1 / 32

การจัดการของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ

การจัดการของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ. การจัดการของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ.

sierra-roth
Download Presentation

การจัดการของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบการจัดการของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ

  2. การจัดการของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบการจัดการของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ การจัดการของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ อาศัยแนวทางปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ พ.ศ. 2533 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 10 ดังนี้ ข้อ 7 ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ให้ขายโดยวิธีขายทอดตลาดหรือวิธีประกวดราคา เว้นแต่จะมีกฎหมายหรือ มติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นหรือของกลางที่ต้องการจัดการตามข้อ 8 ข้อ 9

  3. ข้อ 8 ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้วและเป็นของกลางที่ไม่ควรขาย อธิบดีกรมป่าไม้หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมป่าไม้จะสั่งให้เอาไว้ใช้ในราชการ ปล่อย ทำลาย หรือจัดการตามสมควรก็ได้ ข้อ 9 การขายของกลางให้องค์การการกุศล วัด หรือการสาธารณะประโยชน์ ให้กระทำได้โดยไม่ต้องขายตามข้อ 7 แต่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมป่าไม้ ข้อ 10 การขายของกลางตามข้อ 7 ให้ดำเนินการได้ดังนี้ ให้อธิบดีกรมป่าไม้ / ป่าไม้เขตหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี แต่งตั้งข้าราชการเป็นคณะกรรมการจำนวน 3 – 4 คน โดยประธานกรรมการดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 5 และมีเลขานุการ 1 คน เพื่อดำเนินการขาย ฯลฯ

  4. การจัดการไม้ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบการจัดการไม้ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ ไม้ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ไม่ว่าจะเป็นไม้ท่อนหรือไม้ แปรรูป มีมติ ค.ร.ม. เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2502 ให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้รับซื้อไม้ของกลางเสียทั้งสิ้น ไม้ของกลางที่ถูกตัดโค่นในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม้ว่าไม้ของกลางดังกล่าวจะตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ก็ห้ามมิให้จำหน่าย(ตามมาตรา 54 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535) แต่ให้นำไปใช้ประโยชน์ในราชการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยอนุมัติจากอธิบดี

  5. ทั้งนี้ ให้หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าจัดทำรายละเอียดแผนการใช้ไม้หรือพฤกษชาติของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินเสนออธิบดีพิจารณาเป็นรายๆ ไป โดยอธิบดีจะแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเสนอ เป็นแนวทางปฏิบัติตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการจัดการกับไม้หรือพฤกษชาติอื่นที่ผู้กระทำผิดได้ตัดโค่นหรือแผ้วถางลงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. 2538 ข้อ 5 หมายเหตุ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ควรพิจารณาข้าราชการในสังกัดร่วมเป็นคณะกรรมการเสนออธิบดีพิจารณาด้วย โดยประธานกรรมการควรเป็นผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า

  6. หนังสือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ด่วนที่สุด ที่ ทส 0901 / 13860 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2547 เรื่องแนวทางปฏิบัติในการจำหน่ายไม้ของกลางในคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ ได้แจ้งยกเลิกแนวทางปฏิบัติกรณีไม้ของกลางที่ตรวจยึดได้ในเขตอุทยานแห่งชาติ ให้ขอไว้ใช้ในราชการทั้งสิ้น ตามหนังสือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ด่วนที่สุด ที่ ทส 0909.3 / 3530 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2546 แล้ว และให้ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการจำหน่ายไม้ของกลางระหว่างคดีหรือคดีถึงที่สุด ดังนี้ นอกจากปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบหรือมติ ค.ร.ม. ที่เกี่ยวข้องแล้ว ก่อนเสนอขายให้ อ.อ.ป. ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกกรณี

  7. หนังสือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ด่วนที่สุด ที่ ทส 0904 / 6531 – 6532 ลงวันที่ 18 เมษายน 2548 เรื่องขออนุมัติจำหน่ายไม้ของกลางระหว่างคดี แจ้งว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) มีนโยบายห้ามจำหน่ายไม้ของกลางที่ตรวจยึดได้ตามความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขตอุทยานแห่งชาติ เช่นเดียวกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ไม้หวงห้ามที่ถูกทำให้ตายแต่ยังคงยืนต้นตายอยู่ ถือเป็นของกลางในคดีเพื่อใช้พิสูจน์ในทางคดีว่ามีผู้กระทำผิดหรือไม่ แต่มิใช่เป็นของกลางในคดีที่ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบและตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมาย จึงไม่อาจขายไม้นั้นให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดได้ การนำไม้เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในราชการ ต้องกระทำตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 เท่านั้น (ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมกฤษฎีกา ที่ สร 0601 / 3266 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2523 เรื่องหารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับพยานวัตถุและของกลางในคดีป่าไม้)

