1.07k likes | 1.55k Views
การบรรยายเรื่อง เงินนอกงบประมาณ. ศิริวรรณ กิจประชา สำนักงานคลังจังหวัดสมุทรปราการ. หัวข้อการนำเสนอ. ความหมายของเงินนอกงบประมาณ ที่มาของเงินนอกงบประมาณ ลักษณะของเงินนอกงบประมาณ แต่ละประเภท. เงินที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการ. ส่วนราชการมีเงินในความรับผิดชอบอยู่ 3 ประเภท คือ
E N D
การบรรยายเรื่อง เงินนอกงบประมาณ ศิริวรรณ กิจประชา สำนักงานคลังจังหวัดสมุทรปราการ
หัวข้อการนำเสนอ • ความหมายของเงินนอกงบประมาณ • ที่มาของเงินนอกงบประมาณ • ลักษณะของเงินนอกงบประมาณ แต่ละประเภท
เงินที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการเงินที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการ • ส่วนราชการมีเงินในความรับผิดชอบอยู่ 3 ประเภท คือ 1. เงินรายได้แผ่นดิน 2. เงินงบประมาณ 3. เงินนอกงบประมาณ
“เงินรายได้แผ่นดิน” หมายความว่า เงินทั้งปวงที่ส่วนราชการจัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือจากนิติกรรมหรือนิติเหตุ และกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณบัญญัติไม่ให้ส่วนราชการนั้นๆ นำไปใช้จ่าย หรือหักไว้เพื่อการใดๆ
“งบประมาณรายจ่าย” จำนวนเงินอย่างสูงที่อนุญาตให้นำไปใช้จ่าย หรือก่อหนี้ผูกพันได้ตามวัตถุประสงค์ และระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
“เงินนอกงบประมาณ” หมายความว่า เงินทั้งปวงที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการนอกจากเงินงบประมาณรายจ่าย เงินรายได้แผ่นดิน เงินเบิกเกินส่งคืน และเงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืน
ความสัมพันธ์ระหว่างการรับจ่ายเงินของรัฐกับเงินคงคลังความสัมพันธ์ระหว่างการรับจ่ายเงินของรัฐกับเงินคงคลัง เงินนอกงบประมาณ - เงินฝาก - การโอนขายบิล - เงินทุน - เงินทดรองราชการ - ตั๋วเงินคลัง เงินนอกงบประมาณ - เงินฝาก - เงินโอนขายบิล - เงินทุน - เงินทดรองราชการ - ตั๋วเงินคลัง เงินในงบประมาณ - รายได้แผ่นดิน - ภาษีอากร - รายได้อื่น ๆ - เงินกู้ - พันธบัตร - ตั๋วเงินคลัง เงินในงบประมาณ - รายจ่ายตามงบประมาณ รายรับ เงินคงคลัง รายจ่าย
ความหมายของเงินนอกงบประมาณความหมายของเงินนอกงบประมาณ เงินทั้งปวงที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการ นอกจาก • เงินงบประมาณรายจ่าย • เงินรายได้แผ่นดิน • เงินเบิกเกินส่งคืน • เงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืน
ที่มาของเงินนอกงบประมาณที่มาของเงินนอกงบประมาณ • พรบ. เงินคงคลัง พ.ศ. 2491 • พรบ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 • กฎหมายเฉพาะ • อื่นๆ เช่น มติครม.
