1 / 93

พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด

สำนักงาน ป.ป.ช. พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด. เกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ. (กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการฮั้ว) พ.ศ. 2542. “ ฮั้ว ” คืออะไร. ภาษากฎหมาย เรียกว่า “ การสมยอมการเสนอราคา ”. “ การสมยอมการเสนอราคา ” (ฮั้ว) หมายความว่า

sonja
Download Presentation

พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สำนักงาน ป.ป.ช. พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด เกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการฮั้ว) พ.ศ. 2542

  2. “ฮั้ว” คืออะไร ภาษากฎหมาย เรียกว่า “การสมยอมการเสนอราคา” “การสมยอมการเสนอราคา” (ฮั้ว) หมายความว่า การที่ผู้เสนอราคาตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงกระทำการ ร่วมกันในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ

  3. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ กำหนดราคาอันเป็นการเอาเปรียบแก่หน่วยงาน ของรัฐ หรือ  หลีกเลี่ยงการแข่งขันกันอย่างแท้จริงและเป็นธรรม อันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ผู้เสนอราคารายหนึ่ง หรือหลายรายให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา หรือ เพื่อผลประโยชน์อย่างใด ระหว่างผู้เสนอราคาด้วยกัน

  4. “ฮั้ว” เกิดความเสียหายอย่างไร ถือเป็นการทุจริตอย่างร้ายแรง ทำให้รัฐสูญเสีย ประโยชน์ก่อให้เกิดการผูกขาด สร้างอิทธิพลในการ ก่อสร้าง รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้าง ส่งผลเสียหาย ต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของเงินและเจ้าของประเทศ

  5. กฎหมายว่าด้วยการฮั้ว มี“พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการ เสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542” หรือ คนทั่วไปเรียกสั้น ๆ ว่า “กฎหมายว่าด้วยความผิด เกี่ยวกับการฮั้ว” ออกมาบังคับใช้

  6. นิยามที่สำคัญ “การเสนอราคา” หมายความว่า การยื่นข้อเสนอเพื่อเป็นผู้มีสิทธิ ทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐอันเกี่ยวกับ การซื้อ การจ้าง การแลกเปลี่ยน การเช่า การจำหน่าย ทรัพย์สิน การได้รับสัมปทาน การได้รับสิทธิใด ๆ

  7. นิยามที่สำคัญ “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ราชการ ส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือหน่วยงานอื่นใด ที่ดำเนินกิจการของรัฐตามกฎหมาย และได้รับ เงินอุดหนุน หรือเงิน หรือทรัพย์สินลงทุนจากรัฐ

  8. “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”หมายความว่า“ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”หมายความว่า (1) นายกรัฐมนตรี (2) รัฐมนตรี (3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (4) สมาชิกวุฒิสภา (5) ข้าราชการการเมืองอื่นนอกจาก (1) และ (2) ตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการการเมือง

  9. (6) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตาม กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ ฝ่ายรัฐสภา (7) ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น

  10. “คณะกรรมการ ป.ป.ช.” หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

  11. การบังคับใช้ บังคับใช้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐและ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง บังคับใช้กับภาคธุรกิจ ที่เป็นคู่สัญญากับรัฐ บังคับใช้กับประชาชนทั่วไป ที่มีส่วนร่วมกระทำผิด

  12. ถ้าทำผิด “กฎหมายว่าด้วยการฮั้ว” มีบทลงโทษอย่างไร ความผิดบุคคลทั่วไป (มาตรา 4 – มาตรา 9) ความผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 10 – มาตรา 13) มีทั้งโทษ จำคุก และ ปรับ

  13. ความผิดของบุคคลทั่วไป (มาตรา 4 – มาตรา 9) มาตรา 4 (สมยอมราคา) ผู้ใดตกลงร่วมกันในการเสนอราคา เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะ ให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือโดยการกีดกันมิให้ มีการเสนอสินค้าหรือบริการอื่นต่อหน่วยงานของรัฐ หรือโดยการ เอาเปรียบแก่หน่วยงานของรัฐ อันมิใช่เป็นไปในทางการประกอบ

