1 / 19

การเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

การเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก. สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ เชียงใหม่ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวคิดเกี่ยวกับการเล่น. 1. การเล่นเป็นโลกส่วนตัวของเด็ก และ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้

Download Presentation

การเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ เชียงใหม่ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  2. แนวคิดเกี่ยวกับการเล่นแนวคิดเกี่ยวกับการเล่น 1. การเล่นเป็นโลกส่วนตัวของเด็ก และ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ 2. การเล่นช่วยส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนา ทั้งทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา 3. การเล่น เป็นความต้องการของเด็ก ทั้งการเล่นที่ต้องใช้พละกำลัง และชนิดเล่นเงียบๆ เด็กต้องการเล่นทั้งแบบธรรมชาติ และ ตามที่ผู้ใหญ่จัดเตรียมไว้ให้ เด็กต้องการเล่นทั้งในร่มและ กลางแจ้ง ต้องการเล่นทั้งตามลำพังและเล่นกับเพื่อน 4. ผู้ใหญ่สามารถส่งเสริมประสบการณ์การ เล่นให้แก่เด็กได้

  3. พฤติกรรมการเล่นของเด็กพฤติกรรมการเล่นของเด็ก 1. การเล่นเลียนแบบ 2. การสำรวจ

  4. พฤติกรรมการเล่นของเด็กพฤติกรรมการเล่นของเด็ก 3. การทดสอบ 4. การสร้าง

  5. ประโยชน์ของการเล่น 1.   ด้านร่างกาย 2.   ด้านจิตใจและอารมณ์

  6. ประโยชน์ของการเล่น 3.   ด้านสังคม 4.   ด้านภาษา

  7. ประโยชน์ของการเล่น 5.   ด้านการเรียนรู้

  8. ลักษณะการเล่นที่เป็นส่งเสริมพัฒนาการของเด็กลักษณะการเล่นที่เป็นส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก • 1.   จัดสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์ของเล่นและเวลาในการเล่นให้กับเด็ก ได้เล่นอย่างอิสระเสรีตามความคิดและจินตนาการของเด็ก • 2.   จัดเวลาให้เด็กได้เล่นอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่พร้อมและที่ส่งเสริมการเล่นอย่างเหมาะสม • 3.   ในการจัดหาอุปกรณ์ จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยให้มากที่สุดและมีความ เหมาะสมกับอายุของผู้เล่น • 4.   ควรส่งเสริมการเล่นให้สอดคล้องกับความสนใจของเด็ก เพราะการเล่นที่เกิดจากความสมัครใจ จะทำให้เด็กได้แสดงออกของความสามารถได้อย่างเต็มที่ • 5.   การเล่นที่เหมาะสมควรมีความสอดคล้องตามลำดับขั้นของพัฒนาการทางการเล่นของเด็ก

  9. ลักษณะการเล่นที่เป็นส่งเสริมพัฒนาการของเด็กลักษณะการเล่นที่เป็นส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก • 6.   ผู้ปกครองควรปล่อยให้เด็กได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ในขณะเล่น ควรให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการเท่านั้นและควรสังเกตอยู่ห่างๆ • 7.   ควรให้ความสนใจกระตือรือร้นซักถาม และมีส่วนร่วมแสดงความยินดีกับเด็กเมื่อเด็กต้องการ • 8.   ไม่จำเป็นต้องจัดหาของเล่นให้มากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กเลือกไม่ถูกว่าจะเล่นอะไรทำให้เกิดความสับสน • 9.   เมื่อเด็กมีความสามารถในการเล่นมากขึ้น ควรจัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์การเล่นที่ส่งเสริมการเล่นที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เด็กไม่เบื่อ เกิดความท้าทาย ทำให้การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ในการเล่นเพิ่มมากขึ้น • 10. กระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กรู้จักจัดแสวงหาและสืบค้นด้วยตนเอง รวมทั้งให้เด็กรู้จัก แก้ปัญหาในสถานการณ์การเล่นแบบต่าง ๆ

  10. ลักษณะการเล่นที่เป็นส่งเสริมพัฒนาการของเด็กลักษณะการเล่นที่เป็นส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก • 11. ในขณะเล่นควรให้เด็กได้มีโอกาสแสดงความรู้สึก ซึ่งจะสังเกตได้จากสีหน้าและ แววตา เพราะการเล่นจะช่วยให้เด็กแสดงออกทางอารมณ์ • 12. ไม่ควรคาดหวังในการเล่นของเด็กว่าจะต้องบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ • 13. ในเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ ผู้ปกครองไม่ควรให้เด็กเล่นของเล่นหรือการเล่นที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์มากขึ้น • 14. ในเด็กเจ็บป่วย ควรเลือกของเล่นที่เหมาะกับสภาพร่างกาย จิตใจ และความสามารถในการเล่นของเด็กในขณะนั้น

