1 / 64

ความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจและบทบาทรัฐในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

บทที่ 1. ความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจและบทบาทรัฐในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ. เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 962 4 53 ทฤษฎีและนโยบายการคลัง อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เนื้อหา. ประเภทของปัญหาทางเศรษฐกิจ

Download Presentation

ความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจและบทบาทรัฐในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1 ความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจและบทบาทรัฐในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 962 453 ทฤษฎีและนโยบายการคลัง อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. เนื้อหา • ประเภทของปัญหาทางเศรษฐกิจ • ความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจ และความจำเป็นของรัฐบาลในการเข้าแทรกแซงในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ • บทบาทของรัฐบาลและบทบาทของนโยบายการคลัง • แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สำนักต่างๆเกี่ยวกับนโยบายการคลัง • ความแตกต่างของนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง

  3. ประเภทของปัญหาทางเศรษฐกิจประเภทของปัญหาทางเศรษฐกิจ

  4. ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ประเทศต่างๆเผชิญ จัดแบ่งเป็น 6 ประเภท คือ 1) ปัญหาเรื่องจัดสรรทรัพยากร (Allocation of Resources) 2) ปัญหาเรื่องเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Stability) 3) ปัญหาเรื่องความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) 4) ปัญหาเรื่องการว่างงาน (Unemployment) 5) ปัญหาเรื่องการกระจายรายได้ (Income Distribution) 6) ปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อม (Quality of Life and Environment)

  5. 1) ปัญหาเรื่องจัดสรรทรัพยากร (Allocation of Resources) ปกติแล้ว นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า กลไกราคา (price mechanism) หรือกลไกตลาด (market mechanism) จะเป็นตัวจัดสรรทรัพยากรได้ดีที่สุด ในบางกรณีกลไกราคาอาจทำงานได้ไม่สมบูรณ์ หรือทำงานไม่ได้ กรณีเช่นนี้เรียกว่า ตลาดทำงานล้มเหลว (market failures) ซึ่งหมายความว่า ถ้าปล่อยให้กลไกราคาทำงานด้วยตัวของมันเองแล้วจะไม่ช่วยให้ระบบเศรษฐกิจจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ (efficiency) หรือในบางกรณี กลไกราคาจะไม่สามารถทำหน้าที่จัดสรรได้เลย ซึ่งจะทำให้สังคมไม่มีสวัสดิการ (welfare) สูงสุด การที่ “ตลาดทำงานล้มเหลว” เกิดจาก (1) ตลาดมีการผูกขาด ราคาถูกกำหนดโดยผู้ผลิตการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพต่ำ เพื่อลดต้นทุน ควบคุมปริมาณสินค้าไม่ให้เข้าสู่ตลาดมากเกินไป แต่ผู้ผลิตรายใหม่ก็ไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ เนื่องจากมีอุปสรรคขัดขวางอันอาจจะเกิดจากผู้ผลิตที่มีอำนาจผูกขาดรายเดิมสร้างหรืออาจเกิดจากอุปสรรคด้านอื่นๆ เช่น เกิดจากทางด้านเทคนิคการผลิต หรือจำเป็นต้องใช้เงินทุนสูงมาก เป็นต้น

  6. (2) กรณีการจัดสรรสินค้าและบริการสาธารณะ(public goods)ที่มีลักษณะที่สำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก ไม่มีการแข่งขันหรือไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค (nonrival in consumption) และไม่สามารถแบ่งแยกการบริโภคได้ (nonexclusion) สินค้าประเภทนี้รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาจัดการโดยตรง หรือในบางกรณีปล่อยให้เอกชนดำเนินการเอง แล้วรัฐบาลเข้าแทรกแซงโดยผ่านมาตรการต่างๆ เช่น การควบคุมราคา หรือการให้เงินอุดหนุน (3) กรณีสินค้าที่มีผลกระทบต่อภายนอก (Externalities)การที่ตลาดไม่สามารถนำผลกระทบดังกล่าวมาพิจารณาเป็นต้นทุนหรือผลประโยชน์ในรูปตัวเงินได้ จึงทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างต้นทุนของเอกชน (private costs) และต้นทุนทางสังคม (social costs) และผลประโยชน์ของเอกชน (private benefits) และผลประโยชน์ของสังคม (social benefits) อาจจะผลิตมากหรือน้อยเกินไปกว่าที่สังคมต้องการ รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงเพื่อปรับให้ได้ผลผลิตในระดับที่ดีที่สุด (4) กรณีสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะผูกขาดโดยธรรมชาติ (natural monopoly) รัฐบาลจึงเข้ามาแทรกแซงในรูปแบบต่างๆ เช่น มีกฎหมายห้ามการผูกขาด การควบคุมราคา เป็นต้น การผูกขาดโดยธรรมชาติเกิดขึ้นเนื่องจากลักษณะการผลิตเป็นแบบ การประหยัดจากขนาด (economy of scale) คือต้นทุนเฉลี่ยของการผลิตสินค้าและบริการลดลง

