1 / 43

บทที่ 10 กฎหมายทะเล The Law of the Sea

บทที่ 10 กฎหมายทะเล The Law of the Sea. กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิวัฒนาการของกฎหมายทะเล. ก่อนศตวรรษที่ 17 เป็นยุคทะเลปิด Hugo Grotius เสนอแนวคิดเรื่อง เสรีภาพในทะเล

shilah
Download Presentation

บทที่ 10 กฎหมายทะเล The Law of the Sea

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 10กฎหมายทะเลThe Law of the Sea กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  2. วิวัฒนาการของกฎหมายทะเลวิวัฒนาการของกฎหมายทะเล • ก่อนศตวรรษที่ 17 เป็นยุคทะเลปิด • Hugo Grotius เสนอแนวคิดเรื่อง เสรีภาพในทะเล • ศตวรรษที่ 18 มีการยอมรับหลักเสรีภาพในทะเลหลวง ซึ่งกลายเป็นหลักการพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศมาจนทุกวันนี้

  3. การประชุมกฎหมายทะเลครั้งที่ 1United Nations Conference on the Law of the Sea (UNCLOS I) ค.ศ. 1958 • อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 • อนุสัญญาว่าด้วยเขตไหล่ทวีป ค.ศ. 1958 • อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง ค.ศ. 1958 • อนุสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรในทะเลหลวง ค.ศ. 1958

  4. การประชุมกฎหมายทะเลครั้งที่ 2UNCLOS IIค.ศ. 1960 เจรจาเรื่องความกว้างของทะเลอาณาเขต แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ข้อเสนอ Six plus Six Formula ซึ่งกำหนดให้รัฐชายฝั่งได้ทะเลอาณาเขต 6 ไมล์ทะเล และเขตประมง 6 ไมล์ทะเล ขาดคะแนนเสียงรับรองสามในสี่ไปเพียง 1 คะแนนเสียง

  5. การประชุมกฎหมายทะเลครั้งที่ 3UNCLOS III ค.ศ. 1973-1982 เนื่องจากกฎหมายทะเลพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปมาก และเกิดความห่วงใยเกี่ยวกับทรัพยากรในพื้นทะเลลึกและพื้นสมุทร ครอบคลุมหัวข้อของกฎหมายทะเลอย่างกว้างขวาง ประสบความสำเร็จในการจัดทำอนุสัญญากฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หลังการเจรจากว่า 9 ปี

  6. อนุสัญญากฎหมายทะเล ค.ศ. 1982UN Convention on the Law of the Sea

  7. 320 มาตรา 9 ภาคผนวก เป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายทะเลที่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกเรื่อง รวมทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมในทะเล มีผลบังคับใช้เมื่อ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 หลังจากที่มีการจัดทำความตกลงแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรในพื้นทะเลลึกและพื้นสมุทรจนเป็นที่พอใจแก่ประเทศพัฒนาแล้ว

  8. น่านน้ำภายใน (Internal Waters) • น่านน้ำภายใต้อธิปไตยที่อยู่ระหว่างชายฝั่งกับเส้นฐานปรกติตามแนวน้ำลด หรือกับเส้นฐานตรง • เส้นฐานตรงจะต้องไม่หักเหจากแนวชายฝั่งโดยทั่วไปจนเกินสมควร • น่านน้ำที่ถูกจัดเป็นน่านน้ำภายในต้องมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผืนแผ่นดิน • หากการลากเส้นฐานตรงมีผลทำให้น่านน้ำภายในที่เคยเป็นทะเลอาณาเขตกลายเป็นน่านน้ำภายใน ให้คงสิทธิผ่านโดยสุจริตในน่านน้ำนั้น

  9. ทะเลอาณาเขต (Territorial Sea) • อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐชายฝั่ง • เรือต่างชาติมีสิทธิผ่านโดยสุจริต (Right of Innocent Passage) • รัฐชายฝั่งมีทะเลอาณาเขตกว้าง 12 ไมล์ทะเล • เรือและอากาศยานต่างชาติมีสิทธิผ่านช่องแคบ (right of transit passage) ที่เป็นทะเลอาณาเขตได้

