1 / 90

Stoichiometry

ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4. Stoichiometry. สาระการเรียนรู้ที่ 3 สารและสมบัติของสาร มาตรฐานการเรียนรู้ ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะชองสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

soo
Download Presentation

Stoichiometry

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 Stoichiometry สาระการเรียนรู้ที่ 3 สารและสมบัติของสาร มาตรฐานการเรียนรู้ ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะชองสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ตัวชี้วัด ว 3.2 ม.4-6/1-2 , ว 8.1 ม.4-6/1-12 โดย.. นายตะวันไท ล้นลุย ครูโรงเรียนสหคริสเตียน อ.น้ำปาด จ. อุตรดิตถ์

  2. ปริมาณสัมพันธ์(Stoichiometry) หมายถึง การศึกษาเชิงปริมาณที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของสารเคมี สารตั้งต้น ผลิตผล ตลอดจนพลังงานของสารที่เปลี่ยนแปลงไปใน ปฏิกิริยาเคมี Stoichiometry มาจากภาษากรีก Stoichion = ธาตุ metron = การวัด

  3. มวล 1 อะตอม คือ ผลรวมมวลของโปรตอนและนิวตรอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบ ภายในอะตอม เช่น H มีมวล 1 อะตอม เท่ากับ 1 x 1.66 x 10-24 กรัม O มีมวล 1 อะตอม เท่ากับ 16 x 1.66 x 10-24กรัม ดังนั้น มวล 1 อะตอมของธาตุใด ๆ ได้จากการนำเลขมวลของ ธาตุนั้นคูณด้วย 1.66 x 10-24และมีหน่วยเป็น กรัม(g) เสมอ

  4. มวลอะตอม คือ ผลหารระหว่างมวล 1 อะตอมกับมวลมาตรฐานหรือค่าซึ่งแสดงว่า มวล 1 อะตอมของธาตุต่าง ๆ หนักกี่เท่าของมวลมาตรฐาน มวล 1 อะตอม มวล 1 อะตอม มวลอะตอม = = มวลมาตรฐาน 1.66 x 10-24 g เช่น H มีมวลอะตอมเท่ากับ 1 O มีมวลอะตอมเท่ากับ 16 ดังนั้นมวลอะตอมของธาตุใดๆ คือเลขมวลของธาตุนั้นและไม่มีหน่วย

  5. มวลอะตอมเฉลี่ย = Σ (%ของแต่ละไอโซโทป x มวลของแต่ละไอโซโทป) 100 มวลอะตอมเฉลี่ย คือ มวลอะตอมที่ได้จากการเฉลี่ยมวลอะตอมของธาตุที่มีหลาย ไอโซโทปในธรรมชาติ

  6. มวลอะตอมเฉลี่ย = Σ (%ของแต่ละไอโซโทป x มวลของแต่ละไอโซโทป) 100 (30x35)+(32x65) = 1050 + 2080 = 31.3 100 100 ตัวอย่างที่ 1 ธาตุ A ประกอบด้วยสองไอโซโทปในธรรมชาติ คือ 30A และ 32A แต่ละไอโซโทปมีอยู่ในธรรมชาติ 35% และ 65% ตามลำดับ จงหามวล อะตอมเฉลี่ยของ A มวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ A เท่ากับ 31.3 ตอบ

  7. มวลอะตอมเฉลี่ย = Σ (%ของแต่ละไอโซโทป x มวลของแต่ละไอโซโทป) 100 51.3 = 50x + 52(100-x) 100 ตัวอย่างที่ 2 ธาตุ B มีสองไอโซโทปในธรรมชาติ คือ 50B และ 52B ถ้าธาตุ B มีมวลอะตอมเฉลี่ย 51.3 จงหาเปอร์เซ็นของแต่ละไอโซโทป ในธรรมชาติ กำหนดให้ 50B มี x%และ52B มี (100-x)% 5130 = 50x + 5200 – 52x 2x = 70 x = 35 ดังนั้น 50B มี 35% ส่วน 52B มีอยู่ 100-35 = 65% ตอบ

