280 likes | 378 Views
Reporting and Encoding. การเข้ารหัสเพื่อรายงานข่าวอากาศประจำชั่วโมง (METAR) นั้น แบ่งเป็น 2 ส่วน (1) ส่วนของเนื้อข่าวหลัก 11 กลุ่ม และ (2) ส่วนของหมายเหตุอีก 2 หมวด (ในที่นี้ จะใช้เส้นใต้ _ แทนช่องว่างระหว่างกลุ่มคำหรืออักษร). Body of report 11 Group / Remarks. หัวข้อข่าว ชื่อสถานี
E N D
Reporting and Encoding การเข้ารหัสเพื่อรายงานข่าวอากาศประจำชั่วโมง (METAR) นั้น แบ่งเป็น2ส่วน (1)ส่วนของเนื้อข่าวหลัก11กลุ่ม และ(2)ส่วนของหมายเหตุอีก 2หมวด (ในที่นี้ จะใช้เส้นใต้_ แทนช่องว่างระหว่างกลุ่มคำหรืออักษร)
Body of report 11 Group / Remarks หัวข้อข่าว ชื่อสถานี วันที่เวลา รายงานแก้ไข ลมผิวพื้น ทัศนวิสัย ทัศนวิสัยบนทางวิ่ง สภาพอากาศปัจจุบัน สภาวะท้องฟ้า อุณหภูมิ ความกดอากาศ หมายเหตุ
Missing data การรายงานเข้ารหัสของข้อมูลที่สูญหาย หรือไม่มี ไม่สามารถหาค่าได้ เนื่องจากเครื่องตรวจวัดเสียหาย ให้ใช้ M ในการรายงานแทนข้อมูลที่สูญหายนั้น กรณีนี้ จะต้องมีการรายงานในหมายเหตุ เกี่ยวกับเครื่องมือด้วย กับต้องแจ้งเจ้าหน้าที่งานช่างของข่าวอากาศ และแจ้งต่อหน่วยควบคุมการบิน เพื่อการซ่อมบำรุง
1.Type of Report METAR นำหน้าการรายงานข่าวอากาศประจำชั่วโมง SPECI นำหน้าการรายงานข่าวอากาศพิเศษ
2.Station Identifier CCCC รูปรหัสที่ใช้รหัสเรียกขานตามที่ ICAO จัดทำให้ เช่น VTBS VTBD เป็นต้น กรณีสถานีตรวจอากาศ ของกองทัพอากาศ นั้น กองข่าวอากาศ ในฐานะเป็นหัวหน้าสายวิทยาการ ได้เป็นผู้จัดทำรายชื่อสถานีตรวจอากาศ
3.Date & Time of Report รายงานตามรูปรหัส โดยหน่วยเวลาเป็น Z (UTC) YY = วันที่ GG = ชั่วโมง gg = นาที เช่น METAR VTBD 150900Z SPECI VTZZ 161011Z
4.Report Modifier การรายงานเพื่อแก้ไขข่าวอากาศ ใช้ COR การบอกว่าข่าวอากาศนี้ ตรวจโดยอัตโนมัติ ใช้ AUTO
5.Wind ทิศทางรายงานทุก 10 องศา ในสามตำแหน่ง กรณีไม่เกิน100 ใช้ 0 นำหน้า ความเร็ว รายงานตามจริงที่เฉลี่ยได้ กรณีความเร็วเกิน100นอต รายงานสามตำแหน่ง หน่วยใช้ นอต KT
5.Wind กรณีรายงานลมกระโชก ใช้ G นำหน้าความเร็วลมกระโชก ให้รายงานรวมอยู่ภายในกลุ่มของลม โดยมีหน่วย KT ปิดท้าย กรณีทิศทางลมแปรปรวนความเร็ว 6นอตหรือต่ำกว่า ให้รายงาน VRB หากความเร็วลมมากกว่า 6นอต และทิศทางแปรไป 60องศาหรือมากกว่า ให้รายงานทิศทางองศาเริ่มต้นถึงสิ้นสุดตามเข็มนาฬิกาของลมที่แปรปรวน นั้นด้วย และให้เฉลี่ยทิศทางลมที่ลมพัดเข้ามากที่สุดในการรายงานในกลุ่มรหัสลมนี้ ตามตัวอย่างข้างบน
6.Visbility รายงานตามรูปรหัสและกฎเกณฑ์ของเอกสารเดิม ในหัวข้อนี้ กล่าวถึงการรายงานโดยใช้เครื่องตรวจวัด ซึ่งทางสหรัฐใช้ปฏิบัติการและอ้างอิง โดยกล่าวถึง (VVVV in meters for OCONUS) [OCONUS= outside Continental USA ภายนอกพื้นที่ ประเทศสหรัฐ ] ไว้เพียงเล็กน้อย พิจารณาแล้วเห็นว่าคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์
