1 / 26

ผู้ปกครอง

ผู้ปกครอง. การตั้งผู้ปกครอง. ผู้ปกครองตามกฎหมายเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ เป็นบุคคลผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บุคคลนั้น 2.1 ไม่ มีบิดามารดา หรือ

Download Presentation

ผู้ปกครอง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผู้ปกครอง กฎหมายครอบครัว

  2. การตั้งผู้ปกครอง • ผู้ปกครองตามกฎหมายเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ • เป็นบุคคลผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ • บุคคลนั้น 2.1 ไม่มีบิดามารดา หรือ 2.2 มีบิดามารดา แต่บิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง ไม่ว่าการถอนอำนาจปกครองจะเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย เช่น ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น หรือถอนอำนาจเกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาล เช่น ผู้ใช้อำนาจปกครองประพฤติชั่ว • ดังนั้น ถ้ามีบิดาหรือมารดา แต่บิดาหรือมารดาไม่ได้มาเกี่ยวข้องด้วย หรือแม้บิดาผู้เยาว์จะมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ เมื่อไม่ได้ถูกถอนอำนาจปกครอง ก็จะขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองไม่ได้ กฎหมายครอบครัว

  3. คุณสมบัติผู้ปกครอง • มาตรา 1587 บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วอาจถูกตั้งเป็นผู้ปกครองได้ เว้นแต่ (1) ผู้ซึ่งศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ (2) ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย • หมายถึง บุคคลซึ่งมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน และไม่สามารถชำรหนี้ได้ และศาลได้สั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย • บุคคลล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินต่างของตนเองได้ (3) ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์ • เป็นอันธพาล เป็นนักเลงหัวไม้ ชอบเล่นการพนัน เป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ เป็นบุคคลซึ่งมีหนี้สินล้นพ้นตัว กฎหมายครอบครัว

  4. (4) ผู้ซึ่งมีหรือเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ ผู้บุพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดากับผู้เยาว์ • เพราะมีแนวโน้มว่าจะไม่อาจปกครองผู้เยาว์ให้เป็นธรรมได้ เพราะผู้เกี่ยวข้องกับผู้เยาว์ล้วนแล้วแต่เป็นผู้สนิทชิดเชื้อกับผู้เยาว์ทั้งสิ้น • ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา • ไม่ว่าจะในฐานะโจทก์ หรือจำเลย • ไม่ว่าจะเป็นอยู่ในอดีต หรือในปัจจุบัน (5)ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายได้ทำหนังสือระบุชื่อห้ามไว้มิให้เป็นผู้ปกครอง • มาตรา 1586“ผู้ปกครอง......ให้ตั้งโดยคำสั่งศาลเมื่อมีการร้องขอของญาติของผู้เยาว์ อัยการ หรือผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายทีหลังได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้ปกครอง” กฎหมายครอบครัว

  5. หมายเหตุ : คุณสมบัติข้อ 1,2 ต้องเกิดขึ้นในขณะแต่งตั้ง จึงจะต้องห้าม หากเกิดขึ้นภายหลังได้รับการแต่งตั้งแล้ว การแต่งตั้งที่มีมาแต่เดิมนั้นสมบูรณ์ แต่มีเหตุที่จะทำให้ถูกเพิกถอนได้เช่นเดียวกับการแต่งตั้งบุคคลที่ปรากฎต่อมาภายหลังว่าไม่เหมาะสมหรือเป็นผู้ถูกห้ามไว้ในพินัยกรรม มาตรา ๑๕๘๘“หากปรากฏว่าบุคคลที่ศาลตั้งให้เป็นผู้ปกครองเป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้ปกครองตามมาตรา ๑๕๘๗ อยู่ในขณะที่ศาลตั้งให้เป็นผู้ปกครองโดยปรากฏแก่ศาลเองหรือผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองนั้นเสียและมีคำสั่งเกี่ยวกับผู้ปกครองต่อไปตามที่เห็นสมควร การเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต เว้นแต่ในกรณีการเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองที่ต้องห้ามตามมาตรา ๑๕๘๗ (๑) หรือ (๒) การกระทำของผู้ปกครองไม่ผูกพันผู้เยาว์ไม่ว่าบุคคลภายนอกจะได้กระทำการโดยสุจริตหรือไม่” กฎหมายครอบครัว