  8. มวล 1 โมเลกุล คือ ผลรวมของมวล 1 อะตอมของธาตุต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบใน โมเลกุลของสารนั้น เช่น CO2มีมวล 1 โมเลกุล เท่ากับ 44x1.66x10-24 g ดังนั้น มวล 1 โมเลกุล คือ ผลรวมของเลขมวลของธาตุองค์ประกอบ คูณด้วย 1.66x10-24และมีหน่วยเป็น กรัม(g) มวลโมเลกุล คือ ผลหารระหว่างมวล 1 โมเลกุลกับมวลมาตรฐานหรือค่าที่บอกให้ทราบว่าสารประกอบหนักกี่เท่าของมวลมาตรฐาน มวล 1 โมเลกุล มวล 1 โมเลกุล มวลโมเลกุล = = มวลมาตรฐาน 1.66 x 10-24 g

  9. n = g MW โมล (Mole) ใช้สัญลักษณ์ mol คือ หน่วยของสารเคมี แบ่งเป็น 3 กรณี คือ 1.ความสัมพันธ์ของโมลกับมวล ในกรณีที่สารเป็นของแข็ง สาร 1 โมล มีมวลเท่ากับมวลโมเลกุลของสารนั้น หรือ หาได้จากนำมวลของสารใน หน่วยกรัมมาหารด้วยมวลโมเลกุลของสารนั้น

  10. n = ปริมาตร 22.4 โมล (Mole) ใช้สัญลักษณ์ mol 2. ความสัมพันธ์ของโมลกับปริมาตร ในกรณีที่สารเป็นแก๊ส สาร 1 โมล มีปริมาตรเท่ากับ 22.4 ลูกบาศก์เดซิเมตร(dm3) หรือจำนวนโมลได้จาก การนำปริมาตรในหน่วย dm3ซึ่งวัดที่ STP มาหารด้วย 22.4

  11. n = จำนวนอนุภาค 6.023x1023 โมล (Mole) ใช้สัญลักษณ์ mol 3. ความสัมพันธ์ของโมลกับอนุภาค ในทุกสถานะ สาร 1 โมล มีจำนวน อนุภาคเท่ากับ 6.023x1023อนุภาค หรือ จำนวนโมลหาได้จากการนำ จำนวนอนุภาคหารด้วย 6.023x1023

  12. สรุปความสัมพันธ์ของโมลสรุปความสัมพันธ์ของโมล

  13. ตัวอย่างที่ 3 กำมะถัน (S8) 10 โมล มีกี่อะตอม n = จำนวนอนุภาค 10 = จำนวนโมเลกุล วิธีทำ 6.023x1023 6.023x1023 จำนวนโมเลกุล = 10x6.023x1023= 60.23 x 1023โมเลกุล กำมะถัน 1 โมเลกุล มี 8 อะตอม กำมะถัน 60.23 x 1023 โมเลกุล มี 8 x 60.23x1023 = 4.818x1025อะตอม ดังนั้น กำมะถัน 10 โมล มี 4.818x1025อะตอม ตอบ

  14. = 3.0115x1023 = 0.5 โมล 6.023x1023 n = g 0.5 = 44 MW MW ตัวอย่างที่ 4 สาร A 3.0115x1023โมเลกุล หนักเท่ากับ 44 กรัม จงหามวลโมเลกุลของสาร A วิธีทำ หาจำนวนโมล n = จำนวนอนุภาค 6.023x1023 หาจำนวนโมเลกุล MW = 88 ดังนั้น สาร A มีมวลโมเลกุลเท่ากับ 88 ตอบ

  15. n = g 0.25 = ปริมาตร n = ปริมาตร MW 22.4 22.4 ตัวอย่างที่ 5 ออกซิเจนซึ่งมีจำนวนโมลเท่ากับลิเทียม 1.75 กรัม มีปริมาตรเท่าใด n = 1.75 วิธีทำ หาจำนวนโมลของ Li 7 = 0.25 mol ออกซิเจนมีจำนวนโมลเท่ากับลิเทียม จึงมี 0.25 mol หาปริมาตรของออกซิเจน ปริมาตร = 5.6 dm3 ดังนั้น ออกซิเจนที่มีจำนวนโมลเท่ากับลิเทียม 1.75 กรัม มีปริมาตร 5.6 ลูกบาศก์เดซิเมตร ตอบ

