570 likes | 1.35k Views
บทที่ 4 ทฤษฏีพฤติกรรมผู้บริโภค. อรรถประโยชน์ ทฤษฏีอรรถประโยชน์ ทฤษฏีเส้นความพอใจเท่ากัน ความพอใจส่วนเกินของผู้บริโภค. 4.1 อรรถประโยชน์ (Utility). 4.1.1 ความหมายของอรรถประโยชน์.
E N D
บทที่ 4 ทฤษฏีพฤติกรรมผู้บริโภค อรรถประโยชน์ ทฤษฏีอรรถประโยชน์ ทฤษฏีเส้นความพอใจเท่ากัน ความพอใจส่วนเกินของผู้บริโภค
4.1 อรรถประโยชน์ (Utility) 4.1.1 ความหมายของอรรถประโยชน์ อรรถประโยชน์ หมายถึง อำนาจของสินค้าและบริการที่สามารถสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ หรือเป็นความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งในระยะเวลาหนึ่ง • สินค้าและบริการจะให้อรรถประโยชน์แก่ผู้บริโภคได้เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการในสินค้าเกิดขึ้น • สินค้าต่าง ๆ จะให้อรรถประโยชน์แก่ผู้บริโภคได้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระดับความต้องการของผู้บริโภค กล่าวคือ • ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามาก อรรถประโยชน์จะสูง • ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าน้อย อรรถประโยชน์จะต่ำ
4.1.2 ข้อสังเกตเกี่ยวกับอรรถประโยชน์ • ประโยชน์กับอรรถประโยชน์มีความแตกต่างกัน • อรรถประโยชน์ของสินค้าแต่ละชนิดที่ผู้บริโภคได้รับเหมือนกันอาจไม่เท่ากัน • อรรถประโยชน์ที่ผู้บริโภคแต่ละรายได้รับจากการบริโภคสินค้าชนิดเดียวกันจะไม่เท่ากัน • อรรถประโยชน์ของผู้บริโภคคนเดียวกันที่จะได้รับจากการบริโภคสินค้าชนิดเดียวกัน อาจจะไม่เท่ากันหากเป็นคนละระยะเวลา 4.1.3 ชนิดของอรรถประโยชน์ อรรถประโยชน์ที่นับหน่วยได้ (Cardinal Utility) อรรถประโยชน์ที่นับเป็นหน่วยไม่ได้ (Ordinal Utility) • ทฤษฎีที่อธิบายพฤติกรรมของผู้บริโภค • ทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utility Theory) • ทฤษฎีเส้นความพอใจเท่ากัน (Indifference Curve Theory)
4.2 ทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utility Theory) • ข้อสมมติฐานการวิเคราะห์ • อรรถประโยชน์จากการบริโภคนับเป็นหน่วยได้ เป็น “UTIL” (Cardinal Utility) • ผู้บริโภคจะเป็นผู้บริโภคที่มีเหตุผล (Rational Consumer) คือจะเลือกโดยแสวงหาความพอใจสูงสุดเท่าที่จะทำได้จากรายได้ที่มีอยู่ จำกัด • ผู้บริโภคต้องมีความรู้ในเรื่องของราคาและคุณภาพของสินค้าที่เขาจะตัดสินใจเลือก • สินค้าสามารถแยกเป็นหน่วยย่อย ๆ ได้ • กำหนดให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่ เช่น รายได้ รสนิยม และราคาสินค้าอื่นๆ