  8. การจัดการของป่าของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบการจัดการของป่าของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ ของป่าของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งเป็นของป่าที่ควรขายให้ดำเนินการขายโดยวิธีขายทอดตลาดหรือวิธีประกวดราคา ถ่านไม้ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดิน ให้ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ พ.ศ. 2533 ข้อ 9 กล่าวคือขายของกลางให้องค์การการกุศล วัด หรือการสาธารณะประโยชน์ ให้กระทำได้โดยไม่ต้องขายตามข้อ 7 แต่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมป่าไม้ (ตามหนังสือกรมป่าไม้ ที่ กษ 0708.06 / 18833 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2536 เรื่องมาตรการจัดการกับของป่าหวงห้าม(ถ่านไม้) ของกลาง)

  9. ถ่านไม้ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดิน และไม่ควรขาย ให้เอาไว้ใช้ในราชการหรือทำลาย หรือจัดการตามสมควร ซึ่งกรมป่าไม้มอบหมายให้ป่าไม้เขตเป็นผู้มีอำนาจสั่งการ ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1763 / 2537 ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2537 เรื่องมอบหมายให้ป่าไม้เขตสั่งการเกี่ยวกับถ่านไม้ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดิน กล้วยไม้ป่าทุกชนิดที่เป็นของกลางเมื่อตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ให้ขอเอาไว้ใช้ในราชการทุกราย ห้ามมิให้ประมูลจำหน่ายโดยเด็ดขาด และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วให้มอบกล้วยไม้ป่าของกลางแก่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่เป็นท้องที่เดิมของกล้วยไม้ป่านั้นๆ บำรุงรักษาไว้ต่อไป (ตามหนังสือกรมป่าไม้ ที่ กษ 0743.03 / 3627 - 3628 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2535 เรื่องของป่าหวงห้ามของรัฐบาล)

  10. ชิ้นไม้กฤษณาและชิ้นไม้จันทน์หอมของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดิน ให้ขอเอาไว้ใช้ในราชการเพื่อการศึกษาค้นคว้า วิจัยทางด้านวิชาการทุกราย (ตามหนังสือกรมป่าไม้ ที่ กษ 0743.03 / 3627 - 3628 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2535 เรื่องของป่าหวงห้ามของรัฐบาล)

  11. การจัดการกับสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่าของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบการจัดการกับสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่าของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ การจัดการกับสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่าของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ ให้ดำเนินการตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าที่ตกเป็นของแผ่นดิน พ.ศ. 2540 ความโดยสรุปคือ ถ้าสัตว์ป่ายังมีชีวิตอยู่ให้ส่งหน่วยงานของส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าที่อยู่ใกล้เคียงรับไปดูแลรักษาเพื่อปล่อยกลับคืนสู่ป่า

  12. ถ้าสัตว์ป่าตายหรือเป็นซากของสัตว์ป่าให้ส่งหน่วยงานของส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าที่อยู่ใกล้เคียงรับไปเก็บรักษา แต่ถ้าไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ ให้ขออนุมัติผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า ป่าไม้เขต เพื่อดำเนินการทำลาย โดยตั้งคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน และคณะกรรมการอย่างน้อย 1 คน ต้องเป็นข้าราชการเพื่อควบคุมการทำลาย แล้วรายงานอธิบดีทราบ ห้ามมิให้จำหน่าย จ่าย โอนสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่าของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ

  13. การจัดการกับยานพาหนะของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบการจัดการกับยานพาหนะของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถไถ ให้ป่าไม้เขตแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสภาพรถยนต์ รถจักรยานยนต์ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินก่อน ประกอบด้วยข้าราชการดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 5 เป็นประธาน และมีกรรมการอีก 2 – 3 คน โดยมีเลขานุการหนึ่งคน หากปรากฏว่าของกลางยังมีสภาพใช้การได้หรือสามารถจะซ่อมบำรุงให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้และคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่จะต้องเสียไปแล้ว ให้ขอเอาไว้ใช้ในราชการ โดยหน่วยงานในสังกัดก่อน หากไม่มีหน่วยงานในสังกัดขอไว้ใช้ในราชการ ให้แจ้งหน่วยงานอื่นภายนอกทราบ เพื่อขอเอาไว้ใช้ในราชการ