  16. ร้อยละโดยมวล = มวลตัวถูกละลาย x 100 มวลของสารละลาย ความเข้มข้นของสารละลาย ความเข้มข้นของสารละลายสามารถบอกได้หลายวิธี ดังนี้ ร้อยละโดยมวล (%w/w) คือ มวลของตัวถูกละลายในสารละลาย 100 หน่วยเดียวกัน ร้อยละโดยปริมาตร (%v/v) คือ มวลของตัวถูกละลายในสารละลาย 100 หน่วยเดียวกัน ร้อยละโดยปริมาตร = ปริมาตรตัวถูกละลาย x 100 ปริมาตรของสารละลาย

  17. ความเข้มข้นของสารละลายความเข้มข้นของสารละลาย ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร (%w/v) คือ มวลของตัวถูกละลายที่ละลายในสารละลายปริมาตร 100 หน่วย ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร = มวลตัวถูกละลาย x 100 ปริมาตรของสารละลาย โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร(mol/dm3หรือ mol/l) มีตัวย่อคือ M (โมลาร์) จำนวนโมลของตัวถูกละลายในสารละลายปริมาตร 1 ลูกบาศก์เดซิเมตร หรือ 1 ลิตร

  18. มวล หรือ ปริมาตรของตัวละลาย มวล หรือ ปริมาตรของสารละลาย ppm = X 106 ความเข้มข้นของสารละลาย โมลต่อกิโลกรัม (mol/kg) มีตัวย่อ m (โมแลล) คือ จำนวนโมลของตัวถูกละลายในตัวทำละลาย 1 กิโลกรัม ส่วนในล้านส่วน(parts per million : ppm) เป็นหน่วยที่บอกปริมาณตัวละลายเป็นมวล หรือ ปริมาตร ที่ละลายในสารละลาย 1 ล้านหน่วยเดียวกัน

  19. ความเข้มข้นของสารละลายความเข้มข้นของสารละลาย ส่วนในพันล้านส่วน(parts per billion : ppb) เป็นหน่วยที่บอกปริมาณตัวละลายเป็นมวล หรือ ปริมาตร ที่ละลายในสารละลาย 1 พันล้านหน่วยเดียวกัน มวล หรือ ปริมาตรของตัวละลาย มวล หรือ ปริมาตรของสารละลาย ppb = X 109

  20. ความเข้มข้นของสารละลายความเข้มข้นของสารละลาย เศษส่วนโมล(Mole fraction : X) เศษส่วนโมลของสารใด หมายถึง อัตราส่วนจำนวนโมลของ สารนั้นกับจำนวนโมลรวมของสารทั้งหมด เช่น สารละลายชนิดหนึ่งประกอบด้วยสาร A,B และ C จำนวน a,b และ c mol ตามลำดับ ดังนั้น XA = และ XA+XB+XC = 1 a a + b + c

  21. M = %10D MW ความเข้มข้นของสารละลาย การเปลี่ยนหน่วยร้อยละโดยมวลหรือร้อยละโดยปริมาตรเป็นหน่วยโมลาร์ โดยใช้สูตร M = ความเข้มข้นในหน่วย mol/l D = ความหนาแน่นของสารละลาย MW = มวลโมเลกุลของตัวถูกละลาย % = ความเข้มข้นในหน่วยร้อยละ โดยมวลหรือร้อยละโดยปริมาตร

  22. 20 = มวลตัวถูกละลาย x 100 300 ตัวอย่างที่ 6 ต้องการเตรียมสารละลาย C ให้มีความเข้มข้นร้อยละ 20 โดยมวลต่อปริมาตร ให้มีปริมาตร 300 cm3จะต้องใช้สาร C หนักเท่าใด วิธีทำ ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร = มวลตัวถูกละลาย x100 ปริมาตรของสารละลาย มวลตัวถูกละลาย = 60 g. จะต้องใช้สาร C หนัก 60 กรัม ตอบ

  23. ตัวอย่างที่ 7 นำสาร Y ซึ่งมีมวลโมเลกุล 60 หนัก 12 กรัม มาละลายในน้ำ 45 กรัม จงหาเศษส่วนโมลของสารทั้งสอง วิธีทำ หาโมลของสาร Y = มวล Y = 12 = 0.2 mol 60 มวลโมเลกุล Y หาโมลของน้ำ = มวลน้ำ = 45 = 2.5 mol 18 มวลโมเลกุลน้ำ XY = โมล Y = 0.2 = 0.074 mol 0.2 + 2.5 โมล Y + โมลน้ำ Xน้ำ = โมล น้ำ = 2.5 = 0.926 mol 0.2 + 2.5 โมล Y + โมลน้ำ เศษส่วนโมลของสาร Y เท่ากับ 0.074 และเศษส่วนโมลของน้ำเท่ากับ 0.926 ตอบ