พรบ. เงินคงคลัง พ.ศ. 2491 ประเภทของเงินนอกงบประมาณตาม พรบ. ฉบับนี้ ประกอบด้วย • เงินทุนหมุนเวียน • เงินยืมทดรองราชการ • เงินฝาก • เงินขายบิล
เงินที่รมต.กระทรวงการคลังกำหนดข้อบังคับเงินที่รมต.กระทรวงการคลังกำหนดข้อบังคับ • รายจ่ายที่หักนั้นเป็นรายจ่ายที่มีกฎหมายอนุญาตให้จ่ายได้ • รายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายตามระเบียบที่ได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง • รายจ่ายที่ต้องจ่ายคืนให้แก่บุคคลใดๆ เพราะเป็นเงินอันไม่พึงชำระให้แก่รัฐบาล
มาตรา 4 ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 13 บรรดาเงินทั้งปวงที่พึงชำระให้แก่รัฐบาลไม่ว่าเป็นภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้หรือเงินอื่นใด หัวหน้าส่วนราชการที่ได้เก็บหรือรับเงินนั้นมีหน้าที่ควบคุมให้ส่งเข้าบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1 หรือส่งคลังจังหวัด หรือคลังอำเภอตามกำหนดเวลาและข้อบังคับที่รัฐมนตรีกำหนดโดยไม่หักเงินไว้เพื่อการใดๆ เลย รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดข้อบังคับอนุญาตให้หัวหน้าส่วนราชการใดๆ หักรายจ่ายจากเงินที่จะต้องส่งเข้าบัญชีคงคลังบัญชีที่ 1 หรือส่งคลังจังหวัดหรือคลังอำเภอได้ ในกรณี ดังนี้ 1.รายจ่ายที่หักนั้นเป็นรายจ่ายที่มีกฎหมายอนุญาตให้จ่ายได้ 2.รายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายตามระเบียบที่ได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลังเพื่อเป็นค่าสินบนรางวัล หรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้ได้มาซึ่งเงินอันพึงชำระให้แก่รัฐบาล 3.รายจ่ายที่ต้องจ่ายคืนให้แก่บุคคลใดๆ เพราะเป็นเงินอันไม่พึงต้องชำระให้แก่รัฐบาล
พรบ. เงินคงคลัง พ.ศ. 2491 • เงินสินบนรางวัล • ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษี • ค่าล่วงเวลา • ฯลฯ
มาตรา 24 บรรดาเงินที่ส่วนราชการได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมาย หรือระเบียบบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่หรือสัญญา หรือได้รับจากการให้ใช้ทรัพย์สิน หรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของส่วนราชการ ให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินนั้นนำส่งคลังตามระเบียบหรือข้อบังคับที่รัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น • ส่วนราชการใด ได้รับเงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ส่วนราชการนั้นได้จ่ายในกิจการของส่วนราชการนั้นก็ดี หรือได้รับเงินที่เกิดจากทรัพย์สินซึ่งมีผู้มอบให้เพื่อหาดอกผลใช้จ่ายในกิจการของส่วนราชการนั้นก็ดีให้ส่วนราชการนั้นจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันภายในวงเงินที่ได้รับนั้นและไม่ต้องนำส่งคลัง • ในกรณีส่วนราชการได้รับเงินตามโครงการช่วยเหลือร่วมมือกับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การสหประชาชาติทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศอื่นใดหรือบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นเงินกู้หรือให้เปล่ารวมทั้งเงินที่ส่วนราชการได้รับสืบเนื่องจากโครงการช่วยเหลือ หรือร่วมมือเช่นว่านั้น รัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่นโดยไม่ต้องนำส่งคลังก็ได้
รัฐมนตรีจะอนุญาตให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินในกรณีต่อไปนี้ นำเงินนั้นไปใช้จ่าย โดยไม่ต้องนำส่งคลังก็ได้ คือ 1.เงินที่ได้รับในลักษณะค่าชดใช้ความเสียหายหรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สิน และจำเป็นต้องจ่ายเพื่อบูรณะทรัพย์สินหรือจัดให้ได้ทรัพย์สินคืนมา 2.เงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานพยาบาล สถานศึกษา หรือสถานที่อื่นใดที่อำนวยบริการอันเป็นสาธารณะประโยชน์หรือประชาสงเคราะห์ 3.เงินที่ได้รับในลักษณะผลพลอยได้จากการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ 4.เงินที่ได้รับจากการจำหน่ายหุ้นในนิติบุคคลเพื่อนำไปซื้อหุ้นในนิติบุคคลอื่นการจ่ายเงินตาม (2) และ (3) ต้องเป็นไปตามระเบียบที่ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี และผู้อำนวยการ ส่วนการจำหน่ายหุ้นและการซื้อหุ้นตาม (4) ต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังที่ได้รับจากอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
