกรรมที่คนวิกลจริต แต่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำลงไปจะตกเป็นโมฆียะ เมื่อครบหลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ ก. นิติกรรมนั้นได้ทำขณะที่บุคคลนั้นวิกลจริต ข. คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วว่าผู้ทำเป็นคนวิกลจริต
คนเสมือนไร้ความสามารถ หมายถึง บุคคลที่มีร่างกายพิการ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือพฤติกรรมสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา จนไม่สามารถจัดทำการงานโดยตนเองได้และศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ผู้เสมือนไร้ความสามารถต้องจัดให้อยู่ในความดูแลของผู้พิทักษ์ และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา
1. เหตุบกพร่องซึ่งทำให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งอาจถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ได้แก่ ก. คนพิการ ข. จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ค. ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเป็นอาจิณ ค. ติดสุรายาเมา 2. ไม่สามารถจะจัดการงานโดยตนเองได้
ผลของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถผลของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ • ต้องอยู่ในความพิทักษ์ อยู่ในความดูแลของผู้พิทักษ์ 2. มีความสามารถทำนิติกรรมได้ทุกอย่าง ยกเว้นนิติกรรม 11 อย่าง ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน หากไม่ได้รับความยินยอมนิติกรรมนั้นมีผลเป็น โมฆียะ
ผู้เสมือนไร้ความสามารถกระทำนิติกรรมใดๆ ได้ทุกประการ ยกเว้น • นำทรัพย์สินไปลงทุน • รับคืนทรัพย์สินที่นำไปลงทุน • กู้ยืมเงินผู้อื่นหรือให้ผู้อื่นกู้ยืมเงิน • รับประกันซึ่งมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้ • เช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์ที่มีระยะเวลาเกิน 6 เดือน และอสังหาริมทรัพย์ที่มีระยะเวลาเกิน 3 ปี
6. ให้ทรัพย์สินแก่ผู้อื่นโดยเสน่หา 7. รับการให้โดยมีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันหรือไม่รับการให้โดยเสน่หา 8. การได้มาหรือปล่อยไปซึ่งสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์อันมีค่า 9. ก่อสร้างหรือดัดแปลงสิ่งก่อสร้าง 10. เสนอคดีต่อศาล 11. ประนีประนอมยอมความ
สภาพของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถอาจสิ้นสุดลงด้วยเหตุ 3 ประการ คือ ก. ตาย ข. ถูกศาลเพิกถอนคำสั่งที่ได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ค. ถูกศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