  24. ตัวอย่างที่ 8 สารละลายชนิดหนึ่งเข้มข้น 15 %v/v ถ้าในสารละลายชนิดนี้ตัวถูกละลายมีมวลโมเลกุล 90 และมีความหนาแน่น 0.54 g/cm3 จงหาความเข้มข้นในหน่วยโมลาร์ วิธีทำ M = %10D= 15 x 10 x 0.54 MW 90 = 0.9 mol/dm3 สารละลายนี้มีความเข้มข้น 0.9 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร ตอบ

  25. ตัวอย่างที่ 9 สารละลายชนิดหนึ่งเข้มข้น 20%w/w มีความหนาแน่น 0.826 g/cm3ในสารละลาย 200 cm3มีตัวถูกละลายกี่กรัม วิธีทำหามวลของสารละลาย จากสูตร D = M V จะได้ 0.826 = M 200 M = 165.2 g หามวลตัวถูกละลาย สารละลาย 100 กรัม มีตัวถูกละลาย 20 กรัม สารละลาย 165.2 กรัม มีตัวถูกละลาย 20 x 165.2 = 33.04 กรัม 100 สารละลายนี้ 200 cm3มีตัวถูกละลายอยู่ 33.04 กรัม ตอบ

  26. การเตรียมสารละลาย การเตรียมสารละลายแบ่งเป็น 2 กรณี คือ เตรียมโดยนำตัวถูกละลาย บริสุทธิ์ที่เป็นของแข็งมาละลายในตัวทำละลายและเตรียมจากสารละลาย เข้มข้น 1. การเตรียมโดยนำตัวถูกละลายบริสุทธิ์ที่เป็นของแข็งมาละลายในตัวทำละลาย คำนวณโดยใช้สูตร g = มวลของตัวถูกละลายในหน่วยกรัม MW = มวลโมเลกุลของตัวถูกละลาย M = ความเข้มข้นในหน่วย mol/l V = ปริมาตรในหน่วย cm3 g = MV MW 1000

  27. g = MV MW 1000 ตัวอย่างที่ 10 ถ้าต้องการเตรียมสารละลาย NaCl ให้มีความเข้มข้น 0.5 โมลาร์ ปริมาตร 200 cm3ทำได้อย่างไร วิธีทำขั้นที่ 1 หามวลของ NaCl จากสูตร g = 0.5 x 200 จะได้ 58.5 1000 g = 5.85 กรัม ขั้นที่ 2 ชั่ง NaCl 5.85 กรัม นำมาละลายด้วยน้ำกลั่น โดยใช้น้ำกลั่นปริมาตรน้อยกว่า 200 cm3ใช้แท่งแล้วละลายสารให้หมด หลังจากนั้นถ่ายสารละลายลงในขวดวัดปริมาตรขนาด 200 cm3เติมน้ำกลั่นให้ถึงขีดวัดปริมาตร กลับขวดวัดปริมาตรขึ้นลง ให้สารละลายผสมเป็นเนื้อเดียวกัน จะได้สารละลาย NaCl เข้มข้น 0.5 mol/l ปริมาตร 200 cm3ตอบ

  28. การเตรียมสารละลาย 2. การเตรียมจากสารละลายเข้มข้น แบ่งเป็น 2 กรณีย่อย คือ 2.1 นำสารละลายเข้มข้นมาเติมตัวทำละลาย ทำให้สารละลายใหม่มีความเข้มข้นลดลง แต่จำนวนโมลของตัวถูกละลายคงเดิม จำนวนโมลก่อนเติมตัวทำละลาย = จำนวนโมลหลังเติมตัวทำละลาย M1V1 = M2V2 M1 , M2คือ ความเข้มข้นก่อนและหลังเติมตัวทำละลาย V1 , V2 คือ ปริมาตรก่อนและหลังเติมตัวทำละลาย

