1 / 1

เจ้าของผลงาน : นาง สายพิณ สิมสา แก้ว นางมยุรา เพชรสังหาร และคณะฯ

The KKU SHOW and SHARE 2012. ชื่อผลงาน : ลอง ผิดลองถูกจนเกือบสำเร็จ จากการเขียน KPI รายบุคคลของงานบริการ การศึกษา. เจ้าของผลงาน : นาง สายพิณ สิมสา แก้ว นางมยุรา เพชรสังหาร และคณะฯ. สังกัด : งานบริการการศึกษา คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ลักษณะของผลงาน :

sloan
Download Presentation

เจ้าของผลงาน : นาง สายพิณ สิมสา แก้ว นางมยุรา เพชรสังหาร และคณะฯ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. The KKU SHOW and SHARE 2012 ชื่อผลงาน :ลองผิดลองถูกจนเกือบสำเร็จ จากการเขียน KPI รายบุคคลของงานบริการการศึกษา เจ้าของผลงาน :นางสายพิณ สิมสาแก้ว นางมยุรา เพชรสังหาร และคณะฯ • สังกัด :งานบริการการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ลักษณะของผลงาน: ลักษณะของผลงานเป็นงานที่พัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรงานบริการการศึกษา ในการเขียนตัวชี้วัดรายบุคคล ซึ่งบุคลากรยังไม่ทราบวิธีการเขียน และความชัดเจนในการจัดทำตัวชี้วัดรายบุคคล จึงทำให้เกิดความเหนื่อยหน่ายในการเขียน จึงได้มีทีมนำคุณอำนวย ก็ได้หาวิธีการเพื่อให้บุคลากรได้ทราบนโยบายและวิธีการเขียนตัวชี้วัดรายบุคคล บุคลากรเข้าใจ สามารถเขียน KPI รายบุคคลได้ในระดับหนึ่ง เพราะเป็นครั้งแรก ของผู้ปฏิบัติงาน จำเป็นต้องลองผิดลองถูกก่อน โดยบุคลากรทุกคนมี KPI รายบุคคล ส่งทันเวลาที่ทางคณะกำหนดแล้วจึงจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจึงได้มีการ ศึกษา ค้นคว้า ค้นหาจากเว็บไซต์ หาความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่จะนำตัวอย่างการเขียนที่ถูกต้องตามหลักการเขียนตัวชี้วัด ที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย สำหรับ ผู้ปฏิบัติ ซึ่งไม่เคยได้รับความรู้และอบรมมาก่อน ได้ศึกษาให้มีพื้นฐานก่อนที่จะฝึกปฏิบัติในการเขียนตัวชี้วัดรายบุคคล วิธีดำเนินการ( How to): ดังนี้ • ประชุมชี้แจงการจัดทำ KPI รายบุคคลในเบื้องต้น และให้นโยบาย • ศึกษาปัญหาอุปสรรค ในการเขียน KPI รายบุคคลจากบุคลากรของงาน • เชิญวิทยากรให้ความรู้พื้นฐานในการจัดทำ KPI รายบุคคล • บุคลากรทุกคนในงานบริการการศึกษา ฝึกเขียน KPI รายบุคคล • พี่เลี้ยงและบุคลากรช่วยกันคิด ช่วยกันเขียน ตามลำดับขั้นตอน ปัจจัยความสำเร็จ (Key success factors) : • ผู้บริหาร จำเป็นต้องรู้และเข้าใจวิธีการเขียนตัวชีวัดที่ตรงกัน • บุคลากรต้องใส่ใจในการเขียนตัวชี้วัดรายบุคคล • มีผู้ชี้นำ/พี่เลี้ยงในการเขียนตัวชีวัดรายบุคคล ผลสัมฤทธิ์ : 1.ทําให้เจ้าหน้าที่ทราบว่าตนเองต้องทํางานให้เกิดผลลัพธ์สุดท้าย หรือทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์อะไร 2. สามารถกำหนดตัวชี้วัดที่หลากหลายและครอบคลุมงานหลักได้ 3. การประเมินผลงานจะง่ายขึ้น เพราะประเมินตามตัวชี้วัดหลัก และมีมาตรฐานการวัดที่ชัดเจน 4. เป็นการทบทวนว่า ผลงานรายบุคคล สอดคล้องกับเป้าหมายหลักของหน่วยงานอย่างไร 5. สามารถนำไปปรับปรุงการทำงาน ของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานได้ • ผลการดำเนินงาน:เป็นไปตามวัตถุประสงค์ บุคลากรเข้าใจ และสามารถเขียน KPI รายบุคคลได้ในระดับหนึ่ง เพราะเป็นครั้งแรก ของผู้ปฏิบัติงาน จำเป็นต้องลองผิดลองถูกก่อน โดยบุคลากรทุกคนมี KPIรายบุคคล ส่งทันเวลาที่ทางคณะกำหนด แล้วจึงจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ถอดบทเรียน : • นำ TOR ของตัวเองมาพิจารณาทบทวน • เลือก TOR หลักและสำคัญมากำหนดเป็น KPI ของตัวเอง ในช่วงระยะเวลาที่ประเมินในรอบนั้นๆ • ตกลงในการกำหนดตัวชี้วัดร่วมกันระหว่างหัวหน้ากับผู้ปฏิบัติในกลุ่มภารกิจนั้นๆ • บุคลากรกำหนดตัวชีวัดรายบุคคล • เขียนภารงานหลัก งานในความความรับผิดชอบ ที่จะทําให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของตำแหน่งงานนั้น และงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย ให้สําเร็จกําหนด % ของเวลาที่ต้องใช้ในแต่ละกิจกรรม • การกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ของงาน ข้อพึงระวัง : • เจาะจง มีความเจาะจง ว่าต้องการวัดอะไร และ ผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร • วัดได้ ต้องวัดผลที่เกิดขึ้นได้ไม่เป็นภาระ ตัวชี้วัดไม่ มากเกินไป วัดเชิงปริมาณคุณภาพหรือเวลา • เห็นชอบ ต้องได้รับการเห็นชอบซึ่งกันและกัน ระหว่าง ผู้ใต้บังคับบัญชา และ ผู้บังคับบัญชา • เป็นจริงได้ ต้องท้าทาย และมีโอกาสเป็นไปได้ ทําสําเร็จได้ ภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด • เหมาะสม มีกรอบเวลาในการทำงานที่เหมาะสม ไม่สั้นไม่ยาวเกินไป • ความภาคภูมิใจ : • มีความภาคภูมิใจในงานที่ปฏิบัติ เป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน และทุกคนให้ความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงาน • ถึงแม้ จะเป็นผู้น้อย แต่มีใจที่จะพัฒนาตนเองและพัฒนาหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้นตลอดเวลา

More Related