  7. เรียกอีกชื่อว่า Decreasing-cost industries ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาแทรกแซงในการผลิตกิจการประเภทนี้ ทั้งนี้เพราะ เมื่อจำเป็นต้องให้มีการผูกขาดถ้าปล่อยให้เอกชนรายหนึ่งรายใดทำก็อาจเกิดปัญหาเรื่องการหากำไรเกินควร ให้รัฐบาลโอนกิจการประเภทนี้ให้เอกชนทำแทน (Privatization) ทั้งนี้เพื่อลดภาระทางด้านงบประมาณของรัฐบาลและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการ ในรูปของสัมปทานมักจะทำควบคู่ไปกับการควบคุมราคา เพื่อป้องกันผลประโยชน์ของประชาชน รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงตลาด บางครั้งก็ไม่ได้ช่วยให้สังคมมีสวัสดิการสูงขึ้น แต่อาจทำให้สังคมมีสวัสดิการเลวลงก็ได้ ซึ่งเรียกว่าเกิดกรณีรัฐบาลล้มเหลว (government failure) ซึ่งมีสาเหตุมาจากระบบราชการหรือระบบรัฐวิสาหกิจทำงานไม่มีประสิทธิภาพ รั่วไหล คอร์รัปชั่น ทำให้เกิดการบริการไม่มีคุณภาพ และใช้ต้นทุนสูงเกินไป

  8. 2) ปัญหาเรื่องเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ หมายถึงการสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานของแต่ละตลาดที่เป็นส่วนประกอบของเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ตัวอย่างความไม่สมดุล เช่น ภาวะเงินเฟ้อ (inflation) เกิดภาวะเงินฝืด (deflation หรือ disinflation) วัฏจักรทางธุรกิจ (business cycle) 3) ปัญหาเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจ 4) ปัญหาเรื่องการว่างงาน การว่างงานนอกจากจะมีต้นทุนของปัจเจกชน (private cost) แล้ว ยังมีต้นทุนทางสังคม (social cost) ถ้าขบวนการผลิตสินค้ามีลักษณะเป็นการใช้เครื่องมือเครื่องจักรมากเกินไป (capital intensive) หรือใช้เทคโนโลยีมากเกินไป (technological intensive) 5) ปัญหาเรื่องการกระจายรายได้ ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่ยอมรับกันว่า ยิ่งระบบเศรษฐกิจพัฒนาไปมากเท่าใด ช่องว่างทางรายได้ยิ่งห่างมาก

  9. 6) ปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อม การพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมาได้สร้างต้นทุนให้กับสังคม (social cost) อย่างมากมาย ต้นทุนบางประเภทจับต้องได้ บางประเภทจับต้องไม่ได้มองไม่เห็น ซึ่งต้นทุนที่เกิดขึ้นนี้ไม่มีใครรับผิดชอบ กล่าวคือ ผู้ที่สร้างต้นทุนเหล่านี้ไม่ต้องชดใช้ เช่น การปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำลำคลอง การผลิตสินค้าโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ ความสะอาด และความปลอดภัยของผู้บริโภค กิจกรรมเพิ่มเติม จากบทความต่อไปนี้ -กิจการรถไฟ และเศรษฐกิจของชาติ -ทิศทางเศรษฐกิจไทย ทิศทางเศรษฐกิจโลก -เป็นห่วงเงินเฟ้อ หรือกลัวเศรษฐกิจชะลอตัว -วินัยทางการเงินที่สั่นคลอน ให้วิเคราะห์ว่า เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจหรือไม่? รัฐเข้ามามีบทบาทอย่างไรบ้าง?