4.2.1 อรรถประโยชน์รวมและอรรถประโยชน์หน่วยท้ายสุด • (Total Utility and Marginal Utility) • อรรถประโยชน์รวม(Total Utility:TU) • ผู้บริโภคดื่มน้ำแก้วแรก ได้อรรถประโยชน์ 10 ยูทิล • ผู้บริโภคดื่มน้ำแก้วสอง ได้อรรถประโยชน์ 8 ยูทิล อรรถประโยชน์รวม(TU) เท่ากับ 18 ยูทิล • อรรถประโยชน์หน่วยท้ายสุด (Marginal Utility:MU) • ผู้บริโภคดื่มน้ำแก้วแรก ได้อรรถประโยชน์ รวม 10 ยูทิล • ผู้บริโภคดื่มน้ำแก้วสอง ได้อรรถประโยชน์ รวม 18 ยูทิล อรรถประโยชน์หน่วยท้ายสุด (MU) เท่ากับ 8 ยูทิล MU1 = TU1 – TU0 MU = TU X การหาค่า MU ในกรณีที่บริโภคครั้งละหลายหน่วย
สรุปความสัมพันธ์ของ TU และ MU ได้ดังนี้ TU 24 22 21 17 TU 10 4 QX 0 1 2 3 5 4 6 7 MU 7 6 5 4 2 QX 0 4 5 1 2 3 7 6 –3 MU • TU และ MU สำหรับการบริโภคสินค้าหน่วยแรกๆ มีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ • เมื่อ MU เป็นบวก TU จะมีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ • เมื่อ MU เป็นศูนย์ TU จะมีค่าสูงสุด • เมื่อ MU เป็นลบ TU จะมีค่าลดลงเรื่อย
ความสัมพันธ์ของ TU และ MU เป็นไปตามกฎแห่งการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์หน่วยท้ายสุด (Law of Diminishing Marginal Utility) ในช่วงที่ MU มีค่าลดลง คือตั้งแต่หน่วยที่ 3 เป็นต้นไป • กฎนี้มีว่า “เมื่อผู้บริโภคได้รับสินค้าหรือบริการมาบำบัดความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทีละหน่วย อรรถประโยชน์หน่วยท้ายสุดของสินค้าหรือบริการนั้นจะลดลงตามลำดับ” MU = TU = dTU X dx MU คือความชัน (Slop) ของเส้น TU ตัวอย่างการหา MU จากสมการ TU TU = 10X - X2 MU = 10 – 2X
4.2.2 ดุลยภาพของผู้บริโภควิเคราะห์โดยทฤษฎีอรรถประโยชน์ ดุลยภาพของผู้บริโภค (Consumer’s Equilibrium) • หมายถึง สภาวการณ์ที่ผู้บริโภคได้รับความพอใจสูงสุด จากการเลือกบริโภคสินค้าหรือบริการ จากรายได้ที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งเป็นปริมาณที่เหมาะสมที่สุดที่ไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงไปอีก • ดุลยภาพของผู้บริโภค แยกเป็น 4 กรณี คือ • กรณีซื้อสินค้าเพียงชนิดเดียว • กรณีซื้อสินค้า 2 ชนิด • สินค้า 2 ชนิด มีราคาเท่ากัน • สินค้า 2 ชนิด มีราคาไม่เท่ากัน • สินค้ามากกว่า 2 ชนิด
การแสวงหาความพอใจสูงสุดจากการเลือกบริโภคสินค้า 1 ชนิด ผู้บริโภคจะมีความพอใจสูงสุดโดยการเปรียบเทียบอรรถประโยชน์หน่วยท้ายสุดที่ได้จากการบริโภคสินค้านั้นกับ MU ของเงินที่ต้องเสียไปจากการซื้อสินค้านั้น เงื่อนไขดุลยภาพของผู้บริโภค MUx = MUm ตัวอย่างถ้าราคา X หน่วยละ 1 บาท และ MUm ของเงิน 1 บาท เท่ากับ 2 Utils และมีตารางข้อมูลการแสวงหาความพอใจสูงสุดในการเลือกบริโภค X หาก X มีราคาลดลงเป็นหน่วยละ 0.50 บาท ผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงการบริโภค X ใหม่ เพื่อให้ได้ดุลยภาพ จาก 3 หน่วยเป็น 4 หน่วย
จากการเลือกบริโภคสินค้าชนิดเดียวที่ได้รับความพอใจสูงสุด นำราคา X กับปริมาณการบริโภค X มาแสดงความสัมพันธ์ในรูปตาราง และกราฟ P 1 0.50 D Q 0 4 3 ความสัมพันธ์เป็นไปตามกฎของอุปสงค์ เส้น D คือเส้นอุปสงค์ส่วนบุคคล