  14. จักรยาน เกวียน รถเข็น ล้อเลื่อน เรือ แพ ให้ขอเอาไว้ใช้ในราชการ หรือแจ้งให้หน่วยงานภายนอกขอเอาไว้ใช้ในราชการ (ตามหนังสือกรมป่าไม้ ที่ กษ 0708.3 / 28094 - 28095 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2537 เรื่องการดำเนินการกับยานพาหนะของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดิน)

  15. การจัดการสัตว์พาหนะของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบการจัดการสัตว์พาหนะของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ สัตว์พาหนะของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ (ยกเว้นช้าง) ให้ดำเนินการขายโดยวิธีทอดตลาดหรือวิธีประกวดราคา สำหรับช้างของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ ให้มอบให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ หมายเหตุ โดยปกติเมื่อเจ้าหน้าที่จับกุม ตรวจยึดสัตว์พาหนะของกลางได้ ให้รีบดำเนินการขออนุมัติจำหน่ายในระหว่างคดีโดยเร็วทุกราย เพื่อไม่ให้มีปัญหาในเรื่องค่าเลี้ยงดู (ตามหนังสือที่ กษ 0704(5) / 26323 ลงวันที่ 8 กันยายน 2530 เรื่องการดำเนินการกับสัตว์พาหนะของกลางในคดีป่าไม้ และหนังสือที่ กษ 0708 / 31086 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2540 เรื่องจำหน่ายช้างของกลางในระหว่างคดี)

  16. การจัดการเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบการจัดการเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการ ให้ส่วนราชการที่มีเลื่อย โซ่ยนต์ที่ใช้ในการกระทำผิด ซึ่งศาลพิพากษาให้ริบตกเป็นของแผ่นดิน พิจารณาสภาพของเลื่อยโซ่ยนต์ก่อน หากสามารถใช้การได้ ให้ขอเอาไว้ใช้ในราชการหรือให้ส่วนราชการอื่นหรือรัฐวิสาหกิจอื่นขอใช้ (ตามหนังสือกรมป่าไม้ ที่ กษ 0708.06 / 14417 - 14418 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2536 เรื่องมาตรการควบคุมเครื่องเลื่อยโซ่(เลื่อยยนต์)) เนื่องจากพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545 ได้กำหนดวิธีการเกี่ยวกับการขอมีและการนำเลื่อยโซ่ยนต์ไปใช้ประโยชน์ในราชการ ไว้ดังนี้ มาตรา 4 ห้ามมิให้ผู้ใดมี ผลิต หรือนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ ฯลฯ

  17. มาตรา 17 วรรคสอง เลื่อยโซ่ยนต์ที่ศาลสั่งริบ ให้นำไปใช้ประโยชน์ในราชการหรือจำหน่ายให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หรือทำลายตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ อธิบดี หมายความว่า อธิบดีกรมป่าไม้ นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ หมายความว่า อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายสำหรับกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายสำหรับจังหวัดอื่น เลื่อยโซ่ยนต์ หมายความว่า เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และให้หมายความรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง

  18. บัดนี้ได้มีกฎกระทรวงและระเบียบเกี่ยวกับเลื่อยโซ่ยนต์แล้ว ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2551 ดังนี้ กฎกระทรวงกำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2551ไว้ดังนี้ เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ (บาร์) ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว และส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวประกอบด้วย เครื่องจักรกลต้นกำลังที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า หรือแผ่นบังคับโซ่ (บาร์) ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว

  19. ระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับเลื่อยโซ่ยนต์ที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือที่ศาลสั่งริบตามพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2551 เป็นต้นไป มีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้ เลื่อยโซ่ยนต์ที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือที่ศาลสั่งริบ ต้องมอบให้นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ท้องที่ เพื่อสั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บรักษาและจัดทำทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือที่ศาลสั่งริบ ตามแบบ ลซ.ปม. 1 ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใด มีความประสงค์ที่จะขอเลื่อยโซ่ยนต์ที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือที่ศาลสั่งริบไปใช้ประโยชน์ในราชการหรือขอซื้อ ให้ยื่นคำขอตามแบบ ลซ.ปม. 2 ต่อนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ท้องที่หรืออธิบดีกรมป่าไม้ เพื่อเสนออธิบดีกรมป่าไม้พิจารณาอนุมัติ