  10. ความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจ และความจำเป็นของรัฐบาลในการเข้าแทรกแซงในกิจ

  11. ความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจ คำถามและความสงสัยเกี่ยวกับรูปแบบและปรัชญาการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหลายประการด้วยกัน คือ ประการแรก ความเป็นธรรมในการกระจายรายได้เกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ในระบบเศรษฐกิจที่ใช้กลไกตลาดในการผลิตและจำหน่ายสินค้าและบริการ เพราะในโลกของการแข่งขันนั้นผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่ขาดแคลนจะเป็นผู้มีรายได้สูง ขณะที่ผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่เหลือเฟือจะมีรายได้ต่ำ นายทุนผู้เป็นเจ้าของปัจจัยทุนซึ่งมีจำนวนน้อยและขาดแคลนจะมีความมั่งคั่งร่ำรวย แต่แรงงานที่มีอยู่เป็นจำนวนมากจะมีสภาพยากจนและอาศัยอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรม ประการที่สอง กลไกตลาดไม่สามารถทำการผลิตสินค้าทุกอย่างได้ สินค้าเช่นที่ว่านั้นคือสินค้าสังคม (social goods) หรือสินค้าสาธารณะ (public goods) ประการที่สาม กิจกรรมการผลิตบางอย่างก่อให้เกิดต้นทุนภายนอกแก่สังคมหรือไม่ก่อให้เกิดการประหยัด หรือเกิด externalities

  12. ทฤษฎีการพิจารณาสินค้าสาธารณะของสินค้าและบริการทฤษฎีการพิจารณาสินค้าสาธารณะของสินค้าและบริการ หลักเกณฑ์การพิจารณาลักษณะสินค้าจาก 2 ลักษณะ 1) ลักษณะการแบ่งแยกการบริโภคออกจากกัน (Exclusion principle) 2) ลักษณะการเป็นปรปักษ์ในการบริโภค (Rival consumption)

  13. เปรียบเทียบลักษณะของการแบ่งการการบริโภคออกจากกันได้/ไม่ได้เปรียบเทียบลักษณะของการแบ่งการการบริโภคออกจากกันได้/ไม่ได้

  14. เปรียบเทียบลักษณะของการเป็นปรปักษ์การบริโภค/ไม่เป็นปรปักษ์เปรียบเทียบลักษณะของการเป็นปรปักษ์การบริโภค/ไม่เป็นปรปักษ์

  15. การแบ่งแยกลักษณะของสินค้าและบริการการแบ่งแยกลักษณะของสินค้าและบริการ

  16. ทฤษฎีการพิจารณาสินค้าจากลักษณะของความต้องการทฤษฎีการพิจารณาสินค้าจากลักษณะของความต้องการ (Nature of Wants Determination) หลักเกณฑ์การพิจารณาลักษณะสินค้าจาก 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่1 การพิจารณาประเภทของความต้องการ ขั้นตอนที่2 การพิจารณาประเภทของสินค้าที่แบ่งโดยพิจารณาจากความต้องการ

  17. การแบ่งประเภทของความต้องการการแบ่งประเภทของความต้องการ

  18. ประการที่สี่ กิจกรรมการผลิตบางอย่างไม่สามารถทำการผลิตภายใต้เงื่อนไขการแข่งขันเสรีได้ เช่น โรงงานไฟฟ้าปรมาณู อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน ผลิตแบบนี้ต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จะต้องมีความชำนาญงานและอาศัยผู้เชี่ยวชาญ และอื่นๆ การแข่งขันอย่างเสรีจึงไม่มี และบางกรณีให้เกิดขึ้นไม่ได้ ต้องยอมให้บริษัทที่มีความพร้อมเท่านั้นทำการผลิต ประการที่ห้า ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมสามารถรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจได้จริงหรือไม่ เช่น การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ระดับราคา ค่าจ้าง และอัตราดอกเบี้ยตกต่ำอย่างรุนแรง การเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจหยุดชะงักงันเป็นเวลานาน กลไกตลาดก็ไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ประการที่หก อัตราการสะสมทุนไม่สอดคล้องกับอัตราการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ อัตราการสะสมทุนในบางครั้งสูงหรือต่ำเกินกว่าที่จะบรรลุอัตราการเจริญเติบโตที่เหมาะสม