การแสวงหาความพอใจสูงสุดจากการเลือกบริโภคสินค้าหลายชนิด 1. สินค้า 2 ชนิด มีราคาเท่ากัน ผู้บริโภคจะมีความพอใจสูงสุดโดยการเปรียบเทียบอรรถประโยชน์หน่วยท้ายสุดที่ได้จากการบริโภคสินค้า 2 ชนิด MUX = MUY เงื่อนไขดุลยภาพของผู้บริโภค โดยใช้งบประมาณทั้งหมด ตัวอย่าง ผู้บริโภคคนหนึ่งมีรายได้ 10 บาท มีสินค้า 2 ชนิด คือ X และ Y ให้ตัดสินใจเลือก ภายใต้งบประมาณจำกัดที่มีอยู่ โดยราคาสินค้าทั้ง 2 ชนิดมีราคาเท่ากัน คือ หน่วยละ 1 บาท
1. X = 7, Y = 7 ใช้เงิน 14 บาท ได้ TU = 119 util 2. X = 6, Y = 4 ใช้เงิน 10 บาทได้ TU = 113 util 3. X = 5, Y = 2 ใช้เงิน 7 บาท ได้ TU = 94 util MUx = MUy สรุป ผู้บริโภคจะได้ความพึงพอใจ (อรรถประโยชน์รวม) สูงสุด และมีเงินพอ โดยซื้อ X = 6, Y=4
การแสวงหาความพอใจสูงสุดจากการเลือกบริโภคสินค้าหลายชนิด 2. สินค้า 2 ชนิด มีราคาไม่เท่ากัน ผู้บริโภคจะมีความพอใจสูงสุดโดยการเปรียบเทียบอรรถประโยชน์หน่วยท้ายสุดที่ได้รับต่อราคาสินค้าชนิดนั้น ของสินค้า 2 ชนิด MUX = MUY Px Py เงื่อนไขดุลยภาพของผู้บริโภค โดยใช้งบประมาณทั้งหมด ตัวอย่าง ผู้บริโภคคนหนึ่งมีรายได้ 10 บาท มีสินค้า 2 ชนิด คือ X และ Y ให้ตัดสินใจเลือก ภายใต้งบประมาณจำกัดที่มีอยู่ โดยราคา X หน่วยละ 3 บาท และราคา Y หน่วยละ 1บาท
1. X = 1, Y = 3 ใช้เงิน 6 บาท ได้ TU = 47 util 2. X = 2, Y = 4 ใช้เงิน 10 บาทได้ TU = 71 util 3. X = 4, Y = 5 ใช้เงิน 17บาท ได้ TU = 102 util 4. X = 6, Y = 6 ใช้เงิน 24 บาท ได้ TU = 119 util 5. X = 7, Y = 7 ใช้เงิน 28 บาท ได้ TU = 119 util 6. X = 8, Y = 8 ใช้เงิน 32 บาท ได้ TU = 111 util MUx = MUy Px Py สรุป ผู้บริโภคจะได้ความพึงพอใจ (อรรถประโยชน์รวม) สูงสุด และมีเงินพอ โดยซื้อ X = 2, Y=4
จากการเปลี่ยนแปลงราคา X แสดงความสัมพันธ์ของราคาและปริมาณซื้อ X เป็นตาราง และเส้นอุปสงค์ส่วนบุคคลในการซื้อ X ได้ Px Qx 1 6 3 2 P 3 1 D Q 0 6 2
การแสวงหาความพอใจสูงสุดจากการเลือกบริโภคสินค้าหลายชนิด 3. สินค้ามากกว่า 2 ชนิด ผู้บริโภคจะมีความพอใจสูงสุดโดยการเปรียบเทียบอรรถประโยชน์หน่วยท้ายสุดที่ได้รับต่อราคาสินค้าชนิดนั้น ของสินค้าทุกชนิดที่เลือกบริโภค MUA = MUB = MUC = … = MUn PA PBPC Pn เงื่อนไขดุลยภาพของผู้บริโภค ในการบริโภคสินค้า n = ชนิด โดยใช้งบประมาณทั้งหมด และในกรณีที่กำหนด MU ของเงินมาให้ ดุลยภาพของผู้บริโภค คือ MUA = MUB = MUC = … = MUn = MUm PA PBPC Pn Pm โดยใช้งบประมาณทั้งหมด
การหาอุปสงค์ไขว้จากดุลยภาพการบริโภคการหาอุปสงค์ไขว้จากดุลยภาพการบริโภค นำความสัมพันธ์ของราคา X กับปริมาณการบริโภค Y โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆ คงที่ มาแสดงเป็นอุปสงค์ไขว้ของ Y Px Dc 3 1 Qy 0 4 เส้น Dc เป็นเส้นตั้งฉาก แสดงว่าสินค้า X และ Y ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
