180 likes | 398 Views
CAMT. 2. Assignment. หลักการการวิจัยการจัดการความรู้ (Principles of Knowledge Management Research) KM704. Ratchapong Horchairat No 542132031. CAMT. การพัฒนาระบบสารสนเทศ คลังความรู้ชุมชน เพื่อการจัดการความรู้ สำหรับการช่วยเหลือฟื้นฟู ผู้ประสบภัยน้ำท่วมหลังน้ำลด จังหวัดเชียงใหม่.
E N D
CAMT 2 Assignment หลักการการวิจัยการจัดการความรู้ (Principles of Knowledge Management Research) KM704 Ratchapong Horchairat No 542132031
CAMT การพัฒนาระบบสารสนเทศ คลังความรู้ชุมชน เพื่อการจัดการความรู้ สำหรับการช่วยเหลือฟื้นฟู ผู้ประสบภัยน้ำท่วมหลังน้ำลด จังหวัดเชียงใหม่ Ratchapong Horchairat No 542132031
CAMT การทบทวนวรรณกรรม Ratchapong Horchairat No 542132031
CAMT (ศิริขวัญ ศรีทับทิม,2552) ได้ศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบการรวบรวมความรู้ด้านคหกรรมศาสตร์ กรณีศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อการจัดบรรยากาศและเครื่องอำนวยความสะดวกให้ นักวิชาการ ครู-อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชุมชน และประชาชน สามารถเข้าถึงเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาคหกรรมศาสตร์ได้อย่างสะดวกผ่านทางวิธีการด้านอิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาระบบเป็นรูปแบบของ Web Application เป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพ 3 ด้าน คือ ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โดยแบ่งระบบย่อยเป็น 5 ระบบ ได้แก่ 1) ข่าว 2) ชุมชนคนทำงาน 3) ภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) ผลิตภัณฑ์ชุมชน 5) กระทู้ ถาม-ตอบ และแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้ดูแลระบบ สมาชิก และบุคคลทั่วไป ผลการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงใจของผู้ใช้ต่อความสามารถเผยแพร่ และรวบรวมความรู้จากภูมิปัญญาได้ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.01 Ratchapong Horchairat No 542132031
CAMT (มาโนชญ์ ตนสิงห์, 2552) ได้ศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการติดตามโครงการ/กิจกรรม ตามแผนปฏิบัติการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การติดตามโครงการ การอนุมัติโครงการ และลดการพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ระบบพัฒนาขึ้นบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็กซพี โปรเฟสชันแนล เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาประกอบด้วย โปรแกรมไมโครซอฟท์ วิชวลสตูดีโอ ดอตเน็ต เวอร์ชัน 2005 สำหรับติดต่อผู้ใช้งานและประมวลผลข้อมูล โปรแกรมไมโครซอฟท์ เอสคิดวแอล เซิร์ฟเวอร์ 2005 สำหรับระบบฐานข้อมูล ผลการศึกษาจากผู้ใช้ระบบ 12 คน จากแบบสอบถาม พบว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 4.22 แสดงว่าระบบที่พัฒนาชิ้นนี้ใช้งานได้จริงและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด Ratchapong Horchairat No 542132031
CAMT (สิริลักษณ์ ไชยวงศ์, 2552)ได้ศึกษาการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการกองทุนหมู่บ้าน ป่าพร้าวนอก ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการออกแบบพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน การจัดเก็บข้อมูล การกู้ยืมเงินของสมาชิ การจัดการรายได้ และค่าใช้จ่าย การจัดสรรเงินกำไร การคำนวณเงินปันผล และการออกรายงานทางบัญชี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาการสืบค้นและการสูญหายของข้อมูลด้วย ผลการศึกษา การประเมินการทำงานของระบบจากคณะกรรมการ กองทุนหมู่บ้านจำนวน 5 คน และสมาชิกกองทุนจำนวน 32 คน พบว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 3.72 คือระบบสามารถใช้งานได้จริงและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ Ratchapong Horchairat No 542132031
CAMT (พิไลพร ฟุ่มเฟือย, 2552) ได้ศึกษาเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศของร้านม่อนทรายคำ จังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาออกแบบและพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทางร้านค้า ทำให้สามารถนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งประกอบไปด้วยระบบการทำงานหลัก 10 ระบบได้แก่ ระบบงานดูแลระบบ ระบบงานซื้อวัตถุดิบ ระบบงานข้อมูลพื้นฐาน ระบบงานสินค้าคงคลัง ระบบงานข้อมูลลูกค้า ระบบงานขายสินค้า ระบบงานการเงิน ระบบงานบุคลากร ระบบงานรายงานสารสนเทศและระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการตั้งราคาขาย ผลการศึกษา โดยการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มผู้ใช้งานระบบ 10 คน พบว่าระดับความพึงพอใจมีค่า 3.92 ซึ่งอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพในการทำงานมาก Ratchapong Horchairat No 542132031