  29. ตัวอย่างที่ 11 สารละลาย H2SO4เข้มข้น 0.8 โมลาร์ ปริมาตร 200 cm3ต้องการเตรียมเป็นสารละลายเข้มข้น 0.2 โมลาร์ จะต้องใช้สารละลายปริมาตรเท่าใดและต้องเติมน้ำอีกเท่าใด วิธีทำ จากสูตร M1V1 = M2V2 จะได้ 0.8 x 0.2 = 0.2 x V2 V2 = 0.8 dm3หรือ 800 cm3 เติมน้ำ 800 – 200 = 600 cm3 ได้สารละลายปริมาตร 800 cm3และต้องเติมน้ำอีก 600 cm3ตอบ

  30. การเตรียมสารละลาย 2.2 นำสารละลายซึ่งมีความเข้มข้นต่าง ๆ กันมาผสมกันแล้วเตรียมให้ เป็นสารละลายเจือจางลง แต่จำนวนของโมลตัวถูกละลายคงเดิม จำนวนโมลก่อนผสม = จำนวนโมลหลังผสม M1V1 + M2V2 = MรวมVรวม M1,M2คือ ความเข้มข้นก่อนผสม Mรวม คือ ความเข้มข้นหลังผสม V1,V2คือ ปริมาตรก่อนผสม Vรวม คือ ปริมาตรหลังผสม

  31. จาก n = g MW ตัวอย่างที่ 12 สารละลาย NaCl 0.2 โมลาร์ ปริมาตร 300 cm3นำมาเติมน้ำจนเป็น 1 dm3จงหา น้ำหนักเป็นกรัมของ NaCl ใน 300 cm3ของสารละลาย 0.2 โมลาร์ และน้ำหนักเป็น กรัมของ NaCl ใน 300 cm3ของสารละลายที่เติมน้ำแล้ว วิธีทำ หาน้ำหนักของ NaCl ในสารละลาย 0.2 โมลาร์ ปริมาตร 300 cm3 โมล = MV โมล = 0.2 x 0.3 = 0.06 mol จะได้ 0.06 = g 58.5 g = 3.51 กรัม ดังนั้น มวล NaCl เท่ากับ 3.51 กรัม

  32. M1 = 0.2 M V1 = 300 cm3 M2 = ? V2 = 1000 cm3 ตัวอย่างที่ 12 (ต่อ) หาน้ำหนักของ NaCl ในสารละลาย 300 cm3ที่เติมน้ำแล้ว จากสูตร M1V1 = M2V2จะได้ 0.2 x 0.3 = M2 x 1 M2 = 0.06 mol/l สารละลายหลังผสมมีความเข้มข้น 0.06 โมลาร์ เมื่อแบ่งมา 300 cm3ก็ยังมีความเข้มข้น 0.06 โมลาร์ เช่นเดิม

  33. แทนค่า จะได้ 0.018 = g 58.5 จาก n = g MW ตัวอย่างที่ 12 (ต่อ) จาก n = MV จะได้ n = 0.06 x 0.3 = 0.018 mol g = 1.053 กรัม ดังนั้น มวล NaCl เท่ากับ 1.053 กรัม ตอบ

  34. สมบัติบางประการของสารละลายสมบัติบางประการของสารละลาย ภายในสารละลายมีอนุภาคของตัวถูกละลายกระจายในตัวทำละลาย อย่างสม่ำเสมอ ทำให้สารละลายมีสมบัติบางประการแตกต่างจากตัวทำ ละลาย เรียกสมบัตินี้ว่า “สมบัติคอลลิเกทีฟของสารละลาย” 1. จุดเดือดของสารละลายสูงกว่าตัวทำละลายบริสุทธิ์ 2. จุดเยือกแข็งของสารละลายต่ำกว่าตัวทำละลายบริสุทธิ์

  35. Tb = Kb × m Tb = Kb × W2× 1000 MW W1 สมบัติคอลลิเกทีฟของสารละลาย 1.จุดเดือดของสารละลายสูงกว่าตัวทำละลายบริสุทธิ์ จากการศึกษาพบว่าจุดเดือดของสารละลายจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้น ของสารละลาย Tb = ผลต่างระหว่างจุดเดือดของ สารละลายและตัวทำละลายบริสุทธิ์ Kb = ค่าคงที่การเพิ่มขึ้นของจุดเดือดของตัวทำละลาย m = ความเข้มข้นในหน่วย mol/kg W1 = มวลตัวทำละลายในหน่วยกรัม W2 = มวลตัวถูกละลายในหน่วยกรัม MW = มวลโมเลกุลของตัวถูกละลาย