  10. สิทธิการผ่านโดยสุจริตRight of Innocent Passage • สิทธิของเรือต่างชาติในการผ่านเข้าไปในทะเลอาณาเขตของรัฐชายฝั่งโดยไม่ต้องขออนุญาต • เป็นการผ่านทะเลอาณาเขตโดยไม่เข้าไปในน่านน้ำภายใน หรือเพื่อเดินเรือผ่านเข้าไปหรือออกมาจากน่านน้ำภายใน • อาจหยุดชั่วคราวได้ หากว่าเป็นความจำเป็นในการเดินเรือตามปรกติ หรือเหตุสุดวิสัยหรือทุกขภัย

  11. เงื่อนไขการใช้สิทธิผ่านโดยสุจริตเงื่อนไขการใช้สิทธิผ่านโดยสุจริต • การผ่านจะถือว่า “ไม่สุจริต” หากว่าเสื่อมเสียต่อสันติภาพ ความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคง (peace, good order, or security) ของรัฐชายฝั่ง • รัฐชายฝั่งอาจห้ามการผ่านโดยสุจริตเป็นการชั่วคราวได้ หากมีความจำเป็นเพื่อความมั่นคง • เรือดำน้ำจะต้องโผล่ขึ้นเหนือน้ำ และแสดงธงของตน

  12. การผ่านที่ถือว่า “ไม่สุจริต” ภายใต้อนุสัญญาฯ 1982 • การคุกคามและการใช้กำลังต่อรัฐชายฝั่ง • การซ้อมอาวุธ • การสอดแนมสืบความลับ • การโฆษณาชวนเชื่อ • การกระทำผิดข้อบังคับการศุลกากร การเงิน การเข้าเมือง และการสาธารณสุข

  13. การผ่านที่ถือว่า “ไม่สุจริต” (2) การทำการประมง การก่อมลพิษอย่างร้ายแรง การวิจัย และการสำรวจ การรบกวนการสื่อสารของรัฐชายฝั่ง กิจกรรมใดๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผ่านโดยตรง

  14. การผ่านของเรือรบ • เรือรบมีสิทธิการผ่านโดยสุจริตหรือไม่? • เรือรบต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าหรือได้รับอนุญาตก่อนเข้ามาในทะเลอาณาเขตหรือไม่ • รัฐมีการปฎิบัติที่แตกต่างกัน

  15. สิทธิในการผ่านช่องแคบสิทธิในการผ่านช่องแคบ

  16. Corfu Channel Case (1949) ICJ (U.K. v. Albania) เรือต่างชาติมีสิทธิผ่านโดยสุจริตในช่องแคบที่ใช้ในการเดินเรือระหว่างประเทศ ให้พิจารณาว่าเป็นช่องแคบที่ใช้ในการเดินเรือระหว่างประเทศ โดยดูจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ว่าเป็นช่องแคบที่เชื่อมระหว่างส่วนหนึ่งของทะเลหลวง กับอีกส่วนหนึ่งของทะเลหลวงเป็นสำคัญ

  17. สิทธิการผ่านโดยสุจริตในช่องแคบตามอนุสัญญาฯ 1982 การห้ามชั่วคราวซึ่งสิทธิผ่านโดยสุจริตของเรือต่างชาติที่ผ่านช่องแคบซึ่งใช้ในการเดินเรือระหว่างประเทศจากส่วนหนึ่งของทะเลหลวง กับอีกส่วนหนึ่งของทะเลหลวง หรือทะเลอาณาเขตของรัฐต่างประเทศจะกระทำมิได้ (รัฐชายฝั่งยังคงมีสิทธิในการห้ามการผ่านที่ถือว่า “ไม่สุจริต”)

  18. สิทธิการผ่านช่องแคบ (Right of Transit Passage) • กำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกตามอนุสัญญาฯ ค.ศ. 1982 • เป็นสิทธิในการเดินเรือและบินผ่านของเรือหรืออากาศยานต่างชาติ เพื่อการผ่านอย่างต่อเนื่องและโดยไม่ชักช้า (continuous and expeditious transit) ในช่องแคบที่เชื่อมระหว่างทะเลหลวง หรือ EEZ กับทะเลหลวง หรือ EEZ