การหาอุปสงค์ต่อรายได้จากดุลยภาพการบริโภคการหาอุปสงค์ต่อรายได้จากดุลยภาพการบริโภค นำความสัมพันธ์ของรายได้หรือเงินงบประมาณที่มี กับปริมาณการบริโภค X โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆ คงที่ จะเป็นอุปสงค์ต่อรายได้ของ X ตัวอย่างเดิม เมื่อผู้บริโภคมีรายได้ 10 บาท ดุลยภาพเกิดขึ้นโดยซื้อ X = 2 หน่วย และ Y = 4 หน่วย หากรายได้ของผู้บริโภคเพิ่มเป็น 17 บาท ในขณะที่ราคา X และ Y ยังคงเดิม ดุลยภาพของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไป โดย บริโภค X = 4 หน่วย, Y = 5 หน่วย ใช้รายได้หมด 17 บาทพอดี นำตัวเลขในตารางมาสร้างเส้นอุปสงค์ต่อรายได้ของสินค้า X และ Y Y(รายได้) Y(รายได้) DX DY 17 17 10 10 Px =3 ,Py = 1 Qy Qx 0 4 2 4 5 0 สินค้า X และ Y เป็นสินค้าปกติ (Normal goods)
4.1 ทฤษฎีเส้นความพอใจเท่ากัน (Indifference Curve Theory) Hicks เสนอแนวคิดว่า อรรถประโยชน์ที่ได้รับจากการบริโภคสินค้าไม่สามารถนับออกมาเป็นหน่วยได้ แต่สามารถลำดับความพอใจที่ได้รับจากการบริโภคสินค้าได้ว่ามีมากน้อยกว่ากัน จึงเรียกอรรถประโยชน์แบบนี้ว่า Ordinal Utility โดยมีเส้นความพอใจเท่ากัน (Indifference Curve) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ • การวิเคราะห์ตามทฤษฎีเส้นความพอใจเท่ากัน อยู่ภายใต้สมมติฐาน 3 ประการ คือ • 1. ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบความพอใจและเรียงลำดับความพอใจโดยบอกได้ว่ามีความพอใจในส่วนผสมของสินค้าชุดหนึ่ง มากกว่าหรือน้อยกว่าหรือเท่ากับส่วนผสมอื่นๆ เช่น ชอบส่วนผสม A มากกว่า ส่วนผสมของ B หรือชอบส่วนผสมของ มากกว่าส่วนผสมของA หรือชอบส่วนผสมของ A เท่ากับส่วนผสมของ B • 2. แบบแผนความพอใจของผู้บริโภคมีความสอดคล้องและต่อเนื่องกันเช่นชอบส่วนผสม A > B แต่ชอบส่วนผสม B > C แสดงว่าต้องชอบส่วนผสม A > C ด้วย • 3. ส่วนผสมของสินค้าที่มีปริมาณสินค้ามากขึ้นกว่าส่วนผสมเดิม ต้องให้ความพอใจแก่ผู้บริโภคในระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิมเสมอ
4.3.1 เส้นความพอใจเท่ากัน (Indifference Curve: IC) เส้น IC หมายถึง เส้นที่แสดงส่วนผสมของสินค้า 2 ชนิดในสัดส่วนต่างๆ ที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจเท่ากัน ตารางแสดงความพอใจเท่ากัน(Indifference Schedule) เป็นตารางที่แสดงส่วนผสมต่างๆ ของสินค้า 2 ชนิดที่ให้ความพอใจแก่ผู้บริโภคเท่ากัน โดยสมมติให้ผู้บริโภคบริโภคสินค้า 2 ชนิด คือ X และ Y ซึ่งมีส่วนผสมของ X และ Y ในสัดส่วนต่างๆ