CAMT (ธนกร เคหา, 2551)ได้ศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศของฟาร์มสุกร ภาควิชาเทคโนโลยีทางสัตว์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยใช้ระบบสารสนเทศสามารถสนับสนุนรายงานและการจัดการฟาร์มสุกรของสาขาสุกรภาควิชาเทคโนโลยีทางสัตว์ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดมาตรฐานฟาร์มสุกร ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย กระบวนการหลักของระบบสารสนเทศ 4 กระบวนการคือ ระบบสำหรับผู้บริหาร ส่วนการจัดการระบบ ส่วนของการบันทึก/แก้ไข/ลบข้อมูล และระบบรายงาน สำหรับรูปแบบของระบบเป็นการดำเนินการบนระบบเครือข่ายภายใน ที่ง่ายต่อการใช้ระบบ ผลการศึกษา พบว่า รายงานผลจากระบบที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน ระบบใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ผู้ใช้งานเข้าใจการใช้ระบบได้อย่างรวดเร็ว Ratchapong Horchairat No 542132031
CAMT (ประยูร แก้วมา, 2551) ได้ศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนบ้านกาดวิทยาคม อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการพัฒนาระบบได้กำหนดผู้ใช้งานเป็น 4 กลุ่ม คือ ผู้ดูแลระบบ เจ้าที่ธุรการ ผู้บริหารและบุคลากร ผู้ใช้งานแต่ละกลุ่มได้รับสิทธิ์การใช้งานในระบบที่แตกต่างกัน และระบบสารสนเทศนี้พัฒนาขึ้นด้วยภาษาพีเอชพีในรูปเว็บแอพพลิเคชั่น จากการประเมินความพึงใจ ของผู้ใช้ระบบจำนวน 35 คน พบว่ามีผู้ใช้ความพึงพอใจระดับมากที่สุด Ratchapong Horchairat No 542132031
CAMT (กรณ์ดนัย วิทยานุการุณ, 2551) ได้ศึกษาเรื่องการออกแบบสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้เรื่องเรือนกาแลให้เป็นหมวดหมู่ โดยการดำเนินงานเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกเป็นการเก็บความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน โดยการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ ข้อมูลเหล่านี้นำมาจัดหมวดหมู่พร้อมกับข้อมูลที่จัดเก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูล และทำการประเมินคุณภาพสารสนเทศที่ได้ โดยขอความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยช่วงที่ 2 นี้ใช้การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการร่วมกับแบบประเมินคุณภาพสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้เรื่องกาแล ผลการศึกษา การประเมินคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ผลการประเมินเท่ากับ 4.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 0.28 สรุปได้ว่าเป็นกระบวนการที่สามารถนำไปใช้ได้และเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลเพื่อการศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาเรื่องเรือนกาแลได้ Ratchapong Horchairat No 542132031
CAMT (ภคณัฐฌายีเนตร, 2551) ได้ศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบต้นแบบการจัดการความรู้สำหรับฝ่ายบริหาร โครงข่ายจังหวัดลำปาง บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน วิธีการศึกษามี 6 ชั้นตอนคือ 1) การวางแผนกลยุทธ์การจัดการความรู้ขององค์กร 2) การศึกษากลุ่มเป้าหมาย พนักงานในฝ่ายงานบำรุงรักษา โครงข่ายจังหวัดลำปาง จำนวน 36 คน 3) การรวบรวมเอกสาร 4) การออกแบบและพัฒนาระบบต้นแบบการจัดการความรู้ 5) การนำไปใช้งานและการแบ่งปันความรู้ 6) การประเมินผลเว็บไซต์ ผลการศึกษาในภาพรวมพบว่ากลุ่มผู้ใช้มีความรู้และทักษะในการทำงานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง และเต็มใจที่จะถ่ายทอดความรู้ของตนเองออกมาหากเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประสิทธิภาพของบริษัทและจากการประเมินผลเว็บไซต์กลุ่มผู้ใช้มีความเห็นว่าจะต้องปรับปรุงในส่วนประกอบที่ใช้ดึงดูดผู้ใช้แต่ละกลุ่ม Ratchapong Horchairat No 542132031
CAMT (อรวรรณ อุทัยมณีรัตน์, 2551)ได้ศึกษาการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงาน ด้านกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านกิจการนักศึกษาและผู้ใช้บริการด้านกิจการนักศึกษา สำนักกิจการนักศึกษา ปีการศึกษา 2549 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบลึก วิเคราะห์ข้อมูลที่มีเป็นลักษณะของการบรรยาย ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา เพื่ออธิบายผลการศึกษาตามความเป็นจริงถึงการจัดการความรู้เพื่อการปฏิบัติงานด้านกิจการนักศึกษา ยังเป็นลักษณะของการทำงานแบบลองผิดลองถูก เพื่อหาวิธีการในการทำงาน และพัฒนาวิธีการปฏิบัติงานให้ดีที่สุด โดยมีวิธีการทำงานที่มีการปรับปรุงรูปแบบในการทำงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ วิธีการแสวงหาความรู้ใหม่ จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ที่มีการจดบันทึกอยู่ตลอดเวลา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้แก่หน่วยงาน Ratchapong Horchairat No 542132031