  6. จำนวนผู้ปกครองมาตรา 1590 • ผู้ปกครองมีได้คราวหนึ่งเพียงคนเดียว • ยกเว้นแต่ • มีข้อกำหนดพินัยกรรมให้ตั้งผู้ปกครองหลายคน หรือ • เมื่อมีผู้ร้องขอ โดยมีเหตุผลอันสมควร • ศาลมีอำนาจตั้งผู้ปกครองได้ตามจำนวนที่ศาลเห็นว่าจำเป็น โดยศาลจะกำหนดให้ผู้ปกครองเหล่านั้นกระทำการร่วม กันหรือกำหนดอำนาจเฉพาะสำหรับคนหนึ่ง ๆ ก็ได้ • ความเป็นผู้ปกครองนั้นเริ่มแต่วันทราบคำสั่งตั้งของศาล มาตรา 1591 กฎหมายครอบครัว

  7. หน้าที่ผู้ปกครอง • จัดการตรวจทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองและทำบัญชีแสดงทรัพย์สินเหล่านั้นให้เสร็จภายใน 3 เดือน ถ้ามีเหตุจำเป็นสามารถร้องขอให้ศาลยืดเวลาออกไป แต่ต้องร้องขอก่อนพ้นกำหนดเวลา 3 เดือน • บัญชีแสดงทรัพย์สินจะต้องทำต่อหน้าบุคคลอย่างน้อย 2 คน • บัญชีนั้นต้องมีพยานรับรองความถูกต้องอย่างน้อยสองคน พยานสองคนนั้นต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะและเป็นญาติของผู้อยู่ในปกครอง • หรือบุคคลอื่นในกรณีที่หาญาติของผู้อยู่ในปกครองไม่ได้ กฎหมายครอบครัว

  8. ยื่นสำเนาบัญชีทรัพย์สินที่ตนรับรองว่าถูกต้องต่อศาลฉบับหนึ่งภายใน10 วันนับแต่วันที่ได้ทำบัญชีทรัพย์สินแล้ว • ศาลจะสั่งให้ผู้ปกครองชี้แจงเพิ่มเติมหรือให้นำเอกสารมาประกอบเพื่อแสดงให้เห็นว่าบัญชีนั้นถูกต้องแล้วก็ได้ • ถ้าศาลมิได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันยื่นบัญชี หรือวันชี้แจงเพิ่มเติม หรือวันนำเอกสารยื่นประกอบแล้วแต่กรณี ให้ถือว่าศาลยอมรับบัญชีนั้นแล้ว • ก่อนศาลย่อมรับบัญชี ห้ามมิให้ผู้ปกครองทำกิจการใด เว้นแต่เป็นการเร่งร้อนและจำเป็น แต่จะยกข้อห้ามดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนไม่ได้ (มาตรา 1595) กฎหมายครอบครัว

  9. ถ้าผู้ปกครองไม่ปฏิบัติเกี่ยวแก่การทำบัญชีทรัพย์สินหรือการยื่นบัญชีทรัพย์สิน ให้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลซึ่งสั่งให้ชี้แจงเพิ่มเติมหรือให้นำเอกสารมาประกอบเพื่อแสดงให้เห็นว่าบัญชีนั้นหรือศาลไม่พอใจในบัญชีทรัพย์สินเพราะทำขึ้นด้วยความเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือไม่สุจริต หรือเห็นได้ชัดว่าผู้ปกครองหย่อนความสามารถ ศาลจะสั่งถอนผู้ปกครองนั้นเสียก็ได้(มาตรา 1594) กฎหมายครอบครัว

  10. ต้องแจ้งให้ศาลทราบก่อนที่จะลงมือทำบัญชิทรัพย์สินของผู้อยู่ใต้ปกครอง ในกรณีที่มีหนี้ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครอง ไม่ว่าหนี้นั้นจะเป็นคุณหรือโทษต่อผู้ปกครอง (มาตรา 1596) • ถ้าผู้ปกครองรู้ว่ามีหนี้เป็นคุณแก่ตนแต่เป็นโทษต่อผู้อยู่ในปกครอง และมิได้แจ้งข้อความนั้นต่อศาล หนี้ของผู้ปกครองนั้นย่อมสูญไป • ถ้าผู้ปกครองรู้ว่ามีหนี้เป็นโทษต่อตน แต่เป็นคุณแก่ผู้อยู่ในปกครอง และมิได้แจ้งข้อความนั้นต่อศาล ศาลจะสั่งถอนผู้ปกครองก็ได้ กฎหมายครอบครัว

