700 likes | 921 Views
เทคนิคการควบคุมและตรวจสอบงาน การเงินและบัญชี. สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 3 ฝ่ายอำนวยการ. การเบิกเงิน. เงินที่ขอเบิกจากคลังเพื่อการใด ให้นำไปจ่ายได้เฉพาะเพื่อการนั้นเท่านั้น
E N D
เทคนิคการควบคุมและตรวจสอบงานการเงินและบัญชีเทคนิคการควบคุมและตรวจสอบงานการเงินและบัญชี สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 3 ฝ่ายอำนวยการ
การเบิกเงิน • เงินที่ขอเบิกจากคลังเพื่อการใด ให้นำไปจ่ายได้เฉพาะเพื่อการนั้นเท่านั้น • ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณใด ให้เบิกเงินจากงปม.รายจ่ายของปีนั้นไปจ่าย หากไม่สามารถเบิกปีนั้นได้ทัน ให้เบิกจากเงินงปม.รายจ่ายของปีถัดไปได้ แต่ค่าใช้จ่ายนั้นจะต้องไม่เป็นการก่อหนี้ผูกพันเกินงปม.รายจ่ายที่ได้รับอนุมัติ
การเบิกเงิน (ต่อ) • ค่าใช้จ่ายงบกลาง ถ้าค้างเบิกให้นำมาเบิกจากงบกลางรายการนั้นๆ ของปีงบประมาณต่อไปได้ • ค่าใช้จ่ายประจำ ให้ถือว่าค่าใช้จ่ายนั้นเกิดขึ้นเมื่อส่วนราชการได้รับแจ้งให้ชำระหนี้ และให้เบิกจ่ายจากงปม.รายจ่ายประจำปีที่ได้รับแจ้งให้ชำระหนี้
การขอเบิกเงิน • เงินสวัสดิการ ค่าตอบแทน หรือกรณีที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้กรมบัญชีกลางจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของส่วนราชการ เพื่อให้ส่วนราชการจ่ายเงินให้ผู้มีสิทธิต่อไป • เงินที่จ่ายประจำเดือนในวันทำการสิ้นเดือน ให้ขอเบิกภายในวันที่ 15 ของเดือนนั้นหรือตามที่กระทรวงการคลังกำหนด • การขอเบิกเงินทุกกรณี ส่วนราชการต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย (เว้นแต่ได้มีการหักภาษีไว้แล้ว)
การรับเงิน-ใบเสร็จรับเงินการรับเงิน-ใบเสร็จรับเงิน 2 3 สำเนา ใบเสร็จรับเงิน สถานที่ทำการ เล่มที่... เลขที่... วันที่รับเงิน ชื่อผู้ชำระเงิน รายการ จำนวนเงิน ผู้รับเงิน&ตำแหน่ง 1 ทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน - จัดพิมพ์/รับมาจำนวนเท่าใด - จ่ายเล่ม/หมายเลขใด ให้หน่วยงานใด/เจ้าหน้าที่ผู้ใด วัน เดือน ปีใดต้องมีหลักฐานการรับส่ง ห้ามขูด ลบ แก้ไข เพิ่มเติม จำนวนเงิน/ชื่อผู้ชำระเงิน หากลงรายการผิดพลาด ให้ขีดจำนวนเงินและเขียนใหม่ทั้งจำนวนแล้วให้ผู้รับเงิน ลงลายมือชื่อกำกับการขีดฆ่า หรือ ขีดฆ่าเลิกใช้ใบเสร็จรับเงินนั้นทั้งฉบับ โดยออกฉบับใหม่ใบเสร็จรับเงินที่ขีดฆ่าเลิกใช้นั้น ให้ติดไว้กับสำเนาใบเสร็จรับเงิน
การรับเงิน • การแบ่งแยกหน้าที่งาน • แบ่งแยกหน้าที่งานในการรับเงินสด การบันทึกบัญชี และการกระทบยอดเงินสดและเงินฝากธนาคารออกจากกัน • การกระทบยอด • ตรวจสอบจำนวนเงินที่รับกับหลักฐานการรับเงินและรายการที่บันทึกไว้ในบัญชีทุกสิ้นวัน • สอบทานว่าใบเสร็จรับเงินที่ใช้แล้ว ได้มีการบันทึกบัญชีครบถ้วนทุกฉบับ
เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่จัดเก็บ/ชำระเงินเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่จัดเก็บ/ชำระเงิน เจ้าหน้าที่การเงิน เมื่อสิ้นเวลารับเงิน สำเนาใบเสร็จรับเงิน แสดงยอดรวมเงินรับทั้งสิ้นในวันนั้นและลงนามกำกับในสำเนาใบสุดท้าย ยอดเงินถูกต้องตรงกัน บัญชีเงินสด/เงินฝากธนาคาร
