770 likes | 3.72k Views
บทที่ 5 ระบบกล้ามเนื้อ. Muscular system. Muscular system. นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกล้ามเนื้อชนิดต่างๆ ในร่างกาย สามารถบอกความแตกต่างทางจุลกายวิภาคของกล้ามเนื้อ รวมถึง หน้าที่ของกล้ามเนื้อชนิดต่างๆ ในร่างกาย และทราบกลไก ในการหดตัวของกล้ามเนื้อ. Muscular system (ระบบกล้ามเนื้อ).
E N D
บทที่ 5 ระบบกล้ามเนื้อ Muscular system
Muscular system นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกล้ามเนื้อชนิดต่างๆ ในร่างกาย สามารถบอกความแตกต่างทางจุลกายวิภาคของกล้ามเนื้อ รวมถึง หน้าที่ของกล้ามเนื้อชนิดต่างๆ ในร่างกาย และทราบกลไก ในการหดตัวของกล้ามเนื้อ
Muscular system (ระบบกล้ามเนื้อ) ในร่างกายมีกล้ามเนื้อ 3 ประเภท คือ 1. กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeleton muscle) มีมากที่สุดในร่างกาย 2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle) หรือกล้ามเนื้อของอวัยวะภายในต่างๆ 3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle)
กล้ามเนื้อ มีคุณสมบัติโดยทั่วไป คือ 1. ไวต่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (irritability) 2. หดตัวได้ (contractibility) คลายตัวได้ (extensibility) 3. มีความสามารถในการนำไฟฟ้า(conductibility+electrogenesis) หน้าที่ของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้มีการสูบฉีดเลือดไปส่วนต่างๆ ของร่างกาย
แสดงกล้ามเนื้อโครงร่างในโคแสดงกล้ามเนื้อโครงร่างในโค
ประเภทของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลาย
ประเภทของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหัวใจ
ประเภทของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเรียบ
การแบ่งประเภทของกล้ามเนื้อในร่างกายการแบ่งประเภทของกล้ามเนื้อในร่างกาย 1. ตามตำแหน่งบนร่างกาย 2. ตามรูปร่างของเซลล์กล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ 3. ตามการควบคุมการทำงาน - กล้ามเนื้อโครงร่าง ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย - กล้ามเนื้อเรียบ ควบคุมอวัยวะภายใน - กล้ามเนื้อหัวใจ ควบคุมการเต้นของหัวใจ
กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อเรียบ อยู่นอกอำนาจจิตใจ (involuntary muscle) ควบคุมโดย ANS เซลล์ของกล้ามเนื้อเรียงตัวกันอย่างไม่เป็นระเบียบ เซลล์มีรูปร่างยาวปลายเรียวแหลมทั้งสองด้าน คล้ายรูปกระสวย มีนิวเคลียสอยู่กลางเซลล์ 1 อัน แบ่งออกได้ 2 ชนิด - กล้ามเนื้อเรียบที่อวัยวะภายใน (visceral smooth muscle) - กล้ามเนื้อเรียบแบบ (multiunit smooth muscle)
คุณสมบัติเฉพาะของกล้ามเนื้อเรียบ - ปรับตัวตามแรงยืด (plasticityหรือreceptive relaxation) กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นกล้ามเนื้อลายชนิดหนึ่ง แต่มีคุณสมบัติไม่อยู่ในอำนาจจิตใจ เซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจมีส่วนเชื่อมต่อกันคล้ายตาข่าย เรียกว่าsyncytial arrangement มีขนาดเซลล์เล็กกว่ากล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อหัวใจเรียกว่า myocardiumมีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงมาก
กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อลาย ยึดอยู่ระหว่างกระดูก โดยมีเอ็น (tendon)เป็นส่วนยึดเกาะ จุดที่ยึดเกาะกระดูกมี 2 แห่งคือ จุดเกาะต้น (origin) และจุดเกาะปลาย (insertion) จุดเกาะต้น คือ ปลายมัดกล้ามเนื้อที่อยู่ใกล้แนวกลางตัวของร่างกายอาจ เรียกว่าส่วนต้น (proximal) จุดเกาะปลาย คือ ปลายมัดกล้ามเนื้อที่อยู่ไกลจากแนวกลางตัวของ ร่างกายอาจเรียกว่าส่วนปลาย (distal)
กล้ามเนื้อลาย เซลล์กล้ามเนื้อลายมีรูปร่างยาว มีนิวเคลียสอยู่หลายอันอยู่ที่ขอบเซลล์ มีเยื่อหุ้มเซลล์เรียกว่า sarcolemmaเซลล์กล้ามเนื้อลายทุกเซลล์มีปลายประสาทมาหล่อเลี้ยง เส้นประสาทที่มาควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลายเรียกว่า somatic motor nerve
กล้ามเนื้อลาย การเรียงตัวของกล้ามเนื้อลายมีหลายแบบ เช่น - เรียงเป็นแผ่นแบนๆ เช่น กล้ามเนื้อกระบังลม (diaphragm) - เรียงตัวเป็นรูปขนนก (feather like) เช่น กล้ามเนื้อที่หัวไหล่ - เรียงตัวของกล้ามเนื้อเป็นรูปกระสวย (spindle) เช่น กล้ามเนื้อน่อง
การแบ่งกล้ามเนื้อลาย การแบ่งกล้ามเนื้อลายออกตามส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็น 1. กล้ามเนื้อขาหน้า (Muscle of the fore limb) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่ช่วยยึดขาหน้าทั้งสองข้าง กล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของหัวไหล่ ข้อศอก ข้อเท้าหน้า และนิ้วเท้าหน้า
การแบ่งกล้ามเนื้อลาย (2) 2. กล้ามเนื้อขาหลัง(Muscle of the hind limb) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของข้อสะโพก กล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของหัวเข่า กล้ามเนื้อที่ทำให้ hock jointเคลื่อนที่ และกล้ามเนื้อที่ทำให้นิ้วเท้าเคลื่อนที่
การแบ่งกล้ามเนื้อลาย (3) 3. กล้ามเนื้อในส่วนลำตัว คอ และหัว (muscle of the truck neck andhead) กล้ามเนื้อที่ช่วยยกคอ และหัว เป็นกล้ามเนื้อที่มีขนาดใหญ่ มีเส้นเอ็นเรียกว่า ligamentum nuchaeช่วยยึดเกาะอยู่ทั้งสองข้างลำคอ
การแบ่งกล้ามเนื้อลาย (4) 4. กล้ามเนื้อท้อง (abdominal muscle) เป็นแผ่นแบนๆ หน้าที่ค้ำจุน อวัยวะภายใน และเกี่ยวข้องกับการขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การ คลอด การขยอกอาหาร เป็นต้น กล้ามเนื้อท้องที่สำคัญคือ external abdominal oblique, internal abdominal obliqueและ transverse abdominal oblique
การแบ่งกล้ามเนื้อลาย (3) 5. กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจเข้าและหายใจออกได้แก่ internalintercostals muscleและ external intercostals muscleรวมทั้งกล้ามเนื้อกระบังลม
กายวิภาคของกล้ามเนื้อลายกายวิภาคของกล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อทั้งมัดใหญ่ เรียกว่า bellyแต่ละมัดมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันสีขาวล้อมอยู่รอบๆ เรียกว่า deep fasciaหรือ epimysium มัดกล้ามเนื้อย่อยขนาดต่าง ๆที่มารวมกันเป็นมัดใหญ่เรียกว่า bundleหรือ fasciculiถูกล้อมด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเรียกว่า perimysium ภายในมัดกล้ามเนื้อเล็กๆ นี้มีเส้นใยกล้ามเนื้อรวมกันเรียกว่า muscle fiberเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ล้อมรอบเส้นใยกล้ามเนื้อเรียกว่า endomysium