  11. หาประกันอันสมควร แถลงความเป็นอยู่ของทรัพย์ และมอบคืนทรัพย์สินสิน ตามคำสั่งของศาล เมื่อศาลเห็นสมควรโดยลำพัง หรือเมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ มาตรา ๑๕๙๗ “เมื่อศาลเห็นสมควรโดยลำพัง หรือเมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ ศาลอาจสั่งให้ผู้ปกครอง (๑) หาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครอง ตลอดจนการมอบคืนทรัพย์สินนั้น (๒) แถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครอง” กฎหมายครอบครัว

  12. ถ้าผู้อยู่ในความปกครองได้ทรัพย์สินอันมีค่ามาโดยทางมรดกหรือการให้โดยเสน่หา มาตรา ๑๕๙๘ ในระหว่างปกครอง ถ้าผู้อยู่ในปกครองได้ทรัพย์สินอันมีค่ามาโดยทางมรดกหรือการให้โดยเสน่หา ให้นำมาตรา ๑๕๙๒ ถึงมาตรา ๑๕๙๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม • ลงมือทำบัญชีภายใน 3 เดือนนับแต่เหตุดังกล่าว • ยื่นบัญชีทรัพย์ต่อศาลภายใน 10 วันนับแต่ทำเสร็จ • ก่อนศาลยอมรับบัญชีทรัพย์ห้ามมิให้ผู้ปกครองทำกิจการเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เว้นแต่เป็นการเร่งร้อนและจำเป็น แต่จะยกข้อห้ามดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนไม่ได้ • ทำบัญชีทรัพย์สินส่งต่อศาลปีละครั้งนับแต่วันเป็นผู้ปกครอง แต่เมื่อศาลได้รับบัญชีปีแรกแล้วจะสั่งให้ส่งบัญชีเช่นว่านั้นในระยะเวลาเกินหนึ่งปีก็ได้ กฎหมายครอบครัว

  13. เป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้อยู่ในอำนาจปกครองเป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้อยู่ในอำนาจปกครอง มาตรา ๑๕๙๘/๕ “ถ้าผู้อยู่ในปกครองรู้จักผิดชอบและมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์เมื่อผู้ปกครองจะทำกิจการใดที่สำคัญ ให้ปรึกษาหารือผู้อยู่ในปกครองก่อนเท่าที่จะทำได้ การที่ผู้อยู่ในปกครองได้ยินยอมด้วยนั้นหาคุ้มผู้ปกครองให้พ้นจากความรับผิดไม่” กฎหมายครอบครัว

  14. สิทธิของผู้ปกครอง มาตรา ๑๕๙๘/๒ “ผู้ปกครองมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ใช้อำนาจปกครองตามมาตรา ๑๕๖๔ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๕๖๗” มาตรา ๑๕๙๘/๓ “ผู้ปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้อยู่ในปกครอง ให้นำมาตรา ๑๕๗๐ มาตรา ๑๕๗๑ มาตรา ๑๕๗๒ มาตรา ๑๕๗๔ มาตรา ๑๕๗๕ มาตรา ๑๕๗๖ และมาตรา ๑๕๗๗ มาใช้บังคับแก่ผู้ปกครองและผู้อยู่ในปกครองโดยอนุโลม” กฎหมายครอบครัว

  15. ในเรื่องส่วนตัว • กำหนดที่อยู่ของผู้อยู่ในปกครอง • ทำโทษผู้อยู่ในความปกครองตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน • ให้ผู้อยู่ในปกครองทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานนานุรูป • เรียกผู้อยู่ในปกครองคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักขังผู้อยู่ในปกครองไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย • ผู้ปกครองต้องจัดการทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองด้วยความระมัดระวัง กฎหมายครอบครัว