7.RVR การรายงานค่าทัศนวิสัยจากเครื่องวัด
8.Present Weather สำหรับข้อกำหนดในการให้คำนิยาม at the station ที่เกณฑ์ให้ไว้ ต่ำกว่า5 ไมล์ นั้น ให้พิจารณาเฉพาะ TS and Lightning เท่านั้น กรณีมีฝนตกร่วมด้วย ต้องตกที่สถานี (ตกบนหลังคาสถานี และสามารถตรวจวัดปริมาณน้ำฝนได้ด้วย) หาก TS/LTG เกิดที่ 5-10ไมล์ ให้รายงายงานได้ โดยพิจารณาเป็น Vicinity (VC) แล้วนำรายละเอียด ไปรายงานในหมายเหตุ
8.Present Weather การพิจารณาลำดับความสำคัญในการรายงาน โดยสามารถรายงานได้ไม่เกินสามชนิด ให้แบ่งชนิดปรากฏการณ์ โดยการเว้นวรรค
9.Sky Condition รายงานตามรูปแบบรหัสจากเอกสารเดิม กรณีฐานเมฆ ต่ำกว่าสถานีตรวจอากาศ รายงาน /// ไม่รายงานมากกว่า 6 ระดับ
9.Sky Condition กรณีรายงาน รหัส VV (vertical visibility) นั้น ค่าความสูงของฐาน ปรากฏการณ์ที่รายงานตามมานั้นต้องพิจารณาเป็นค่าทัศนวิสัยที่มองในทางตั้ง กรณีท้องฟ้าไร้เมฆ สามารถรายงาน Clear skies โดยเข้ารหัส CLR กรณีรายงานชั้นปรากฏการณ์ จำนวนและความสูงให้รายงานติดกัน เป็นหนึ่งระดับ ให้รายงานแต่ละระดับต่อกันไป โดยใช้การเว้นวรรคในแต่ละระดับ
9.Sky Condition การรายงานปรากฏการณ์ปิดบังบางส่วนที่มีฐานติดพื้น ให้พิจารณาจำนวนปิดบัง พร้อมรายงานความสูง ในกรณีนี้ ความสูงมีค่า 000 เช่นมีหมอกเกิดขึ้น ปิดบัง 2/8ส่วน ในกลุ่มนี้รายงาน FEW000 และต้องนำไปรายงานในหมายเหตุด้วย เช่น FG FEW000
10.Temperature & Dew point การรายงานค่าTemperature กับDew point ใช้ / คั่นการรายงาน ใช้ M แทนค่าอุณหภูมิที่ติดลบ กรณี 0C รายงาน 00 ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 0c เช่น -0.5c ให้รายงาน M00 ไม่มีข้อมูลไม่ต้องรายงาน กรณีมีแต่อุณหภูมิ ให้รายงานเฉพาะอุณหภูมิ เช่น 02/
11.Altimeter รายงาน A แทนค่าหน่วยเป็นนิ้วปรอท รายงานค่าเป็นสี่ตำแหน่ง โดยไม่ต้องใส่จุดทศนิยม
REMARKS ใช้ RMK ในการรายงาน โดยใช้รูปแบบขยายความตามกฎเกณฑ์และลำดับที่กำหนด (Manual) หรือใช้ภาษาปกติ (Plain Language) ในการรายงาน กับรายงานเพิ่มเติม (Additive) และ สถานะเครื่องวัด (Maintenance Data) กรณีไม่มีการรายงานในหมายเหตุ ไม่ต้องใส่ RMK (รายละเอียดของREMARKS รับฟังในเวลาของหัวข้อนั้น)
Dissemination การกระจายข่าวอากาศ ในที่นี้อธิบายไว้สองรูปแบบ คือ 1. Local 2. Longline Local หมายถึงการกระจายข่าวอากาศในท้องถิ่น เช่นภายในสนามบิน ในหน่วยบิน หน่วยควบคุมการบิน จนถึงหน่วยดับเพลิงสนามบิน (ใช้ระบบ Intranet) Longline หมายถึงการกระจายข่าวอากาศเข้าระบบเครือข่าย เพื่อการใช้งานร่วมกัน เช่น AFW-WEBS หรือ JAAWIN ซึ่งในระบบกระจายข่าวอากาศของ กขอ.ฯ ใช้การรับส่งผ่านเครือข่าย Internet โดยมีระบบรองรับ (AWIS) ระบบในอนาคตควรเป็นแบบ Air Force Weather Network (AFWN)