  19. Right of Transit Passage (2) • รัฐชายฝั่งต้องไม่ขัดขวาง หรือห้ามชั่วคราว การใช้สิทธิการผ่านช่องแคบ • เรือและอากาศยานต่างชาติ มีหน้าที่ • เดินเรือ หรือบินผ่านโดยมิชักช้า • งดเว้นการกระทำใดๆที่เป็นการคุกคาม และ/หรือการใช้กำลังต่ออธิปไตย บูรณาภาพแห่งอาณาเขต และเอกราชทางการเมืองของรัฐชายฝั่ง • งดเว้นการกระทำใดๆที่มิใช่ลักษณะปรกติ (normal modes) ของการผ่านอย่างต่อเนื่องและไม่ชักช้า

  20. ช่องแคบที่ไม่มี Right of Transit Passage • ช่องแคบที่อยู่ระหว่างเกาะ และผืนแผ่นดินของรัฐชายฝั่ง หากมีเส้นทางเดินเรืออยู่อีกด้านหนึ่งที่ให้ความสะดวกเท่าเทียมกัน • ช่องแคบที่เชื่อมระหว่างทะเลหลวง หรือ EEZ กับทะเลอาณาเขตของรัฐต่างประเทศ • แต่เรือต่างชาติยังคงมีสิทธิการผ่านโดยสุจริตในช่องแคบทั้งสองประเภทนี้

  21. เขตต่อเนื่อง(The Contiguous Zone) • เป็นเขตทะเลที่ต่อเนื่องออกมาจากทะเลอาณาเขต ซึ่งรัฐชายฝั่งประกาศเพื่อวัตถุประสงค์ในการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายศุลกากร กฎหมายคนเข้าเมือง กฎหมายสาธารณสุข • อนุสัญญาฯ ค.ศ. 1982 กำหนดให้เขตต่อเนื่องมีความกว้าง 24 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต

  22. เขตไหล่ทวีป The Continental Shelf

  23. วิวัฒนาการของเขตไหล่ทวีปวิวัฒนาการของเขตไหล่ทวีป • 1945 คำประกาศทรูแมน (Truman Proclamation) อ้างสิทธิในทรัพยากรที่อยู่ในพื้นทะเลในบริเวณที่อยู่ประชิดชายฝั่งของสหรัฐอเมริกา • 1958 อนุสัญญาว่าด้วยเขตไหล่ทวีป • เขตไหล่ทวีปได้แก่พื้นทะเลและดินใต้พื้นทะเลที่อยู่ประชิดกับรัฐชายฝั่งไปจนถึงความลึก 200 เมตร หรือไปจนถึงบริเวณที่ความลึกของน้ำทะเลเปิดให้แสวงประโยชน์ได้

  24. เขตไหล่ทวีปตามอนุสัญญาฯ ค.ศ. 1982 เขตไหล่ทวีปของรัฐชายฝั่งประกอบด้วยพื้นทะเล และดินใต้พื้นทะเลที่ขยายออกไปจากทะเลอาณาเขตไปจนตลอดส่วนทอดยาวตามธรรมชาติ (natural prolongation)จากแผ่นดินไปจนถึงริมนอกของขอบทวีป (continental margin)หรือไปจนถึงระยะ 200ไมล์ทะเลจากเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตในกรณีที่ริมนอกของขอบทวีปขยายไปไม่ถึง 200ไมล์ทะเล

  25. กรณีเขตไหล่ทวีปยาวกว่า 200 ไมล์ทะเล จะต้องกำหนดริมนอกของขอบทวีป ดังนี้ • ณ จุดที่ความหนาอย่างน้อยที่สุดของหินตะกอนเท่ากับร้อยละ 1 ของระยะทางที่สั้นที่สุดจากจุดนั้นไปยังเชิงลาดทวีป • ณ จุดที่ห่างไม่เกิน 60 ไมล์ทะเล โดยวัดจากเชิงลาดทวีป

  26. กรณีเขตไหล่ทวีปยาวกว่า 200 ไมล์ทะเล (ต่อ) ไม่ว่าจะกำหนดโดยใช้วิธี (1) หรือ (2) ขอบเขตนอกสุดของไหล่ทวีป จะต้องไม่เกิน 350 ไมล์ทะเล วัดจากเส้นฐาน หรือไม่เกิน 100 ไมล์ทะเลโดยวัดจากจุดที่น้ำทะเลมีความลึก 2,500 เมตร