  20. เมื่ออธิบดีกรมป่าไม้อนุมัติแล้ว ให้นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ท้องที่มอบเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมออกหนังสือรับรองตามแบบ ลซ.ปม. 3 และสำเนาทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือที่ศาลสั่งริบ ให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจผู้ขอ ให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจนำเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมหนังสือรับรองแบบ ลซ. ปม. 3 และสำเนาทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ไปยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์ ตามแบบ ลซ.1 ต่อนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ ท้องที่ที่จะนำไปใช้ เพื่อให้นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ ท้องที่พิจารณาออกใบอนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์ต่อไป(ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545)

  21. การทำลายเลื่อยโซ่ยนต์ เป็นหน้าที่ของนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ท้องที่ โดยอนุมัติของอธิบดีกรมป่าไม้ ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองต้องยื่นคำขอมีเลื่อยโซ่ยนต์ต่อนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ท้องที่ภายในวันที่ 20 กันยายน 2551 (ตามประกาศกรมป่าไม้เรื่องรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545 ฉบับลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551)

  22. ของกลางตกเป็นของแผ่นดินเมื่อใดของกลางตกเป็นของแผ่นดินเมื่อใด ของกลางตกเป็นของแผ่นดินในกรณีใดกรณีหนึ่ง ใน 4 กรณี ดังนี้ 1.1 โดยคำพิพากษาของศาลให้ริบหากคดีถึงที่สุด และศาลมีคำพิพากษาให้ริบของกลางในคดี ของกลางดังกล่าวก็ตกเป็นของแผ่นดิน 1.2 โดยเจ้าของยินยอมยกให้เป็นของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 521 1.3 โดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ร้องขอรับคืนของกลางที่เจ้าหน้าที่ได้ตรวจยึดไว้ ตามมาตรา 64 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 และพนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือศาลไม่พิพากษาให้ริบ ภายในกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือวันที่คำพิพากษาศาลถึงที่สุด

  23. 1.4 โดยการเก็บรักษาไว้ของหน่วยงานของรัฐและเจ้าของมิได้เรียกเอาคืนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1327 ซึ่งต้องเข้าข่ายหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อ ดังนี้ ข้อ1 เป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำผิดหรือได้มาโดยการกระทำผิดหรือเกี่ยวกับการกระทำผิดโดยประการอื่น ข้อ 2 ได้ส่งไว้ในความรักษาของกรมในรัฐบาล และ ข้อ 3 เจ้าของมิได้เรียกเอาคืน(ขอคืน) ภายใน 1 ปี นับแต่วันส่งทรัพย์ของกลางในคดีไว้ในความรักษาของเจ้าหน้าที่ หรือถ้าได้ฟ้องคดีอาญาต่อศาลแล้ว ให้นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่ถ้าหากไม่ทราบตัวเจ้าของทรัพย์ของกลาง ให้ผ่อนเวลาออกไปเป็น 5 ปี

  24. เอกสารประกอบการขออนุมัตินำของกลางที่ศาลสั่งริบให้ตกเป็นของแผ่นดินไปใช้ในราชการเอกสารประกอบการขออนุมัตินำของกลางที่ศาลสั่งริบให้ตกเป็นของแผ่นดินไปใช้ในราชการ เมื่อหน่วยงานประสงค์จะขอนำของกลางที่ศาลสั่งริบให้ตกเป็นของแผ่นดินไปใช้ประโยชน์ในราชการ ควรแนบเอกสารประกอบหนังสือรายงานอธิบดี ดังนี้ 1. สำเนาคำพิพากษาที่สั่งให้ริบของกลางที่จะขออนุมัติใช้ 2. หนังสือรับรองจากศาลว่าคดีถึงที่สุดแล้ว 3. หนังสือรับรองจากศาลว่า ของกลางในคดีที่ศาลสั่งริบ ไม่มีเจ้าของมาขอคืนทรัพย์สินต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 หมายเหตุ ส่วนใหญ่เอกสารในข้อ 3 จะใช้กับการขออนุมัติใช้ของกลางจำพวกที่มีทะเบียนควบคุม เช่น รถยนต์ รถไถ รถจักรยานยนต์ เลื่อยโซ่ยนต์ เป็นต้น