เมื่อสิ้นเวลารับจ่ายเงิน • เมื่อสิ้นเวลารับจ่ายเงิน ให้เจ้าหน้าที่จัดเก็บนำเงินที่ได้รับพร้อมกับสำเนาใบเสร็จรับเงินและเอกสารอื่นที่จัดเก็บในวันนั้นทั้งหมดส่งต่อเจ้าหน้าที่การเงินของส่วนราชการนั้น • ให้ตรวจสอบจำนวนเงินที่เจ้าหน้าที่จัดเก็บและนำส่งกับหลักฐานและรายการที่บันทึกไว้ในระบบว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ และให้ผู้ตรวจแสดงยอดรวมเงินรับตามใบเสร็จรับเงินทุกฉบับที่ได้รับในวันนั้นไว้ในสำเนาใบเสร็จรับเงินฉบับสุดท้ายและลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย
การจ่ายเงิน • การแบ่งแยกหน้าที่งาน • แบ่งแยกหน้าที่งานในการอนุมัติจ่ายเงินสด การบันทึกบัญชี และการกระทบยอดเงินสดและเงินฝากธนาคารออกจากกัน • การกระทบยอด • ตรวจสอบจำนวนเงินที่จ่ายกับหลักฐานการจ่ายเงินและรายการที่บันทึกบัญชีทุกสิ้นวัน
การจ่ายเงิน หลักฐานการจ่ายเงิน แนวทางปฏิบัติ ระเบียบ ข้อบังคับ ประทับตรา “จ่ายเงินแล้ว” ลงลายมือชื่อ วันเดือนปี และชื่อผู้จ่ายเงินกำกับไว้ในหลักฐานการจ่ายเงินทุกฉบับ ตรวจสอบความถูกต้องลงลายมือชื่อรับรอง อนุมัติโดยผู้มีอำนาจสั่งจ่าย สิ้นเวลารับจ่าย บันทึกรายการจ่ายเงินในบัญชีเงินสด/เงินฝากธนาคาร
วิธีปฏิบัติการจ่ายเงินวิธีปฏิบัติการจ่ายเงิน • การจ่ายเงินให้จ่ายเป็นเช็ค ยกเว้นการจ่ายเงินทดรองฯ ซึ่งเก็บไว้เป็นเงิน หรือการจ่ายเงินให้แก่ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ผู้รับบำนาญฯ หรือจ่ายเงินต่ำกว่า 5,000 บาท จะจ่ายเป็นเงินสดก็ได้ • ในกรณีสั่งจ่ายเงินเพื่อขอรับเงินสดมาจ่าย ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าหน้าที่การเงินของส่วนราชการ และขีดฆ่า คำว่า “หรือผู้ถือ” ออก ห้ามออกเช็คสั่งจ่ายเงินสด
การจ่ายเงินยืม ประมาณการค่าใช้จ่าย สัญญาการยืมเงิน กำหนดเวลาใช้คืน พิจารณาเสนอความเห็น • อนุมัติให้ยืมเท่าที่จำเป็น • ไม่ให้อนุมัติเงินยืมรายใหม่ ถ้าผู้ยืมไม่ได้ชำระเงินยืมรายเก่า ผู้มีอำนาจอนุมัติให้จ่ายเงิน ได้รับเงิน ผู้ยืมลงลายมือชื่อรับเงินในสัญญา
การยืมเงินราชการ • ขั้นตอนการดำเนินงาน • ผู้ยืมส่งสัญญายืมเงินพร้อมเอกสารประกอบ จำนวน 2 ชุด • เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของรายการและจำนวนเงินที่ยืม • ตรวจสอบงบประมาณที่ได้รับจัดสรร • เสนอ ผอ.สสภ./สสพ. เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ยืม • บันทึกรายการขอเบิกในทะเบียนคุมเงินประจำงวดส่วนจังหวัด • ขอเบิกเงินโดยผ่านระบบ GFMIS • ผอ.สสภ./สสพ.อนุมัติในระบบ GFMIS
ขั้นตอนการยืมเงิน (ต่อ) • ตรวจสอบการอนุมัติจ่ายของคลังจังหวัดและกรมบัญชีกลาง ในระบบ GFMIS • เจ้าหน้าที่ขอ BANKSTATEMENT จากธนาคารเพื่อตรวจสอบว่าเงินได้เข้าบัญชีของ สสภ./สสพ. แล้วหรือไม่ • บันทึกเสนอรายการที่ได้รับเงิน • เขียนเช็คและทะเบียนคุมเงินฝากธนาคาร เสนอ ผอ.สสภ./สสพ.เพื่อสั่งจ่าย • จ่ายเงินให้ผู้ยืม • บันทึกบัญชี
กรณียืมเงินเพื่อไปราชการกรณียืมเงินเพื่อไปราชการ เอกสารประกอบ 1. สัญญายืมเงินจำนวน 2 ฉบับ 2. ประมาณการค่าใช้จ่ายจำนวน 2 ฉบับ 3. หนังสือสั่งการ หรือหนังสืออนุมัติให้ไปราชการ จำนวน 1 ชุด
กรณียืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมกรณียืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม เอกสารประกอบ 1. สัญญายืมเงินจำนวน 2 ฉบับ 2. ประมาณการค่าใช้จ่ายจำนวน 2 ฉบับ 3. โครงการฝึกอบรมจำนวน 1 ชุด 4. หลักสูตรการฝึกอบรมจำนวน 1 ชุด 5. ตารางการฝึกอบรมจำนวน 1 ชุด