เงินที่มีลักษณะตามพรบ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 • ม.24 • เงินที่ส่วนราชการได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ ต้องนำส่งคลังตามระเบียบหรือข้อบังคับที่ รมต.กำหนดเว้นแต่จะมีกม.กำหนดเป็นอย่างอื่น เช่นเงินรายรับของมหาวิทยาลัยตาม พรบ. จัดตั้งมหาวิทยาลัย • เงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ส่วนราชการนั้นได้จ่ายในกิจการของส่วนราชการ • เงินที่ส่วนราชการได้รับตามโครงการช่วยเหลือจากต่างประเทศ
เงินที่มีลักษณะตามพรบ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 • เงินที่ส่วนราชการได้รับอนุญาตจาก รมต.กระทรวงการคลังไว้ใช้จ่ายโดยไม่ต้องนำส่งคลัง (1) เงินที่ได้รับในลักษณะค่าชดใช้ความเสียหายหรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สินและจำเป็นต้องจ่ายเพื่อบูรณะทรัพย์สินหรือจัดให้ได้ทรัพย์สินคืนมา (2) เงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานพยาบาล สถานศึกษา หรือสถานที่อื่นใดที่บริการอันเป็นสาธารณะประโยชน์ หรือประชาสงเคราะห์ (3) เงินที่ได้รับในลักษณะผลพลอยได้จาการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ (4) เงินที่ได้รับจากการจำหน่ายหุ้นในนิติบุคคลเพื่อนำไปซื้อหุ้นในนิติบุคคล อื่น
พรบ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 • เงินบริจาค • เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ • เงินบูรณะทรัพย์สิน • เงินบำรุงการศึกษา • เงินบำรุงของหน่วยงานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข • เงินรายรับจากสถานบริการที่เป็นสาธารณประโยชน์ หรือประชาสงเคราะห์ • เงินที่ได้รับในลักษณะของผลพลอยได้จากการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ • เงินทดรองราชการ • เงินทุนสำรองจ่าย
กฎหมายเฉพาะและมติครม.กฎหมายเฉพาะและมติครม. • พระราชบัญญัติเฉพาะ เช่น พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 • มติคณะรัฐมนตรีเช่น กองทุนเพื่อพัฒนาการผลิตถั่วเหลือง กองทุนปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ
ลักษณะของเงินนอกงบประมาณแต่ละประเภทลักษณะของเงินนอกงบประมาณแต่ละประเภท
ทุนหมุนเวียน • ม. 3 แห่ง พรบ. เงินคงคลัง พ.ศ. 2491 หมายถึง ทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อกิจการซึ่งอนุญาตให้นำ รายรับสมทบไว้ใช้จ่ายได้ • ม. 12 การจ่ายเงินเป็นทุนหรือเป็นทุนหมุนเวียนเพื่อการใดๆ ให้กระทำได้แต่โดยกฎหมาย
การจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียนการจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียน • จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี • จัดตั้งโดยกฎหมายเฉพาะ เช่นพระราชบัญญัติเฉพาะ เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนพัฒนาพรรคการเมือง กองทุนจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่ เป็นต้น
แนวปฏิบัติและหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียนแนวปฏิบัติและหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียน • เสนอเรื่องให้คณะกรรมการกลั่นกรองการจัดตั้งทุนฯ พิจารณาก่อน • วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งและลักษณะการดำเนินงานต้องไม่ซ้ำซ้อนกับทุนหมุนเวียนอื่นที่ดำเนินการอยู่แล้ว/ไม่ซ้ำซ้อนกับหน้าที่หลักของหน่วยงานภาครัฐอื่น • เป็นกิจการที่มีการดำเนินงานที่ไม่แข่งขันกับภาคเอกชน/รัฐวิสาหกิจ • ต้องกำหนดวิธีการ หลักเกณฑ์ในการดำเนินงาน การบริหารงาน การควบคุม และการติดตามประเมินผลอย่างชัดเจน • ต้องไม่มีลักษณะที่กำหนดให้ใช้จ่ายเฉพาะดอกผล
แนวปฏิบัติและหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียน(ต่อ)แนวปฏิบัติและหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียน(ต่อ) • ทุนฯ ที่จัดตั้งตามนโยบายรัฐบาล เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการใด กิจการหนึ่งที่จำเป็น ต้องกำหนดระยะเวลาและวงเงินให้ชัดเจน • ลักษณะการดำเนินงานของทุนหมุนเวียน จะต้องมีรายได้ที่เกิดจากการดำเนินงานของตนเอง หรือมีแหล่งที่ได้มาของเงินที่ชัดเจน • ต้องไม่เข้าลักษณะเป็นเงินจ่ายขาด และมีรายได้จากเงินงบประมาณเป็นหลัก
การแบ่งเงินทุนหมุนเวียนการแบ่งเงินทุนหมุนเวียน ประเภทที่ 1 ทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืม ประเภทที่ 2 ทุนหมุนเวียนเพื่อการจำหน่ายและการผลิต ประเภทที่ 3 ทุนหมุนเวียนเพื่อการบริการ ประเภทที่ 4 ทุนหมุนเวียนเพื่อการสงเคราะห์และ สวัสดิการสังคม ประเภทที่ 5 ทุนหมุนเวียนเพื่อการสนับสนุนส่งเสริม
ทุนหมุนเวียน การควบคุมและตรวจสอบ หน่วยงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการ สำนักงาน ตรวจเงินแผ่นดิน กระทรวง การคลัง 1. ให้ความเห็นชอบระเบียบ 2. อนุมัติประมาณการรายจ่ายประจำปี 3. ให้ความตกลงกรณีนอกเหนือระเบียบ 4. กำกับดูแลระบบบัญชี 5. ประเมินผลการดำเนินงานของทุน หมุนเวียน ตรวจสอบ รับรอง งบการเงินประจำปี ตรวจสอบรายงาน การเงินและผลการดำเนินงานประจำ.... ของส่วนราชการ
การยุบเลิกทุนหมุนเวียนการยุบเลิกทุนหมุนเวียน 1.กระทำเมื่อกิจกรรมนั้นล้มเหลวเป็นผลเสียต่อทางราชการ หรือหมดความจำเป็น หรือไม่ดำเนินการโดยไม่มีเหตุผล อันสมควร 2.พระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังรวมหรือ ยุบเลิกทุนหมุนเวียน 3.ต้องทำการปิดบัญชี และชำระบัญชี
การรวมและยุบเลิกเงินทุนหมุนเวียนการรวมและยุบเลิกเงินทุนหมุนเวียน พระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังรวมหรือยุบเลิกทุน หมุนเวียน พ.ศ.2543 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 บัญญัติให้กระทรวงการคลัง โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจรวมหรือยุบเลิกทุนหมุนเวียนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด วิธีปฏิบัติในการรวมหรือยุบเลิกทุนหมุนเวียน กำหนดตามหนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค.0414/ว10 ลงวันที่19 มกราคม 2548 เรื่องการกำหนดแนวปฏิบัติการจัดการทุนหมุนเวียนที่จะรวมหรือยุบเลิกตามมาตรา 9 แห่งพรบ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังรวมหรือยุบเลิกทุนหมุนเวียน พ.ศ.2543
เหตุผลในการตราพระราชบัญญัติเหตุผลในการตราพระราชบัญญัติ เนื่องจากในปัจจุบัน มีการจัดตั้งทุนหมุนเวียนที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน เป็นจำนวนมาก ทำให้การดำเนินงาน ซ้ำซ้อนกัน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการทุนหมุน เวียนที่จัดตั้งขึ้น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมควรดำเนินการรวมทุนหมุนเวียน ที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน หรือสามารถดำเนินการร่วมกันได้เข้าด้วยกัน และสมควรยุบเลิกทุนหมุนเวียนที่หมดความจำเป็นหรือหยุดดำเนินการ
ความหมาย • เป็นเงินที่กระทรวงการคลังจ่ายและอนุญาตให้ ส่วนราชการมีไว้ตามจำนวนที่เห็นสมควร เพื่อทดรองเป็นค่าใช้จ่ายตามระเบียบหรือข้อบังคับของกระทรวงการคลัง
เงินทดรองราชการ • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อทดรอง เป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกอง กำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก พ.ศ. 2542 • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. 2547 • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือ คนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. 2549 • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการของส่วนราชการในต่างประเทศ พ.ศ. 2550
เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
ความหมาย • เป็นเงินจำนวนหนึ่งซึ่งกระทรวงการคลังสั่งจ่าย จากเงินคงคลังให้ส่วนราชการมีไว้ทดรองจ่ายเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่ได้รับ ความเดือดร้อนหรือความเสียหายจากภัยพิบัติฉุกเฉินและจะต้องดำเนินการให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ตามความจำเป็นและเหมาะสมในระหว่างที่ยังไม่ได้ รับการจัดสรรงบประมาณ
ระเบียบหลักเกณฑ์ • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • หลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546
คำนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องคำนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง • ภัยพิบัติ • ฉุกเฉิน • ผู้ประสบภัยพิบัติ
คำนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องคำนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง • ภัยพิบัติ หมายความว่า สาธารณภัย ได้แก่ อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง ฟ้าผ่า ภัยจากลูกเห็บ ภัยอันเกิดจากไฟป่า ภัยที่เกิดจากโรค หรือการระบาดของแมลง หรือศัตรูพืชทุกชนิด อากาศหนาวจัดผิดปกติ ภัยสงคราม และภัยอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ก่อการร้าย กองกำลังจากนอกประเทศ หรือการปราบปรามของเจ้าหน้าที่ของทางราชการตลอดจนภัยอื่นๆ ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ หรือมีบุคคลหรือสัตว์ทำให้เกิด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชน หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือรัฐ
คำนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องคำนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง • ฉุกเฉิน หมายความว่า เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วนหรือเป็นที่คาดหมายว่าจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้ และจำเป็นต้องรีบแก้ไขโดยฉับพลัน • ผู้ประสบภัยพิบัติ หมายความว่า บุคคลผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความเสียหายจากภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และให้หมายความรวมถึงส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเดือดร้อนหรือความเสียหายจากภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในเขตพื้นที่นั้นด้วย
วัตถุประสงค์ของเงินทดรองราชการวัตถุประสงค์ของเงินทดรองราชการ • เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าแก่ผู้ประสบภัย ในกรณีเกิดภัยพิบัติฉุกเฉิน • มิได้มุ่งหมายที่จะชดใช้ความเสียหายให้แก่ผู้ใด
หลักการใช้จ่ายเงินทดรองราชการหลักการใช้จ่ายเงินทดรองราชการ • ภัยพิบัติเกิดขึ้น • ไม่มีเงินงบประมาณในการช่วยเหลือ • การให้ความช่วยเหลือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด • เมื่อใช้แล้วต้องจัดหาเงินงบประมาณมาชดใช้คืน
ภัยพิบัติ ผวจ.แต่งตั้ง ก.ช.ภ.อ/กอ. อำนาจหน้าที่ ผวจ.จัดสรรวงเงินทดรองราชการ ให้อำเภอไม่ต่ำกว่า 500,000/ครั้ง/ภัย จังหวัด ผวจ.ประกาศภัย ก.ช.ภ.อ/กอ. ประชุมพิจารณาให้ความช่วยเหลือลือ ประกาศภัยพิบัติ ผวจ.แต่งตั้ง ก.ช.ภ.จ. อำนาจหน้าที่ กทม. อธิบดี ปภ. ประกาศภัย กรณีเกินอำนาจอนุมัติที่ได้รับจัดสรร ก.ช.ภ.จ. ประชุมพิจารณาให้ความช่วยเหลือ การให้ความช่วยเหลือด้านสังคมสงเคราะห์ อนุมัติโดย ปลัดกระทรวง พม. กรณีอยู่ในอำนาจอนุมัติตามวงเงินที่ได้รับจัดสรร ผวจ.อนุมัติและอาจมอบ ส่วนราชการต่าง ๆ การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร อนุมัติโดย ปลัดกระทรวง กษ. นายอำเภอ/หน.กิ่งอำเภอ 1. อนุมัติตาม ก.ช.ภ.อ./กอ. 2. ยืมเงินทดรองราชการ การให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ อนุมัติโดย ปลัดกระทรวง สธ. ให้ความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ อนุมัติโดย อธิบดี ปภ. กรมบัญชีกลาง อนุมัติเบิกเงินทดรองราชการ สนง.ปภ.จังหวัด คลังจังหวัด อนุมัติเบิกเงินทดรองราชการ