  27. สิทธิของรัฐชายฝั่งในเขตไหล่ทวีปสิทธิของรัฐชายฝั่งในเขตไหล่ทวีป • รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตย (sovereign right) ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในเขตไหล่ทวีป ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีชีวิต และอินทรีย์ภาพที่มีชีวิตประเภทติดอยู่กับที่ หรือไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เว้นแต่จะสัมผัสทางกายภาพกับพื้นทะเลตลอดเวลา • สิทธินี้ไม่ขึ้นอยู่กับการครอบครองหรือการกล่าวอ้าง หรือการออกประกาศใดๆ

  28. สิทธิของรัฐชายฝั่งในเขตไหล่ทวีป (2) • ในกรณีที่เขตไหล่ทวีปขยายออกไปเกิน 200 ไมล์ทะเล ต้องแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากไหล่ทวีปส่วนส่วนทิ่ยู่เกิน 200 ไมล์ทะเลให้แก่องค์การพื้นทะเลระหว่างประเทศ (International Seabed Authority หรือ the Authority) โดยให้เริ่มจ่ายหลังจากปีที่ 5 ไปจนถึงปีที่ 12 • ผลประโยชน์ที่ได้ให้นำมาแบ่งให้รัฐอื่นโดยให้คำนึงถึงประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศที่ยากจนและรัฐไร้ชายฝั่ง

  29. สิทธิของรัฐอื่นในเขตไหล่ทวีปสิทธิของรัฐอื่นในเขตไหล่ทวีป • สิทธิของรัฐชายฝั่งในเขตไหล่ทวีปไม่กระทบถึงน่านน้ำที่อยู่เหนือในฐานะที่เป็นทะเลหลวง และไม่กระทบถึงสถานะของห้วงอากาศที่อยู่เหนือน่านน้ำ • รัฐชายฝั่งไม่อาจขัดขวางการวางและบำรุงรักษาสายและท่อใต้น้ำ • การแสวงประโยชน์ของรัฐชายฝั่งจะต้องไม่กระทบกระเทือนโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรต่อการเดินเรือ การประมง และการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีชีวิตในทะเล

  30. การแบ่งเขตไหล่ทวีป North Sea Continental Shelf Cases (1969) • หลักระยะห่างเท่ากัน (Equidistance) ไม่ใช่หลักกฎหมายระหว่างประเทศ ที่จะใช้ในการแบ่งเขตไหล่ทวีปในทุกกรณี • หลักในการแบ่งเขตไหล่ทวีปตามกฎหมายระหว่างประเทศคือ “การแบ่งเขตจะต้องเป็นไปตามข้อตกลง โดยยึดหลักความยุติธรรม และโดยคำนึงถึงสถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แต่ละรัฐได้รับไหล่ทวีปที่ทอดยาวออกไปตามธรรมชาติจากแผ่นดินของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ โดยไม่ล้ำเข้าไปในส่วนที่ทอดออกไปตามธรรมชาติของรัฐอื่น”

  31. การแบ่งเขตไหล่ทวีปตามอนุสัญญาฯ ค.ศ. 1982 Article 83 • การแบ่งเขตไหล่ทวีปจะกระทำโดยข้อตกลงระหว่างกันบนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อที่จะได้การแก้ไขปัญหาที่ยุติธรรมที่สุด Article 74 • ให้นำเอาหลักตาม Article 83 มาใช้บังคับกับการแบ่งเขตเศรษฐกิจจำเพาะโดยอนุโลม

  32. เขตเศรษฐกิจจำเพาะ Exclusive Economic Zone (EEZ)

  33. วิวัฒนาการมาจากเขตประมงในช่วงปลายทศวรรษ 60 และทศวรรษ 70 อนุสัญญาฯ ค.ศ. 1982 รับรองเขต EEZ เป็นระยะกว้าง 200 ไมล์ทะเลวัดจากเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต

  34. สิทธิของรัฐชายฝั่งใน EEZ รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตย (sovereign rights) เพื่อการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตที่อยู่ในน่านน้ำ พื้นทะเล และดินใต้พื้นทะเล และการแสวงประโยชน์ทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น การผลิตพลังงานจากน้ำ กระแสน้ำ และลม

  35. สิทธิของรัฐชายฝั่งใน EEZ (2) • รัฐชายฝั่งมีอำนาจทางกฎหมาย (jurisdiction) เหนือสิ่งก่อสร้าง การใช้เกาะเทียม สิ่งติดตั้งและโครงสร้างต่างๆ การวิจัยค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และการคุ้มครอง และการสงวนรักษาสิ่งแวดล้อมในทะเล • รัฐอื่นๆยังคงมีเสรีภาพในการเดินเรือ บินผ่าน การวางสายเคเบิลและท่อใต้ทะเล