กำหนดเวลาในการส่งหลักฐานการจ่ายและเงินเหลือจ่ายกำหนดเวลาในการส่งหลักฐานการจ่ายและเงินเหลือจ่าย 1. ส่งใช้ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับเงิน กรณีดังต่อไปนี้ • การเดินทางไปประจำต่างสำนักงาน • เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม • ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม • ยืมไปปฏิบัติราชการอื่น 2. ส่งใช้ภายใน 15 วัน นับจากวันกลับมาถึง • เดินทางไปราชการชั่วคราว • เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว
หลักฐานประกอบการชดใช้เงินยืมหลักฐานประกอบการชดใช้เงินยืม 1. กรณียืมเพื่อไปราชการ • แบบรายงานการเดินทางไปราชการ ( แบบ 8708 ) • ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน ( บก. 111 ) • หลักฐานการจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( กรณีเบิกเป็นคณะ ) • กากตั๋วเครื่องบิน ( ถ้ามี ) • หนังสือสั่งการหรือหนังสืออนุมัติให้ไปราชการ
หลักฐานประกอบการชดใช้เงินยืม (ต่อ) 2. กรณียืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม 2.1ยืมเพื่อเป็นค่าตอบแทนวิทยากร • โครงการฝึกอบรม • หลักสูตรการฝึกอบรม • ตารางการฝึกอบรม • หนังสือเชิญวิทยากร • ใบสำคัญรับเงิน • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาหนังสือเดินทาง (PASTPORT)
2.2 ยืมเพื่อเป็นค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม • โครงการฝึกอบรม • หลักสูตรการฝึกอบรม • ตารางการฝึกอบรม • รายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม / เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง • ใบเสร็จรับเงิน (กรณีเป็นผู้ประกอบการ ห้าง ร้าน บริษัท โรงแรมฯลฯ ) • ใบสำคัญรับเงิน (กรณีเป็นบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้รับจ้างประจำและไม่มีใบเสร็จรับเงิน) • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาทะเบียนพาณิชย์
2.3 กรณียืมเป็นค่าอาหารกลางวัน • โครงการฝึกอบรม • หลักสูตรการฝึกอบรม • ตารางการฝึกอบรม • รายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม / เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง • ใบเสร็จรับเงิน (กรณีเป็นผู้ประกอบการ ห้าง ร้าน บริษัท โรงแรม ฯลฯ ) • ใบสำคัญรับเงิน (กรณีเป็นบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้รับจ้างประจำ และไม่มีใบเสร็จรับเงิน ) • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาทะเบียนพาณิชย์
2.4 กรณียืมเป็นค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะ • โครงการฝึกอบรม • หลักสูตรการฝึกอบรม • ตารางการฝึกอบรม • รายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม / เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง • แบบรายงานการเดินทางไปราชการ ( แบบ 8708 ) • ใบรับรองแทนแทนใบเสร็จรับเงิน ( บก. 111 ) • หลักฐานการจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (กรณีเบิกเป็นคณะ ) • ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าห้องพักของโรงแรม ( ถ้ามี ) • ใบแจ้งรายการของโรงแรม ( FOLIO ) • กากตั๋วเครื่องบิน ( ถ้ามี )
การตรวจสอบเงินยืม • ตรวจสอบสัญญาการยืมเงินที่ยังไม่ได้ส่งใช้กับยอดคงเหลือบัญชีลูกหนี้เงินยืม • เกินกำหนดระยะเวลาที่ยืมหรือไม่ • ห้ามมิให้อนุมัติให้ยืมเงินรายใหม่ในเมื่อผู้ยืมมิได้ชำระเงินคืนเงินยืมรายเก่าให้เสร็จสิ้นไปก่อน
การตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงิน • ตรวจสอบรายงานสรุปการขอเบิกเงิน ZAP_RPT_W01/A06C (แสดงจำนวนรายการที่ขอเบิกทั้งจ่ายตรงและจ่ายผ่านหน่วยงาน) • ตรวจสอบยอดคงเหลือของบัญชีเงินสดในระบบ GFMIS กับรายงานเงินคงเหลือประจำวันและกระทบยอดผลต่างที่เกิดขึ้น • ตรวจสอบจำนวนเงินใน Bank Statement กับรายการขอเบิกเงินเป็นประจำก่อนสั่งจ่ายเช็คและกระทบยอดบัญชีเงินฝากธนาคารเทียบกับรายงานเงินฝากธนาคารอย่างน้อยเดือนละครั้ง
การเก็บรักษาเงิน การแบ่งแยกหน้าที่งาน • แบ่งแยกหน้าที่ผู้รักษาเงินกับผู้ทำบัญชีเงินสด • มีสถานที่และตู้นิรภัยสำหรับเก็บรักษาเงินที่ปลอดภัย • เก็บรักษาเงินถูกต้องตามระเบียบและอยู่ภายในวงเงินเก็บรักษา การจัดทำเอกสารหลักฐาน • มีการจัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน การกระทบยอด • มีการแต่งตั้งกรรมการรักษาเงิน ทำหน้าที่ตรวจนับเงินคงเหลือเปรียบเทียบกับรายงานเงินคงเหลือประจำวัน
เจ้าหน้าที่การเงิน คณะกรรมการ เก็บรักษาเงิน การเก็บรักษาเงิน เงิน&หลักฐานแทนตัวเงิน ให้นำเงินเข้าเก็บรักษาในตู้นิรภัยและกรรมการทุกคนลงลายมือชื่อในรายงานเงินคงเหลือประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ถูกต้องตรงกัน รายงานเงิน คงเหลือประจำวัน
คณะกรรมการเก็บรักษาเงินฯคณะกรรมการเก็บรักษาเงินฯ • ให้ส่วนราชการแต่งตั้งข้าราชการ ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปอย่างน้อย 2 คนเป็นกรรมการเก็บรักษาเงินของส่วนราชการนั้น • ถ้ากรรมการฯ ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน • ห้ามกรรมการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการแทน มอบลูกกุญแจให้ผู้อื่นทำหน้าที่กรรมการแทน
การตรวจสอบความถูกต้องของตัวเงินสดการตรวจสอบความถูกต้องของตัวเงินสด รายงานเงินคงเหลือประจำวัน รายงาน เงินคงเหลือ ประจำวัน ตัวเงินสดประจำวัน สมุด รายวัน รับเงิน บัญชีแยกประเภทเงินสด
การควบคุมและตรวจสอบ • ให้หน่วยงานผู้เบิกนำเอกสารการรับจ่ายเงินมาเป็นหลักฐานบันทึกบัญชีตามหลักการและนโยบายบัญชีที่กระทรวงการคลังกำหนด • ทุกสิ้นวันทำการให้ จนท.การเงินตรวจสอบจำนวนเงินสดและเช็คคงเหลือกับรายงานเงินคงเหลือประจำวัน • ตรวจสอบใบแจ้งหนี้หรือใบขอเบิกเงินที่ยังไม่ได้จ่ายเงินกับยอดคงเหลือบัญชีเจ้าหนี้หรือใบสำคัญค้างจ่าย
การเก็บเอกสารเบิกจ่ายเงินการเก็บเอกสารเบิกจ่ายเงิน • บส 01 ขบ 01 ใบตรวจรับ สัญญาสั่งซื้อสั่งจ้าง ใบเสร็จรับเงินของเจ้าหนี้ • ขบ 02/03 ขจ 01 หลักฐานการจ่าย • นส 01 นส 02 PAY IN • นส 03 นส 02 PAY IN • บช 01 (JE) นส 02 บช 04 (JE) (เบิกเกินส่งคืน) • บช 01 (K1) นส 02 (ลูกหนี้เงินยืม)
ข้อตรวจพบจากการตรวจสอบข้อตรวจพบจากการตรวจสอบ
ด้านการเงิน ข้อสังเกต • สถานที่เก็บรักษาเงินไม่ปลอดภัย • รายงานเงินคงเหลือประจำวัน ไม่ได้ใช้แบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด • หลักฐานการจ่ายเงิน ไม่ได้ประทับตราข้อความว่า “จ่ายเงินแล้ว” พร้อมทั้งลงลายมือชื่อผู้จ่ายเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่ายเงินทุกฉบับ
ข้อเสนอแนะ ให้ปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 • สถานที่เก็บรักษาเงินข้อ 79 • รายงานเงินคงเหลือประจำวัน ข้อ 88 • หลักฐานการจ่ายเงิน ข้อ 37
ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ • ข้อสังเกต 1. ไม่มีลายมือชื่อผู้ควบคุม และรับรองการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในแต่ละวัน 2. ไม่ได้จัดทำและแนบรายงานผลการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเสนอต่อผู้มีอำนาจอนุมัติ