  36. Tf = Kf × m Tf = Kf × W2× 1000 MW W1 สมบัติคอลลิเกทีฟของสารละลาย 2.จุดเยือกแข็งของสารละลายต่ำกว่าตัวทำละลายบริสุทธิ์ จากการศึกษาพบว่าจุดเยือกแข็งของสารละลายจะลดลงตามความเข้มข้น ของสารละลาย Tf = ผลต่างระหว่างจุดเยือกแข็งของ สารละลายและตัวทำละลายบริสุทธิ์ Kf = ค่าคงที่การลดลงของจุดเยือกแข็งของตัวทำละลาย m = ความเข้มข้นในหน่วย mol/kg W1 = มวลตัวทำละลายในหน่วยกรัม W2 = มวลตัวถูกละลายในหน่วยกรัม MW = มวลโมเลกุลของตัวถูกละลาย

  37. Tb = Kb × W2× 1000 Tb = 0.51 × 15 × 1000 60 80 Tb = Tbสารละลาย – Tbตัวทำละลาย MW W1 ตัวอย่างที่ 13 เมื่อนำ CH3COOH หนัก 15 กรัม มาละลายในน้ำ 80 กรัม จงหาจุดเดือดของสารละลาย (Kb = 0.51) วิธีทำ จากสูตร แทนค่า = 1.59 ºC จาก 1.59 = Tbสารละลาย - 100 Tbสารละลาย = 101.59 ºC จุดเดือดของสารละลาย คือ 101.59 องศาเซลเซียส ตอบ

  38. Tb = Kb × W2× 1000 MW W1 ตัวอย่างที่ 14 เมื่อนำสาร X ซึ่งมีมวลโมเลกุล 60 หนัก 15 กรัม มาละลายในตัวทำละลาย Y หนัก 100 กรัม สารละลายที่ได้มีจุดเดือด 122.5 ºC ถ้าต้องการเตรียมสารละลายในตัวทำ ละลาย 100 กรัม ให้มีจุดเดือด 125 ºC จะต้องใช้สาร X หนักเท่าไร (กำหนดให้สาร Y มีจุดเดือด 120 ºC) วิธีทำ หา Kb ของสาร Y จะได้ 122.5 - 120 = Kb × 15 × 1000 60 100 Kb = 1

  39. 125 – 120 = 1 × W2× 1000 60 100 ตัวอย่างที่ 14 (ต่อ) หามวลของสาร X ที่ทำให้สารละลายมีจุดเดือด 125 ºC Tb = Kb × W2× 1000 จากสูตร MW W1 W1 = 30 g ดังนั้น ต้องใช้สาร X หนัก 30 กรัม ตอบ

  40. ร้อยละของธาตุ = มวลของธาตุ × 100 มวลโมเลกุล มวลเป็นร้อยละจากสูตร ร้อยละของธาตุในสารประกอบ หาได้จากสูตร

  41. ร้อยละของ H2O = มวลของ H2O × 100 มวลโมเลกุล ตัวอย่างที่ 15 จงหาร้อยละของ H2O ใน CuSO4 •5H2O วิธีทำ = 5 × 18 × 100 249.5 = 36.07 ดังนั้น ร้อยละของ H2O ใน CuSO4 •H2O เท่ากับ 36.07 ตอบ

  42. สูตรเอมพิริคัล (สูตรอย่างง่าย) มีหลักการดังนี้ 1.หามวลหรือร้อยละโดยมวลของธาตุองค์ประกอบแต่ละชนิด 2.นำมวลหรือร้อยละโดยมวลมาตั้งเป็นอัตราส่วนโดยมวลของธาตุ องค์ประกอบแต่ละชนิด 3.หาอัตราส่วนโดยโมลอะตอมโดยให้นำมวลอะตอมของธาตุ องค์ประกอบแต่ละชนิดมาหารมวลหรือร้อยละโดยมวลของาตุอลค์ ประกอบนั้น