  19. ความจำเป็นของรัฐบาลในการแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจความจำเป็นของรัฐบาลในการแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 1. รัฐบาลจำเป็นต้องหามาตรการจำกัดการเอารัดเอาเปรียบชนชั้นที่ยากจน 2. ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (market economy) รัฐบาลควบคุมการทำงานของกลไกตลาดให้เป็นไปตามเงื่อนไข 3. ป้องกันการผูกขาดตัดตอน 4. สังคมต้องการให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจายรายได้และความมั่งคั่ง 5. เป็นความต้องการร่วมกันของคนในสังคม 6. ป้องกันการผลิตที่เกิดต้นทุนภายนอกแก่สังคมและส่งเสริมการผลิตที่เกิดประโยชน์ภายนอกแก่สังคม 7. กิจกรรมการผลิตขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถทำการผลิตภายใต้เงื่อนไขการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ได้ รัฐบาลอาจต้องทำการผลิตเอง

  20. ความจำเป็นของรัฐบาลในการแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ(ต่อ)ความจำเป็นของรัฐบาลในการแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ(ต่อ) 8. ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดอาจจะไม่สามารถรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไว้ได้ อาร์.เอ. มัสเกรฟ และพี.บี. มัสเกรฟ กล่าวว่า “The market system, especially in a highly developed financial economy, does not necessarily bring high employment and price stability.” 9. หน้าที่ในการควบคุมหรือส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่ต้องการ

  21. กลไกราคาล้มเหลวเพราะผลกระทบภายนอกทางด้านเทคนิค ราคา F • F P2 D • D • A A P1 AC MC B MR Q0 ปริมาณ 0 Q1 Q2

  22. ภาวะดุลยภาพเมื่อมีผลกระทบภายนอก(ผลดี) ผลประโยชน์หน่วยสุดท้ายหรือต้นทุนหน่วยสุดท้าย(บาท) MC0 N P2 E P1 P0 D MBa+b M L MBa MB B0 C MBb B1 Q0 Q1 O ปริมาณการศึกษา/หน่วยเวลา

  23. แสดงภาวะดุลยภาพเมื่อมีผลกระทบภายนอก(ผลเสีย) ผลประโยชน์หน่วยสุดท้ายหรือต้นทุนหน่วยสุดท้าย(บาท) C MCc+d P2 D P1 MCc P0 B MBC E MCd C1 A C2 F Q0 Q1 ปริมาณการศึกษา/หน่วยเวลา

  24. กระบวนการเกิดผลกระทบภายนอกกับการจัดสรรทรัพยากร ผลกระทบภายนอก ผลกระทบภายนอกทางด้านเทคนิค ผลกระทบภายนอกอันเนื่องมาจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลไม่ชัดเจน ผลกระทบอันเนื่องมาจากสินค้าสาธารณะ ผลดี ผลเสีย ต้นทุนทางสังคม ต้นทุนของเอกชน การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

  25. ราคา/หน่วย I C D D E C F H S G O ปริมาณสินค้า X Q1 Q0 การแทรกแซงของรัฐบาลในกรณีผลกระทบภายนอก มาตรการภาษีในกรณีผลกระทบภายนอกที่เป็นผลเสีย

  26. มาตรการเงินอุดหนุนในกรณีผลกระทบภายนอกที่เป็นผลดีมาตรการเงินอุดหนุนในกรณีผลกระทบภายนอกที่เป็นผลดี ผลประโยชน์หน่วยสุดท้ายหรือต้นทุนหน่วยสุดท้าย(บาท) MC0 N E P1 P0 D MBa+b P2 M L MBa MB B0 C MBbB B1 Q0 Q1 O ปริมาณการศึกษา/หน่วยเวลา

  27. บทบาทของรัฐบาลและบทบาทของนโยบายการคลังบทบาทของรัฐบาลและบทบาทของนโยบายการคลัง

  28. บทบาทของรัฐบาล • แนวทางที่ 1 การใช้มูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตโดยภาครัฐบาล เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) • แนวทางที่ 2 การใช้จำนวนแรงงานของภาครัฐบาลโดยเปรียบเทียบกับจำนวนแรงงานทั้งหมด • แนวทางที่ 3 การใช้มูลค่าการใช้จ่ายที่จ่ายโดยภาครัฐบาล เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ • แนวทางที่ 4 การใช้รายได้ภาครัฐบาล เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) • แนวทางที่ 5 การใช้หนี้สาธารณะ เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