Y A 30 B 18 C 13 D 10 E F 8 IC 7 X 0 5 30 25 15 20 10 การทดแทนกันของสินค้า 2 ชนิด ที่ให้ระดับความพอใจเท่าเดิม เป็นไปตาม Law of Diminishing Marginal Utility คือ เมื่อบริโภคสินค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ MU ที่ได้รับจากการบริโภคสินค้าจะลดลงเรื่อย ๆ เพราะเมื่อเริ่มบริโภค ความพอใจที่ได้รับจะสูงมาก ในหน่วยแรกๆ จึงยินดีสละสินค้าอีกชนิดหนึ่งจำนวนมากเพื่อแลกกับการบริโภคสินค้านี้ 1 หน่วย แต่เมื่อบริโภคสินค้านี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความพอใจที่ได้รับจะค่อยๆ ลดลง ผู้บริโภคจึงยินดีสละสินค้าอีกชนิดหนึ่งน้อยลง เพื่อแลกสินค้านี้ 1 หน่วย เส้นความพอใจเท่ากันโค้งเว้าเข้าหาจุด origin
แผนภาพความพอใจเท่ากัน (Indifference Map) • เส้น IC ของผู้บริโภคคนหนึ่งจะมีได้หลายเส้นตามระดับความพอใจของผู้บริโภคที่มีหลายระดับ ชุดของเส้น IC ของผู้บริโภค เรียกว่า แผนภาพความพอใจเท่ากัน (Indifference Map) Y IC3 IC2 IC1 X 0
คุณสมบัติของเส้นความพอใจเท่ากันคุณสมบัติของเส้นความพอใจเท่ากัน • เส้น IC เป็นเส้นตรงหรือโค้ง ที่ทอดลงจากซ้ายไปขวา (มีความชันเป็นลบ) แสดงถึงการที่ได้สินค้าชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น ต้องเสียสละสินค้าอีกชนิดหนึ่งลดลง ความพอใจจึงจะเท่าเดิม slope ของเส้น IC เรียกว่าอัตราหน่วยท้ายสุดของการทดแทนของสินค้า 2 ชนิด (Marginal Rate of Substitution: MRS) • เส้น IC ที่อยู่ทางขวามือ แสดงความพอใจของผู้บริโภคที่สูงกว่าเส้นที่อยู่ทางซ้าย • เส้น IC ในแต่ละเส้นต้องต่อเนื่องกันตลอดไม่ขาดช่วง โดยกำหนดให้สินค้าสามารถแยกเป็นหน่วยย่อยในการบริโภคได้ • เส้น IC มักเป็นเส้นโค้งเว้าเข้าหาจุดกำเนิด เพราะสินค้า 2 ชนิดทดแทนกันได้แต่ไม่สมบูรณ์ ค่าความชันจะลดลงเรื่อยๆ ตามกฎการลดน้อยถอยลงของ MU คือเมื่อบริโภคสินค้าชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต้องสละสินค้าอีกชนิดหนึ่งในจำนวนที่ลดลง • เส้น IC ในแผนภาพเดียวกันจะตัดกันหรือสัมผัสกันไม่ได้ Y .A .C IC2 B. IC1 X 0
อัตราหน่วยท้ายสุดของการทดแทนกันระหว่างสินค้า 2 ชนิด (Marginal Rate of Substitution: MRS) MRS หมายถึง อัตราการลดลงของสินค้าชนิดหนึ่งเมื่อได้รับสินค้าอีกชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น 1 หน่วย ทั้งนี้เพื่อรักษาระดับความพอใจให้คงเดิม MRS แสดงถึงการทดแทนกันของสินค้า 2 ชนิด ในทิศทางตรงกันข้ามโดยให้ความพอใจแก่ผู้บริโภคเท่าเดิม MRS นี้เป็นค่า slope ของเส้น IC หากผู้บริโภคมีสินค้าให้เลือกบริโภคคือ สินค้า X และ Y สามารถเขียนค่าของ MRS ได้ 2 รูปแบบ คือ MRSYX = Y X เรียกว่า Marginal Rate of Substitution of Y for X หมายถึงบริโภคสินค้า Y ทดแทนสินค้า X คือ Y X MRSXY = Y X เรียกว่า Marginal Rate of Substitution of X for Y หมายถึงบริโภคสินค้า X ทดแทนสินค้า Y คือ X Y ค่า MRS เป็นตัวกำหนดลักษณะของเส้น IC ว่าเป็นอย่างไร
สินค้า 2 ชนิดมักทดแทนกันได้แต่ไม่สมบูรณ์ จึงมีค่า MRS ลดลงเรื่อยๆ เส้น IC เป็นเส้นโค้งเว้าเข้าหาจุดกำเนิด (convex to the origin) Y A 8 B 5 IC X 0 3 2 จากรูป slope ของเส้น IC เขียนได้ 2 แบบ คือ MRSXY = - Y = - 3 (A→B) X1 MRSYX = - Y= -3(B→A) X1