  25. การคืนของกลางในระหว่างคดีการคืนของกลางในระหว่างคดี การคืนของกลางตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 85 ในระหว่างคดีหรือคดียังไม่สิ้นสุด โดยปกติต้องดำเนินการตามความเห็นของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดี ยกเว้นของกลางที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจยึดไว้ตามมาตรา 64 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ต้องดำเนินการตามข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ ลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2532 ข้อ 6 กล่าวคือ “ ถ้ามี ผู้ร้องขอคืนของกลางในระหว่างคดี ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีแจ้งหน่วยงานผู้รักษาของกลางทราบ เพื่อพิจารณาเสนอกรมป่าไม้(กรมต้นสังกัด) ดำเนินการขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ตามมาตรา 64 ตรี แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 เมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ แล้ว จึงจะคืนให้เจ้าของหรือผู้มีสิทธิ์ไปได้”

  26. เมื่อเจ้าพนักงานป่าไม้ ได้รับแจ้งจากพนักงานอัยการและพนักงานสอบสวนว่าไม่ขอริบของกลาง และให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 85 นั้น ถ้าเป็นกรณีตรวจยึดของกลางไว้ตามมาตรา 64 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 เจ้าพนักงานป่าไม้ต้องมีหน้าที่พิจารณาเสนอขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ตามมาตรา 64 ตรี แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ต่อไป การทำเรื่องเสนอรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงไม่เป็นการละเมิดแต่อย่างใด (ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด่วนที่สุด ที่ นร 0501 / 351 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2529 เรื่องหารือเกี่ยวกับการขออนุมัติคืนรถยนต์ของกลาง)

  27. การคืนของกลางตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 85 เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวน ไม่ใช่เป็นอำนาจของพนักงานอัยการ การแจ้งคืนของกลางของพนักงานอัยการเป็นเพียงคำแนะนำของพนักงานอัยการเท่านั้น (ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร 0601 / 2564 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2530 เรื่องหารือเกี่ยวกับการคืนไม้ของกลาง) การคืนของกลางให้แก่เจ้าของหรือผู้มีสิทธิ์ตามกฎหมายนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งมอบของกลางที่จะคืนดังกล่าวแก่พนักงานสอบสวน เพื่อคืนให้แก่เจ้าของหรือผู้มีสิทธิ์ตามกฎหมายต่อไป เนื่องจากการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาของกลางนั้นเป็นการดูแลรักษาแทนพนักงานสอบสวนตามข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ ลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2532 (ตามหนังสือกรมป่าไม้ที่ กษ 0708 / 26663 – 26664 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2543 เรื่องหารือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคืนของกลางคดีป่าไม้)

  28. หมายเหตุ ของกลางในคดี หากเป็นทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดดังกล่าวและทรัพย์สินนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีหรือการพิจารณาคดี กรณีเช่นนี้จะต้องคืนให้แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือสิ่งของนั้นทันที มิใช่ยึดไว้จนคดีถึงที่สุด (ศาลฎีกามีคำพิพากษาไว้เป็นบรรทัดฐานตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847 / 2536 ความโดยสรุปว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่จะยึดทรัพย์ของบุคคลที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดไว้ประกอบคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 85 หาได้ไม่” )

  29. เนื่องจากมีคำพิพากษาศาลฎีกาไว้เป็นบรรทัดฐานตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182 / 2538 ความโดยสรุป “ จำเลยที่ 1 เคยนำรถยนต์ของกลางไปใช้กระทำผิดพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาครั้งหนึ่งแล้ว ผู้ร้องได้ทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว แต่ผู้ร้องก็หาได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและติดตามรถยนต์ของกลางคืนทันทีไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าแม้จำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ของกลางไปใช้กระทำผิดอีก ผู้ร้องก็ไม่ประสงค์จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ การที่ผู้ร้องมาร้องขอคืนของกลางในลักษณะนี้ จึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 นั่นเอง การกระทำของผู้ร้องจึงเป็นการใช้สิทธิ์โดยไม่สุจริต แม้ผู้ร้องจะเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลาง ก็ไม่มีอำนาจที่จะร้องขอคืนของกลาง”

  30. ดังนั้น กรณีที่ผู้กระทำผิดได้ใช้รถยนต์เช่าซื้อไปกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ขอให้เจ้าหน้าที่แจ้งบริษัท/ห้างร้านเจ้าของรถยนต์ดังกล่าวทราบและขอให้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อนั้น หากไม่ดำเนินการจะถือว่ามีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด หากปรากฏภายหลังว่าผู้เช่าซื้อได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวไปใช้กระทำผิดอีก เจ้าหน้าที่สามารถใช้หนังสือดังกล่าวแจ้งพนักงานสอบสวนและใช้คัดค้านการใช้สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของขอคืนของกลางจากศาลตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ได้

  31. BACK

  32. BACK

More Related