  29. การพิจารณาว่าขนาดของภาครัฐบาลมีมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจในการนำไปใช้ว่าควรจะพิจารณาจากแนวทางใด ทั้งนี้บทบาทของรัฐบาลในแต่ละประเทศจะขึ้นอยู่กับระบบทางการเมืองและทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ว่ามีระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยหรือแบบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ ระบบทางเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีนิยม(ทุนนิยม)หรือแบบสังคมนิยม หรือแบบผสม ขึ้นอยู่กับระบบสวัสดิการสังคมของแต่ละประเทศ นอกจากนั้นแล้วยังขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศในแต่ละช่วงปี ว่าเศรษฐกิจอยู่ในภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรืองหรือถดถอย ประเทศมีความจำเป็นจะต้องเร่งพัฒนาประเทศ เป็นต้น

  30. ข้อมูลประกอบ ขนาดบทบาทของรัฐบาล

  31. บทบาทของนโยบายการคลังบทบาทของนโยบายการคลัง • บทบาทด้านการจัดสรร นโยบายการคลังเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของรัฐบาลในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการผลิตสินค้าสาธารณะ (public goods) และสินค้าเอกชน (private goods) และสินค้าที่เกิดผลกระทบภายนอก • บทบาทด้านการกระจายความเป็นธรรม โดยการจัดเก็บภาษี และการใช้จ่ายเป็นเงินโอน • บทบาทด้านการรักษาเสถียรภาพ โดยการเปลี่ยนแปลงรายจ่ายหรือรายรับจากภาษี และการก่อหนี้สาธารณะ

  32. แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สำนักต่างๆเกี่ยวกับนโยบายการคลังแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สำนักต่างๆเกี่ยวกับนโยบายการคลัง

  33. สำนักคลาสสิก • ไม่เห็นด้วยอยู่แล้วกับการที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ • ในทัศนะของคลาสสิคเชื่อว่ากลไกราคาหรือกลไกตลาดจะจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสังคมจะบรรลุสวัสดิการที่ดีที่สุด หรือบรรลุจุดเหมาะสมของพาเรโต (Pareto optimality) ที่ว่า “สวัสดิการของคนหนึ่งดีขึ้น โดยไม่ทำให้สวัสดิการของคนอื่นเลวลง (The welfare of one is better and that of no one if worse off)” • ในเรื่องของนโยบายการคลัง นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิคไม่มีแนวคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้นโยบายการคลัง เพื่อการบรรลุเป้าหมายด้านเศรษฐกิจ หรือแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ นโยบายงบประมาณรายจ่ายควรจะยึดหลักสมดุล (balance budget) นั่นคือ ให้รายจ่ายเท่ากับรายได้เช่นเดียวกับการใช้จ่ายของประชาชน

  34. การวิเคราะห์เพื่อหาจุดของการจัดสรรการใช้ทรัพยากรที่ดีที่สุด หรือ “Efficient solution” สินค้าเอกชน (ก) เส้นการเป็นไปได้ ในการผลิตาของ สังคมในการผลิต สินค้าเอกชนและ สินค้าสาธารณะ M D E Y O สินค้าเอกชน N F Q C สินค้าสาธารณะ (ข) การจัดสรรการใช้ สินค้าและบริการ สำหรับ A NA FA A3 UA A2 A1 O N F U สินค้าสาธารณะ สินค้าเอกชน (ค) การจัดสรรการใช้สินค้า และบริการสำหรับ B B3 NB B2 FB B1 UB B0 O N F K สินค้าสาธารณะ

  35. แสดงการวิเคราะห์เพื่อหาทางเลือกของการจัดสรรที่ “วิเศษสุด” สำหรับสังคม ดัชนีวัดความพอใจของ A M A2 A1 S4 S3 S2 S1 0 B2B3N ดัชนีวัดความพอใจของ B L Y