กายวิภาคของกล้ามเนื้อลาย (2) ชั้น epimysium, perimysium, endomysiumจะติดต่อถึงกัน โดยเกิดเป็นส่วนของเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อกับกระดูก เรียกว่า tendon การเรียกชื่อส่วนประกอบต่างๆ ของเซลล์กล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่จึงใช้รากศัพท์จากภาษากรีก คือ Mys , Sarco= freshหรือ Myo= muscle Plasma membrane = sarcolemma, Cytoplasm= sarcoplasm
กายวิภาคของกล้ามเนื้อลาย (3) Mitochondria= sarcosome Endoplasmic reticulum= sarcoplasmic reticulum Micro fibril= myofibril เซลล์กล้ามเนื้อลายเรียงตัวต่อกันเป็นเส้นยาวโดยไม่มีผนังกั้น จึงเห็นเป็นเส้นเดียวกันตลอด sarcolemmaของเซลล์กล้ามเนื้อจะอยู่ติดกับendomysium ที่sarcolemmaมีปลายประสาทสั่งการตรงปลายเรียกว่าmotorend plate ทำหน้าที่หลั่งสารเคมีพวก acetylcholine
กายวิภาคของกล้ามเนื้อลาย (4) ลายบนกล้ามเนื้อลายเกิดจากการเรียงตัวของโปรตีนในกล้ามเนื้อ คือmyosin filament (thick) และ actin filament(thin) ทำให้เห็นเป็นแถบทึบแสง และโปร่งแสง actinและmyosinจะเรียงตัวเหลื่อมกันไป บริเวณที่มีโปรตีนทั้งสองชนิดอยู่เห็นเป็นสีเข้ม (dark-band หรือ A-band) บริเวณที่มีเฉพาะ actinอย่างเดียวเห็นเป็นสีจาง (light band หรือ I-band)
กายวิภาคของกล้ามเนื้อลาย (5) • ช่องที่อยู่ระหว่างปลายของ actinเรียกว่า H-bandเห็นเป็นแถบสีจางอยู่กลาง A-band • ระหว่างกึ่งกลางของ I-bandมีเส้นติดสีทึบคั่นอยู่ เรียกว่า Z-line • ระยะระหว่าง Z-line ทั้งสองเส้นเรียกว่า sarcomereเป็นโครงสร้าง และหน่วยทำหน้าที่ของ myofibrilในขณะหดตัว
กายวิภาคของกล้ามเนื้อลายกายวิภาคของกล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อหดตัวปลายของ actinที่อยู่ข้างเดียวกันจะหดตัวเข้าหากัน ทำให้ H-bandหายไป และ I-bandแคบลง แต่ A-bandเดิมยังคง และระยะระหว่างZ-lineหรือ sarcomereจะแคบ หรือหดเข้าหากัน หรือ sarcomereจะหดสั้นลง
กายวิภาคของกล้ามเนื้อลายกายวิภาคของกล้ามเนื้อลาย โปรตีน myosinประกอบด้วยโปรตีนหน่วยเล็กๆ หลายชนิดได้แก่ LMM(lighten meromyosin) และ HMM (heavy meromyosin) ส่วนที่ยื่นของHMMจะเป็นตัวไปเกี่ยวกับ actinทำให้เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนเรียกว่า actomyosinต้องมีเอนไซม์ ATPaseและ Ca++มาเกี่ยวข้องด้วย
ทฤษฎีการหดตัวของกล้ามเนื้อลาย เรียกว่า sliding filament theoryเมื่อกล้ามเนื้ออยู่ในระยะพักตัว ATP จะจับกับ ATPase siteที่อยู่บน myosinและ ATPไม่มีอิสระที่จะแตกตัวให้พลังงานได้ ทำให้ myosin actinจับตัวกันไม่ได้ เพราะมีโปรตีน troponinมาขวางทางอยู่ เมื่อมีการกระตุ้นยังผลให้มีการปลดปล่อย Ca++ จาก sarcoplasmicreticulumออกมาที่ sarcoplasm Ca++ จะมาจับกับ troponin myosinจึงจับกับactinได้