CAMT (สุรศักดิ์ สันติสถิตพงศ์, 2551) ได้ศึกษา เรื่องการนำระบบจัดการองค์ความรู้เข้ามาช่วยให้การจัดกิจกรรมและการดำเนินงานต่าง ๆ ของโครงการศูนย์พัฒนาเด็กคริสตจักรเวียงทอง โดยการพัฒนาระบบจัดการความรู้เพื่อใช้สำหรับแลกเปลี่ยนและแบ่งปันในองค์กร 4 ส่วน คือ 1) ระบบการจัดการองค์ความรู้ในรูปแบบแผนภาพ 2) ระบบคลังข้อมูล 3) ระบบการแบ่งปันความรู้ 4) การนำระบบควบคุมต้นฉบับและระบบกฎการตั้งชื่อ ผลการศึกษา การพัฒนาระบบ โดยใช้วงจรชีวิตการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Incremental Model จุดสำคัญของการพัฒนาระบบคือ การวางแผนการพัฒนาระบบ ผู้บริหารโครงการจะต้องบริหารเวลาสำหรับการพัฒนาระบบ ซึ่งวิธีนี้จะต้องแบ่งการพัฒนาออกเป็นหลาย ๆ ส่วน (ระบบย่อย) Ratchapong Horchairat No 542132031
CAMT (ไกลสน แตงโสภา, 2551) ได้ศึกษา เรื่องการระบบสารสนเทศงานสาธารณสุข คือ เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลที่พัฒนาให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบงานต่าง ๆ ของโรงพยาบาล โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) ค้นหาความต้องการ 2) การวิเคราะห์ 3) การออกแบบและสร้างระบบ 4) การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา 5) การนำออก ผลการศึกษา โดยการทดสอบการใช้งานกรณีศึกษาของโรงพยาบาลดอยสะเก็ด โดยได้ทดสอบกับระบบบริหารจัดการคลังยาและวัสดุการแพทย์ พบว่าระบบสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการวางแผนทางด้านสาธารณสุขของโรงพยาบาลดอยสะเก็ดได้ Ratchapong Horchairat No 542132031
CAMT (ศรณ์พชร ดวงแก้ว, 2550) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศให้สามารถจัดเก็บข้อมูล ประมวลผล รับส่งข้อมูล และการรายงานข้อมูล ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนการใช้งานของผู้บริหารของสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดลำปาง ให้ทราบสถานการณ์และสนับสนุนการใช้งานของประชาชนทั่วไป ให้สามารถเข้าถึงข้อมูล เนื้อหาวิชาการ ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและทราบอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในจังหวัดลำปาง ผลการศึกษา จากผู้ใช้งานจำนวน 44 คน เป็นที่พึงพอใจการใช้งานและประสิทธิภาพของระบบโดยเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ระดับดี Ratchapong Horchairat No 542132031
CAMT (เมฆิน มะโนแก้ว, 2550) ได้ศึกษา เรื่องการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำท่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยการใช้แบบสอบถาม จำนวน 390 คน ผลการศึกษา คือ 1) ข้อจำกัดและแนวทางการแก้ไขปัญหา 2) ประชาชนได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ในระดับสูง 3) ประชาชนกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าวิธีการป้องกนและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมาอยู่ในระดับดี 4) ประชาชนกลุ่มตัวอย่างแสดงความเห็นด้วยกับแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขององค์กรบริหารส่วนตำบลป่าแดดในอนาคต ในระดับมาก Ratchapong Horchairat No 542132031
CAMT (ธันยพร วณิชฤทธา, 2550) ได้ศึกษา การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชน จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อศึกษา รูปแบบการจัดการความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชน มีองค์ประกอบและขั้นตอนอย่างไร กระบวนการจัดการความรู้สอดคล้องกับแบบจำลองปลาทูหรือไม่ ชุมชนมีกระบวนการจัดการความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างไร โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 44 คน ผลการศึกษา พบว่ารูปแบบการจัดการความรู้ในชุมชน มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ความรู้ คน และกระบวนการ ความรู้คือความรู้ที่เกี่ยวกับการจัดการ โดยมี คนเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้เกิดกระบวนการหรือกิจกรรมต่าง ๆ และกระบวนการจึงเป็นวิธีเชื่อมประสาน คน ความรู้และกระบวนการเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งรูปแบบการจัดการความรู้มีความสอดคล้องกับแบบจำลองปลาทู (TUNA Model) อย่างยิ่ง และกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชนที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านการพูดคุยแต่สิ่งดีๆ ให้แก่กัน Ratchapong Horchairat No 542132031
CAMT (ภรัณยา อำมฤครัตน์, 2549) ได้ศึกษา การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม” การดำเนินการวิจัยได้พัฒนา โดยมีขั้นตอน 5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ การออกแบบ การสร้างและพัฒนา การทดสอบระบบ การวิเคราะห์ และการประเมินผล โดยใช้เทคนิคการออกแบบคลังข้อมูลแบบสตาร์ จัดเก็บข้อมูลโดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ MySQL ใช้โปรแกรมภาษา PHP ในกรติดต่อกับผู้ใช้และกับฐานข้อมูล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในมี 2 กลุ่ม จำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่ามีประสิทธิภาพในระดับดี Ratchapong Horchairat No 542132031