  36. สำนักเคนส์ • ปัญหาสำคัญที่เศรษฐกิจตกต่ำว่าเนื่องจากการลดลงของอุปสงค์รวมหรือการใช้จ่ายต่ำเกินไป • การออมไม่ได้ทำให้เกิดการลงทุนเสมอไป และการออมยังทำให้การใช้จ่ายของระบบเศรษฐกิจขาดหายไป และในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมากๆการลงทุนจะมีความยืดหยุ่นน้อยมากต่ออัตราดอกเบี้ย (highly interest inelastic investment demand schedule) เมื่อระดับราคา ค่าจ้าง และอัตราดอกเบี้ยขาดความยืดหยุ่น กลไกราคาหรือกลไกตลาดจึงไม่สามารถปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพได้ เศรษฐกิจจึงตกต่ำต่อไป • การแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำจึงควรที่จะกระตุ้นอุปสงค์รวมหรือยกอุปสงค์รวมให้สูงขึ้น ซึ่งทำได้โดยการใช้นโยบายงบประมาณขาดดุล หรือรัฐบาลใช้จ่ายมากกว่ารายได้

  37. ประสิทธิภาพของนโยบายการคลัง(กรณีนโยบายการคลังแบบขยายตัว)ประสิทธิภาพของนโยบายการคลัง(กรณีนโยบายการคลังแบบขยายตัว) กรณีมีความแตกต่างของความชันเส้น IS LM IS0 IS1 LM r1 E1 E1 r1 r0 r0 E0 r0 E0 IS1 IS0 Y0 Y0 Y1 Y1 LM LM r1 E0 E1 r0 r0 IS0 r0 E0 IS1 IS0 Y0 Y1 Y0

  38. ประสิทธิภาพนโยบายการเงิน (กรณีนโยบายการเงินแบบขยายตัว) กรณีที่มีความแตกต่างของความชันเส้น IS IS0 r LM0 r LM0 LM1 LM1 E0 E0 r0 r0 E1 r1 r1 E1 IS0 Y Y Y0 Y0 Y1 r LM0 r LM0 LM1 LM1 E0 r0 E0 E1 r0 E1 IS0 r1 IS0 Y Y Y0 Y1 Y0 Y1

  39. สำนักนักการเงินนิยม • โดย Milton Friedman มีความเห็นว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวหรือหดตัวขึ้นอยู่กับปริมาณเงินเป็นสำคัญ หรือนโยบายการเงินมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจมากที่สุด ส่วนนโยบายการคลังหรือการดำเนินนโยบายงบประมาณรายจ่ายแบบสมดุลจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็ต่อเมื่อทำให้ปริมาณเงินขยายตัวในปริมาณที่ไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลง นโยบายการคลังจึงอาจก่อให้เกิดเงินเฟ้อ โดยที่ระดับรายได้และการมีงานทำไม่เพิ่มขึ้น • ปริมาณเงินจะเป็นตัวอธิบายการเปลี่ยนแปลงของรายได้ถูกต้องและแม่นยำกว่า กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับรายได้และการมีงานทำ และการเปลี่ยนแปลงของระดับรายได้และการมีงานทำสามารถที่จะพยากรณ์ได้ถูกต้องแม่นยำกว่า จากผลการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน แทนที่จะพยากรณ์จากการเปลี่ยนแปลงของการลงทุนตามแนวคิดของเคนส์

  40. สำนักกลุ่มด้านอุปทาน • สนับสนุนหรือส่งเสริมด้านอุปทาน (supply sider) • กลุ่มด้านอุปทานเสนอให้รัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำด้วยการลดอัตราภาษี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการผลิตในภาคเอกชน ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวและส่งผลให้รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีอากรมากขึ้น • การลดอัตราภาษีจะทำให้เศรษฐกิจเกิดการขยายตัวได้คล้ายกับการเพิ่มการใช้จ่ายของเคนส์แต่เศรษฐกิจโดยทั่วไปไม่น่าจะฟื้นตัวถึงกับทำให้รัฐบาลมีรายได้รวมมากขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็วเช่นที่กลุ่มด้านอุปทานอ้างถึง Laffer Curve Effect และความเชื่องช้าทางการคลัง (fiscal drag) ที่ว่า การขยายตัวของรายได้รัฐบาลจะมีอัตราสูงกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะที่เศรษฐกิจฟื้นตัว

  41. นโยบายการคลัง กับอุปทานรวม : แนวคิดด้านภาษี -นักเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน (Supply Side)-Arthur B. Laffer ได้เสนอแนวคิดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราภาษี กับ รายับจากภาษีอากร T รายรับจากภาษี เส้นโค้งแลฟเฟอร์ (Laffer Curve) B T2 A C T1 D t (%) อัตราภาษี 0 t1 t2 t3 100

More Related