สินค้า 2 ชนิดสามารถทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ ค่า MRS คงที่ เส้น IC เป็นเส้นตรงทอดลงจากซ้ายไปขวา ผู้บริโภคลดการบริโภคสินค้าชนิดหนึ่งลงในลักษณะคงที่ เพื่อให้ได้สินค้าอีกชนิดเพิ่มขึ้นทีละ 1 หน่วย Y IC X 0 Y สินค้า 2 ชนิดไม่สามารถนำมาทดแทนกันได้เลย (ต้องใช้ประกอบกัน) ค่า MRS มี 2 ค่า คือศูนย์และอนันต์ () เส้น IC เป็นเส้นหักงอเป็นมุมฉาก 2 IC X 0 1
I Py 4.3.2 เส้นงบประมาณหรือเส้นราคา (Budget line or Price line) หมายถึงเส้นที่แสดงให้เห็นถึงจำนวนต่าง ๆ ของสินค้า 2 ชนิด ซึ่งสามารถซื้อได้ด้วยเงินจำนวนหนึ่งตามที่กำหนดไว้ ณ ราคาตลาดในขณะนั้น ทุกๆ จุดบนเส้นงบประมาณแสดงถึงงบประมาณที่เท่ากันของผู้บริโภคที่ใช้ซื้อสินค้าในสัดส่วนของสินค้าแตกต่างกันไปในแต่ละจุด การสร้างเส้นงบประมาณจะต้องทราบถึงรายได้ (I) ของผู้บริโภคที่มีอยู่อย่างจำกัด และราคาสินค้า 2 ชนิด เช่น สินค้า X และสินค้า Y สมการงบประมาณ: I = (Px .X)+(Py .Y) Y (Py .Y)= I – (Px . X) ● Q Slope = - Px Py Y = I–Px(X) Py Py Y ● B Slope เส้นงบประมาณ – I/Py = –Px I/Px Py X ● A ● R การเลือกบริโภคสินค้าเพื่อ Maximize Utility ต้องใช้งบประมาณหมดพอดี จุดเลือกบริโภคสินค้า 2 ชนิด จึงต้องอยู่บนเส้นงบประมาณเท่านั้น X 0 I Px
การเปลี่ยนแปลงเส้นงบประมาณการเปลี่ยนแปลงเส้นงบประมาณ • ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง • รายได้ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง 1. ราคาของสินค้าเปลี่ยนแปลงโดยรายได้ที่เป็นตัวเงินคงที่ Y Y B1 A B B2 X 0 X 0 A B1 B2 B Py I และ Px คงที่ Px I และ Py คงที่
2. รายได้ที่แท้จริง (real income) เปลี่ยนแปลง • รายได้ที่เป็นตัวเงินเปลี่ยนแปลงโดยราคาสินค้าทั้ง 2 ชนิดไม่เปลี่ยนแปลง • ราคาสินค้า 2 ชนิดเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนเดียวกันโดยรายได้ที่เป็นตัวเงินไม่เปลี่ยนแปลง เส้นงบประมาณจะ shift ขนานกับเส้นเดิม Y A1 A A2 X 0 B1 B B2
4.3.3 ดุลยภาพของผู้บริโภควิเคราะห์โดยทฤษฎีเส้นความพอใจเท่ากัน ดุลยภาพของผู้บริโภค เป็นจุดซึ่งผู้บริโภคเลือกบริโภคสินค้าแล้วมีความพอใจสูงสุด (Maximize Utility) ดุลยภาพจะเกิดขึ้น ณ จุดสัมผัสของเส้นความพอใจเท่ากันกับเส้นงบประมาณ ซึ่งผู้บริโภคมีความพอใจสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ภายใต้งบประมาณที่จำกัด Y ดุลยภาพการบริโภคอยู่ที่จุด E slope IC = slope budget line A E1 MRSxy = Px Py ดุลยภาพการบริโภคอยู่ที่อัตราการทดแทนหน่วยท้ายสุดของสินค้า มีค่าเท่ากับอัตราส่วนของราคาสินค้า E2 E Y IC3 IC2 IC1 X 0 X B