  14. ธุรกิจปกติ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุด ในระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดนั้น หรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ผู้ใดเป็นธุระในการชักชวนให้ผู้อื่นร่วมตกลงกันในการกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ผู้นั้นต้องระวางโทษตาม วรรคหนึ่ง

  15. ความผิดของบุคคลทั่วไป (มาตรา 4 – มาตรา 9) มาตรา 4 (สมยอมราคา) ลักษณะความผิด • - ผู้ใดตกลงร่วมกันในการเสนอราคา - เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา - โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม (อัตราโทษ) • - ผู้ใดตกลงร่วมกันในการเสนอราคา - เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ใด เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา - โดยกีดกันไม่ให้เสนอสินค้าหรือบริการ (อัตราโทษ)

  16. - ผู้ใดตกลงร่วมกันในการเสนอราคา - เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา - โดยเอาเปรียบหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมิใช่การประกอบธุรกิจปกติ (อัตราโทษ) • - ผู้เป็นธุระในการชักชวนให้ผู้อื่นร่วมตกลง - เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา - โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม (อัตราโทษ) • - ผู้ใดเป็นธุระในการชักชวนให้ผู้อื่นร่วมตกลง - เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา - โดยกีดกันไม่ให้เสนอสินค้าหรือบริการ (อัตราโทษ)

  17. - ผู้ใดเป็นธุระในการชักชวนให้ผู้อื่นร่วมตกลง - เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา - โดยเอาเปรียบหน่วยงานของรัฐซึ่งมิใช่การประกอบธุรกิจปกติ (อัตราโทษ) อัตราโทษ จำคุก 1 – 3 ปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่เสนอราคา สูงสุด หรือที่มีการทำสัญญา แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

  18. ผู้ใดตกลงร่วมกัน ในการเสนอราคา เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ใด เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา หลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม โดย กีดกันไม่ให้เสนอสินค้า หรือบริการ เอาเปรียบหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมิใช่การประกอบธุรกิจปกติ ผู้ใดเป็นธุระ ในการชักชวน ให้ผู้อื่นร่วมตกลง เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ใด เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา หลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม โดย กีดกันไม่ให้เสนอสินค้า หรือบริการ เอาเปรียบหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมิใช่การประกอบธุรกิจปกติ

  19. ตัวอย่างการกระทำตามมาตรา 4 1. ก.ข.ค. และ ง. เป็นผู้เสนอราคาในงานก่อสร้างของหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งทั้งหมดได้ตกลงกันว่าจะเสนอราคาโดยมุ่งหมายให้รายใด รายหนึ่งเป็นผู้ได้งาน เช่น ก.ข.ค. แกล้งเสนอราคาให้สูงทั้ง 3 ราย เพื่อให้ ง. ได้งาน ซึ่งราคาที่ ง. เสนอต่ำสุดนั้นก็ยังสูงกว่าราคากลาง ทำให้ทางราชการเสียเปรียบ ทั้ง ก.ข.ค. และ ง. มีความผิดตามมาตรานี้ 2. ก.ข.ค. และ ง. ต่างคนต่างเสนอราคาของตนเอง ต่อมาคนใดคนหนึ่ง หรือคนอื่นเข้ามาชักชวนหรือจัดการให้มีการสมยอมในการเสนอราคา คนที่ชักชวนหรือจัดการดังกล่าวมีความผิดตามมาตรานี้ เช่นเดียวกัน

  20. มาตรา 5 (การจัดฮั้วกัน) ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด แก่ผู้อื่นเพื่อประโยชน์ในการเสนอราคา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะจูงใจ ให้ผู้นั้นร่วมดำเนินการใด ๆ อันเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้นั้น ทำการเสนอราคาสูงหรือต่ำจนเห็นได้ชัดว่า ไม่เป็นไปตามลักษณะ สินค้า บริการ หรือสิทธิที่จะได้รับ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้นั้นไม่เข้าร่วม

  21. ในการเสนอราคาหรือถอนการเสนอราคา ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หนึ่งปี ถึงห้าปีและปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มี การเสนอราคาสูงสุดในระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดนั้น หรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใด จะสูงกว่า ผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อกระทำการตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็น ผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย

  22. มาตรา 5 (การจัดฮั้วกัน) ลักษณะความผิด • - ผู้ใดให้เงิน หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด - เพื่อจูงใจให้ร่วมดำเนินการให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ใด เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา (อัตราโทษ) • - ผู้ใดให้เงิน หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด - เพื่อจูงใจให้เสนอราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่าลักษณะสินค้า บริการ หรือสิทธิที่จะได้รับ (อัตราโทษ)

  23. - ผู้ใดให้เงิน หรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด - เพื่อจูงใจให้ไม่เข้าร่วมเสนอราคา หรือถอนการเสนอราคา (อัตราโทษ) • - ผู้ใดเรียกเงิน หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด - เพื่อจูงใจให้ร่วมดำเนินการให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ใด เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา - ถือเป็นผู้ร่วมกระทำความผิด (อัตราโทษ)

  24. - ผู้ใดรับเงิน หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด - เพื่อจูงใจให้เสนอราคาสูงกว่า หรือต่ำกว่าลักษณะสินค้า บริการ หรือสิทธิที่จะได้รับ - ถือเป็นผู้ร่วมกระทำความผิด (อัตราโทษ) • - ผู้ใดยอมจะรับเงิน หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด - เพื่อจูงใจให้ไม่เข้าร่วมเสนอราคา หรือถอนการเสนอราคา - ถือเป็นผู้ร่วมกระทำความผิด (อัตราโทษ)

  25. อัตราโทษ จำคุก 1 – 5 ปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่เสนอราคา สูงสุด หรือที่มีการทำสัญญา แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า เพื่อจูงใจ ผู้ใดให้ - เงิน ให้ร่วมดำเนินการให้เป็นประโยชน์ แก่ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา - ทรัพย์สิน - ประโยชน์ ให้เสนอราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่าลักษณะสินค้า บริการหรือสิทธิ ที่จะได้รับ ให้ไม่เข้าร่วมเสนอราคา หรือถอนการเสนอราคา

  26. - เงิน เพื่อจูงใจ ผู้ใดขอให้ ให้ร่วมดำเนินการให้เป็นประโยชน์ แก่ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา - ทรัพย์สิน - ประโยชน์ ให้เสนอราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่าลักษณะสินค้า บริการหรือสิทธิ ที่จะได้รับ ให้ไม่เข้าร่วมเสนอราคา หรือถอนการเสนอราคา เพื่อจูงใจ ผู้ใดรับว่าจะให้ ให้ร่วมดำเนินการให้เป็นประโยชน์ แก่ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา - เงิน - ทรัพย์สิน - ประโยชน์ ให้เสนอราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่าลักษณะสินค้า บริการหรือสิทธิ ที่จะได้รับ ให้ไม่เข้าร่วมเสนอราคา หรือถอนการเสนอราคา

  27. - เงิน เพื่อจูงใจ ผู้ใดเรียก ให้ร่วมดำเนินการให้เป็นประโยชน์ แก่ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา - ทรัพย์สิน - ประโยชน์ ให้เสนอราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่าลักษณะสินค้า บริการหรือสิทธิ ที่จะได้รับ ให้ไม่เข้าร่วมเสนอราคา หรือถอนการเสนอราคา - เงิน เพื่อจูงใจ ผู้ใดรับ ให้ร่วมดำเนินการให้เป็นประโยชน์ แก่ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา - ทรัพย์สิน - ประโยชน์ ให้เสนอราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่าลักษณะสินค้า บริการหรือสิทธิ ที่จะได้รับ ให้ไม่เข้าร่วมเสนอราคา หรือถอนการเสนอราคา

  28. - เงิน เพื่อจูงใจ ผู้ใดยอมจะรับ ให้ร่วมดำเนินการให้เป็นประโยชน์ แก่ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา - ทรัพย์สิน - ประโยชน์ ให้เสนอราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่าลักษณะสินค้า บริการหรือสิทธิ ที่จะได้รับ อัตราโทษ ให้ไม่เข้าร่วมเสนอราคา หรือถอนการเสนอราคา