  36. หน้าที่ของรัฐชายฝั่งใน EEZ • ต้องจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมิให้มีการแสวงประโยชน์เกินสมรรถภาพของการผลิต โดยจะต้องกำหนดปริมาณสัตว์น้ำที่จะอนุญาตให้จับได้ (allowable catch) • ต้องยอมให้รัฐอื่นที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันเข้ามาแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีชีวิตที่เป็นส่วนเกิน (surplus) โดยให้คำนึงถึงรัฐไร้ฝั่งทะเล (land-locked states) และรัฐที่เสียเปรียบทางภูมิศาสตร์เป็นพิเศษ ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างทั้งสองฝ่าย

  37. ข้อสังเกตเกี่ยวกับ EEZ • การประกาศ EEZ ของประเทศเพื่อนบ้านทำให้ไทยสูญเสียพื้นที่ทำการประมง • EEZ ให้ทั้งสิทธิและหน้าที่แก่รัฐชายฝั่ง • หากรัฐชายฝั่งรับแต่สิทธิ แต่ไม่ทำหน้าที่ เช่น ไม่จัดการทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน หรือไม่สงวนรักษาสิ่งแวดล้อมใน EEZ ของตน ก็ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อรัฐอื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

  38. ทะเลหลวง (High Seas) • ทะเลทั้งหมดที่ไม่จัดอยู่ในน่านน้ำภายใน ทะเลอาณาเขต EEZ หรือน่านน้ำหมู่เกาะของรัฐหมู่เกาะ • รัฐต่างๆย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกันในการใช้ทะเลหลวง

  39. เสรีภาพในทะเลหลวง • การเดินเรือ และบินผ่าน • การทำประมง • การวางสายเคเบิลและท่อใต้ทะเล • เสรีภาพในการสร้างเกาะเทียมและสิ่งติดตั้งอื่นๆ • การค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ รัฐต้องคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐอื่นที่จะใช้เสรีภาพดังกล่าวด้วย

  40. การใช้ทะเลหลวงเพื่อทดสอบอาวุธการใช้ทะเลหลวงเพื่อทดสอบอาวุธ Nuclear Tests Case(1974) ICJ • ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ฝรั่งเศสยุติการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ เนื่องจากเป็นการใช้ทะเลหลวงโดยมิชอบและเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยของทั้งสองประเทศ • ICJ มิได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว ด้วยเหตุผลว่าฝรั่งเศสได้ประกาศว่าจะไม่ทำการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศอีกต่อไป

  41. การจัดการทรัพยากรในพื้นทะเลลึกการจัดการทรัพยากรในพื้นทะเลลึก และพื้นสมุทร และดินที่อยู่ใต้ (Deep Seabed and Ocean Floor and Subsoil Thereof) ตามอนุสัญญาฯ ค.ศ. 1982

  42. มีก้อนแมงกานีส (manganese nodules) ที่สามารถนำมาถลุงเอาแร่แมงกานีส นิกเกิล ทองแดง และโคบอลท์ อนุสัญญาฯ ค.ศ. 1982 กำหนดให้ทรัพยากรในพื้นทะเลลึกและพื้นสมุทรที่อยู่นอกเขตอำนาจรัฐ (the Area) เป็นมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ (common heritage of mankind) มีองค์การพื้นทะเลระหว่างประเทศ หรือ the Authority เป็นองค์กรที่ควบคุมการแสวงประโยชน์จาก the Area

  43. การแสวงประโยชน์ในพื้นทะเลลึกและพื้นสมุทรการแสวงประโยชน์ในพื้นทะเลลึกและพื้นสมุทร • ต้องได้รับอนุญาตจาก the Authority • The Authority มีองค์กรที่เรียกว่า the Enterprise ซึ่งสามารถร่วมแสวงประโยชน์ • ผลประโยชน์ที่ได้จาก the Area ให้นำมาแบ่งให้แก่รัฐอื่นอย่างยุติธรรมโดยคำนึงถึงประเทศกำลังพัฒนา • มีการจัดทำ New York Agreement ค.ศ. 1994 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในส่วนนี้ และเพื่อให้ลดการคัดค้านจากประเทศพัฒนาแล้ว

More Related