  43. สูตรเอมพิริคัล (สูตรอย่างง่าย) 4.ปรับอัตราส่วนในข้อ 3 ให้เป็นอัตราส่วนอย่างต่ำ โดยนำเลขที่น้อย ที่สุดขององค์ประกอบมาหารทั้งหมด 5.ถ้าอัตราส่วนที่ได้ในข้อ 4 ไม่เป็นเลขลงตัว ให้นำเลขใดๆมาคุณตลอด เพื่อให้ได้อัตราส่วนอย่างต่ำ 6.นำอัตราส่วนอย่างต่ำที่ได้ในข้อ 5 มาแทนเป็นเลขจำนวนอะตอมของ ธาตุต่าง ๆ จะได้สูตรเอมพิริคัลหรือสูตรอย่างง่าย

  44. ตัวอย่างที่ 16 โลหะ M มีมวลอะตอม 200 เมื่อนำมาเผากับกำมะถันที่มากเกินพอ ปรากฏว่าโลหะ M หนัก 16 กรัม ให้สารประกอบหนัก 19.84 กรัม จงหา สูตรเอมพิริคัล มวลสารประกอบ = มวล M : มวล S วิธีทำ 19.84 = 16 : มวล S มวล S = 3.84 g หาอัตราส่วนโดยมวล M : S = 16 : 3.84 M : S = 16 : 3.84 หาอัตราส่วนโดยโมล

  45. ต้วอย่างที่ 16 (ต่อ) M : S = 16 : 3.84 หาอัตราส่วนโดยโมล 200 32 = 0.08 : 0.12 0.08 0.08 = 1 : 1.5 นำ 2 มาคูณเพื่อให้เป็นตัวเลขที่ลงตัว = 2 : 3 ดังนั้น สูตรเอมพิริคัล คือ M2S3ตอบ

  46. ตัวอย่างที่ 17 สารอินทรีย์ชนิดหนึ่งประกอบด้วย C , H , O ถ้าเผาสารอินทรีย์หนัก 2 กรัม ในอากาศจะได้แก๊ส CO2 4.4 กรัม และ H2O 2.4 กรัม จงหาสูตรอย่างง่ายของสารอินทรีย์นี้ วิธีทำ สารอินทรีย์ CO2 + H2O 2 g 4.4 g 2.4 g หามวลของ C ใน CO2 4.4 g CO2 44 g มี C หนัก 12 g CO2 4.4 g มี C หนัก 12x4.4 = 1.2 g 44

  47. ตัวอย่างที่ 17 (ต่อ) หามวลของ H ใน H2O 2.4 g H2O 18 g มี H หนัก 2 g H2O 2.4 g มี H หนัก 2 x 2.4 = 0.267 g 18 หามวลของ O หามวลของ O = มวลสารอินทรีย์ – มวล C – มวล H = 2 – 1.2 – 0.267 = 0.533 อัตราส่วนโดยมวล C : H : O = 1.2 : 0.267 : 0.533

  48. ตัวอย่างที่ 17 (ต่อ) 1.2 : 0.267 : 0.533 อัตราส่วนโดยโมลอะตอม C : H : O 12 1 16 = 0.1 : 0.267 : 0.033 0.033 0.033 0.033 = 3 : 8 : 1 ดังนั้น สูตรเอมพิริคัล คือ C3H8O ตอบ

  49. การคำนวณสูตรโมเลกุล (สูตรเอมพิริคัล)n = สูตรโมเลกุล มีหลักการดังนี้ 1.ให้นำจำนวนอะตอมของธาตุคูณกับมวลของธาตุนั้นๆ 2.นำตัวที่ที่ได้จากข้อ 1 มารวมกัน เพื่อแก้สมการหา n

  50. ตัวอย่างที่ 18 สารชนิดหนึ่งมีสูตรอย่างง่ายเป็น PNCl2ถ้าสารชนิดนี้มีมวลโมเลกุล 344 จงหาสูตรโมเลกุลของสารนี้ (สูตรเอมพิริคัล)n = สูตรโมเลกุล วิธีทำ (PNCl2)n = สูตรโมเลกุล (31×n)+(14×n)+(35.5×2×n) = 344 31n + 14n + 71n = 344 116n = 344 n = 3 ดังนั้น สูตรโมเลกุล คือ P3N3Cl6ตอบ

More Related