  29. ตัวอย่างการกระทำตามมาตรา 5(การจัดฮั้วกัน) 1. ก. ได้ให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้เงินหรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์แก่ ข.ค.ง.และ จ. เพื่อให้ ข.ค.ง. และ จ. ร่วมกันดำเนินการให้มีการสมยอมในการเสนอราคาในการประมูลงานก่อสร้างของหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่ง หรือ เพื่อให้ ข.ค.ง. และ จ. ไม่เข้าร่วมเสนอราคาหรือถอนการเสนอราคา  ก. มีความผิดตามมาตรานี้ 2. กรณีตาม 1. ถ้า ข.ค.ง. และ จ. หรือบุคคลอื่นนอกจากนี้ มาเรียกรับ หรือยอมจะรับเงิน หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด เพื่อกระทำการดังกล่าว กฎหมายถือว่า ก.ข.ค. และ จ. หรือบุคคลอื่นนั้น เป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วย ก.ข.ค.ง. และ จ. หรือบุคคลอื่นนั้น เป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วย

  30. มาตรา 6 (ข่มขืนใจผู้อื่นให้จำยอม) ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้จำยอมร่วมดำเนินการใด ๆ ในการ เสนอราคาหรือไม่เข้าร่วมในการเสนอราคา หรือถอนการเสนอราคา หรือต้องทำการเสนอราคาตามที่กำหนด โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ ให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงสิบปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคา สูงสุดในระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดนั้น หรือของจำนวนเงิน ที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

  31. มาตรา 6 (ข่มขืนใจผู้อื่นให้จำยอม) ลักษณะความผิด • - ผู้ใดข่มขืนใจให้ผู้อื่นจำยอมร่วมดำเนินการใดๆ - ในการเสนอราคา - โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญด้วยประการใดๆ - ให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือบุคคลที่สาม - จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น (อัตราโทษ)

  32. - ผู้ใดข่มขืนใจให้ผู้อื่นจำยอมร่วมดำเนินการใดๆ - ไม่เข้าร่วมในการเสนอราคา - โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญด้วยประการใดๆ - ให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือบุคคลที่สาม - จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น (อัตราโทษ)

  33. - ผู้ใดข่มขืนใจให้ผู้อื่นจำยอมร่วมดำเนินการใดๆ - ถอนการเสนอราคา - โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ - ให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือบุคคลที่สาม - จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น (อัตราโทษ)

  34. - ผู้ใดข่มขืนใจให้ผู้อื่นจำยอมร่วมดำเนินการใดๆ - ต้องทำการเสนอราคาตามที่กำหนด - โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญด้วยประการใดๆ - ให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือบุคคลที่สาม - จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น อัตราโทษ จำคุก 5-10 ปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่เสนอราคาสูงสุดหรือที่มีการทำสัญญา

  35. เสนอราคา ใช้กำลังประทุษร้าย ไม่เข้าร่วมเสนอราคา ผู้ใดข่มขืนใจให้ผู้อื่นจำยอมร่วมดำเนินการใดๆ ถอนการเสนอราคา เสนอราคาตามที่กำหนด ขู่เข็ญด้วยประการใดๆ ชีวิต ผู้ถูกขู่เข็ญ ร่างกาย ให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อ เสรีภาพ จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ชื่อเสียง บุคคลที่สาม ทรัพย์สิน

  36. ตัวอย่างการกระทำตามมาตรา 6(ข่มขืนใจผู้อื่นให้จำยอม) • ในการประมูลงานก่อสร้างของหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่ง ก. ซึ่งเป็นผู้เสนอราคารายหนึ่งกับพวกได้ข่มขู่ผู้เสนอราคารายอื่น ๆ ให้เข้าร่วมดำเนินการสมยอมราคา หรือไม่ให้เข้าร่วมเสนอราคา หรือถอนการเสนอราคา หรือต้องเสนอราคาตามที่กำหนด โดยขู่ ว่าจะฆ่าหรือทำร้ายร่างกาย หรือทำให้เสียเสรีภาพ เสียชื่อเสียงจนผู้เสนอราคารายอื่น ๆ ต้องยอมทำตาม •  ก. กับพวกมีความผิดตามมาตรานี้ หาก ก. กับพวกไปขู่เข็ญว่าจะกระทำการดังกล่าวต่อบุตรหรือภริยาของผู้เสนอรายอื่น ๆ ก. กับพวกก็มีความผิดตามมาตรานี้ เช่นเดียวกัน