ข้อเสนอแนะ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550 ข้อ 9.1 กรณีมีผู้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการร่วมกันหลายคน ให้ผู้ปฏิบัติงานคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับรองการปฏิบัติงาน หากเป็นการปฏิบัติงานเพียงลำพังคนเดียว ให้ผู้ปฏิบัติงานนั้นเป็นผู้รับรอง ข้อ 9.2 ให้เจ้าหน้าที่ผู้ขอเบิกเงินจัดทำและแนบรายงานผลการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการต่อผู้มีอำนาจอนุมัติ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน
การเบิกเบี้ยเลี้ยง • ข้อสังเกต 1. ใบเบิกค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ และหลักฐานการจ่ายเงิน มีจำนวนเงินไม่สัมพันธ์กัน 2. การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเบิกเกินกว่าสิทธิที่พึงได้รับรวมทั้งการเบิกเบี้ยเลี้ยงการฝึกอบรม
ข้อเสนอแนะ 1. ให้เจ้าหน้าที่ที่ขอเบิกจัดทำเอกสารหลักฐานในการขอเบิกค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการให้สัมพันธ์กัน และเจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่จ่ายเงินสอบทานข้อมูลในเอกสารหลักฐานในการขอเบิกทุกครั้ง ก่อนเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติเบิกจ่าย 2. ให้ตรวจสอบสิทธิและให้ปฏิบัติตามระเบียบฯ
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง • พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2548 • ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550 • ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม พ.ศ. 2549
ค่าเช่าบ้าน ข้อสังเกต • จำนวนเงินที่เบิกจ่ายไม่ถูกต้องตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ • ไม่ได้ประทับตราจ่ายเงินลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงิน • ไม่ได้จัดทำทะเบียนคุมฯ
ข้อเสนอแนะ • ปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2549 • หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0409.5/ว 2 ลงวันที่ 29 มกราคม 2550 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ พ.ศ.2551 • จัดทำทะเบียนเบิกค่าเช่าบ้าน/ค่าเช่าซื้อรายตัว
ค่ารักษาพยาบาล ข้อสังเกต • การเบิกจ่ายเงินเกินสิทธิ • ไม่มีหนังสือรับรองในกรณีผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยานอกบัญชี • ไม่ได้จัดทำหน้างบใบสำคัญการจ่ายเงินสวัสดิการตามรูปแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ข้อเสนอแนะ • ให้ปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ.2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2545 • ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ (หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0417/ว 177 ลงวันที่ 24 พ.ย. 2549)
ค่าศึกษาบุตร ข้อสังเกต • จำนวนเงินที่เบิกจ่ายไม่ถูกต้อง • การรับรองสิทธิในการขอเบิกค่าศึกษาบุตรไม่ครบถ้วน • ไม่ได้จัดทำทะเบียนคุม