  16. ในเรื่องทรัพย์สิน • ผู้ปกครองจะทำหนี้ที่ผู้อยู่ในปกครองต้องทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้อยู่ในปกครองไม่ได้ • นิติกรรมตามมาตรา 1574 จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงจะกระทำได้ • นิติกรรมที่ประโยชน์ของผู้ปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้อยู่ในความปกครอง ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงจะกระทำได้ • การจัดการทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองที่มีผู้อื่นโอนให้ผู้อยู่ในปกครอง ไม่ว่าจะโอนโดยพินัยกรรมหรือการให้โดยเสน่หา และการโอนนั้นเป็นการโอนที่มีเงื่อนไขให้บุคคลอื่นเป็นผู้จัดการ ผู้ปกครองไม่มีอำนาจจัดการ กฎหมายครอบครัว

  17. ผู้ปกครองมีสิทธิที่จะนำเงินได้ของผู้อยู่ในปกครองมาใช้ในการอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่ผู้อยู่ในปกครองถ้ามีเหลือให้ใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ เฉพาะในเรื่องต่อไปนี้ (1) ซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรที่รัฐบาลไทยค้ำประกัน (2) รับขายฝากหรือรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ในลำดับแรก แต่จำนวนเงินที่รับขายฝากหรือรับจำนองต้องไม่เกินกึ่งราคาตลาดของอสังหาริมทรัพย์นั้น (3) ฝากประจำในธนาคารที่ได้ตั้งขึ้นโดยกฎหมายหรือที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในราชอาณาจักร (4) ลงทุนอย่างอื่นซึ่งศาลอนุญาตเป็นพิเศษ กฎหมายครอบครัว

  18. บำเหน็จผู้ปกครองมาตรา 1598/14 • ผู้ปกครองไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ • (1) มีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมให้ผู้ปกครองได้รับบำเหน็จ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ผู้ปกครองได้รับบำเหน็จเท่าที่กำหนดในพินัยกรรม • (2) ในกรณีที่พินัยกรรมไม่ได้กำหนดบำเหน็จไว้ แต่ไม่มีข้อกำหนดห้ามผู้ปกครองรับบำเหน็จ ผู้ปกครองจะร้องขอต่อศาลให้กำหนดบำเหน็จในภายหลังก็ได้ ศาลจะกำหนดให้หรือไม่เพียงใดก็ได้ • (3) ในกรณีที่ไม่มีคำสั่งตั้งผู้ปกครองไว้ในพินัยกรรม และไม่มีข้อกำหนดห้ามผู้ปกครองรับบำเหน็จ ศาลจะกำหนดบำเหน็จให้แก่ผู้ปกครองในคำสั่งตั้งผู้ปกครองก็ได้ หรือถ้าศาลมิได้กำหนด ผู้ปกครองจะร้องขอต่อศาลให้กำหนดบำเหน็จในภายหลังก็ได้ ศาลจะกำหนดให้หรือไม่เพียงใดก็ได้ กฎหมายครอบครัว

  19. ในการพิจารณากำหนดบำเหน็จ ให้ศาลพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ รายได้และฐานะความเป็นอยู่ของผู้ปกครองและผู้อยู่ในปกครอง • ถ้าผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในปกครองแสดงได้ว่า พฤติการณ์ รายได้หรือฐานะความเป็นอยู่ของผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในปกครองได้เปลี่ยนแปลงไปภายหลังที่ได้เข้ารับหน้าที่ผู้ปกครอง ศาลจะสั่งให้บำเหน็จ งด ลด เพิ่ม หรือกลับให้บำเหน็จแก่ผู้ปกครองอีกก็ได้ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับแก่กรณีที่มีข้อกำหนดห้ามไว้ในพินัยกรรมมิให้ผู้ปกครองได้รับบำเหน็จด้วย กฎหมายครอบครัว

  20. การสิ้นสุดของความปกครองการสิ้นสุดของความปกครอง • ความปกครองอาจสิ้นสุดลงในกรณีดังต่อไปนี้ • ผู้อยู่ในปกครองตายหรือบรรลุนิติภาวะ (มาตรา 1598/6) • ผู้ปกครองตาย • ผู้ปกครองลาออก • ผู้ปกครองเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ • ผู้ปกครองล้มละลาย • ผู้ปกครองถูกถอนอำนาจปกครอง มาตรา 1598/7 กฎหมายครอบครัว