  37. มาตรา 7 (ใช้อุบายหลอกหลวง, กระทำโดยวิธีอื่นใด) ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง หรือกระทำการโดยวิธีอื่นใด เป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าทำการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม หรือให้มีการเสนอราคาโดยหลงผิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการ เสนอราคาสูงสุดระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดนั้น หรือของ จำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่ จำนวนใดจะสูงกว่า

  38. มาตรา 7 (ใช้อุบายหลอกหลวง, กระทำโดยวิธีอื่นใด) ลักษณะความผิด • - ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง - เป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเสนอราคาอย่างเป็นธรรม (อัตราโทษ) • - ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง - เป็นเหตุให้มีการเสนอราคาโดยหลงผิด (อัตราโทษ)

  39. - ผู้ใดกระทำโดยวิธีอื่นใด - เป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเสนอราคาอย่างเป็นธรรม (อัตราโทษ) • - ผู้ใดกระทำโดยวิธีอื่นใด - เป็นเหตุให้มีการเสนอราคาโดยหลงผิด (อัตราโทษ) อัตราโทษ จำคุก 1-5ปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่เสนอราคาสูงสุด หรือที่มีการทำสัญญา แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

  40. ใช้อุบายหลอกลวง ผู้อื่นไม่มีโอกาสเสนอราคา อย่างเป็นธรรม ผู้ใด เป็นเหตุให้ กระทำโดยวิธีอื่นใด มีการเสนอราคาโดยหลงผิด

  41. ตัวอย่างการกระทำตามมาตรา 7 (ใช้อุบายหลอกหลวง, กระทำโดยวิธีอื่นใด) • 1. ก. ซึ่งเป็นผู้จะเข้าเสนอราคาในการประกวดราคางานก่อสร้าง หน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งได้แกล้งบอกข่าวให้ผู้จะเสนอราคา รายอื่น ๆ หลงเชื่อว่า หน่วยงานของรัฐนั้น ไม่มีการประกาศประกวดราคา หรือหลอกผู้เข้าเสนอราคาให้ไปยื่นซองที่อื่น จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าเสนอราคา •  ก. มีความผิดตามมาตรานี้ 2. ข. ซึ่งเป็นพรรคพวกของ ก. ซึ่งจะเข้าเสนอราคา ได้แอบดึงประกาศประกวดราคาของหน่วยงานของรัฐออก เป็นเหตุให้ผู้เสนอราคารายอื่นไม่ทราบเรื่อง  ข. มีความผิดตามมาตรานี้

  42. มาตรา 8 (เสนอราคาต่ำ หรือให้ผลประโยชน์สูงกว่าปกติ เป็นเหตุให้ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้) ผู้ใดโดยทุจริตทำการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐโดยรู้ว่าราคาที่เสนอนั้น ต่ำมากเกินกว่าปกติจนเห็นได้ชัดว่า ไม่เป็นไปตามลักษณะสินค้าหรือบริการ หรือเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่หน่วยงาน ของรัฐสูงกว่าความเป็นจริงตามสิทธิที่จะได้รับ โดยมี วัตถุประสงค์เป็นการกีดกันการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม และการกระทำเช่นว่านั้น เป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาได้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคา หรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

  43. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามสัญญาได้ตาม วรรคหนึ่ง เป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการดำเนินการให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ของสัญญาดังกล่าว ผู้กระทำผิดต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐนั้นด้วย ในการพิจารณาคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ถ้ามีการร้องขอ ให้ศาลพิจารณากำหนดค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องรับภาระเพิ่มขึ้นให้แก่หน่วยงานของรัฐตามวรรคสองด้วย