ในกรณีที่เส้น IC ไม่ใช่เส้นที่โค้งเว้าเข้าหา origin ดุลยภาพของการบริโภคก็ยังคงเกิดที่จุดสัมผัสของ IC และ budget line เช่นกัน เมื่อเส้น IC เป็นเส้นหักงอเป็นมุมฉาก Y A IC2 Y E IC1 X 0 X B สินค้า 2 ชนิดนี้ทดแทนกันไม่ได้เลย
เมื่อเส้น IC เป็นเส้นตรง Y Y A E A IC3 IC2 IC3 IC2 IC1 IC1 E X X 0 0 B B สินค้า 2 ชนิดนี้ทดแทนกันสมบูรณ์ ดุลยภาพ: Corner solution
หาระดับการบริโภคจากเงื่อนไขดุลยภาพหาระดับการบริโภคจากเงื่อนไขดุลยภาพ • เงื่อนไขดุลยภาพ => MRSXY = - Px PY • หากมีค่า MRS และราคาของสินค้า 2 ชนิดสามารถหาดุลยภาพการบริโภคได้ หรือ Y= - Px X Py ตัวอย่าง ผู้บริโภคมีรายได้ 100 บาท Px = 10 บาท และ Py = 5 บาท และมีข้อมูลการบริโภคดังตาราง - Px/Py = 10/5 = -2 ผู้บริโภคจะบริโภค X=5 หน่วย บริโภค Y=10 หน่วย ใช้เงิน = 50+50 = 100 บาท
4.3.4 การเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของผู้บริโภค ดุลยภาพของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงได้จาก • ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงโดยรายได้ที่เป็นตัวเงินคงที่ • รายได้ที่แท้จริงเปลี่ยนแปลง • เมื่อราคาสินค้า X เปลี่ยนแปลงโดยราคาสินค้า Y และ I คงที่ (Px , Py และ I คงที่) 1. ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงโดยรายได้ที่เป็นตัวเงินคงที่ Y เมื่อ Px ลดลง ในกรณีนี้ ซื้อ X เพิ่มขึ้น ตามกฎอุปสงค์ ซื้อ Y ลดลง แสดงว่า Y เป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกันกับ X A Y E E1 Y1 IC1 IC0 X 0 X1 X B B1
การเปลี่ยนแปลงการบริโภค Y จะเป็นอย่างไร เมื่อราคาสินค้า X เปลี่ยนแปลงไป ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของ X และ Y ดังนี้ • สินค้าทดแทนกัน : PXและ QYสัมพันธ์ทิศทางเดียวกัน • Px (Q) Qy • Px (Q) Qy • สินค้าประกอบกัน : PXและ QYสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้าม • Px (Q) Qy • Px (Q) Qy • สินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกัน : PXและ QYไม่สัมพันธ์กัน • Px (Q) Qy • Px (Q) Qy
2) เมื่อราคาสินค้า Y เปลี่ยนแปลงโดยราคาสินค้า X และ I คงที่ (Py , Py และ I คงที่) เมื่อ Py ลดลง ในกรณีนี้ ซื้อ Y เพิ่มขึ้น ตามกฎอุปสงค์ ซื้อ X ลดลง แสดงว่า Y เป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกันกัน Y Y B1 Y1 E1 B IC1 E Y IC0 X 0 A X1 X
2. รายได้ที่แท้จริงเปลี่ยนแปลง โดยราคา X และราคา Y คงเดิม (I , Px และ Py คงที่) เมื่อ I เพิ่มขึ้น ในกรณีนี้ ซื้อ X และ Y เพิ่มขึ้น แสดงว่า X และ Y เป็นสินค้าปกติ Y A1 การเปลี่ยนแปลงการบริโภคสินค้า 2 ชนิด จะเป็นอย่างไร เมื่อรายได้ที่แท้จริงเปลี่ยนแปลงไป ขึ้นอยู่กับว่าสินค้า 2 ชนิด เป็นสินค้าประเภทใด A E1 Y1 E IC1 Y IC0 X 0 X1 X B B1 • สินค้าปกติ : รายได้แท้จริงกับ Q เปลี่ยนทิศทางเดียวกัน • สินค้าด้อยคุณภาพ : รายได้ที่แท้จริงกับ Q มีทิศทางตรงข้าม • Ir Qx Qy • Ir Qx Qy