ข้อเสนอแนะ ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตาม • หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว 248 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 เรื่อง ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการ • หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ 04002/ว 1699 ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2551 เรื่อง การใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) • หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว 00184 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 เรื่อง ประเภทและอัตราค่าเล่าเรียน • หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว 271 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2551 เรื่อง ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
ข้อเสนอแนะ • ให้ปฏิบัติตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0410.3/ว 218 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2546 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลทรัพย์สิน • สินทรัพย์ทุกรายการที่มีราคาไม่ถึง 5,000 บาท ให้บันทึกการรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายและบันทึกรายละเอียดของทรัพย์สินในทะเบียนคุมทรัพย์สิน แต่ไม่ต้องคำนวณค่าเสื่อมราคา • สำหรับสินทรัพย์ที่ยังคงอยู่ให้บันทึกในทะเบียนคุมทรัพย์สินให้ครบถ้วน และคำนวณค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาสะสม ให้เป็นปัจจุบัน
การบริหารเงินทดรองราชการ • เงินทดรองราชการนั้นมีไว้เพื่อสนับสนุนการบริหารงบประมาณแผ่นดินให้เกิดความคล่องตัว • การยืมและเบิกเงินทดรองราชการนั้นจะต้องนำไปใช้ในกิจกรรมที่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินแล้วเท่านั้น • ควบคุมดูแลให้เงินทดรองราชการหมุนเวียนได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เงินทดรองราชการจะหมุนเวียนได้เร็ว ควรสอบทานให้แน่ใจว่า ไม่มีลูกหนี้เงินทดรองค้างจ่ายเป็นเวลานาน เป็นจำนวนมาก เพราะจะทำให้หน่วยงานประสบปัญหาการขาดแคลนเงินทดรองราชการที่จะใช้หมุนเวียน
การบันทึกรายการเงินทดรองราชการการบันทึกรายการเงินทดรองราชการ รายการที่บันทึกในทะเบียนคุมเงินทดรองราชการ (ไม่ต้องบันทึกรายการในระบบบัญชี GFMIS) ได้แก่ • จ่ายเงินทดรองราชการให้ยืม • จ่ายเงินทดรองราชการตามใบสำคัญ • ถอนเงินทดรองฯ จากบัญชีธนาคารเพื่อเป็นเงินสดในหน่วยงาน • ลูกหนี้ส่งใช้ใบสำคัญ • รวบรวมใบสำคัญเพื่อขอเบิกเงินงบประมาณชดใช้เงินทดรองฯ • ดอกเบี้ยเงินทดรองฯ
การใช้จ่ายเงินทดรองราชการการใช้จ่ายเงินทดรองราชการ เงินทดรองราชการมีไว้สำหรับทดรองใช้จ่ายตามงบประมาณรายจ่าย • งบบุคลากร เฉพาะค่าจ้าง ซึ่งไม่มีกำหนดจ่ายเป็นงวดแน่นอน เป็นประจำแต่จำเป็นต้องจ่ายให้ลูกจ้างแต่ละวัน หรือแต่ละคราวเมื่อเสร็จงานที่จ้าง • งบดำเนินงาน ยกเว้นค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา • งบกลาง เฉพาะเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรและค่ารักษาพยาบาล • งบอื่นที่จ่ายในลักษณะข้างต้น
การยืมเงินทดรองราชการการยืมเงินทดรองราชการ • ขั้นตอนการดำเนินงาน • ผู้ยืมส่งสัญญายืมเงินพร้อมเอกสารประกอบ จำนวน 2 ชุด • เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของรายการและจำนวนเงินที่ยืม • เจ้าหน้าที่บันทึกเสนอ ผอ. สสภ./สสพ.เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ยืม • เจ้าหน้าที่เขียนเช็ค และบันทึกทะเบียนคุมเงินฝากธนาคาร • เสนอเช็คพร้อมทะเบียนคุมเงินฝากธนาคาร เพื่อให้ ผอ.สสภ./สสพ.พิจารณาสั่งจ่าย • จ่ายเช็คให้ผู้ยืม • บันทึกทะเบียนคุมเงินทดรองราชการ