  44. มาตรา 8 (เสนอราคาต่ำ หรือให้ผลประโยชน์สูงกว่าปกติ เป็นเหตุให้ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้) ลักษณะความผิด • - ผู้ใดโดยทุจริตทำการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ - โดยรู้ว่าราคาที่เสนอนั้นต่ำมากเกินกว่าปกติ จนเห็นได้ชัดว่า ไม่เป็นไปตามลักษณะสินค้าหรือบริการ - โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการกีดกันการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม - และการกระทำเช่นว่านั้นเป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามสัญญาได้

  45. - เป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ในการดำเนินการให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ของสัญญา - ต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐนั้นด้วย (อัตราโทษ)  - ผู้ใดโดยทุจริตทำการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ - เสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่หน่วยงานของรัฐสูงกว่าความ เป็นจริงตามสิทธิที่จะได้รับ - โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการกีดกันการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม

  46. - และการกระทำเช่นว่านั้นเป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติ ให้ถูกต้องตามสัญญาได้ - เป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ในการดำเนินการให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ของสัญญา - ต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐนั้นด้วย (อัตราโทษ) อัตราโทษ จำคุก 1 ถึง 3 ปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่เสนอราคาสูงสุด หรือที่มีการทำสัญญาแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

  47. รู้ว่าราคาที่เสนอนั้น ต่ำมากเกินกว่าปกติ จนเห็นได้ชัดว่า ไม่เป็นไปตามลักษณะ สินค้าหรือบริการ มีวัตถุประสงค์กีดกันการแข่งขันราคา เป็นเหตุให้ไม่สามารถ ปฏิบัติงานให้ ถูกต้องตามสัญญาได้ * (และหากเป็นเหตุให้หน่วยงาน ของรัฐต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ผู้กระทำผิดต้องชดใช้ ค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐนั้นด้วย) ผู้ใดโดยทุจริต ทำการเสนอราคา ต่อหน่วยงานของรัฐ เสนอผลประโยชน์ ตอบแทนให้แก่ หน่วยงานของรัฐ สูง กว่าความเป็นจริง ตามสิทธิที่จะได้รับ

  48. ตัวอย่างการกระทำตามมาตรา 8 (เสนอราคาต่ำ หรือให้ ผลประโยชน์สูงกว่าปกติเป็นเหตุให้ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้) • ในการประกวดราคางานก่อสร้างอาคารหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่ง กำหนดราคากลางไว้ 3 ล้านบาท ก. ผู้เสนอราคารายหนึ่งได้เสนอราคา ก่อสร้างเพียง 1.5 ล้านบาท โดยรู้อยู่แล้วว่าในวงเงินดังกล่าวไม่สามารถก่อสร้างอาคารให้ถูกต้องตามแบบได้ โดยหวังเพียงจะเป็นผู้มีสิทธิ เข้าทำสัญญาเท่านั้น ซึ่งการก่อสร้างจะไม่ถูกต้องตามแบบ แต่ ก. จะใช้วิธีติดสินบนกรรมการตรวจการจ้างให้ยอมรับงานก่อสร้างนี้ •  ก. มีความผิดตามมาตรานี้ ข้อสังเกต การกระทำที่จะเป็นความผิดตามมาตรานี้ ต้องเป็นกรณี ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้

  49. มาตรา 9 (นิติบุคคลกระทำผิด ผู้จัดการ, ผู้บริหารเป็นตัวการร่วม) ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นไป เพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลใด ให้ถือว่าหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงาน ในกิจการของนิติบุคคลนั้น หรือผู้ซึ่งรับผิดชอบในการ ดำเนินงานของนิติบุคคลในเรื่องนั้น เป็นตัวการร่วมใน การกระทำความผิดด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มี ส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดนั้น

  50. มาตรา 9 (นิติบุคคลกระทำผิด ผู้จัดการ, ผู้บริหารเป็นตัวการร่วม) ลักษณะความผิด • - การกระทำผิดตาม พ.ร.บ. นี้ - เป็นไปเพื่อประโยชน์นิติบุคคลใด - ถือว่า หุ้นส่วน ผู้จัดการ เป็นตัวการร่วม ในการกระทำผิด - เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิด (อัตราโทษตามมาตราที่กระทำความผิด)

More Related