  21. ผู้ปกครองถูกถอนอำนาจปกครอง มาตรา 1598/8 • เหตุในการร้องขอ (1) ผู้ปกครองละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่ (2) ผู้ปกครองประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในหน้าที่ (3) ผู้ปกครองใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ (4) ผู้ปกครองประพฤติมิชอบซึ่งไม่สมควรแก่หน้าที่ (5) ผู้ปกครองหย่อนความสามารถในหน้าที่จนน่าจะเป็นอันตรายแก่ประโยชน์ของผู้อยู่ในปกครอง (6) มีกรณีดังบัญญัติไว้ในมาตรา 1587 (3) (4) หรือ (5) • (3) ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์ • (4) ผู้ซึ่งมีหรือเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ ผู้บุพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดากับผู้เยาว์ • (5)ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายได้ทำหนังสือระบุชื่อห้ามไว้มิให้เป็นผู้ปกครอง กฎหมายครอบครัว

  22. ผู้ที่มีสิทธิร้องขอถอนผู้ปกครอง (มาตรา 1598/9) • ผู้อยู่ในความปกครองซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ หรือ • ญาติของผู้อยู่ในปกครอง • อัยการ • ในระหว่างพิจารณาคำร้องขอให้ถอนผู้ปกครอง ศาลจะตั้งผู้จัดการชั่วคราวให้จัดการทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองแทนผู้ปกครองก็ได้ (มาตรา 1598/10) กฎหมายครอบครัว

  23. หน้าที่ของผู้ปกครองเมื่อสิ้นสุดการปกครองหน้าที่ของผู้ปกครองเมื่อสิ้นสุดการปกครอง • ส่งมอบทรัพย์สินที่จัดการแก่ผู้อยู่ในปกครอง ทายาท หรือผู้ปกครองใหม่โดยเร็ว • ผู้ปกครอง หรือทายาทของผู้ปกครองจัดทำบัญชีทรัพย์สินส่งมอบให้แก่ผู้อยู่ในปกครอง ทายาท หรือผู้ปกครองใหม่ภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ความเป็นผู้ปกครองสิ้นสุดลง แต่ถ้ามีความจำเป็นไม่สามารถจัดทำบัญชีให้เสร็จสิ้นได้ภายใน 6 เดือน ผู้ปกครองหรือทายาทสามารถร้องขอให้ศาลสั่งยืดเวลาได้ • ในกรณีที่มีเอกสารเกี่ยวกับเรื่องการจัดการทรัพย์สิน เช่น มีสัญญาให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ก็ให้ส่งเอกสารนั้นพร้อมบัญชี กฎหมายครอบครัว

  24. คดีเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินในระหว่างผู้เยาว์กับผู้ใช้อำนาจปกครองนั้น ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อำนาจปกครองสิ้นไปมาตรา 1581 • ถ้าอำนาจปกครองสิ้นไปขณะบุตรยังเป็นผู้เยาว์อยู่ ให้เริ่มนับอายุความในวรรคหนึ่งตั้งแต่เวลาที่ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ หรือเมื่อมีผู้แทนโดยชอบธรรมขึ้นใหม่ กฎหมายครอบครัว

  25. ผู้ปกครองมีหน้าที่ส่งเงินของผู้อยู่ในอำนาจปกครองนับแต่วันส่งมอบบัญชี (มาตรา 1598/12) • ถ้าไม่ส่ง ผู้ปกครองต้องเสียดอกเบี้ยร้อย 7.5 ต่อปีให้แก่ ผู้อยู่ในอำนาจปกครอง • แต่ถ้าผู้ปกครองใช้เงินของผู้อยู่ในปกครองนอกนอกจากเพื่อประโยชน์ของผู้อยู่ในปกครอง ผู้ปกครองต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ใช้ไป • หนี้ที่ผู้ปกครองต้องส่งเงินให้แก่ผู้อยู่ในความปกครอง เป็นหนี้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ปกครอง หมายความว่า ผู้อยู่ในปกครองสามารถบังคับชำระหนี้ของตนได้จากทรัพย์สินของผู้ปกครองเป็นลำดับที่ 6 ถัดจากหนี้บุริมสิทธิสามัญ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ • ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน • ค่าปลงศพ • ค่าภาษีอากร • ค่าจ้างเสมียนคนใช้และคนงาน • ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวัน กฎหมายครอบครัว

  26. ขอบคุณครับ กฎหมายครอบครัว

More Related