  11. ของเล่นสำหรับเด็กช่วงวัยต่าง ๆ • ช่วงอายุแรกเกิด - 6 เดือน • - เด็กเริ่มพัฒนาระบบประสาทสัมผัส การมองเห็น การได้ยิน การแขวนของเล่นที่สดใส แกว่งไกว มีเสียงกรุ๊งกริ๊ง จะช่วยให้เด็กกรอกสายตา ฝึกการมองเห็นและการฟัง • - ของเล่นของเด็กวัยนี้ : ของเล่นที่มีสีสดใส และมีเสียง

  12. ของเล่นสำหรับเด็กช่วงอายุ 6 เดือน – 1 ขวบ • - เด็กวัยนี้เริ่มมีวัตถุประสงค์และทิศทางใน การหยิบของเล่น พัฒนาการด้านการ ประสานสัมพันธ์ระหว่างสายตากับมือ พัฒนาขึ้น เด็กรู้จักการสังเกต เริ่มแยกสีและ รูปร่างได้ สังเกตความลึกของสิ่งของ เช่น กล่องหรือแก้วได้ ส่งของเล่นจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่งได้ เด็กสามารถทรงตัวนั่งได้มั่นคง และมีการสำรวจสิ่งแวดล้อมโดยการคืบหรือคลาน • - ของเล่นของเด็กวัยนี้ : ของเล่นที่มี สีสัน มีเสียง ขนาดเหมาะกับมือ และของ เล่นที่เคลื่อนไหวได้

  13. ของเล่นสำหรับเด็กช่วงวัยต่าง ๆ • ช่วงอายุ 1 ปี – 2 ปี • - เด็กเริ่มเดินได้ด้วยตนเอง โดยช่วงแรก ๆ ยังไม่มั่นคงนัก ชอบเกาะเครื่องเรือน เดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง กล้ามเนื้อในการทรงตัว แขนขา มีการพัฒนามากขึ้น เมื่อเดินได้เองจะเริ่มสำรวจสิ่งแวดล้อม ปีนป่าย ขึ้นบันได ต้องระมัดระวังความปลอดภัย อย่างใกล้ชิด - ของเล่นสำหรับวัยนี้ : ของเล่น ที่ลากจูงไปมาได้ เช่น รถไฟ หรือรถ ลากต่อ

  14. ของเล่นสำหรับเด็กช่วงอายุ 2- 4 ปี • - เป็นวัยอยากรู้อยากเห็น เด็กเคลื่อนไหว ได้คล่องขึ้น และทรงตัวได้ดี เพราะกล้ามเนื้อ แขนขาแข็งแรงมากขึ้น กล้ามเนื้อในมือมีความ แข็งแรงมากขึ้น ชอบการเล่นที่มีการออกกำลัง เช่น การวิ่งเล่น กระโดด ปีนป่าย เตะลูกบอล • - ของเล่นสำหรับวัยนี้ : ของเล่นที่ใช้นิ้วมือหยิบ จับ ของเล่นที่หมุนได้ ภาพตัดต่อ blockไม้ ลูกบอล

  15. ลักษณะการเล่นที่เป็นส่งเสริมพัฒนาการของเด็กลักษณะการเล่นที่เป็นส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ช่วงอายุ 4 – 6 ปี • - การเคลื่อนไหวของร่างกาย คล่องแคล่วขึ้น ชอบเล่นกลางแจ้ง สนามเด็กเล่น และเครื่องเล่นที่ขับขี่ได้ ชอบเล่นเป็นกลุ่มชอบเลียนแบบชีวิตใน บ้าน และสังคม สิ่งแวดล้อม - การเล่นของเด็กวัยนี้ เน้นการเล่นเป็นกลุ่ม และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

  16. นิทานสำหรับเด็ก เด็กอายุ 0 - 1 ปี •                นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็น ภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และเขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติก หนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้                 เวลาเด็กดูหนังสือภาพ พ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูด้วย • ความรัก เด็กจะตอบสนองความรักของพ่อแม่ด้วยการ แสดงความพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและหนังสือภาพจึงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกด้วย

  17. นิทานสำหรับเด็กเด็กอายุ 2 - 3 ปี •               เด็กแต่ละคนจะเริ่มชอบต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสม ควรเป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ    เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษา และเสียงที่ดีในวัยนี้

  18. นิทานสำหรับเด็กอายุ 4 - 5 ปี •                 เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นสิ่ง รอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งนี้มา จากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความ แตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมุติ นิทานที่ เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่าย ส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง

  19. ประมวลภาพกิจกรรมการเล่านิทานสำหรับเด็กประมวลภาพกิจกรรมการเล่านิทานสำหรับเด็ก

More Related