วิธีปฏิบัติในการใช้เงินทดรองราชการวิธีปฏิบัติในการใช้เงินทดรองราชการ ๏ ต้องมีการประกาศภัยพิบัติ 1. ผู้มีอำนาจประกาศ :- - กรุงเทพฯ : อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - จังหวัด : ผู้ว่าราชการจังหวัด 2. การประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินให้มีรายการดังนี้ :- - ประเภทของภัย - พื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติ - วัน เดือน ปี ที่เกิดและสิ้นสุดภัย - เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของการให้ความช่วยเหลือ ต้องไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันที่เกิดภัย
วิธีปฏิบัติในการใช้เงินทดรองราชการ (ต่อ) การเตรียมการในวันหยุดราชการของส่วนภูมิภาค :- • มีเหตุอันควรคาดหมายได้ว่าจะเกิดภัยพิบัติ • มีความจำเป็นต้องเตรียมเงินสดไว้ • ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเบิกเงินทดรองเพื่อสำรองจ่ายได้ตามความเหมาะสมจำเป็น • เมื่อภัยพิบัติสิ้นสุดลงให้นำเงินที่เหลือส่งคืนคลัง
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ ส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัย:- ๏ ส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) - ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย : กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย - ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข :สธ. - ด้านสังคมสงเคราะห์และฟื้นฟูผู้ประสบภัย :พม. - ด้านการเกษตร :กษ.
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ (ต่อ) ๏ ส่วนภูมิภาค - อำเภอ/กิ่งอำเภอ โดยนายอำเภอ/ปลัดอำเภอหัวหน้ากิ่งอำเภอ - จังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ๏ การให้ความช่วยเหลือเป็นไปตามมติคณะกรรมการ ดังนี้ :- - คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ หรือ คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกิ่งอำเภอ - คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด
วงเงินทดรองราชการ • สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 100 ล้านบาท • สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ 10 ล้านบาท • สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 50 ล้านบาท • สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงกลาโหม 50 ล้านบาท • สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย 50 ล้านบาท • สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข 10 ล้านบาท • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 50 ล้านบาท • สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด แห่งละ 50 ล้านบาท
การขยายวงเงินทดรองราชการการขยายวงเงินทดรองราชการ ๏รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจอนุมัติ - ขยายวงเงินทดรอง - ให้ส่วนราชการอื่นมีวงเงินทดรอง
หลักเกณฑ์การช่วยเหลือหลักเกณฑ์การช่วยเหลือ • ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กระทรวง การคลังกำหนด • กรณีจำเป็นต้องจ่ายนอกเหนือหลักเกณฑ์ ต้องได้รับ อนุมัติจากกระทรวงการคลังก่อน
การชดใช้คืนเงินทดรองราชการการชดใช้คืนเงินทดรองราชการ • หลัก - เมื่อจ่ายไปแล้วให้รีบดำเนินการชดใช้คืนโดยเร็ว • ข้อยกเว้น - เกิดภัยพิบัติฉุกเฉินในเดือนสิงหาคม - กันยายน - ได้จ่ายเงินทดรองไปแล้ว - ไม่สามารถจัดงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้คืนในปีงบประมาณ ได้ทัน