เส้นอุปสงค์ของผู้บริโภคที่สร้างจากดุลยภาพมี 3 กรณี คือ Price Demand : พิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของดุลยภาพเมื่อราคาสินค้าที่พิจารณาเปลี่ยนแปลงโดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆ คงที่ Income Demand : พิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของดุลยภาพเมื่อรายได้ที่แท้จริงเปลี่ยนแปลง โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆ คงที่ Cross Demand : พิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพ เมื่อราคาสินค้าอื่นเปลี่ยนแปลง โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆ คงที่ 4.3.5 การสร้างเส้นอุปสงค์ของผู้บริโภคจากดุลยภาพ โดยทฤษฎีเส้นความพอใจเท่ากัน
อุปสงค์ต่อราคา(Price Demand) Y IC3 IC2 IC1 A E1 E3 E2 PCC X 0 X2 X1 X3 B2 B3 B1 P PCC = Price Consumption Curve เส้นการบริโภคตามราคา P1 P2 P3 D X 0 X2 X3 X1
Y 2. อุปสงค์ต่อรายได้ (Income Demand) A3 A2 ICC A1 E2 E1 IC3 E IC2 IC1 X 0 B2 B3- X1 X2 X B1 Y DI ICC = Income Consumption Curve เส้นการบริโภคตามรายได้ I3 I2 I1 0 X X X1 X2
เส้นอุปสงค์ต่อรายได้อาจมี slope เป็นบวกหรือลบก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าประเภทใด • slope เป็นบวก : => สินค้าปกติ Ir Q (ในที่นี้ Ir = Real Income) Ir Q • slope เป็นลบ : => สินค้าด้อยคุณภาพ Ir Q Ir Q
สินค้า X และ Y เป็นสินค้าปกติ Y รายได้ รายได้ A1 Dx ICC Dy A E1 I2 Y2 I2 E I1 IC2 I1 Y1 IC1 Y X X 0 0 0 Y2 Y1 X1 X2 B1 X2 B X1
สินค้า X เป็นสินค้าปกติสินค้า Y เป็นสินค้าด้อยคุณภาพ Y รายได้ รายได้ A1 Dx IC0 IC1 A I2 I2 I1 I1 Y1 E E1 ICC Y2 Dy X X Y 0 0 0 X1 Y2 Y1 X1 B X2 B1 X2
3. อุปสงค์ไขว้ (Cross Demand) หาอุปสงค์ไขว้ของสินค้า Y เมื่อ Px เปลี่ยนไป โดย Py และ I คงเดิม สินค้า X และ Y ไม่เกี่ยวข้องกัน PX DC 20 10 QY 0 6
สินค้า X และ Y เป็นสินค้าประกอบกัน Y PX A PCC 7 E 8 IC0 5 E1 5 DC IC1 QY X 0 0 5 7 10 B 8 B1
สินค้า X และ Y เป็นสินค้าที่ทดแทนกัน Y PX A DC 8 E1 7 E PCC 6 5 IC0 IC1 X QY 0 0 B1 B 9 5 7 6
ความพอใจส่วนเกินของผู้บริโภค : (Consumer’s Surplus) • Consumer’s Surplus หมายถึงความแตกต่างระหว่างราคาสินค้าที่ผู้บริโภคเต็มใจจะจ่ายกับราคาสินค้าที่ผู้บริโภคจ่ายไปจริงเพื่อให้ได้สินค้ามาบริโภค หากระดับราคาสินค้า X อยู่ที่ PX = 4 ผู้บริโภคซื้อ X = 4 หน่วย จ่ายค่าสินค้า X ไป = 4 4 = 16 บาท ส่วนเกินของผู้บริโภค = 28–16 = 12 บาท
ส่วนเกินของผู้บริโภค = OAEQ – OPEQ = APE • ความสัมพันธ์ของ P และส่วนเกินของผู้บริโภค จะมีทิศทางตรงข้าม P A consumer’s surplus E P D Q 0 B Q ส่วนเกินของผู้บริโภค เป็นพื้นที่ใต้เส้นอุปสงค์ที่อยู่เหนือราคาที่ซื้อ