130 likes | 256 Views
การสอนอย่างมีคุณค่า และมีความหมาย. การสอนอย่างมีคุณค่า. เก่า ( + ) ครูสอนเก่ง สอนสนุก ใจดี มีความเข้าใจนักเรียน เข้มงวดเจ้าระเบียบ ค่อนข้างดุ มีวิธีการสอนให้นักเรียนเข้าใจอย่างถ่องแท้. เก่า(-) สอนน่าเบื่อหน่าย สอนไม่ชัดเจน ไม่สร้างความเข้าใจให้นักเรียน ครูสอนอย่างเดียวไม่สนใจนักเรียน
E N D
การสอนอย่างมีคุณค่าและมีความหมายการสอนอย่างมีคุณค่าและมีความหมาย
การสอนอย่างมีคุณค่า เก่า (+) ครูสอนเก่ง สอนสนุก ใจดี มีความเข้าใจนักเรียน เข้มงวดเจ้าระเบียบ ค่อนข้างดุ มีวิธีการสอนให้นักเรียนเข้าใจอย่างถ่องแท้ เก่า(-) สอนน่าเบื่อหน่าย สอนไม่ชัดเจน ไม่สร้างความเข้าใจให้นักเรียน ครูสอนอย่างเดียวไม่สนใจนักเรียน ไม่อยากเรียนกับครูอ่าน/ศึกษาเองดีกว่า
การจัดการศึกษา บรรยากาศในชั้นเรียนมีความสำคัญ • ความพร้อมของครู ด้านครอบครัว เศรษฐกิจ สามารถอุทิศเวลา ทรัพย์สินให้กับการเรียนการสอนเต็มที่ • มีวุฒิทางการศึกษาตรงกับวิชาที่สอน • มีประสบการณ์ในการสอนวิชานั้น ๆ มายาวนาน มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหา และวีสอน • มีการจัดชั้นเรียน เน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนกล้าแสดงออก และเน้นปฏิบัติจริง • มีความเสียสละสูงทั้งแรงกาย แรงทรัพย์ เวลา • มีการเตรียมการสอนล่วงหน้าก่อนสอน • มีเทคนิคในการนำเข้าสู่บทเรียน และเทคนิคในการสอนน่าสนใจและหลากหลายโดยคำนึงถึงเนื้อหา จุดประสงค์ของการเรียนและความพร้อมของนักเรียน • มีการสอนซ่อมเสริมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ซึ่งมีผลต่อการแก้ปัญหาเด็กที่เรียนอ่อน ทำให้นักเรียนมีความพร้อมในการเรียนใกล้เคียงกัน ง่ายต่อการจัดการเรียนการสอน
นักเรียนมีครอบครัวที่อบอุ่น พ่อแม่ให้ความสำคัญต่อการศึกษาและให้ความสำคัญกับโรงเรียน • นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง • นักเรียนให้ความร่วมมือในการเรียน และมีความพร้อมก่อนเรียนในแต่ละชั่วโมง • ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปในทางที่ดี และครูให้ความยุติธรรมกับนักเรียน • ครูมีความต้องการที่จะปรับปรุงการสอนของตนเสมอ
การสอนอย่างมีคุณค่า Roddel R.B and Roddel M.R (1995:10) “การสอนอย่างมีคุณค่านั้นผู้สอนจะต้องมีกลวิธีใน การสอนโดยให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างถ่องแท้ด้วยการ ยกตัวอย่างต่างๆ ให้เป็นรูปธรรมและสามารถนำ ความรู้ไปใช้ได้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ” ดังนั้นการสอนอย่างมีคุณค่าผู้เรียนต้องได้รับ การเรียนรู้ด้วยความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันในโอกาสและสถานการณ์ต่างๆ จึง จะเป็นการเรียนการสอนที่มีความหมายอย่างแท้จริง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มุ่งปฏิรูปแนวทางในการจัด การศึกษา อบรมให้ผู้เรียนมีความรู้คู่ คุณธรรม และเป็นการจัดการศึกษา โดยมุ่งหวังให้มีคุณภาพสูงสุด เพี่อ พัฒนาคุณลักษณะของคนไทยที่พึง ประสงค์ เป็นการสอนอย่างมีคุณค่า เพื่อให้ผู้เรียนเป็น คนดี คนเก่งและมีความสุข
ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีจิตใจที่ ดีงาม มีคุณธรรม มีคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ทั้งด้านจิตใจและการแสดงอออก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่าง มีความสุข คนดี คนมีความสุข คนเก่ง มีสมรรถนะสูงในการดำเนินชีวิต มีความสามารถในด้านใดด้านหนึ่ง / รอบด้าน / มีความสามารถพิเศษเฉพาะทาง เป็นคนทันสมัย ทันเหตุการณ์ ทันโลก ทันเทคโนโลยี มีความเป็นไทย สามารถพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ และทำประโยชน์ให้แก่ตน สังคม และประเทศชาติได้ มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง มีมนุษยสัมพันธ์ ปลอดพ้นจากการตาเป็นทาสอบายมุข และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียงอัตภาพ
การเตรียมการสอนอย่างมีคุณค่าการเตรียมการสอนอย่างมีคุณค่า • สอนด้วยใจไม่เพียงสอนด้วยหน้าที่ Roddel R.B and Roddel M.R (1995) กล่าวว่า Teaching is a work of heart งานสอนต้องอาศัยความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะทำให้การสอนมีคุณค่า เพราะการสอนคือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน เป็นการสอนคน ไม่ใช่สอนหนังสืออย่างเดียว ครูมีหน้าที่ทั้งอบรมและสั่งสอนให้ผู้เรียนมีความรู้และคุณธรรมควบคู่กับไป ครูต้องมีสำนึกและจิตวิญญาณของความเป็นครูคือ • มีความรักและหวังดีต่อศิษย์ • มีความห่วงหาอาทร ห่วงใยเป็นกันเองกับศิษย์ • เอาใจใส่และพยายามเข้าใจปัญหาของศิษย์ • ใส่ใจการสอนให้ศิษย์เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งอย่างเต็มใจ
การสอนด้วยความตระหนักว่า ต้องสอนด้วยใจไม่เพียงสอนด้วยหน้าที่ • ถามตนเองว่า สอนใคร สอนทำไม สอนแล้วนักเรียนควรจะรู้อะไรและสามารถนำความรู้ไปใช้ทำอะไรได้บ้าง • สอนอย่างไรเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดโดยการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน • ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติให้มากที่สุด โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางตามหลักการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ • มุ่งหวังเห็นความก้าวหน้าและพัฒนาการทางการเรียนของลูกศิษย์ด้วยความสุขเมื่อเห็นศิษย์ได้ดี • สอนอย่างมีชีวิตชีวาด้วยวิธีการที่หลากหลายจูงใจผู้เรียนให้เกิดความสนใจ มีความรักและสนใจในการเรียน
สอนอย่างมีความสุข • ครูมีความสุขในการสอนส่งผลให้นักเรียนมีความสุขในการเรียน • ความสุขของครูสะท้อนจากการแสดงพฤติกรรมของนักเรียนในแง่มุมต่าง ๆ • ควรฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้ที่มองโลกในแง่ดี พยายามสร้างความเข้าใจในตัวนักเรียน • ภาพสะท้อนความสุขได้แก่การจัดกิจกรรมการสอนที่ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ด้วยเสียงหัวเราะที่สดใสบริสุทธิ์ สะท้อนความเบิกบานในอารมณ์ • แต่ครูต้องไม่ลืมวางกติกาให้ชัดเจน ว่าผู้เรียนต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อตกลง ไม่ทำอะไรตามอำเภอใจจนทำให้เกิดความวุ่นวาย เป็นการรบกวนชั้นเรียนที่อยู่ข้างเคียง
สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความสุขและสนุกกับการเรียน • ครูต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผู้เรียนคือ • จากบรรยากาศที่อับเฉาไปสู่ บรรยากาศที่มีชีวิตชีวา • จากการที่ผู้เรียนเป็นผู้รับ ไปสู่ผู้เรียนร่วมเรียนรู้และได้เรียนรู้ร่วมกัน • จากการจำกัดการเรียนในห้องเรียน ไปสู่การขยายวงกว้างสู่แหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้น • จากกิจกรรมการเรียนที่เฉื่อยชาซ้ำซาก ไปสู่กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย • จากการใช้สื่อประกอบการบรรยาย ไปสู่มิติใหม่ของการใช้สื่อที่เป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ • จากความสัมพันธ์ที่เป็นปฏิปักษ์ระหว่างครูกับนักเรียน ไปสู่ความเป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน • จากการสอบที่มีผลเป็นการตีตราสถานะของนักเรียน ไปสู่การสอบเพื่อเร้าให้เกิดการฝารู้และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
ผู้มีบาบาทสำคัญคือ ครู จะต้องมีการวางแผนในการจัดการเรียนการสอนอย่างรอบคอบและรัดกุม โดยมุ่งให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ตามวุฒิภาวะและความแตกต่างระหว่างบุคคล • ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และทดลองด้วยวิธีการที่สนุกไม่น่าเบื่อด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย • ใช้สื่อที่เร้าใจให้เกิดการเรียนรู้ด้วยบทเรียน เริ่มจากง่ายไปยาก ให้ผู้เรียนได้สรุปข้อคิดและหลักการด้วยตนเอง • ประเมินผลโดยเน้นพัฒนาการของผู้เรียนในภาพรวม และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเอง • ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ • การแต่งกาพย์ยานี 11 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากที่นักเรียนได้ศึกษาหลักเกณฑ์และ ฉันทลักษณ์ในการแต่งกาพย์ยานี 11แล้ว ผู้เรียนเลือก “มุมโปรด” ของแต่ละคนแต่ง กาพย์ยานี 11 โดยแต่งมาคนละ 2 บทตาม ความคิดเห็นและความประทับใจของแต่ละ คน จากการสังเกตของครูพบว่า นักเรียนมี ความพอใจและมีความสุขในการเลือกมุมโปรด ของตนเอง ทุกคนมีสีหน้าเบิกบาน ผลงานที่ ออกมา มีความหลากหลาย แม้ว่าบางคนจะมี ลักษณะ “กลอนพาไป”บ้าง ใช้ภาษาไม่เหมาะสม บ้าน ครูอาจช่วยขัดเกลาและแนะนำโดยไม่ลืมที่จะ ชมเชยและให้กำลังใจตามสมควร เพื่อให้ผู้เรียนมี ความสุขและพึงใจในผลงานของตนเอง
ตัวอย่างผลงานของนักเรียนตัวอย่างผลงานของนักเรียน ห้องน้ำนี้แสนดี เราใช้ฉี่ยามเราปวด ห้องน้ำไม่มีลวด คนมีหนวดก็เข้าได้ ห้องน้ำเราสะอาด เราควรราดน้ำหลังใช้ ช่วยให้เราสุขใจ เมื่อเรามีทุกข์หนักเบา • โดยภาพรวมนักเรียนผู้นี้ให้ข้อคิดดี การใช้ฉันทลักษณ์ทำได้ถูกต้อง แต่ใช้คำพูดบางคำที่ดูไม่เหมาะสม เช่น “ฉี่” และการแต่งในลักษณะ “กลอนพาไป” เช่น “ห้องน้ำไม่มีลวด” และ “คนมีหนวดก็เข้าได้” • หลังจากที่นักเรียนนำเสนอผลงานของตนหน้าชั้นเรียนผู้สอนให้นักเรียนคนอื่น ๆ ในชั้นเรียนร่วมกันประเมินตนเองด้วยและช่วยกันแก้ไขข้อบกพร่องที่พบอยู่ให้งานถูกต้องสมบูรณ์และมีคุณภาพยิ่งขึ้น
งาน นำเสนอสัปดาห์หน้า • ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 3 คน • ศึกษาค้นคว้าวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมี กลุ่มละ 1 วิธี (ห้ามซ้ำกัน) • นำเสนองานในสัปดาห์หน้า โดยทำ presentation ด้วย